หลานม่า(สปอย) .. ถอดรหัสความคิดอาม่าเรื่องมรดก

ผู้ใหญ่ รุ่น Baby Boomer จะรู้สึกว่า ลูกแบบลูกคนโต ที่ประสพความสำเร็จมีงานมั่นคง ทำชื่อเสียงให้ครอบครัว ไปไหนมาไหน โม้เพื่อนบ้านได้ค่ะ
ถือว่ามีลูกแบบนี้เป็นศรีแก่ครอบครัว แม้ลูกแนวนี้ จะไม่ดูแล ก็โอเค เพราะทำให้แม่ภูมิใจและไม่อายใคร ซึ่งคนรุ่นนั้นจะรู้สึกว่าการไต่เต้าทางสังคมสำคัญ มีคนนับหน้าถือตา ซึ่ง ณ ชนชั้นเดิมอาชีพค้าขายไม่ได้ถูกสังคมให้ความเคารพนอบน้อม ลูกแนวนี้จะไม่ค่อยมีเวลาให้พ่อแม่ และพ่อแม่ก็ยินดี ให้ลูกสละเวลาไปช่วยเหลือผู้อื่นผ่านการทำงาน

ลูกแบบลูกคนกลางซึ่งดูแลมากที่สุด แต่ผู้สูงอายุมักรู้สึกว่า  ขัดใจเขาตลอดเวลา เคร่งครัด ไม่ได้ตามใจ ไม่อยากให้มีพฤติกรรมที่เสี่ยงเจ็บป่วย
เขายกมรดกช่วยคนเล็ก เพราะ 1. ลูกคนเล็กมักเอาใจผู้สูงอายุแบบไม่สนใจเหตุผล คือ ถ้าลูกคนเล็กมีเหตุผล ก็คงทำการทำงาน ไม่มีหนี้เยอะ
2. รู้ว่าลูกคนเล็กคลี่คลายปัญหาไม่ได้ด้วยตัวเอง บางทีเขายกมรดกให้เพราะรู้สึกผิดที่ให้ยีนส์ และการเลี้ยงดู ที่ไปไม่ถึงจุดที่ต้องการ
การให้มรดกก็คือ ลดความรู้สึกผิดเหล่านี้ ที่ให้ชีวิต แต่ไม่สามารถให้อนาคต และมองว่า จะยากดีมีจน ถูก-ผิด ก็คือลูก ซึ่งตนจะต้องปกป้องด้วยสัญชาตญาณ

ผู้สูงอายุมีวิธีคิดที่กลับไปสู่วัยเด็ก การให้ค่า-วิธีคิดบางอย่างก็กำหนดโดยยุคสมัยของเขา เปลี่ยนแปลงได้ยาก
คนแต่ละ Gen มีวิธีการหาเงิน และเก็บเงินไม่เหมือนกัน

หากว่าคุณอยู่ในสถานการณ์แบบลูกคนกลาง เวลาที่จะไปพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าแบบคนโตก็ไม่มี เพราะใจนึกถึงครอบครัว เอาเวลามาดูแลแม่
แต่แม่ก็ไม่ยกมรดกให้ ก็คิดเสียว่า ช่วงเวลาที่ช่วยแม่ คือ โอกาสที่ได้รับความสุข ได้เรียนรู้ เหน็ดเหนื่อย แล้วเอาทักษะและความแกร่งนั้นไว้หาเงินเอง
และอาม่าอาจมองว่า มรดกบางส่วนยกให้หลาน  คือ ลูกคนกลางมีลูกคอยดูแลตอนแก่   การให้หลานก็เหมือนลูกสาวได้รับไปในตัว
ผู้สูงอายุมักรักหลาน เข้ากับหลานได้ดีกว่าลูก อายุมากขึ้น ร่าง-จิตเฉา ได้ความสุขจากความสดใสของหลาน เหมือนได้ฝนทิพย์ชุ่มชื่นใจ
บางคนยกมรดกทั้งหมดให้หลานซึ่งน่ารัก ประจบเก่ง จนลูกน้อยใจ เพราะบ้านนั้น ลูกซึ่งเป็นลุง/อาของหลานเป็นคนสร้างให้ ... ก็มี

วัยชราจะคืนหัวใจแห่งวัยเยาว์ ระบบคิดและมารยาท จะไม่เป๊ะแบบวัยผู้ใหญ่  บางคนก็ส่วนนี้พร่องไปมาก
บางอย่างที่เคยกดไว้ในจิตใต้สำนึกจะลอยขึ้นมา อยากด่าใครก็ด่า แบบระบายอารมณ์ ไม่คิดหน้าคิดหลัง ที่มาที่ไปของปัญหา
พวกเขาจะคิดน้อยลง คิดในกรอบที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น  ไม่คิดถึงผลกระทบของสิ่งที่ทำ เอาแต่ใจตนเองมากขึ้น
อันนี้ ไม่ได้นินทานะ แต่ควรทำความเข้าใจ ผู้สูงอายุบางคนเข้าวัดบ่อย แต่ภาวะอารมณ์ไม่ได้ดีขึ้น  ขาดการพักใจและฝึกจิต
แต่สิ่งที่ลูกหลานควรคำนึง คือ พวกเขากำลังดีลกับความตาย ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในชีวิตมนุษย์ แม้บางคนบอกว่ารับได้ แต่ไม่ง่ายจะทำใจ
หากว่าผู้สูงอายุพูดอะไรให้ลูกหลานเจ็บปวดใจ ก็อย่าถือสา อย่านำมาคิดเป็นอารมณ์ทุกเรื่องไป
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่