JJNY : อ.จุฬาฯ สวนปมดราม่ารถกอล์ฟ│เสวนายกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร │โอเปกผลิตน้ำมันลดลง│ลอบสังหารจนท.เกณฑ์ทหารเมียนมาต่อเนื่อง

อ.จุฬาฯ สวน ปมดราม่า รถกอล์ฟอัญเชิญพระเกี้ยว ลั่น 'เปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่บ้าง'
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8168514
 
 
“รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์” อ.จุฬาฯ สวน ปมดราม่า รถกอล์ฟอัญเชิญพระเกี้ยว ลั่น ‘เปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่บ้าง นิสิตไม่ได้ทำเล่น ๆ’ พร้อมชี้ความหมาย
 
จากกรณีที่ “นิสิตจุฬา” ใช้รถกอล์ฟอัญเชิญ “พระเกี้ยว” ในงานเทศกาลงานกีฬาฟุตบอลสานสัมพันธ์ “จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์” CU-TU Unity Football Match 2024 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ณ สนามศุภชลาศัย สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์สนั่นว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่ ส่งผลให้มีผู้คนมากมายออกมาแสดงความคิดเห็นต่อกรณีดังกล่าว

ล่าสุด รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ออกมาเคลื่อนไหวถึงกรณีดังกล่าว ผ่านเฟซบุ๊ก Puangthong Pawakapan ระบุข้อความว่า 
 
“ขอบอกพวกไดโนเสาร์ว่านิสิตเขาไม่ได้ทำเล่น ๆ เขาตั้งใจคิดและทำกันเต็มที่ และยังให้เกียรติกับสัญลักษณ์ของจุฬาฯด้วย”
 
“โดยขบวนอัญเชิญพระเกี้ยวถูกรายล้อมไปด้วยสัญลักษณ์ตัวแทนแห่งองค์ความรู้ของศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้แก่
 
• เข็มฉีดยาและขวดชมพู่ ตัวแทนของ วิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
• หนังสือเล่มหนา ตัวแทนของ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
• ไม้ฉากเรขาคณิต ตัวแทนของ คณิตศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์
• เกียร์ ตัวแทนของ วิศวกรรมศาสตร์
• สเลทฟิล์ม ตัวแทนของ นิเทศศาสตร์
• ดัมเบล ตัวแทนของ วิทยาศาสตร์การกีฬา
• จานสี ตัวแทนแห่งศาสตร์ศิลปะ
 
“สัญลักษณ์เหล่านี้เปรียบเสมือนองค์ความรู้ที่อยู่คู่กับจุฬาฯ ที่ได้พัฒนาวงการต่าง ๆ ในไทยและในระดับโลก ทำให้มหาวิทยาลัยก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงแข็งแรง”
 
“และอีกสิ่งประดับตกแต่งขบวนที่ทุกท่านจะเห็นได้นี้ คือ “อะตอม” ที่ส่วนเล็ก ๆ รวมกันกลายเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ เปรียบเสมือนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของนิสิต บัณฑิต และบุคลากรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ร่วมแรงร่วมใจไปสู่การเป็นสถาบันเสาหลักที่ยั่งยืน”
 
“อีกทั้งขบวนยังถูกตกแต่งด้วยดอกไม้จากพลาสติกที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์ของงานนั่นคือ Unity to Sustainability และร้อยเรียงเป็น “พวงดอกกล้วยไม้ที่ผลิบาน” ดั่งโบราณว่า กล้วยไม้มีดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป เช่นนั้น แต่ดอกออกคราวไร งามเด่น การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม”
 
พร้อมทิ้งท้ายว่า
 
“จงแก่แต่กาย แต่อย่าปล่อยให้ใจและสมองแก่ตามไปด้วยเลย หัดเปิดใจรับฟังคนรุ่นใหม่บ้างเถอะ”

https://www.facebook.com/puangthong.r.pawakapan/posts/pfbid029JHyugqkk7nWtC6DZDv14zuUnNxzpi387UyKanehY4rCUZk2WKj6ct9zU4BSw9svl
 


เสวนา ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร จากมุมมองอดีต “ทหารเกณฑ์ – รด.”
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4505343

4 สส.ก้าวไกล เชตวัน เตือประโคน , ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ,พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และปารมี ไวจงเจริญ เสวนา ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร จากมุมมองอดีตทหารเกณฑ์ – รด. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารและยืนยันข้อเสนอ “ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร” ด้วยการแก้ไขกฎหมายรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เพื่อคืนเสรีภาพของประชาชนในการประกอบอาชีพ คืนกำลังคนไปผลักดันมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องลุ้นแบบปีต่อปีอย่างที่เป็นอยู่ ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


โอเปกผลิตน้ำมันลดลงในเดือนมี.ค. อิรัก-ไนจีเรียลดการผลิตมากสุด
https://www.infoquest.co.th/2024/388474
 
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ผลิตน้ำมันลดลงในเดือนมี.ค. ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอิรักและไนจีเรียปรับลดการส่งออกน้ำมัน หลังจากที่สมาชิกของกลุ่มโอเปกพากันปรับลดอุปทานน้ำมันตามข้อตกลงที่ทำร่วมกับชาติสมาชิกของโอเปกและพันธมิตร หรือโอเปกพลัส
 
สำนักข่าวรอยเตอร์เปิดเผยการสำรวจเมื่อวานนี้ (1 เม.ย.) ระบุว่า กลุ่มโอเปกผลิตน้ำมันในเดือนมี.ค.รวมกันทั้งสิ้น 26.42 ล้านบาร์เรล/วัน ลดลง 50,000 บาร์เรล/วันจากระดับของเดือนก.พ. โดยการสำรวจดังกล่าวพิจารณาจากข้อมูลด้านการขนส่งและข้อมูลจากแหล่งข่าวในแวดวงอุตสาหกรรมพลังงาน
 
ผลสำรวจระบุว่า ประเทศที่ปรับลดการผลิตน้ำมันลงมากที่สุดในเดือนมี.ค.คืออิรักและไนจีเรีย
 
รอยเตอร์ระบุว่า การสำรวจดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามภาวะอุปทานในตลาด และผลสำรวจเหล่านี้ได้จากข้อมูลด้านการขนส่งที่รายงานโดยแหล่งข่าวในต่างประเทศ, ข้อมูลการไหลเวียนของตลาดน้ำมันซึ่งรวบรวมโดยแอลเอสอีจี (LSEG), ข้อมูลจากบริษัทที่ติดตามการไหลเวียนของตลาดน้ำมัน เช่น บริษัทปิโตร-โลจิสติกส์ (Petro-Logistics) และเคปเลอร์ (Kpler) รวมทั้งข้อมูลที่เผยแพร่โดยแหล่งข่าวในบริษัทน้ำมัน, กลุ่มโอเปก และบริษัทที่ปรึกษา
 
ทั้งนี้ กลุ่มโอเปกพลัสซึ่งรวมถึงรัสเซียด้วยนั้น ได้บรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตครั้งใหม่ในเดือนม.ค.ปีนี้ เพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอและอุปทานน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก โดยต่อมาในเดือนมี.ค. ที่ประชุมโอเปกพลัสมีมติขยายเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.ปีนี้
 
คณะกรรมการร่วมด้านการตรวจสอบระดับรัฐมนตรี (JMMC) ของกลุ่มโอเปกพลัส จะประชุมร่วมกันในวันพุธนี้ (3 เม.ย.) เพื่อทบทวนภาวะตลาดน้ำมันและประเมินการดำเนินการปรับลดกำลังการผลิตของบรรดาชาติพันธมิตร ขณะที่แหล่งข่าวเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า โอเปกพลัสยังไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการผลิตน้ำมันก่อนที่จะถึงวันประชุมรัฐมนตรีกลุ่มพลังงานของโอเปกพลัสในวันที่ 1 มิ.ย.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่