มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา
ธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนทั้งหลาย
เหมือนพระจันทร์ พระอาทิตย์
ส่องแสงสว่างแก่คนทั้งปวง
๑. คุณของพระรัตนตรัย
๑.๑ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธาร ลำห้วย ให้เต็ม ย่อมยังหนอง บึง แม่น้ำน้อย แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม ฉันใด ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และศีลอันเป็นที่รักของ พระอริยเจ้าธรรมเหล่านี้ เมื่อไหลไปถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๓๖๖
๑.๒ พระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเสมือนขุมทรัพย์ อันเต็มไปด้วยรัตนะ มีแก้วมณี และทองคำ เป็นต้น เพราะเพียบพร้อมไปด้วยอริยทรัพย์
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๔๑๓
๑.๓ บริษัท ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการบูชานี้เพียงใด ศาสนาของเราก็จะรุ่งเรือง ดุจจันทร์เพ็ญลอยเด่นกลางท้องฟ้า ฉะนั้น
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๔๒๒
๑.๔ พระพุทธองค์ทั้งพระสาวกทรงแสดงพระรัศมี ทำพระศาสนาให้ไร้มลทิน แล้วดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องนภากาศ.
ขุ.พุทธ. (พุทธ) มก. ๗๓/๕๔๔
๑.๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญ.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ พระธรรมเปรียบเหมือนรัศมีของดวงอาทิตย์
พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดเเล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่ พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเเล้วเปรียบเหมือนชนบท ซึ่งถูกระงับละอองฝุ่นเพราะฝนนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ผู้เลิศ พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้าอาชาไนยที่ถูกฝึกมาดีเเล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัด) เพราะทรงถอนลูกศร คือทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ช่วยถอนลูกศร คือ ทิฏฐิออกได้ พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศร คือ ทิฏฐิออกแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๑๐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนจักษุแพทย์ เพราะทรงลอกพื้นตา คือ โมหะ(ความหลง) ออกได้แล้ว พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายเครื่องลอกพื้น (ตา) พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตาอันลอกแล้ว ผู้มีย่อมเป็นดวงตา คือญาณ (ความรู้แจ้ง) อันสดใส เปรียบเหมือนชนที่ลอกพื้นตาแล้วมีดวงตาสดใส
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๑๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัดพยาธิ(โรค) คือ กิเลสพร้อมทั้งอนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ออกได้ พระธรรมเปรียบเหมือนเภสัชที่ปรุงถูกต้องแล้ว พระสงฆ์ผู้มีพยาธิ คือ กิเลส และอนุสัยอันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชนที่ได้รับเภสัชอันถูกต้องจนพยาธิระงับแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบเหมือนทางดีหรือพื้นที่ปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนเรือ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้อาศัยเรือเดินทางถึงฝั่ง.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้ขุมทรัพย์.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย พระธรรมเปรียบเหมือนความไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่างเปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบ พระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนมิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบประโยชน์เกื้อกูล.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดแห่งทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระนั้น
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดาผู้มอบมรดกโดยธรรม พระธรรมเปรียบเหมือนมรดกอันล้ำค่า พระสงฆ์เปรียบเหมือนพวกบุตรผู้สืบมรดก คือ พระสัทธรรมนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
๑.๒๐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกบัวที่บาน พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำที่เกิดจากดอกบัวที่บาน พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่ภมรที่ดูดกินน้ำจากดอกบัวนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
๑.๒๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนช่างผู้ทำเครื่องประดับ พระธรรมเปรียบเหมือนเครื่องประดับ พระสงฆ์เปรียบเหมือนพระราชโอรสที่ทรงประดับแล้วด้วยพระสัทธรรมนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
ที่มา
https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=19773
บุคคล ที่ควร บูชา
ธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนทั้งหลาย
เหมือนพระจันทร์ พระอาทิตย์
ส่องแสงสว่างแก่คนทั้งปวง
๑. คุณของพระรัตนตรัย
๑.๑ เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลงบนภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธาร ลำห้วย ให้เต็ม ย่อมยังหนอง บึง แม่น้ำน้อย แม่น้ำใหญ่ให้เต็ม ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม ฉันใด ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ และศีลอันเป็นที่รักของ พระอริยเจ้าธรรมเหล่านี้ เมื่อไหลไปถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๑/๓๖๖
๑.๒ พระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเสมือนขุมทรัพย์ อันเต็มไปด้วยรัตนะ มีแก้วมณี และทองคำ เป็นต้น เพราะเพียบพร้อมไปด้วยอริยทรัพย์
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๔๑๓
๑.๓ บริษัท ๔ นี้จักบูชาเราด้วยการบูชานี้เพียงใด ศาสนาของเราก็จะรุ่งเรือง ดุจจันทร์เพ็ญลอยเด่นกลางท้องฟ้า ฉะนั้น
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๔๒๒
๑.๔ พระพุทธองค์ทั้งพระสาวกทรงแสดงพระรัศมี ทำพระศาสนาให้ไร้มลทิน แล้วดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงจันทร์เคลื่อนจากท้องนภากาศ.
ขุ.พุทธ. (พุทธ) มก. ๗๓/๕๔๔
๑.๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนพระจันทร์เพ็ญ พระธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีของพระจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่เอิบอิ่มด้วยรัศมีของพระจันทร์เพ็ญ.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ทอแสงอ่อนๆ พระธรรมเปรียบเหมือนรัศมีของดวงอาทิตย์
พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกที่ดวงอาทิตย์นั้นกำจัดมืดเเล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนเมฆฝนใหญ่ พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝน พระสงฆ์ผู้ระงับละอองกิเลสเเล้วเปรียบเหมือนชนบท ซึ่งถูกระงับละอองฝุ่นเพราะฝนนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีที่ผู้เลิศ พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายฝึกม้าอาชาไนย พระสงฆ์เปรียบเหมือนฝูงม้าอาชาไนยที่ถูกฝึกมาดีเเล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนศัลยแพทย์ (หมอผ่าตัด) เพราะทรงถอนลูกศร คือทิฏฐิได้หมด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายที่ช่วยถอนลูกศร คือ ทิฏฐิออกได้ พระสงฆ์ผู้ถอนลูกศร คือ ทิฏฐิออกแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๑๐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนจักษุแพทย์ เพราะทรงลอกพื้นตา คือ โมหะ(ความหลง) ออกได้แล้ว พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายเครื่องลอกพื้น (ตา) พระสงฆ์ผู้มีพื้นชั้นตาอันลอกแล้ว ผู้มีย่อมเป็นดวงตา คือญาณ (ความรู้แจ้ง) อันสดใส เปรียบเหมือนชนที่ลอกพื้นตาแล้วมีดวงตาสดใส
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๑๙
๑.๑๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแพทย์ผู้ฉลาด เพราะทรงสามารถกำจัดพยาธิ(โรค) คือ กิเลสพร้อมทั้งอนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ออกได้ พระธรรมเปรียบเหมือนเภสัชที่ปรุงถูกต้องแล้ว พระสงฆ์ผู้มีพยาธิ คือ กิเลส และอนุสัยอันระงับแล้ว เปรียบเหมือนหมู่ชนที่ได้รับเภสัชอันถูกต้องจนพยาธิระงับแล้ว.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๒ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบเหมือนทางดีหรือพื้นที่ปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนผู้เดินทางถึงที่หมายอย่างปลอดภัย.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๓ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนนายเรือที่ดี พระธรรมเปรียบเหมือนเรือ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้อาศัยเรือเดินทางถึงฝั่ง.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ได้ขุมทรัพย์.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๕ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ประทานความไม่มีภัย พระธรรมเปรียบเหมือนความไม่มีภัย พระสงฆ์ผู้ล่วงภัยทุกอย่างเปรียบเหมือนชนผู้ถึงความไม่มีภัย.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๖ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ปลอบ พระธรรมเปรียบเหมือนการปลอบ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ถูกปลอบ.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๗ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนมิตรดี พระธรรมเปรียบเหมือนคำสอนที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ประสบประโยชน์ตน เพราะประกอบประโยชน์เกื้อกูล.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๘ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบ่อเกิดแห่งทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนทรัพย์ที่เป็นสาระ พระสงฆ์เปรียบเหมือนชนผู้ใช้ทรัพย์ที่เป็นสาระนั้น
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๐
๑.๑๙ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนบิดาผู้มอบมรดกโดยธรรม พระธรรมเปรียบเหมือนมรดกอันล้ำค่า พระสงฆ์เปรียบเหมือนพวกบุตรผู้สืบมรดก คือ พระสัทธรรมนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
๑.๒๐ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดอกบัวที่บาน พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำที่เกิดจากดอกบัวที่บาน พระสงฆ์เปรียบเหมือนหมู่ภมรที่ดูดกินน้ำจากดอกบัวนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
๑.๒๑ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเหมือนช่างผู้ทำเครื่องประดับ พระธรรมเปรียบเหมือนเครื่องประดับ พระสงฆ์เปรียบเหมือนพระราชโอรสที่ทรงประดับแล้วด้วยพระสัทธรรมนั้น.
ขุ.ขุ. (อรรถ) มก. ๓๙/๒๑
ที่มา https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=19773