การสร้างทีป๊อบ ไม่ใช่การเอาคนไทยมาเต้นและแต่งกายแบบเกาหลี แล้วเรียกสิ่งนั้นว่า “T-Pop” แต่เป็นการสร้างอัตลักษณ์ผลงานไทยให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโลกหรือเกิดความนิยมข้ามชาติ แม้ปัจจุบันงานบันเทิงไทยจะถ่ายทอดอารมณ์ได้ดี สนุก แต่ด้วยกำแพงภาษา ปัญหาด้านคุณภาพและเอกลักษณ์ ทำให้ยังไม่เป็นกระแสหลักความนิยมระดับนานาชาติได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องเรียนรู้จากเกาหลีและสร้างกลยุทธ์การพัฒนาที่แตกต่างจากสองทศวรรษที่ผ่านมา
1. ส่งเสริมการใช้ภาษาต่างประเทศ การสร้างละครหรือทำเพลงของไทยในอนาคตไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะเพื่อคนไทย แต่วางเป้าหมายเพื่อผู้ชมต่างชาติ ดารานักร้องที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ อาทิ อุรัสยา เสปอร์บันด์ ลุค อิชิคาว่า การลงทุนระบบพากษ์เสียงเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ กับ รายได้จากผู้ชมนานาชาติที่มากขึ้นกี่เปอร์เซ็น เป็นข้อควรชั่งน้ำหนัก ระบบพากษ์เสียงภาษาอังกฤษอาจเป็นธุรกิจใหม่ที่เป็นบริษัทแยกที่ให้บริการต่อหลายค่ายละคร
นักร้องไทยที่ร้องเพลงสากลได้ดี ได้แก่ แก้ม วิชชาณี เพียว เอกพันธ์ ซิลวี่ ภาวิดา แอลลี่ อชิรญา ต้น ธนษิต ทอม อิสรา เป็ค ผลิตโชค ทิคเก้อร์ และนักร้องรุ่นใหม่อีกมากมาย ทีป๊อปไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ หลายปีที่ผ่านมาการเติบโตขึ้นของโรงเรียนนานาชาติ ปริมาณลูกครึ่ง และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น พัฒนาการเอไอแปลภาษา ทำให้การหานักเขียนเนื้อเพลง/ทำบทละครภาษาอังกฤษไม่ยุ่งยากเหมือนยุคก่อน
เนื้อเพลง “Money” ของ ลิซ่า แบล็คพิ้งค์ ที่คนทั่วโลกร้องตามได้นำเสนอโดยใช้ภาษาอังกฤษ เงินในเนื้อเพลงคือดอลล่าห์ ไม่ใช่เงินวอนของเกาหลีใต้ เพลงนี้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดเคป๊อป แต่มิได้ใช้ภาษาเกาหลีเลย
2. สร้างทีมงานนานาชาติ การมีชาวต่างชาติมาร่วมทีมช่วยขยายความมั่งคั่งด้านไอเดียและทักษะที่หลากหลาย ยกระดับผลงานสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น ได้ผลงานที่สอดคล้องกับรสนิยมชาวต่างชาติมากขึ้น เพราะได้ข้อมูล/ประสพการณ์จากผู้ร่วมสร้างสรรค์ชาวต่างชาติโดยตรง ตัวอย่างเพลง “Lalisa” และ “Money” ของลิซ่า มีโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลี ศิลปินชาวไทย ผู้เขียนเนื้อร้อง คือ Rebecca Johnson (ชื่อในวงการ “Bekuh Boom”) เป็นชาวอเมริกัน ดังนั้นเนื้อร้องถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยภาษาที่โดนใจสังคมนานาชาติ
เราอาจต้องจ้างบริษัทต่างชาติบ้าง เมื่อใช้คนของประเทศอื่นก็จะยิ่งเผยแพร่ข่าวออกไปยังประเทศนั้นๆ ได้มากขึ้น การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นกลไกการทำธุรกิจระดับโลก คนดูชาติอื่นรู้สึกว่าตนเองร่วมเป็นเจ้าของ หรือ ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม ในวง Baby Monster ของเคป๊อบ บริษัทวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เลือกสมาชิกในวงเป็นชาวไทย 2 คน และชาวญี่ปุ่น 2 คน ย่อมมีผลต่อการสร้างฐานแฟนในต่างประเทศโดยตรง ในเบื้องต้น หากจะขยายตลาดไปฟิลิปปินส์ เราก็น่าจะเชิญดารานักร้องฟิลิปปินส์ มาร่วมงานบ้าง
3. ปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมอื่น ลิซ่าคือศิลปินตัวอย่างที่ปรับเข้ากับหลายวัฒนธรรม เธอไม่ลังเลที่จะไปแสดงโชว์ที่ “Crazy Horse” ที่ปารีส โดยประยุกต์วัฒนธรรมฝรั่งเศสร่วมสมัยเข้ากับความถนัดของเธอเอง ในโปสเตอร์มิวสิควิดิโอเพลง “Money” ลิซ่ามีเครื่องประดับผมเป็นเปียแดง (Box Braids) ที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมแอฟริกันจนกลายเป็นที่โจทย์จัน ระหว่างความชื่นชมกับความเหมาะสม เรื่องเงียบลง เมื่อลลิษากล่าวทางช่องวิดิโอส่วนตัวว่าเธอรู้สึกชื่นชมเปียรูปแบบดังกล่าว
ในมิวสิควิดิโอเพลง “Shut Down” นาทีที่ 1.42 ลิซ่าในชุดกางเกงขายาวหลวมๆ สีดำ ถือกระบี่ใหญ่ ซึ่งเป็น “ของสูง” ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เหล่านี้เป็นการใช้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ติดตาเจ้าของวัฒนธรรมนั้นๆได้โดยง่าย เพราะเติบโตในสังคมที่ให้ค่ากับสัญลักษณ์นั้น
ในมิวสิควิดิโอเพลง “Lalisa” ซีนที่นักร้องในชุดแจคเก็ตสีฟ้าเดินเข้าซอยหลังจิบแชมเปน ผู้ชมได้เห็นตัวหนังสือหลายภาษา ทั้งอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ไทย ซึ่งเป็นป้ายชื่อร้านและป้ายเตือนต่างๆในฉากซอย ทำให้คนต่างชาติต่างภาษารู้สึกว่าการสื่อสารเช่นนี้ให้ความสำคัญกับพวกเขา นอกจากนั้น ลิซ่ายังใส่เสื้อแจ๊กเก็ตซึ่งออกแบบโดยดีไซเนอร์ชาวแมกซิกัน ซึ่งมีสารจากการออกแบบที่สื่อไปถึงผู้ชมแมคซิกันได้อย่างลึกซึ้ง หรือแม้แต่ตอนใส่ชุดไทยสีเหลือง ก็ทำให้ผู้ชมชาวไทยบางคนถึงกับน้ำตาไหล
วัฒนธรรม คือ ส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์และศักดิ์ศรีในตัวบุคคล ตัวอย่างเหล่านี้เป็นการเข้าถึงชาวต่างชาติได้โดยไม่ยัดเยียด แต่แฝงอยู่ในองค์ประกอบศิลป์ ดังนั้นการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม จึงไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนำเสนอแต่ความเป็นไทยเท่านั้น แต่ต้องให้คุณค่าและยกย่องวัฒนธรรมอื่นด้วยเช่นกัน
4. ลดการเลียนแบบ บันเทิงไทยควรเปลี่ยนจากผู้ตามเทรนด์เป็นผู้นำเทรนด์ เช่น ทรงผม การแต่งกาย ไม่จำเป็นต้องใช้อัตลักษณ์เกาหลี เราอาจจะเน้นไปที่นักร้องเดี่ยว เพราะการเต้นเหมือนกันทั้งกลุ่มเป็นซิกเนเจอร์ของเคป๊อบ มีข้อด้อยคือ จำสมาชิกในวงได้ลำบาก เพราะหน้าตารูปร่างคล้ายกัน สมัยก่อน ในไทยมีการวางคอนเซ็บท์ “ผู้ชาย ฟ้าคราม กับ ความรัก” ให้อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง คอนเซ็บท์ “Bad Boy ที่น่าหลงไหล” ให้อำพล ลำพูล และวงเท่ห์ๆอย่างไมโคร
ในวงการละครไทย มีคนตั้งข้อสังเกตว่า บทแม่ และ แม่บ้าน/สาวใช้ เป็นตัวละครที่มีเสน่ห์ รวมถึงละครรักของไทย พระเอกใบหน้าคมคาย เนื้อเรื่องผ่อนคลาย ไม่เครียด จนมีแฟนละครไทยเป็นชาวฟิลิปปินส์ เวียตนาม และจีน
รูปแบบการนำเสนอที่เป็นจุดแข็งของบันเทิงไทย ทำให้ตัวศิลปินไทยเป็นผู้มีอิทธิพลต่อคนดูได้ แต่หากผลิตตามเทรนด์เกาหลี ไม่เพียงช่วยบำรุงให้กระแสวัฒนธรรมเกาหลียิ่งเติบโต แต่ยังเป็นการยอมรับว่าเราตกอยู่ในฐานะผู้ตามหรือผู้ถูกครอบงำทางวัฒนธรรม
5. ให้ความสำคัญกับอีเว้นท์นานาชาติ ทั้งการส่งประกวด เข้าร่วม และขอเป็นเจ้าภาพ เช่น การจัดประกวด จัดคอนเสริต เทศกาลระดับนานาชาติ ดังตัวอย่าง เมืองคานส์ เป็นเมืองล็กๆ ในฝรั่งเศสที่ไร้สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก แต่พลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยขอเป็นเจ้าภาพจัดประกวดภาพยนตร์นานาชาติ กลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนระดับโลก รวมถึงการมาของเหล่านักท่องเที่ยวในวงการบันเทิงซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง ลักษณะงานเช่นนี้ ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ เรื่องการจัดอีเว้นท์นั้น คนไทยมีความชำนาญ ทั้งการประสานงานรวมถึงจัดที่พัก อาหาร ต้นทุนการจัดงานในไทยไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับชาติอื่น บุคลากรในวงการบันเทิงของไทยเองก็จะได้เห็นผลงานของชาติอื่น เกิดการพัฒนาความสร้างสรรค์ มีโอกาสพบปะเจรจาธุรกิจข้ามชาติ
แม้บันเทิงไทยมีลักษณะคล้ายเกาหลี คือ นำเสนอความร่ำรวยทางอารมณ์ มีความซาบซึ้ง โรแมนติก ความละเมียดละไม แต่อาจมีระดับความสนุก เบาสมองกว่า เข้าถึงง่ายกว่า การที่สังคมไทยไม่มีวินัยมากนัก ทำให้คนไทยมีเสน่ห์ตรงความชิล ไม่เคร่งครัด พร้อมที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ข้อด้อยของเคป๊อบ คือ ความพร้อมเพรียงและการฝึกอย่างหนักที่อาจแทนด้วยโรบอตหรือเอไอได้ บันเทิงไทยดูผ่อนคลายกว่า เป็นธรรมชาติมากกว่า ขี้เล่นกว่า เพียงแต่ต้องทลายกรอบวิธีการทำงานแบบเดิม
ปั้น T-Pop หนทางบันเทิงไทยบุกตลาดโลก
1. ส่งเสริมการใช้ภาษาต่างประเทศ การสร้างละครหรือทำเพลงของไทยในอนาคตไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะเพื่อคนไทย แต่วางเป้าหมายเพื่อผู้ชมต่างชาติ ดารานักร้องที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ อาทิ อุรัสยา เสปอร์บันด์ ลุค อิชิคาว่า การลงทุนระบบพากษ์เสียงเพิ่มขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ กับ รายได้จากผู้ชมนานาชาติที่มากขึ้นกี่เปอร์เซ็น เป็นข้อควรชั่งน้ำหนัก ระบบพากษ์เสียงภาษาอังกฤษอาจเป็นธุรกิจใหม่ที่เป็นบริษัทแยกที่ให้บริการต่อหลายค่ายละคร
นักร้องไทยที่ร้องเพลงสากลได้ดี ได้แก่ แก้ม วิชชาณี เพียว เอกพันธ์ ซิลวี่ ภาวิดา แอลลี่ อชิรญา ต้น ธนษิต ทอม อิสรา เป็ค ผลิตโชค ทิคเก้อร์ และนักร้องรุ่นใหม่อีกมากมาย ทีป๊อปไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาไทยเป็นสื่อ หลายปีที่ผ่านมาการเติบโตขึ้นของโรงเรียนนานาชาติ ปริมาณลูกครึ่ง และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มสูงขึ้น พัฒนาการเอไอแปลภาษา ทำให้การหานักเขียนเนื้อเพลง/ทำบทละครภาษาอังกฤษไม่ยุ่งยากเหมือนยุคก่อน
เนื้อเพลง “Money” ของ ลิซ่า แบล็คพิ้งค์ ที่คนทั่วโลกร้องตามได้นำเสนอโดยใช้ภาษาอังกฤษ เงินในเนื้อเพลงคือดอลล่าห์ ไม่ใช่เงินวอนของเกาหลีใต้ เพลงนี้ถูกจัดให้อยู่ในหมวดเคป๊อป แต่มิได้ใช้ภาษาเกาหลีเลย
2. สร้างทีมงานนานาชาติ การมีชาวต่างชาติมาร่วมทีมช่วยขยายความมั่งคั่งด้านไอเดียและทักษะที่หลากหลาย ยกระดับผลงานสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น ได้ผลงานที่สอดคล้องกับรสนิยมชาวต่างชาติมากขึ้น เพราะได้ข้อมูล/ประสพการณ์จากผู้ร่วมสร้างสรรค์ชาวต่างชาติโดยตรง ตัวอย่างเพลง “Lalisa” และ “Money” ของลิซ่า มีโปรดิวเซอร์ชาวเกาหลี ศิลปินชาวไทย ผู้เขียนเนื้อร้อง คือ Rebecca Johnson (ชื่อในวงการ “Bekuh Boom”) เป็นชาวอเมริกัน ดังนั้นเนื้อร้องถูกสร้างสรรค์ขึ้นด้วยภาษาที่โดนใจสังคมนานาชาติ
เราอาจต้องจ้างบริษัทต่างชาติบ้าง เมื่อใช้คนของประเทศอื่นก็จะยิ่งเผยแพร่ข่าวออกไปยังประเทศนั้นๆ ได้มากขึ้น การผสมผสานทางวัฒนธรรมเป็นกลไกการทำธุรกิจระดับโลก คนดูชาติอื่นรู้สึกว่าตนเองร่วมเป็นเจ้าของ หรือ ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม ในวง Baby Monster ของเคป๊อบ บริษัทวายจีเอนเตอร์เทนเมนต์ได้เลือกสมาชิกในวงเป็นชาวไทย 2 คน และชาวญี่ปุ่น 2 คน ย่อมมีผลต่อการสร้างฐานแฟนในต่างประเทศโดยตรง ในเบื้องต้น หากจะขยายตลาดไปฟิลิปปินส์ เราก็น่าจะเชิญดารานักร้องฟิลิปปินส์ มาร่วมงานบ้าง
3. ปรับตัวเข้าหาวัฒนธรรมอื่น ลิซ่าคือศิลปินตัวอย่างที่ปรับเข้ากับหลายวัฒนธรรม เธอไม่ลังเลที่จะไปแสดงโชว์ที่ “Crazy Horse” ที่ปารีส โดยประยุกต์วัฒนธรรมฝรั่งเศสร่วมสมัยเข้ากับความถนัดของเธอเอง ในโปสเตอร์มิวสิควิดิโอเพลง “Money” ลิซ่ามีเครื่องประดับผมเป็นเปียแดง (Box Braids) ที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมแอฟริกันจนกลายเป็นที่โจทย์จัน ระหว่างความชื่นชมกับความเหมาะสม เรื่องเงียบลง เมื่อลลิษากล่าวทางช่องวิดิโอส่วนตัวว่าเธอรู้สึกชื่นชมเปียรูปแบบดังกล่าว
ในมิวสิควิดิโอเพลง “Shut Down” นาทีที่ 1.42 ลิซ่าในชุดกางเกงขายาวหลวมๆ สีดำ ถือกระบี่ใหญ่ ซึ่งเป็น “ของสูง” ในวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เหล่านี้เป็นการใช้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ติดตาเจ้าของวัฒนธรรมนั้นๆได้โดยง่าย เพราะเติบโตในสังคมที่ให้ค่ากับสัญลักษณ์นั้น
ในมิวสิควิดิโอเพลง “Lalisa” ซีนที่นักร้องในชุดแจคเก็ตสีฟ้าเดินเข้าซอยหลังจิบแชมเปน ผู้ชมได้เห็นตัวหนังสือหลายภาษา ทั้งอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน ไทย ซึ่งเป็นป้ายชื่อร้านและป้ายเตือนต่างๆในฉากซอย ทำให้คนต่างชาติต่างภาษารู้สึกว่าการสื่อสารเช่นนี้ให้ความสำคัญกับพวกเขา นอกจากนั้น ลิซ่ายังใส่เสื้อแจ๊กเก็ตซึ่งออกแบบโดยดีไซเนอร์ชาวแมกซิกัน ซึ่งมีสารจากการออกแบบที่สื่อไปถึงผู้ชมแมคซิกันได้อย่างลึกซึ้ง หรือแม้แต่ตอนใส่ชุดไทยสีเหลือง ก็ทำให้ผู้ชมชาวไทยบางคนถึงกับน้ำตาไหล
วัฒนธรรม คือ ส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์และศักดิ์ศรีในตัวบุคคล ตัวอย่างเหล่านี้เป็นการเข้าถึงชาวต่างชาติได้โดยไม่ยัดเยียด แต่แฝงอยู่ในองค์ประกอบศิลป์ ดังนั้นการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม จึงไม่ใช่ความตั้งใจที่จะนำเสนอแต่ความเป็นไทยเท่านั้น แต่ต้องให้คุณค่าและยกย่องวัฒนธรรมอื่นด้วยเช่นกัน
4. ลดการเลียนแบบ บันเทิงไทยควรเปลี่ยนจากผู้ตามเทรนด์เป็นผู้นำเทรนด์ เช่น ทรงผม การแต่งกาย ไม่จำเป็นต้องใช้อัตลักษณ์เกาหลี เราอาจจะเน้นไปที่นักร้องเดี่ยว เพราะการเต้นเหมือนกันทั้งกลุ่มเป็นซิกเนเจอร์ของเคป๊อบ มีข้อด้อยคือ จำสมาชิกในวงได้ลำบาก เพราะหน้าตารูปร่างคล้ายกัน สมัยก่อน ในไทยมีการวางคอนเซ็บท์ “ผู้ชาย ฟ้าคราม กับ ความรัก” ให้อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง คอนเซ็บท์ “Bad Boy ที่น่าหลงไหล” ให้อำพล ลำพูล และวงเท่ห์ๆอย่างไมโคร
ในวงการละครไทย มีคนตั้งข้อสังเกตว่า บทแม่ และ แม่บ้าน/สาวใช้ เป็นตัวละครที่มีเสน่ห์ รวมถึงละครรักของไทย พระเอกใบหน้าคมคาย เนื้อเรื่องผ่อนคลาย ไม่เครียด จนมีแฟนละครไทยเป็นชาวฟิลิปปินส์ เวียตนาม และจีน
รูปแบบการนำเสนอที่เป็นจุดแข็งของบันเทิงไทย ทำให้ตัวศิลปินไทยเป็นผู้มีอิทธิพลต่อคนดูได้ แต่หากผลิตตามเทรนด์เกาหลี ไม่เพียงช่วยบำรุงให้กระแสวัฒนธรรมเกาหลียิ่งเติบโต แต่ยังเป็นการยอมรับว่าเราตกอยู่ในฐานะผู้ตามหรือผู้ถูกครอบงำทางวัฒนธรรม
5. ให้ความสำคัญกับอีเว้นท์นานาชาติ ทั้งการส่งประกวด เข้าร่วม และขอเป็นเจ้าภาพ เช่น การจัดประกวด จัดคอนเสริต เทศกาลระดับนานาชาติ ดังตัวอย่าง เมืองคานส์ เป็นเมืองล็กๆ ในฝรั่งเศสที่ไร้สถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก แต่พลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยขอเป็นเจ้าภาพจัดประกวดภาพยนตร์นานาชาติ กลายเป็นจุดสนใจของสื่อมวลชนระดับโลก รวมถึงการมาของเหล่านักท่องเที่ยวในวงการบันเทิงซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูง ลักษณะงานเช่นนี้ ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ เรื่องการจัดอีเว้นท์นั้น คนไทยมีความชำนาญ ทั้งการประสานงานรวมถึงจัดที่พัก อาหาร ต้นทุนการจัดงานในไทยไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับชาติอื่น บุคลากรในวงการบันเทิงของไทยเองก็จะได้เห็นผลงานของชาติอื่น เกิดการพัฒนาความสร้างสรรค์ มีโอกาสพบปะเจรจาธุรกิจข้ามชาติ
แม้บันเทิงไทยมีลักษณะคล้ายเกาหลี คือ นำเสนอความร่ำรวยทางอารมณ์ มีความซาบซึ้ง โรแมนติก ความละเมียดละไม แต่อาจมีระดับความสนุก เบาสมองกว่า เข้าถึงง่ายกว่า การที่สังคมไทยไม่มีวินัยมากนัก ทำให้คนไทยมีเสน่ห์ตรงความชิล ไม่เคร่งครัด พร้อมที่จะเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ข้อด้อยของเคป๊อบ คือ ความพร้อมเพรียงและการฝึกอย่างหนักที่อาจแทนด้วยโรบอตหรือเอไอได้ บันเทิงไทยดูผ่อนคลายกว่า เป็นธรรมชาติมากกว่า ขี้เล่นกว่า เพียงแต่ต้องทลายกรอบวิธีการทำงานแบบเดิม