สื่อนอกตีข่าว สมรสเท่าเทียมไทยก้าวหน้า ประเทศแรกในภูมิภาค
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4495689
สื่อนอกตีข่าว สมรสเท่าเทียมไทยก้าวหน้า ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากกรณีเมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 27 มีนาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาเสร็จแล้ว เป็นการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3
โดยที่ประชุมลงมติในวาระ 3 มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 400 เสียง ไม่เห็นชอบ 10 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 3 ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมนี้ ให้สิทธิ LGBTQ หมั้นและสมรสได้
ล่าสุด สื่อนอกอย่าง
BBC News รายงานว่า ประเทศไทยก้าวเข้าใกล้ความเท่าเทียมกันในการแต่งงานอีกก้าวแล้ว หลังจากสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันตามกฎหมาย
แต่ยังคงต้องได้รับอนุมัติจากวุฒิสภาและพระราชทานพระบรมราชานุญาตจึงจะกลายเป็นกฎหมายได้ และคาดว่า จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางภายในสิ้นปี พ.ศ. 2567 ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งจะช่วยตอกย้ำชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะสวรรค์สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ในภูมิภาคที่หาได้ยาก
กฎหมายดังกล่าว ผ่านโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติ 400 คนจากทั้งหมด 415 คน ในปัจจุบันจะอธิบายได้ว่า การแต่งงานเป็นการร่วมมือกันระหว่างบุคคลสองคน แทนที่จะเป็นระหว่างชายและหญิง และจะให้คู่รัก LGBTQ+ มีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับการลดหย่อนภาษี การสมรส รับมรดกทรัพย์สิน และให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาลสำหรับคู่รักที่ไร้ความสามารถ
ขณะที่
ABC News รายงานว่า ส.ส.ไทยผ่านร่างกฎหมายการแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมาย ด้วยเสียงข้างมากอย่างท่วมท้นต่อร่างกฎหมายนี้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันสำหรับคู่แต่งงานทุกเพศทุกวัย
โดยร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คนจากทั้งหมด 415 คนซึ่งเข้าร่วมประชุม โดยมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย 10 คน งดออกเสียง 2 คน และผู้ไม่ลงคะแนน 3 คน
ร่างกฎหมายดังกล่าวแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยเปลี่ยนคำว่า “ชายและหญิง” และ “สามีและภรรยา” เป็น “บุคคลธรรมดา” และ “คู่ครอง” มันจะเปิดการเข้าถึงสิทธิ์ทางกฎหมาย การเงิน และการรักษาพยาบาลเต็มรูปแบบสำหรับ คู่รัก LGBTQ +
ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกเป็นของวุฒิสภา ซึ่งแทบไม่ได้ปฏิเสธกฎหมายใดๆ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร แล้วจึงส่งไปให้กษัตริย์ทรงรับรอง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหรือ ภูมิภาคแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว และเป็นประเทศที่สามในเอเชีย รองจากไต้หวันและเนปาล
ด้าน
CNN รายงานว่า สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวภายหลังการพิจารณาคดีครั้งที่สามซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีผู้แทน 400 คนลงมติเห็นชอบ มีสมาชิกเพียง 10 คนที่คัดค้านร่างกฎหมาย หากผ่านกฎหมาย ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย
นอกจากนี้ยังจะทำให้ประเทศนี้เป็นเพียงแห่งที่สามในเอเชียที่อนุญาตให้มีการแต่งงานที่เท่าเทียมกัน หลังจากที่ไต้หวันรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในปี 2562 และเนปาลในปี 2566
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ยังได้สัญญาว่า จะนำร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการแต่งงานเสนอต่อรัฐสภาด้วย
ทั้งนี้
Channelnewsasia และ Reuters ก็รายงานว่า กฎหมายดังกล่าวใช้เวลาจัดทำมานานกว่าทศวรรษ มีความล่าช้าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและยังไม่ทราบว่าควรใช้แนวทางใด และควรรวมอะไรไว้ในร่างกฎหมาย
โดยเมื่อปี 2563 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่ากฎหมายการแต่งงานของไทยในปัจจุบัน ซึ่งยอมรับเฉพาะคู่รักต่างเพศนั้นเป็นรัฐธรรมนูญ โดยแนะนำให้ขยายกฎหมายเพื่อประกันสิทธิของเพศอื่น
แม้กระทั่งสื่อบันเทิงอย่าง
Pop Base ที่รายงานความเคลื่อนไหวในแวดวงดนตรี ก็ยังได้รายงานการผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน
‘ชัยธวัช’ ขอบคุณ กกต.เชิญร่วมเสวนา ทั้งที่ชี้ว่าล้มล้างการปกครอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4495158
ชัยธวัช ขอบคุณ กกต.เชิญร่วมเสวนา ทั้งที่ชี้ว่าล้มล้างการปกครอง หยุดสร้างความชะงักให้พรรคการเมือง ด้วยกติกาที่ยุบยิบ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 มีนาคม ที่อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่องพรรคการเมืองสร้างชาติ และการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการพรรคการเมือง โดยมี นาย
ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นาย
ภราดร ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนาย
วุฒิสาร ตันไชย นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมการเสวนา ทั้งนี้ นาย
อิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวเปิดงาน และนาย
แสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวรายงาน โดยมีสมาชิกพรรคการเมืองเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
นาย
ชัยธวัชกล่าวว่า วันนี้ต้องขอบคุณ กกต. ที่ยังเชิญพรรคการเมืองที่ท่านคิดว่าล้มล้างการปกครอง นั่นหมายความว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ไม่น่าจะมีบทบาททำให้การเมืองดีได้ และในทางตรงข้ามเราถูกมองว่าทำลายชาติ และสร้างการเมืองที่ไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนจะพูดวันนี้คือในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองมีบทบาทอย่างมาก เพราะเป็นสถาบันของประชาชน เป็นกลไกสำคัญที่เป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงออกซึ่งอำนาจ และเจตจำนงของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง
การทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอจึงเป็นการลดทอนอำนาจของประชาชนผ่านระบบการเลือกตั้ง แต่หากส่งเสริมให้พรรการเมืองเข้มแข็งจะส่งผลโดยตรงต่อความเข้มแข็ง และอำนาจของประชาชน เพราะพรรคการเมืองมีบทบาททางตรงในการกำหนดนโยบายสาธารณะ รวมถึงการออกกฎหมาย ซึ่งในพรรคก้าวไกลพยายามพัฒนาบุคลากร และกลไกในพรรค ให้พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้
ถ้าทำให้การเมืองฟรี และแฟร์ จะช่วยยกระดับการกำหนดนโยบายได้ด้วย แน่นอนว่าประชาชนแต่ละคนมีความคิด ความเชื่อ ความชื่นชอบนโยบายไม่เหมือนกัน แต่หากมีการกำหนดให้เปิดกว้างจะเอื้อต่อการส่งเสริมการแข่งขันยกระดับเชิงนโยบายซึ่งดีต่อส่วนรวม
“
การเมืองไทยแบ่งแค่ฝ่ายประชาธิปไตยกับสนับสนุนเผด็จการ มันเป็นสิ่งที่หยาบมาก เราควรเลยจุดนั้นได้แล้ว เราควรเอานโยบายเป็นหลัก แต่เราก็ยังไม่พัฒนาถึงตรงนั้น ยังวนอยู่ในจุดเดิมๆ ซึ่งหวังว่าอนาคตอันใกล้เราควรเดินไปถึงจุดนั้นได้แล้ว” นาย
ชัยธวัชกล่าว
หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า การสร้างกฎกติกามีความสำคัญต่อการพัฒนาพรรรคการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ คำถามที่อาจสำคัญกว่าพรรคการเมืองจะทำให้การเมืองดีได้อย่างไร คือการเมืองดีคืออะไร ซึ่งในบันทึกการการประชุมร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือแม้แต่บันทึกการประชุมตอนประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เราจะเห็นวิธีคิด รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมือง และปัญหาของการออกแบบกฎกติกานั้น ซึ่งกฎกติกามีความสำคัญมาก มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมของพรรคการเมือง การเมืองดีนักการเมืองต้องมีความรับผิดชอบ อย่าออกแบบกติกาแบบกลัวว่าประชาชนจะถูกหลอกไม่มีวุฒิภาวะมากพอในการตัดสินใจ การเมืองดีไม่มีอะไรมาก แต่เป็นเรื่องของประชาชน ถ้าเราคิดแบบนี้จะเอื้อต่อการพัฒนาการเมือง
“
อย่าสร้างความหยุดชะงักให้กับพรรคการเมืองบ่อยๆ การออกแบบกฎกติกาที่ยุบยิบไปหมด ไม่เอื้อต่อการสร้างระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ถ้าเราออกแบบกฎกติกาด้วยพื้นฐานที่ไม่ไว้วางใจประชาชน และต้องการพยายามควบคุมอำนาจสถาบันการเมืองที่ยึดโยงประชาชน ให้อยู่ใต้อำนาจที่ไม่ได้ยึดโยงประชาชน เป็นคุณพ่อรู้ดีไปหมดว่าการเมืองที่ดีเป็นอย่างไร ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ” นาย
ชัยธวัช กล่าว
หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตด้วยว่ามองได้หลายแง่มุม หากเชื่ออย่างที่นาย
ชูศักดิ์พูดว่าเป็นเพราะรัฐบาลผสมจึงผลักดันไม่ได้ โจทย์ใหญ่ของการเมืองไทยจะต้องมาดูที่การออกแบบกฎกติกา อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ตนไม่ได้มองว่าเป็นเพราะรัฐบาลผสมหรือไม่ แต่คิดว่าตอนออกแบบนโยบายอาจจะคิดไม่เสร็จตั้งแต่แรก อาจจะใช้เป็นดิจิทัลมันนี่ แต่อาจจะติดข้อกฎหมายทำไม่ได้ ต่อมาอาจจะคิดใช้เงินนอกงบประมาณ แต่ก็ติดเรื่องกฎหมายอีก เหมือนคิดไปทำไป ไม่ได้คิดตลอดสายตั้งแต่แรก
ส่วนเรื่องการยุบพรรค นาย
ชัยธวัช กล่าวบนเวทีเสวนาตอนหนึ่งว่า ในอดีตกลไกยุบพรรคการเมืองที่ออกแบบมาต้องอาศัยอำนาจรัฐประหาร แต่วันนี้เมื่อสังคมพัฒนาไม่ยอมรับการใช้อำนาจ จึงมีการมาออกแบบโดยใช้กลไกกฎหมายเป็นการยุบโดยมีอารยะมากขึ้น ถ้าเราเชื่อว่า พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย การยุบพรรคควรต้องเลิกได้แล้ว ถ้าจะทำ ปัญหาคือใครตัดสิน เพราะการตัดสินต้องมีความชัดเจนแน่นอน คำถามวันนี้คือข้อกล่าวหาเรื่องการล้มล้างการปกครองและเป็นปฏิปักษ์ ทุกวันนี้มีความชัดเจนหรือไม่
ก.ก. ดักคอ รบ.สอดดิจิทัลวอลเล็ตเข้างบ’68 ไม่ได้ ชี้กรอบวงเงินไม่เอื้อ คาดลากยาวถึงปี’70 ปชช.ทำใจได้ไม่ถึงหมื่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4495144
ก.ก. ดัก รบ.สอดดิจิทัลวอลเล็ตเข้างบ’68 ไม่ได้ ชี้กรอบวงเงินไม่เอื้อ มั่นใจลากยาวถึงปี’70 บอกปชช.ทำใจได้ไม่ถึงหมื่น ไม่ครบ 50 ล้านคน
เมื่อเวลา 12.50 น. วันที่ 27 มีนาคม ที่รัฐสภา นาย
จุลพงศ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงว่า ตามที่รัฐบาลแถลงจะมีการแจกเงินตามโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในเดือนต.ค. ปีนี้ โดยแจกครบคนละ 10,000 บาท จำนวน 50 ล้านคน แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเอาเงินมาจากไหนนั้น หากจะแจกในเดือนต.ค.ปีนี้จริง ก็คาดได้ว่ารัฐบาลคงเอาวงเงินรายจ่ายในโครงการไปใส่ไว้ในงบประมาณรายจ่าย ปี 2568 ที่จะเริ่มจ่ายในเดือนต.ค.ปีนี้ ซึ่งเป็นการเริ่มปีงบประมาณพอดี แต่เงินจำนวนมากขนาดนี้คงจะใส่ในงบประมาณรายจ่ายปีเดียวไม่ได้ คงทยอยใส่ในปีงบประมาณต่อๆไปจนครบ
นายจุลพงศ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลจะหาเงินโดยวิธีการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ก็จะไม่เข้าเงื่อนไข แต่จะหากหาเงินโดยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้ ตามมาตรา 53 ก็อาจไม่เข้าเงื่อนไข เพราะหากสภาวะทางเศรษฐกิจของไทยทรงตัวอยู่ในสภาพนี้ที่ไม่ใช่วิกฤต ประกอบกับรัฐบาลคงจะพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดีแล้ว
JJNY : 5in1 สื่อนอกตีข่าว สมรสเท่าเทียม│‘ชัยธวัช’ขอบคุณ กกต.│ก.ก.ดักคอ│เชียงใหม่ยังเหงา│สหรัฐฯ พบโคนมป่วย “ไข้หวัดนก”
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4495689
สื่อนอกตีข่าว สมรสเท่าเทียมไทยก้าวหน้า ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากกรณีเมื่อเวลา 10.40 น. วันที่ 27 มีนาคม ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มี นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม เข้าสู่วาระพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาเสร็จแล้ว เป็นการพิจารณาในวาระ 2 และวาระ 3
โดยที่ประชุมลงมติในวาระ 3 มีมติเห็นชอบด้วยคะแนน 400 เสียง ไม่เห็นชอบ 10 เสียง งดออกเสียง 2 ไม่ลงคะแนน 3 ให้ความเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งพ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมนี้ ให้สิทธิ LGBTQ หมั้นและสมรสได้
ล่าสุด สื่อนอกอย่าง BBC News รายงานว่า ประเทศไทยก้าวเข้าใกล้ความเท่าเทียมกันในการแต่งงานอีกก้าวแล้ว หลังจากสภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันตามกฎหมาย
แต่ยังคงต้องได้รับอนุมัติจากวุฒิสภาและพระราชทานพระบรมราชานุญาตจึงจะกลายเป็นกฎหมายได้ และคาดว่า จะเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางภายในสิ้นปี พ.ศ. 2567 ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งจะช่วยตอกย้ำชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะสวรรค์สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ในภูมิภาคที่หาได้ยาก
กฎหมายดังกล่าว ผ่านโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติ 400 คนจากทั้งหมด 415 คน ในปัจจุบันจะอธิบายได้ว่า การแต่งงานเป็นการร่วมมือกันระหว่างบุคคลสองคน แทนที่จะเป็นระหว่างชายและหญิง และจะให้คู่รัก LGBTQ+ มีสิทธิเท่าเทียมกันในการได้รับการลดหย่อนภาษี การสมรส รับมรดกทรัพย์สิน และให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาลสำหรับคู่รักที่ไร้ความสามารถ
ขณะที่ ABC News รายงานว่า ส.ส.ไทยผ่านร่างกฎหมายการแต่งงานในเพศเดียวกันถูกกฎหมาย ด้วยเสียงข้างมากอย่างท่วมท้นต่อร่างกฎหมายนี้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้สิทธิเท่าเทียมกันสำหรับคู่แต่งงานทุกเพศทุกวัย
โดยร่างกฎหมายผ่านการพิจารณาครั้งสุดท้ายด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คนจากทั้งหมด 415 คนซึ่งเข้าร่วมประชุม โดยมีผู้ลงคะแนนไม่เห็นด้วย 10 คน งดออกเสียง 2 คน และผู้ไม่ลงคะแนน 3 คน
ร่างกฎหมายดังกล่าวแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยเปลี่ยนคำว่า “ชายและหญิง” และ “สามีและภรรยา” เป็น “บุคคลธรรมดา” และ “คู่ครอง” มันจะเปิดการเข้าถึงสิทธิ์ทางกฎหมาย การเงิน และการรักษาพยาบาลเต็มรูปแบบสำหรับ คู่รัก LGBTQ +
ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวตกเป็นของวุฒิสภา ซึ่งแทบไม่ได้ปฏิเสธกฎหมายใดๆ ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร แล้วจึงส่งไปให้กษัตริย์ทรงรับรอง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศหรือ ภูมิภาคแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว และเป็นประเทศที่สามในเอเชีย รองจากไต้หวันและเนปาล
ด้าน CNN รายงานว่า สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวภายหลังการพิจารณาคดีครั้งที่สามซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย โดยมีผู้แทน 400 คนลงมติเห็นชอบ มีสมาชิกเพียง 10 คนที่คัดค้านร่างกฎหมาย หากผ่านกฎหมาย ประเทศไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันอย่างถูกกฎหมาย
นอกจากนี้ยังจะทำให้ประเทศนี้เป็นเพียงแห่งที่สามในเอเชียที่อนุญาตให้มีการแต่งงานที่เท่าเทียมกัน หลังจากที่ไต้หวันรับรองการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในปี 2562 และเนปาลในปี 2566
อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ยังได้สัญญาว่า จะนำร่างพระราชบัญญัติความเท่าเทียมในการแต่งงานเสนอต่อรัฐสภาด้วย
ทั้งนี้ Channelnewsasia และ Reuters ก็รายงานว่า กฎหมายดังกล่าวใช้เวลาจัดทำมานานกว่าทศวรรษ มีความล่าช้าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและยังไม่ทราบว่าควรใช้แนวทางใด และควรรวมอะไรไว้ในร่างกฎหมาย
โดยเมื่อปี 2563 ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินว่ากฎหมายการแต่งงานของไทยในปัจจุบัน ซึ่งยอมรับเฉพาะคู่รักต่างเพศนั้นเป็นรัฐธรรมนูญ โดยแนะนำให้ขยายกฎหมายเพื่อประกันสิทธิของเพศอื่น
แม้กระทั่งสื่อบันเทิงอย่าง Pop Base ที่รายงานความเคลื่อนไหวในแวดวงดนตรี ก็ยังได้รายงานการผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม เป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน
‘ชัยธวัช’ ขอบคุณ กกต.เชิญร่วมเสวนา ทั้งที่ชี้ว่าล้มล้างการปกครอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4495158
ชัยธวัช ขอบคุณ กกต.เชิญร่วมเสวนา ทั้งที่ชี้ว่าล้มล้างการปกครอง หยุดสร้างความชะงักให้พรรคการเมือง ด้วยกติกาที่ยุบยิบ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 มีนาคม ที่อิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่องพรรคการเมืองสร้างชาติ และการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการพรรคการเมือง โดยมี นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายภราดร ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และนายวุฒิสาร ตันไชย นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมการเสวนา ทั้งนี้ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวเปิดงาน และนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวรายงาน โดยมีสมาชิกพรรคการเมืองเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
นายชัยธวัชกล่าวว่า วันนี้ต้องขอบคุณ กกต. ที่ยังเชิญพรรคการเมืองที่ท่านคิดว่าล้มล้างการปกครอง นั่นหมายความว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ไม่น่าจะมีบทบาททำให้การเมืองดีได้ และในทางตรงข้ามเราถูกมองว่าทำลายชาติ และสร้างการเมืองที่ไม่ดี แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ตนจะพูดวันนี้คือในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองมีบทบาทอย่างมาก เพราะเป็นสถาบันของประชาชน เป็นกลไกสำคัญที่เป็นช่องทางหนึ่งในการแสดงออกซึ่งอำนาจ และเจตจำนงของประชาชนผ่านการเลือกตั้ง
การทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอจึงเป็นการลดทอนอำนาจของประชาชนผ่านระบบการเลือกตั้ง แต่หากส่งเสริมให้พรรการเมืองเข้มแข็งจะส่งผลโดยตรงต่อความเข้มแข็ง และอำนาจของประชาชน เพราะพรรคการเมืองมีบทบาททางตรงในการกำหนดนโยบายสาธารณะ รวมถึงการออกกฎหมาย ซึ่งในพรรคก้าวไกลพยายามพัฒนาบุคลากร และกลไกในพรรค ให้พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้
ถ้าทำให้การเมืองฟรี และแฟร์ จะช่วยยกระดับการกำหนดนโยบายได้ด้วย แน่นอนว่าประชาชนแต่ละคนมีความคิด ความเชื่อ ความชื่นชอบนโยบายไม่เหมือนกัน แต่หากมีการกำหนดให้เปิดกว้างจะเอื้อต่อการส่งเสริมการแข่งขันยกระดับเชิงนโยบายซึ่งดีต่อส่วนรวม
“การเมืองไทยแบ่งแค่ฝ่ายประชาธิปไตยกับสนับสนุนเผด็จการ มันเป็นสิ่งที่หยาบมาก เราควรเลยจุดนั้นได้แล้ว เราควรเอานโยบายเป็นหลัก แต่เราก็ยังไม่พัฒนาถึงตรงนั้น ยังวนอยู่ในจุดเดิมๆ ซึ่งหวังว่าอนาคตอันใกล้เราควรเดินไปถึงจุดนั้นได้แล้ว” นายชัยธวัชกล่าว
หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า การสร้างกฎกติกามีความสำคัญต่อการพัฒนาพรรรคการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ คำถามที่อาจสำคัญกว่าพรรคการเมืองจะทำให้การเมืองดีได้อย่างไร คือการเมืองดีคืออะไร ซึ่งในบันทึกการการประชุมร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง หรือแม้แต่บันทึกการประชุมตอนประชุมเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ เราจะเห็นวิธีคิด รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมือง และปัญหาของการออกแบบกฎกติกานั้น ซึ่งกฎกติกามีความสำคัญมาก มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรมของพรรคการเมือง การเมืองดีนักการเมืองต้องมีความรับผิดชอบ อย่าออกแบบกติกาแบบกลัวว่าประชาชนจะถูกหลอกไม่มีวุฒิภาวะมากพอในการตัดสินใจ การเมืองดีไม่มีอะไรมาก แต่เป็นเรื่องของประชาชน ถ้าเราคิดแบบนี้จะเอื้อต่อการพัฒนาการเมือง
“อย่าสร้างความหยุดชะงักให้กับพรรคการเมืองบ่อยๆ การออกแบบกฎกติกาที่ยุบยิบไปหมด ไม่เอื้อต่อการสร้างระบบพรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ถ้าเราออกแบบกฎกติกาด้วยพื้นฐานที่ไม่ไว้วางใจประชาชน และต้องการพยายามควบคุมอำนาจสถาบันการเมืองที่ยึดโยงประชาชน ให้อยู่ใต้อำนาจที่ไม่ได้ยึดโยงประชาชน เป็นคุณพ่อรู้ดีไปหมดว่าการเมืองที่ดีเป็นอย่างไร ตรงนี้ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญ” นายชัยธวัช กล่าว
หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตด้วยว่ามองได้หลายแง่มุม หากเชื่ออย่างที่นายชูศักดิ์พูดว่าเป็นเพราะรัฐบาลผสมจึงผลักดันไม่ได้ โจทย์ใหญ่ของการเมืองไทยจะต้องมาดูที่การออกแบบกฎกติกา อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ตนไม่ได้มองว่าเป็นเพราะรัฐบาลผสมหรือไม่ แต่คิดว่าตอนออกแบบนโยบายอาจจะคิดไม่เสร็จตั้งแต่แรก อาจจะใช้เป็นดิจิทัลมันนี่ แต่อาจจะติดข้อกฎหมายทำไม่ได้ ต่อมาอาจจะคิดใช้เงินนอกงบประมาณ แต่ก็ติดเรื่องกฎหมายอีก เหมือนคิดไปทำไป ไม่ได้คิดตลอดสายตั้งแต่แรก
ส่วนเรื่องการยุบพรรค นายชัยธวัช กล่าวบนเวทีเสวนาตอนหนึ่งว่า ในอดีตกลไกยุบพรรคการเมืองที่ออกแบบมาต้องอาศัยอำนาจรัฐประหาร แต่วันนี้เมื่อสังคมพัฒนาไม่ยอมรับการใช้อำนาจ จึงมีการมาออกแบบโดยใช้กลไกกฎหมายเป็นการยุบโดยมีอารยะมากขึ้น ถ้าเราเชื่อว่า พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย การยุบพรรคควรต้องเลิกได้แล้ว ถ้าจะทำ ปัญหาคือใครตัดสิน เพราะการตัดสินต้องมีความชัดเจนแน่นอน คำถามวันนี้คือข้อกล่าวหาเรื่องการล้มล้างการปกครองและเป็นปฏิปักษ์ ทุกวันนี้มีความชัดเจนหรือไม่
ก.ก. ดักคอ รบ.สอดดิจิทัลวอลเล็ตเข้างบ’68 ไม่ได้ ชี้กรอบวงเงินไม่เอื้อ คาดลากยาวถึงปี’70 ปชช.ทำใจได้ไม่ถึงหมื่น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4495144
ก.ก. ดัก รบ.สอดดิจิทัลวอลเล็ตเข้างบ’68 ไม่ได้ ชี้กรอบวงเงินไม่เอื้อ มั่นใจลากยาวถึงปี’70 บอกปชช.ทำใจได้ไม่ถึงหมื่น ไม่ครบ 50 ล้านคน
เมื่อเวลา 12.50 น. วันที่ 27 มีนาคม ที่รัฐสภา นายจุลพงศ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แถลงว่า ตามที่รัฐบาลแถลงจะมีการแจกเงินตามโครงการดิจิทัลวอลเล็ตในเดือนต.ค. ปีนี้ โดยแจกครบคนละ 10,000 บาท จำนวน 50 ล้านคน แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าจะเอาเงินมาจากไหนนั้น หากจะแจกในเดือนต.ค.ปีนี้จริง ก็คาดได้ว่ารัฐบาลคงเอาวงเงินรายจ่ายในโครงการไปใส่ไว้ในงบประมาณรายจ่าย ปี 2568 ที่จะเริ่มจ่ายในเดือนต.ค.ปีนี้ ซึ่งเป็นการเริ่มปีงบประมาณพอดี แต่เงินจำนวนมากขนาดนี้คงจะใส่ในงบประมาณรายจ่ายปีเดียวไม่ได้ คงทยอยใส่ในปีงบประมาณต่อๆไปจนครบ
นายจุลพงศ์ กล่าวว่า หากรัฐบาลจะหาเงินโดยวิธีการออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ก็จะไม่เข้าเงื่อนไข แต่จะหากหาเงินโดยการออกพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เงินกู้ ตามมาตรา 53 ก็อาจไม่เข้าเงื่อนไข เพราะหากสภาวะทางเศรษฐกิจของไทยทรงตัวอยู่ในสภาพนี้ที่ไม่ใช่วิกฤต ประกอบกับรัฐบาลคงจะพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกฤษฎีกาและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดีแล้ว