JJNY : อ.เจษฎาสยบดราม่า│จิระนันท์ชี้ปี2515 จุฬาฯไม่แบกเสลี่ยง│5 คนการเมืองศิษย์เก่าจุฬาฯ│แผ่นดินไหวรุนแรงใกล้เกาะไต้หวัน

อ.เจษฎา สยบดราม่า อัญเชิญพระเกี้ยว แจงงานนี้ไม่ใช่ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
https://www.matichon.co.th/education/news_4506582
 

 
อ.เจษฎา แจงดราม่า อัญเชิญพระเกี้ยว ไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ชี้รูปแบบต่างๆ เปลี่ยนไป ผู้ใหญ่ 2 มหา’ลัยเห็นชอบแล้ว แนะใครอาสาแบกเสลี่ยง รีบสมัครล่วงหน้าได้เลย
 
ดราม่า “นิสิตจุฬาฯ” ใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ “พระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ “จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” ปีนี้ สร้างเสียงวิจารณ์กระหน่ำ มีทั้งผู้เห็นด้วยและคิดต่าง กระทั่งคณะผู้จัดงาน ฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ CU-TU Unity Football Match 2024 ออกมาชี้แจงความหมายของขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว ที่ตั้งใจคัดสรรสัญลักษณ์ ตัวแทนองค์ความรู้แขนงต่างๆ มา
 
นอกจากนี้ กรณี พ.อ.รศ.นพ.วิภู กำเหนิดดี แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เชี่ยวชาญในการรักษาโรคปวดเรื้อรัง ระบุทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ไม่ต้อนรับแพทย์ใช้ทุนที่จบจากที่นี่ เนื่องจากไม่ชอบ ทำให้ต้นสังกัดอย่าง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ร่อนคำชี้แจง พร้อมขอออภัยบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว ตลอดจนให้แพทย์รายดังกล่าวลบโพสต์ไปจากโซเชียลแล้วนั้น
 
เรื่องราวทั้งหมดนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ออกมากล่าวทางเฟซบุ๊กในมุมที่อาจมีผู้เข้าใจผิดว่า งานบอลที่เพิ่งจัดไปไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
 
รศ.ดร.เจษฎาระบุว่า 

ทราบกันหรือไม่ว่า “งานบอลที่เพิ่งจัดไป..ไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครับ”

เห็นเป็นประเด็นดราม่ากันมาหลายวันแล้ว เกี่ยวกับงานฟุตบอล ที่จัดแข่งกันไประหว่างนิสิตจุฬาฯ และศึกษาธรรมศาสตร์…แต่ถ้าผมจะอธิบายให้เข้าใจชัดว่า “มันเป็นคนละงานกัน” กับการฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ที่ผ่านๆ มา ไม่รู้ว่าจะช่วยลดดราม่าให้น้อยลงได้หรือเปล่านะครับ 😅
 
[ #สรุป (เผื่อใครขี้เกียจอ่านยาว) พูดง่ายๆ คือสมาคมศิษย์เก่าของทั้ง 2 สถาบัน ไม่จัดงานบอลประเพณีจุฬาฯธรรมศาสตร์ซักที…เด็กๆ นิสิตนักศึกษา ก็เลยจัดงานเตะบอลสานสัมพันธ์กันเอง..งานมันก็เลยออกมาสเกลเล็กๆ แค่นี้แหละครับ ]
 
คือมีหลายคนที่ออกมาบ่นเชิงตำหนิว่างานฟุตบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ปีนี้ ดูด้อยลงกว่าเดิมมาก เพราะไม่ค่อยมีข่าวประชาสัมพันธ์เท่าไหร่ คนมาร่วมงานน้อยลง ขบวนพาเหรดก็เล็ก แปรอักษรก็ใช้จอ LED ช่วยแทนคน ขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวและธรรมจักรก็ไม่ใช้เสลี่ยงเหมือนก่อน แต่ใช้รถไฟฟ้า-รถเข็นอัญเชิญแทน ฯลฯ
 
คือจริงๆ แล้ว มันไม่ใช่งานฟุตบอลประเพณี ที่จัดกันมากว่า 90 ปีแล้ว (ซึ่งครั้งล่าสุด คือครั้งที่ 74 เมื่อปี พ.ศ.2563)…แต่มันมีชื่อว่า “งานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 1” ต่างหากครับ
 
งานฟุตบอลประเพณีที่ผ่านมา ดำเนินการจัดโดย “สมาคมศิษย์เก่า” ของทั้งจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพมาตลอด…ขณะที่งานฟุตบอลสานสัมพันธ์ ที่พึ่งริเริ่มจัดในปีนี้นั้น จัดโดยองค์การบริหารสโมสรของนิสิตจุฬาฯ และของนักศึกษาธรรมศาสตร์
 
สาเหตุที่เกิดงานนี้ก็คือ การที่งานฟุตบอลประเพณีจุฬาธรรมศาสตร์ครั้งที่ 75 (ซึ่งควรจะได้จัดไปเมื่อปี 2564) ทางด้านของสมาคมศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ที่เป็นเจ้าภาพนั้นได้เลื่อนจัดมาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ช่วงที่เกิดวิกฤตโควิดขึ้น จนมาถึงปีนี้ ก็ยังหากำหนดวันที่เหมาะสมร่วมกันกับทางสมาคมศิษย์เก่าจุฬาฯไม่ได้ แล้วต้องทำให้เลื่อนไปอีกปีนึง
 
ด้วยเหตุนี้ ทำให้ทางองค์การบริหารสโมสรของทั้ง 2 สถาบัน จึงได้ขอจัดงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ขึ้นเอง แม้ว่าเวลาจะกระชั้นชิดมาก และมีงบประมาณน้อยมากก็ตาม โดยจัดในแบบที่กระชับขึ้น เรียบง่ายขึ้น งบน้อยลง ใช้กำลังคนให้น้อยลง..และที่สำคัญคือมีรูปแบบงานในแบบที่นิสิตนักศึกษาอยากจัดกัน (ไม่ได้จำเป็นอยู่ในกรอบแนวทาง ของที่สมาคมศิษย์เก่าของทั้งสองสถาบัน เคยวางแนวไว้)
 
ตัวอย่างเช่น การแปรอักษรด้วยป้าย LED ก็เป็นการแก้ปัญหาเรื่องการระดมหาคนขึ้นสแตนด์ ในช่วงเวลาที่กระชั้นชิดเช่นนี้..หรือแม้แต่การอัญเชิญธรรมจักรและพระเกี้ยวที่เรียบง่ายขึ้น ใช้กำลังคนน้อยลงเช่นนี้ก็เป็นการแก้ปัญหาได้ดีเช่นเดียวกัน..ซึ่งถ้ามองถึงผลลัพธ์ที่ออกมา ก็ถือว่าเป็นไปได้ด้วยดี บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจกันไว้ (แม้ว่าจะไม่อลังการเท่าเดิม ทั้ง stand แปรอักษรและขบวนอัญเชิญ)
 
ยังไงก็ตาม การจัดงานบอลสานสัมพันธ์ครั้งนี้ไม่ได้มีแต่นิสิตนักศึกษาที่จัดกันเอง แต่ผู้บริหารของทั้งสองมหาวิทยาลัยก็เข้ามาช่วยสนับสนุนเช่นกัน..ดังนั้น รูปแบบวิธีการที่เปลี่ยนไปนี้ จึงถือว่าผ่านความเห็นชอบจากผู้หลักผู้ใหญ่ของมหาวิทยาลัยทั้งสองแล้วนะครับ
 
ดังนั้น ผู้ที่กังวลว่างานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ จะดูด้อยลง ลดความสวยงามอลังการลงจากเดิม ก็คงจะต้องรอดูในปีหน้าๆ ถัดไป ว่างานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 นั้น จะจัดออกมาในรูปแบบไหน? จะสวยงามยิ่งใหญ่เท่าสมัยปี 2563 หรือเปล่า?
 
หรือจะเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ไปตามสมัยนิยม ที่ลดเรื่องพิธีรีตอง และเน้นคุณค่าของตัวงาน ตามวัตถุประสงค์มากขึ้น..ซึ่งก็ต้องรอฟังทางสมาคมศิษย์เก่าของสองสถาบันนำเสนอชี้แจงกันต่อไป

แต่ไม่ใช่ มาดู “งานบอลสานสัมพันธ์ของนิสิตนักศึกษา” ปีนี้ แล้วจะมารีบด่วนตัดสินว่า หลายๆ อย่าง (เช่น เสลี่ยงอัญเชิญพระเกี้ยว) ถูกยกเลิกไปแล้วอย่างที่ข่าวไปกระพือกันนะครับ…เน้นย้ำ ให้มองว่า มันเป็นคนละงานกันครับ!

ป.ล.ส่วนใครปวารณาตัว อยากจะมาช่วยยกเสลี่ยงอันเชิญพระเกี้ยวให้ ในปีหน้าๆ ต่อไป ก็เป็นเรื่องน่ายินดีนะครับ รีบมาสมัครล่วงหน้าได้เลย 😁

https://www.facebook.com/jessada.denduangboripant/posts/pfbid091awF8uVyYGmWarH9w9gVJifo9hTAyEW5ezXubr9VFLZypEJVZS4VtBxWJeED2C3l
 


อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยวพูดเอง จิระนันท์ ชี้ ปี 2515 จุฬาฯไม่แบกเสลี่ยง เปลี่ยนได้ตามยุคสมัย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4506417
 
อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยวพูดเอง จิระนันท์ ชี้ ปี 2515 จุฬาฯไม่แบกเสลี่ยง เปลี่ยนได้ตามยุคสมัย
 
จากกรณีที่ “นิสิตจุฬาฯ” ใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ “พระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลสานสัมพันธ์ “จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” ปีนี้ จนทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากหลายบุคคล ขณะที่คณะผู้จัดงานฟุตบอลสานสัมพันธ์จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ CU-TU Unity Football Match 2024 ได้ออกมาชี้แจงความหมายของขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว ที่ตั้งใจอย่างยิ่งในการคัดสรรสัญลักษณ์ ตัวแทนองค์ความรู้แขนงต่างๆ มา อาทิ เกียร์ ตัวแทนของวิศวกรรมศาสตร์, สเลทฟิล์ม ตัวแทนของนิเทศศาสตร์ และหนังสือเล่มหนา ตัวแทนของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

กรณีนี้ จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ได้แชร์คลิปวิดีโอจากหอภาพยนตร์ เป็นภาพบรรยากาศงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 32 ปี พ.ศ.2515 ซึ่ง จิระนันท์ เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในปีดังกล่าว พร้อมข้อความว่า

“ปี 2515 จุฬาฯ ไม่แบกเสลี่ยงค่ะ.. ส่วนธรรมศาสตร์ เชิญถ้วยที่ได้ครองปีก่อนโดยให้นางนพมาศแต่งเป็นคลีโอพัตรา นั่งเสลี่ยงทรงเก้าอี้บัลลังก์มีคานหามแบบในหนัง (จำไม่ได้ว่าดาว มธ.เชิญธรรมจักรด้วยพาหนะแบบไหน ที่แน่ๆ คือแต่งตัวเป็นเทพี / นางพญาโรมัน)

ส่วนตัวเห็นว่าการแบกเสลี่ยงเชิญตราสัญญลักษณ์ไม่ใช่ “ประเพณี” ที่ตายตัวของสถาบันทั้งสอง หลังจากนั้นก็ใช้รถบ้างแบกบ้าง นั่งหลังช้างยังมีเลย.. ตามแต่ยุคสมัยและทีมจัดงานออกแบบ
 
*ขอให้ข้อมูลหลักฐาน จะได้ไม่มั่วโมเมเวลากล่าวหาหรือโต้เถียงกันค่ะ
 
https://www.facebook.com/chiranan.pitpreecha/posts/pfbid02ku5Wqns24ZWyMQ8yjFhh5cDpExMTN7gg9ZkncS4Gepo9VueCxQ7raWxYGmV2bhjl
 

 
5 คนการเมืองศิษย์เก่าจุฬาฯ ท่ามกลางดราม่า “พระเกี้ยว”
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_698906/

ดราม่างานฟุตบอลจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ อิมแพ็ครุนแรง ยิ่งเฉพาะนิสิตจุฬาฯ เลิกแบกเสลี่ยง หันใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ “พระเกี้ยว” ทำให้ถูกวิพากษ์ถึงความเหมาะสม ก่อนหน้านี้ จุฬาฯเพิ่งจะมีประเด็นร้อนเรื่องวิทยานิพนธ์มีตำหนิ บิดเบือนประวัติศาสตร์ไปแล้ว แถมเมื่อเร็วๆนี้ ยังมีมหากาพย์ปม “ย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นที่ของจุฬาฯ” ที่ยังคารังคาซัง ไม่รู้จะจบลงอย่างไร แต่ถ้าโฟกัสไปยังซุปสตาร์ศิษย์เก่าจุฬาฯที่มีบทบาททางการเมืองในขณะนี้ ต้อง 5 บุคคลเหล่านี้
 
คนแรก เลดี้เฟิร์ส “อุ๊งอิ๊ง”แพทองธาร ชินวัตร เธอจบปริญญาตรี สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2551และช่วงนั้นมีการลือกันว่ามีกระบวนการทำข้อสอบรั่ว เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับอุ๊งอิ๊ง แต่สุดท้ายก็ไม่พบอะไร ซึ่งช่วงการเป็นนิสิตจุฬาฯ คาบเกี่ยวกับช่วงที่มีกระแสต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ซึ่งต่อมากลายเป็น “กลุ่มพันธมิตร” ที่มีนักวิชาการหลายคนออกมาโจมตีรัฐบาล และลุกลามมาถึงแพทองธารในเรื่องการเรียนที่จุฬาด้วย
 
แต่ขณะนี้ อุ๊งอิ๊ง เป็นหัวหน้าสำนักเพื่อไทย รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟพาวเวอร์ และถูกจับตาต่อเนื่องว่า เธอจะกลายเป็นผู้นำหญิงคนที่ 2 ของประเทศไทยหรือไม่ เพราะขณะนี้เธอถูกขับบทบาทให้โดดเด่นขึ้นตามลำดับ ล่าสุด “อุ๊งอิ๊ง” พร้อม ส.ส.เพื่อไทย เข้าพบ รมว.จีน หารือความร่วมมือทางการค้า-การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ก่อนหน้านี้ก็เข้าพบทูต 19 ประเทศจากกลุ่มประเทศ EU” ซึ่งน่าจับตาบทบาทของเธอต่อจากนี้ว่าจะเฉิดฉายแปล่งประกายยิ่งขึ้นไปอีกเท่าไร
 
ศิษย์ “ลูกพระเกี้ยว” รายที่ 2 คนละขั้วกับเพื่อไทย แต่ตึงคับประเทศ เขาคือ “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” สส.บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคก้าวไกล เขาจบปริญญาตรีวิศวกรรมยานยนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขามาจากครอบครัวชนชั้นกลาง สมัยเรียนที่ จุฬา เขาเป็นนักโต้วาที ประจำคณะวิศวะ จึงไม่แปลกที่เวลาอภิปรายในสภาลีลาจะเผ็ดร้อนดุเดือด และล่าสุดศึกอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมตินั้นเขาบอกว่าซักฟอกรอบนี้แค่เตือน รบ. รอเก็บหลักฐานต่อ ลั่น หากพบทุจริตร้องสอบแน่
 
รายที่ 3.”เดอะต๋อม-ชัยธวัช ตุลาธน” ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ซึ่งที่ผ่านมาเขาเป็นเสมือนมันสมองที่ทำให้พรรคอนาคตใหม่ต่อเนื่องถึงพรรคก้าวไกลมาไกลได้ขนาดนี้ เขา จบจบปริญญาตรี จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ล่าสุดเขาพูดถึง คดียุบพรรคก้าวไกล ว่าเตรียมแถลงข่าวใหญ่สู้คดี หลังหยุดสงกรานต์
 
รายที่ 4 “ดร.โจ-ชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร “หนุ่มหล่อเพื่อนทิม พิธา เขาเป็นหนึ่งในทีมเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกล เป็นนักยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการเงิน เคยเป็น รองผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์องค์กร แบงก์ชาติก่อนเล่นการเมือง เขาจบปริญญาตรี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเขาเปิดเผนบัญชีทรัพย์สินกรณีเข้ารับตำแหน่ง โดยตนเองและคู่สมรสมีทรัพย์สินรวม 60ล้านบาท
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่