งานบอลจุฬาธรรมศาสตร์ 2567 สะท้อนแนวคิดความสามารถ นศ รุ่นใหม่.. หรือไม่?

ขออนุญาตมองด้านกระบวนการทางดีไซน์ / การออกแบบและการนำเสนอ
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ว่าพระเกี้ยว ไม่มีการแบก แบบในอดีต 
ตรงนี้ หากว่า น้องๆ ต้องการแสดงกึ๋น น้องๆ น่าจะต้องวางงามๆ บนจรวด/โดรน
ให้ความ Royal Luxury โดยมีมิติ "ศิลปะ" ทางประวัติศาสตร์ซ่อนอยู่อย่างปราณีต

ถ้างานทำถึง จึงจะเห็นฝีมือและกระบวนการคิดทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
รวมถึง "กาละเทศะ" ที่แสดงออกถึงงานศิลป์แต่ละแบบ แต่ละสถานที่ แต่ละบริบท
นั่นจะเป็นคำตอบว่า การนำเสนองานชิ้นหนึ่งจะได้รับการยอมรับ
หรือ มันล้มเหลวที่จะสะกิดให้คนสนใจ เพราะนี่คือสังคมไทย
สังคมที่สอนเรื่องคิดหน้าคิดหลัง สอนเรื่องรักสันติ สอนเรื่องคุณค่าการศึกษาและเรียนรู้
และนี่คือประเทศหนึ่ง ที่พาตัวเองรอดมาได้จากหลายสงคราม 

ส่วนเรื่องการทำตุ๊กตายักษ์ ด้านหน้าคนหนึ่ง กับ ด้านหลังเป็นอีกคน 
ถ้ามองในแง่การนำเสนอ ดูเหมือนน้องๆ จะทุ่มเทในจุดนี้ 
ขอไม่กล่าวถึง message ว่าจริงหรือไม่ 
แต่ตรงตุ๊กตา หน้าอย่างหลังอย่างนี้ ถือ ว่าเป็นชั้นเชิงที่ลุ่มลึกและน่าสนใจ 

ที่สำคัญ คือ รองอธิการบดี ฝ่าย กิจการ นศ น่าจะต้องเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด
เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ ความไม่มั่นใจต่อศักยภาพบัณฑิตและสังคมมหาวิทยาลัยที่ผู้ปกครองรู้สึก
เรื่อง การสร้างเยาวชนให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีคุณภาพ 
ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ผู้ใหญ่ไปคิดแทน หรือ สั่งการ แต่ศิลปะการพูดจา ให้เขาเข้าใจ
ผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย ต่อสังคม และต่ออนาคตของเขาเอง 

สิ่งที่นิสิตรุ่นเก่าทำในงานบอลประเพณี คือ ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย
เพื่อสร้างความมั่นใจว่า จบไปเป็นบุคลากรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
ดังนั้น นิสิตรุ่นก่อนจะพยายามแสดงศักยภาพ ให้สมกับสอบเข้าได้มหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศ

งานบอลเป็นงานที่นิสิตมีอิสระในการทำงานเอง 
แต่ขณะเดียวกัน การส่งเสริมให้งบประมาณ ให้สปอนเซ่อร์ ในการแสดงผลงาน โดย นศ ต้องนำเสนอแผนงาน เหมือนการทำงานจริง
ไม่น่าจะเป็นเรื่องผิด เพราะนี่คือ งานที่ สื่อมวลชนจับตามอง ได้พื้นที่สื่อ
และสังคม ตรวจสอบคุณภาพ "ปัญญาชน" ทั้งด้านการใช้เทคโนโลยี ศิลปะ นวัตกรรม ความลุ่มลึกแหลมคมทางสติปัญญา และทักษะสังคม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่