พุทธานุสติ (พุทโธ) คือคำบริกรรม ที่นักปฏิบัตินิยมนำมาใช้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ทำให้ได้ผลดี สมดั่งที่พระตถาคตได้ทรงแนะนำไว้ นั่นคือ
ว่าด้วย เอกธัมมบาลีบาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ
พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑)
[๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ
สังฆานุสสติ(การระลึกถึงพระสงฆ์) ฯลฯ
สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ
จาคานุสสติ(การระลึกถึงการบริจาค) ฯลฯ
เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ
อานาปานัสสติ(สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ
มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ
กายคตาสติ(สติอันไปในกาย) ฯลฯ
อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=972&w=%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%CA%CA%B5%D4
พระสูตรที่มีเนื้อหาธรรมตรงกัน
อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วย
อนุสสติฏฐาน๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
เชิงอรรถ
๑อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน ๓ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐, ๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล
อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=11741&w=%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%CA%CA%B5%D4
ผู้ที่จะเจิญในธรรมวินัยอันเป็นสัมมาทิฏฐิของพระตถาคต มีความจำเป็นต้องปรับความเห็นให้ตรง
สมดั่งที่พระตถาคตแสดงไว้ในพระสูตร อุตติยะสูตร ว่า
“อุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ
ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=6530
อนุสสติวรรค หมวดว่าด้วยอนุสสติ
๑. ปฐมมหานามสูตร ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า
‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า
พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้วล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่างๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร”
นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็นกุลบุตร
มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ
๒- ๑
ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ ๑
ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ ๑
ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่ประสบความสำเร็จ ๑
ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความสำเร็จ ๑
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ธรรม ๖ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึง
ระลึกถึงตถาคตว่า ...
“แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระผู้มีพระภาค”
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรงทีเดียว
มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๑- ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม๒- ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม
เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=11519&w=%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%CA%CA%B5%D4
ผู้รวบรวมมีความเห็นว่า ...
.ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความสำเร็จ หมายถึง
ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ
สำหรับพุทธศาสนานิกชนที่ยังมีมิจฉาทิฏฐิ เช่น สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ ควรศึกษาให้เข้าใจและสละคืนทิฏฐินั้นเสีย เพื่อให้มีสัมมาทิฏฐิ
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่พุทธศาสนิกชนทุกท่านด้วยเทอญ
กระทู้ที่ควรอ่าน ควรทำความเข้าใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้พุทธบริษัทที่ยังมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ) ว่า จิตเที่ยง มีอัตตา ไม่ใช่ฐานะที่จะเป็นอริยะบุคคล
https://ppantip.com/topic/42624990
ผลที่ได้รับจากการทำสมาธิ ของผู้ที่มี "มิจฉาทิฏฐิ" เปรียบเทียบกับ ผู้ที่มี "สัมมาทิฏฐิ"
https://ppantip.com/topic/42631254
พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)ธรรมอันเป็นเอกนี้บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายเพื่อความสงบระงับ
ว่าด้วย เอกธัมมบาลีบาลีว่าด้วยธรรมอันเป็นเอก
[๒๙๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับเพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ พุทธานุสสติ(การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายอย่างที่สุด
เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑)
[๒๙๗] ธรรมอันเป็นเอกที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่ายอย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้เพื่อนิพพาน
ธรรมอันเป็นเอก คืออะไร
คือ ธัมมานุสสติ(การระลึกถึงพระธรรม) ฯลฯ
สังฆานุสสติ(การระลึกถึงพระสงฆ์) ฯลฯ
สีลานุสสติ(การระลึกถึงศีล) ฯลฯ
จาคานุสสติ(การระลึกถึงการบริจาค) ฯลฯ
เทวตานุสสติ(การระลึกถึงเทวดา) ฯลฯ
อานาปานัสสติ(สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ฯลฯ
มรณัสสติ(การระลึกถึงความตาย) ฯลฯ
กายคตาสติ(สติอันไปในกาย) ฯลฯ
อุปสมานุสสติ(การระลึกถึงธรรมอันเป็นที่สงบ)
ธรรมอันเป็นเอกนี้แลที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
อย่างที่สุด เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน (๑๐)
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=972&w=%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%CA%CA%B5%D4
พระสูตรที่มีเนื้อหาธรรมตรงกัน
อนุสสติฏฐานสูตร ว่าด้วยอนุสสติฏฐาน๑
[๙] ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้ อนุสสติฏฐาน ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธเจ้า)
๒. ธัมมานุสสติ (การระลึกถึงพระธรรม)
๓. สังฆานุสสติ (การระลึกถึงพระสงฆ์)
๔. สีลานุสสติ (การระลึกถึงศีล)
๕. จาคานุสสติ (การระลึกถึงการบริจาค)
๖. เทวตานุสสติ (ระลึกถึงเทวดา)
ภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฏฐาน ๖ ประการนี้แล
เชิงอรรถ
๑อนุสสติฏฐาน แปลว่า ‘ฐานคืออนุสสติ’ หมายถึงเหตุคืออนุสสติ กล่าวคือฌาน ๓ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๕/๑๑๐, ๒๙/๑๑๒)
อนุสสติ ที่เรียกว่า ‘ฐาน’ เพราะเป็นเหตุให้ได้รับประโยชน์เกื้อกูล และความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้า
เช่น พุทธานุสสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ)ย่อมเป็นเหตุให้บรรลุคุณวิเศษ เพราะเมื่อบุคคลระลึกถึงพุทธคุณอยู่ ปีติ(ความอิ่มใจ)ย่อมเกิด จากนั้นจึงพิจารณาปีติให้เห็นความสิ้นไปเสื่อมไปจนได้บรรลุอรหัตตผล
อนุสสติฏฐานนี้ จัดเป็นอุปจารกัมมัฏฐาน แม้คฤหัสถ์ก็สามารถบำเพ็ญได้ (ขุ.ป.อ. ๑/๒๕/๑๓๗,องฺ.ฉกฺก.ฏีกา ๓/๙/๑๐๘)
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=22&A=11741&w=%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%CA%CA%B5%D4
ผู้ที่จะเจิญในธรรมวินัยอันเป็นสัมมาทิฏฐิของพระตถาคต มีความจำเป็นต้องปรับความเห็นให้ตรง
สมดั่งที่พระตถาคตแสดงไว้ในพระสูตร อุตติยะสูตร ว่า
“อุตติยะ เพราะเหตุนั้น เธอจงทำเบื้องต้นในกุศลธรรมทั้งหลายให้หมดจดก่อน
อะไรเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือ ศีลที่บริสุทธิ์ดีและความเห็นที่ตรง
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_line.php?B=19&A=6530
อนุสสติวรรค หมวดว่าด้วยอนุสสติ
๑. ปฐมมหานามสูตร ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ สูตรที่ ๑
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า
‘ได้ทราบว่า ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาคด้วยหวังว่า
พระผู้มีพระภาคมีจีวรสำเร็จแล้วล่วงไป ๓ เดือนก็จักเสด็จจาริกไป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่าง ๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ดีละ ดีละ มหานามะ การที่พระองค์เสด็จมาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า
‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันเมื่อจะอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่ต่างๆ จะต้องอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร”
นี้เป็นการสมควรแก่พระองค์ผู้เป็นกุลบุตร
มหานามะ กุลบุตรผู้มีศรัทธาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้ไม่มีศรัทธาไม่ประสบความสำเร็จ๒- ๑
ผู้ปรารภความเพียรเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้เกียจคร้านไม่ประสบความสำเร็จ ๑
ผู้มีสติตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้หลงลืมสติไม่ประสบความสำเร็จ ๑
ผู้มีจิตตั้งมั่นเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นไม่ประสบความสำเร็จ ๑
ผู้มีปัญญาเป็นผู้ประสบความสำเร็จ ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความสำเร็จ ๑
มหานามะ พระองค์พึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วเจริญธรรม ๖ ประการให้ยิ่งขึ้นไปเถิด
ธรรม ๖ ประการนี้ คือ
๑. พระองค์พึงระลึกถึงตถาคตว่า ...
“แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ
เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระผู้มีพระภาค”
มหานามะ สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงตถาคตแล้ว
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม
สมัยนั้น จิตของอริยสาวกนั้นย่อมปรารภตถาคตดำเนินไปตรงทีเดียว
มหานามะ ก็อริยสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว
ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงอรรถ๑- ย่อมได้ความปลาบปลื้มอิงธรรม๒- ย่อมได้ปราโมทย์ที่ประกอบด้วยธรรม
เมื่อมีปราโมทย์ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจมีปีติกายย่อมสงบ เธอมีกายสงบย่อมได้รับสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น
มหานามะ อริยสาวกนี้ ตถาคตกล่าวว่าเป็นผู้ถึงความสงบอยู่ในหมู่สัตว์
ผู้ถึงความไม่สงบ เป็นผู้ไม่มีพยาบาทอยู่ในหมู่สัตว์ผู้มีพยาบาท
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม เจริญพุทธานุสสติอยู่
อ่านเพิ่มเติมที่นี่
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=24&A=11519&w=%BE%D8%B7%B8%D2%B9%D8%CA%CA%B5%D4
ผู้รวบรวมมีความเห็นว่า ....ผู้มีปัญญาทรามไม่ประสบความสำเร็จ หมายถึง ผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ
สำหรับพุทธศาสนานิกชนที่ยังมีมิจฉาทิฏฐิ เช่น สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ ควรศึกษาให้เข้าใจและสละคืนทิฏฐินั้นเสีย เพื่อให้มีสัมมาทิฏฐิ
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่พุทธศาสนิกชนทุกท่านด้วยเทอญ
กระทู้ที่ควรอ่าน ควรทำความเข้าใจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้