สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เผยหุ้นกู้จ่อทะลักไตรมาส 2/2567 เกือบ 2.5 แสนล้าน เฉพาะเดือน เม.ย. ครบดีล 1.1 แสนล้าน พีกสุดของปีนี้ คาดออกหุ้นกู้โรลโอเวอร์คึกคัก บริษัทใหญ่แห่ยื่นไฟลิ่งระดมทุนแล้วไม่น้อยกว่า 10 บริษัท เชื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว-ความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับมา-ต้นทุนดอกเบี้ยเริ่มซอฟต์ลง ดันยอดออกหุ้นกู้ใหม่ปีนี้แตะระดับ 900,000-1,000,000 ล้านบาท
วันที่ 4 เมษายน 2567 นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 2-4 ของปี 2567 จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดอีกมูลค่า 696,411 ล้านบาท ประมาณ 90% ของหุ้นกู้ครบกำหนดอยู่ในกลุ่มที่น่าลงทุน (Investment Grade) โดยแยกเป็นครบกำหนด
ทั้งนี้จะพบว่าในเดือน เม.ย. 2567 จะเป็นเดือนที่จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดมากที่สุดในปีนี้ มูลค่า 110,959 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่าในเดือน เม.ย.นี้ น่าจะมีความคึกคักของการออกหุ้นกู้เพื่อโรลโอเวอร์
ตอนนี้เห็นบริษัทที่มีการยื่นไฟลิ่งกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะออกหุ้นกู้ใหม่ในไตรมาส 2/2567 แล้วจำนวนไม่น้อยกว่า 10 บริษัท เช่น
บมจ.ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) วงเงิน 20,000 ล้านบาท, บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) วงเงิน 10,000 ล้านบาท, บมจ.บ้านปู (BANPU), บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) และ บมจ.ช.การช่าง (CK) เป็นต้น
นอกเหนือจากนั้นคาดว่ายังจะมีบริษัทอื่น ๆ อีกพอสมควร จึงน่าจะเป็นไตรมาสที่เห็นความคึกคักของตลาดหุ้นกู้ตลาดแรก ในแง่ของการเสนอขายจากผู้ออกที่มีอันดับเครดิตเรตติ้งสูงกลับมามากขึ้น
“ในช่วงไตรมาส 1/2567 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการออกหุ้นกู้ใหม่ 207,126 ล้านบาท ชะลอตัวลง 24% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) โดยกลุ่มที่ออกลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบจากช่วงไตรมาส 1/2566 คือ 1.หุ้นกู้กลุ่มอันดับเครดิตเรตติ้ง A จากระดับ 134,351 ล้านบาท เหลือ 80,978 ล้านบาท 2.หุ้นกู้กลุ่มเสี่ยงสูง (High Yield) จากระดับ 16,248 ล้านบาท เหลือ 3,203 ล้านบาท และ 3.หุ้นกู้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Nonrated) จากระดับ 17,341 ล้านบาท เหลือ 10,640 ล้านบาท”
ทั้งนี้กลุ่มอุตสหากรรมที่มีมูลค่าคงค้างหุ้นกู้สูงสุด 10 อันดับแรกคือ 1.กลุ่มพลังงาน 19.4% 2.กลุ่มไฟแนนซ์ 11.7% 3.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 11% 4.กลุ่มพาณิชย์ 9.5% 5.กลุ่มอาหาร 8.6% 6.กลุ่มไอซีที 8% 7.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 7.4% 8.กลุ่มปิโตรเคมี 5.6% 9.กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 4.6% และ 10.กลุ่มขนส่ง 4.4%
“โดยท็อป 3 อุตสาหกรรมที่มีการออกหุ้นกู้ใหม่มากที่สุดในไตรมาสแรกปีนี้คือ 1.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 48,277 ล้านบาท 2.กลุ่มไฟแนนซ์ 40,560 ล้านบาท และ 3.กลุ่มอาหาร 36,450 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1/2566 กลุ่มที่ออกหุ้นกู้มากที่สุดคือ กลุ่มพลังงาน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ ปตท. แต่ไตรมาสแรกปีนี้ กลุ่มพลังงานอยู่อันดับที่ 4 มีมูลค่าการออก 16,262 ล้านบาท จะเห็นว่ากลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์และบริษัทลีสซิ่ง มักจะออกหุ้นกู้ติดท็อป 3 ประจำทุกปี เพราะด้วยจำนวนบริษัทที่มีค่อนข้างมาก”
นางสาวอริยากล่าวต่อว่า สำหรับคาดการณ์ยอดการออกหุ้นกู้ใหม่ในปีนี้จะอยู่ที่ 900,000-1,000,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกออกไปแล้ว 2.07 แสนล้านบาท ซึ่งเห็นแล้วว่างวดไตรมาส 2/2567 จะมียอดครบกำหนดสูง และเริ่มเห็นบรรยากาศที่กลับมาดีขึ้น
โดยทิศทางดอกเบี้ยเริ่มซอฟต์ลงของผู้ออกเครดิตเรตติ้งสูง ๆ ต้นทุนการกู้ยืม 5 ปี ของผู้ออกกลุ่ม A ขึ้นไป ปรับตัวลงตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (A ลดลง 0.15%, AA ลดลง 0.15%, AAA ลดลง 0.21%) ทั้งนี้หากมีการปรับลดดอกเบี้ยโลกและดอกเบี้ยไทย ต้นทุนการกู้ยืมก็จะลดลงมาได้อีก ตามบอนด์ยีลด์ที่คาดว่าจะลดลงมาได้ราว 0.15-0.20%
เพราะฉะนั้นจากปัจจัยเหล่านี้ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่น่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับมา จึงยังเชื่อว่ายอดการออกหุ้นกู้ใหม่ระดับ 900,000-1,000,000 ล้านบาท ยังเป็นระดับที่เป็นไปได้อยู่
“เราจะเห็นว่าข่าวหุ้นกู้ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ค่อนข้างแรง แต่เห็นการจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหุ้นกู้ที่มีปัญหามีความคืบหน้าเรื่องกระบวนการไปสู่ฟ้องล้มละลาย และบางบริษัทอยู่ระหว่างศาลพิจารณาตัดสิน และทางผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทำหน้าที่ได้ดีพอสมควร ในการเป็นตัวแทนของนักลงทุนในการดำเนินคดี เพราะฉะนั้นมองว่าตอนนี้นักลงทุนเริ่มแยกแยะได้ โดยเริ่มเห็นการหันมาหาหุ้นกู้ที่เรตติ้งสูง ๆ มากขึ้น ถึงแม้อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าความเชื่อมั่นของหุ้นกู้ High Yield และ Nonrated จะกลับมาเท่าเดิม แต่อย่างน้อยเห็นแล้วว่านักลงทุนไม่ได้เหมารวมทั้งหมด หุ้นกู้ที่มีชื่อเสียงดี ๆ ความน่าเชื่อถือสูง ก็ไม่ได้กระทบ”
Cr.
https://www.prachachat.net/finance/news-1537089
หุ้นกู้ทะลัก Q2 เม.ย. ครบดีลแสนล้าน บริษัทแห่ยื่นไฟลิ่งแล้วกว่า 10 บริษัท
วันที่ 4 เมษายน 2567 นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 2-4 ของปี 2567 จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดอีกมูลค่า 696,411 ล้านบาท ประมาณ 90% ของหุ้นกู้ครบกำหนดอยู่ในกลุ่มที่น่าลงทุน (Investment Grade) โดยแยกเป็นครบกำหนด
ทั้งนี้จะพบว่าในเดือน เม.ย. 2567 จะเป็นเดือนที่จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดมากที่สุดในปีนี้ มูลค่า 110,959 ล้านบาท ดังนั้นคาดว่าในเดือน เม.ย.นี้ น่าจะมีความคึกคักของการออกหุ้นกู้เพื่อโรลโอเวอร์
ตอนนี้เห็นบริษัทที่มีการยื่นไฟลิ่งกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่จะออกหุ้นกู้ใหม่ในไตรมาส 2/2567 แล้วจำนวนไม่น้อยกว่า 10 บริษัท เช่น บมจ.ธนาคารทหารไทยธนชาต (TTB) วงเงิน 20,000 ล้านบาท, บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) วงเงิน 10,000 ล้านบาท, บมจ.บ้านปู (BANPU), บมจ.เอสซีบี เอกซ์ (SCBX) และ บมจ.ช.การช่าง (CK) เป็นต้น
นอกเหนือจากนั้นคาดว่ายังจะมีบริษัทอื่น ๆ อีกพอสมควร จึงน่าจะเป็นไตรมาสที่เห็นความคึกคักของตลาดหุ้นกู้ตลาดแรก ในแง่ของการเสนอขายจากผู้ออกที่มีอันดับเครดิตเรตติ้งสูงกลับมามากขึ้น
“ในช่วงไตรมาส 1/2567 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการออกหุ้นกู้ใหม่ 207,126 ล้านบาท ชะลอตัวลง 24% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน (YOY) โดยกลุ่มที่ออกลดลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบจากช่วงไตรมาส 1/2566 คือ 1.หุ้นกู้กลุ่มอันดับเครดิตเรตติ้ง A จากระดับ 134,351 ล้านบาท เหลือ 80,978 ล้านบาท 2.หุ้นกู้กลุ่มเสี่ยงสูง (High Yield) จากระดับ 16,248 ล้านบาท เหลือ 3,203 ล้านบาท และ 3.หุ้นกู้ที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Nonrated) จากระดับ 17,341 ล้านบาท เหลือ 10,640 ล้านบาท”
ทั้งนี้กลุ่มอุตสหากรรมที่มีมูลค่าคงค้างหุ้นกู้สูงสุด 10 อันดับแรกคือ 1.กลุ่มพลังงาน 19.4% 2.กลุ่มไฟแนนซ์ 11.7% 3.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 11% 4.กลุ่มพาณิชย์ 9.5% 5.กลุ่มอาหาร 8.6% 6.กลุ่มไอซีที 8% 7.กลุ่มธนาคารพาณิชย์ 7.4% 8.กลุ่มปิโตรเคมี 5.6% 9.กลุ่มวัสดุก่อสร้าง 4.6% และ 10.กลุ่มขนส่ง 4.4%
“โดยท็อป 3 อุตสาหกรรมที่มีการออกหุ้นกู้ใหม่มากที่สุดในไตรมาสแรกปีนี้คือ 1.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 48,277 ล้านบาท 2.กลุ่มไฟแนนซ์ 40,560 ล้านบาท และ 3.กลุ่มอาหาร 36,450 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1/2566 กลุ่มที่ออกหุ้นกู้มากที่สุดคือ กลุ่มพลังงาน ส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ ปตท. แต่ไตรมาสแรกปีนี้ กลุ่มพลังงานอยู่อันดับที่ 4 มีมูลค่าการออก 16,262 ล้านบาท จะเห็นว่ากลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์และบริษัทลีสซิ่ง มักจะออกหุ้นกู้ติดท็อป 3 ประจำทุกปี เพราะด้วยจำนวนบริษัทที่มีค่อนข้างมาก”
นางสาวอริยากล่าวต่อว่า สำหรับคาดการณ์ยอดการออกหุ้นกู้ใหม่ในปีนี้จะอยู่ที่ 900,000-1,000,000 ล้านบาท โดยไตรมาสแรกออกไปแล้ว 2.07 แสนล้านบาท ซึ่งเห็นแล้วว่างวดไตรมาส 2/2567 จะมียอดครบกำหนดสูง และเริ่มเห็นบรรยากาศที่กลับมาดีขึ้น
โดยทิศทางดอกเบี้ยเริ่มซอฟต์ลงของผู้ออกเครดิตเรตติ้งสูง ๆ ต้นทุนการกู้ยืม 5 ปี ของผู้ออกกลุ่ม A ขึ้นไป ปรับตัวลงตามทิศทางของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (A ลดลง 0.15%, AA ลดลง 0.15%, AAA ลดลง 0.21%) ทั้งนี้หากมีการปรับลดดอกเบี้ยโลกและดอกเบี้ยไทย ต้นทุนการกู้ยืมก็จะลดลงมาได้อีก ตามบอนด์ยีลด์ที่คาดว่าจะลดลงมาได้ราว 0.15-0.20%
เพราะฉะนั้นจากปัจจัยเหล่านี้ประกอบกับเศรษฐกิจไทยที่น่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับมา จึงยังเชื่อว่ายอดการออกหุ้นกู้ใหม่ระดับ 900,000-1,000,000 ล้านบาท ยังเป็นระดับที่เป็นไปได้อยู่
“เราจะเห็นว่าข่าวหุ้นกู้ช่วงไตรมาสแรกปีนี้ค่อนข้างแรง แต่เห็นการจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งหุ้นกู้ที่มีปัญหามีความคืบหน้าเรื่องกระบวนการไปสู่ฟ้องล้มละลาย และบางบริษัทอยู่ระหว่างศาลพิจารณาตัดสิน และทางผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ทำหน้าที่ได้ดีพอสมควร ในการเป็นตัวแทนของนักลงทุนในการดำเนินคดี เพราะฉะนั้นมองว่าตอนนี้นักลงทุนเริ่มแยกแยะได้ โดยเริ่มเห็นการหันมาหาหุ้นกู้ที่เรตติ้งสูง ๆ มากขึ้น ถึงแม้อาจจะยังบอกไม่ได้ว่าความเชื่อมั่นของหุ้นกู้ High Yield และ Nonrated จะกลับมาเท่าเดิม แต่อย่างน้อยเห็นแล้วว่านักลงทุนไม่ได้เหมารวมทั้งหมด หุ้นกู้ที่มีชื่อเสียงดี ๆ ความน่าเชื่อถือสูง ก็ไม่ได้กระทบ”
Cr. https://www.prachachat.net/finance/news-1537089