เป็นไปได้ไหมที่จะขอร้องให้รุ่น Baby Boomers หยุดทำงาน

1.    ปูติน ผู้นำรัสเซีย อายุ 72 ปี / เกิดปี 2495
2.    สี จิ้นผิง ผู้นำจีน อายุ 71 ปี / เกิดปี 2496
3.    ทรัมป์  ผู้สมัครแข่งขันประธานาธิบดีสหรัฐฯ อายุ 78 ปี / เกิดปี 2489
4.    ไบเด้น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ  อายุ 82 ปี /เกิดปี 2485
5.    นเรนทระ โมที ผู้นำอินเดีย อายุ 74 ปี / เกิดปี 2493
6.    อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อายุ 77 ปี / เกิดปี 2490
7.    เนทันยาฮู  ผู้นำอิสราเอล อายุ 75 ปี / เกิดปี 2492
8.    อายุเฉลี่ย ครม. เศรษฐา 1 คือ 61 ปี 
โลกถูกปกครองด้วยคนรุ่นที่ขยันทำงาน แต่โลกอาจไม่ก้าวหน้ามากนัก ด้วยระบบคิดแบบเดิม และการแก้ปัญหาแบบคนรุ่นหนึ่ง
ที่มีบทบาทต่อโลกมาอย่างยาวนาน -- เป็นคำถาม ชวนวิเคราะห์ ว่าจริงหรือไม่


ความสุขที่ไม่ต้องอยู่บ้านเฉาๆ และค่านิยมเรื่องยศฐาบันดาศักดิ์สัมพันธ์กับความสุข  คนเหล่านี้ยังคงสนใจการทำงานมากกว่าการจับจ่าย แน่นอนว่าปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี ทำให้คนรุ่น 70 ปีขึ้นไปดูไม่แก่  เซลล์ผิวเต่งตึงดี แต่เราไม่อาจตรวจสอบความแน่ชัดของศักยภาพการจดจำและการนำอดีตมาแก้ปัญหาปัจจุบันของคนวัยนี้ 

ลักษณะของคนรุ่น baby boomer ส่วนหนึ่งจากบทความโดย Yuval Levin  “Why Are We Still Governed by Baby Boomers and the Remarkably Old?” ใน The New York Times รวมถึงการตั้งข้อสังเกตโดยผู้เขียนเอง

1.     พวกเขาเกิดมาในยุคที่ต้องทำงานหนัก ประหยัดอดออม มีวินัย เครื่องอำนวยความสะดวกมีไม่มากนัก ได้รับการศึกษาไม่เต็มที่ เหมือนคน Gen X ที่ชีวิตได้อยู่ในระบบการศึกษาที่บริบูรณ์มากขึ้น  เศรษฐกิจยุคที่พวกเขาเติบโตมาไม่อู่ฟู่ พรั่งพร้อม เป็นบรรยากาศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
2.    มองโลกเป็นขั้นเป็นตอน เช่น เรียนจบ แต่งงาน มีลูก ทำงานเริ่มจากขั้นต่ำเลื่อนไปขั้นสูง ใช้เวลาเป็นตัวแปร
ดังนั้นสภาพความคิดจึงไม่ค่อยยืดหยุ่นแบบคนรุ่นใหม่ที่ มีลูกตอนอายุ 20 เรียนจบ 30 เป็นเศรษฐีตั้งแต่ 18
3.    ปกป้องระบบสังคมและระบบโลกที่คนมีความสำคัญ เช่น ถ้า Gen X ขึ้นครอง อาจเอาเอไอมาช่วยงานกลั่นกรอง กม. ในสภา เราอาจลดปริมาณ สว ให้น้อยลง ประหยัดงบประมาณไปได้ระดับหนึ่ง
4.    ยังไม่ยอมรับความหลากหลายและเท่าเทียมได้เต็มที่นัก เช่น ความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ สนใจเรื่องความสูง-ต่ำ มากกว่าความเท่าเทียม เช่น ความเป็นผู้นำ คือ การอยู่เหนือกว่า ลูกน้องต้องเกรงใจ การระดมสมองแบบทุกคนในทีมเท่าเทียม ลองผิดลองถูก จึงทำได้ยาก
แต่หากได้รับการเคารพ รัก ได้คนที่ถูกใจ จะใจดีมาก จนบางครั้งเปย์เกินเหตุ ซึ่งหากได้ลูกน้องที่รับหมดไม่ปฏิเสธ งบที่ควรถึงมือคนส่วนรวมหายได้
5.    ต้องการสังคมที่มั่นคงและรักษาสภาพสังคมไว้ดังอดีต มองว่าความเปลี่ยนแปลงคือเรื่องสุ่มเสี่ยง  
มากกว่าเปิดใจว่า การเปลี่ยนแปลงบางครั้ง อาจทวีคุณค่าของบางสิ่งในอดีตให้เจิดจรัสในรูปแบบใหม่ๆได้
6.    ให้ค่ากับดินแดน ในขณะที่คนรุ่นใหม่มองว่า ทำงานที่ไหนก็ได้ เรียนที่ไหนก็ได้ ไม่ยึดติดกับพรมแดนประเทศ 
7.    ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีระดับสูงได้ยาก ส่วนใหญ่ได้สูงสุด คือ ส่งไลน์สวัสดีวันจันทร์ แต่ไม่ใช่กลุ่มคนที่ศึกษาเทคโนโลยีได้อย่างซับซ้อน 
8.   ให้ค่ากับครอบครัว เลี้ยงลูกมาเป็นอย่างดี มีลูก 2-4 คน ดูแลจนจบปริญญา และมักกดดันให้ลูกมีหลานให้ โดยเชื่อว่า นั่นคือ สิ่งที่ดีต่อชีวิตในอนาคต อาจสนใจลดภาษีให้คนในชาติมีลูกเพิ่ม มากกว่าเอางบประมาณนั้น มาพัฒนาเอไอ ยารักษาโรค เทคโนโลยีการพยาบาลเพื่อดูแลสังคมผู้สูงอายุ
9.    ขาดการตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างว่องไว  
10.  รับความเห็นและวิธีการแบบคนรุ่นใหม่ได้ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งคือ ไม่เข้าใจวิธีที่แปลกออกไป เพราะวิธีเหล่านั้น ยังไม่สำเร็จให้เห็น
 
Yuval Levin  กล่าวเชิงสรุปไว้ใน The New York Times ว่า "เราขาดผู้นำที่มีวุฒิภาวะ มีการตัดสินใจที่สมเหตุสมผล และใส่ใจต่ออนาคต"
 [“We plainly lack grounded, levelheaded, future-oriented leaders.”]
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมืองต่างประเทศ รัฐบาล
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่