สหรัฐฯและยูเครนในวันพุธ(30เม.ย.) ลงนามในข้อตกลงแร่หลังถูกเลื่อนออกมากว่า 2 เดือน ในสิ่งที่รัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกว่าเป็นรูปแบบใหม่ในคำมั่นสัญญาของอเมริกาที่มีต่อเคียฟ หลังยุติความช่วยเหลือด้านการทหาร
ยูเครนเผยว่าพวกเขาได้ผลประโยชน์สำคัญๆ ตามหลังการเจรจาที่ยืดเยื้อ ในนั้นรวมถึงอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์เหนือแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆและส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีการสำรวจ
หลังมีท่าทีลังเลในเบื้องต้น ยูเครนตอบรับข้อตกลงแร่ในแนวทางหนึ่งๆที่จะรับประกันการลงทุนของสหรัฐฯในระยะยาว ในขณะที่ทรัมป์พยายามลดระดับคำมั่นสัญญาด้านความมั่นคงของอเมริกาที่มีต่อทั่วโลกลงอย่างมาก
ในกรุงเคียฟ เดนีส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ว่าข้อตกลงนี้ "เป็นข้อตกลงที่ดี มีความเท่าเทียมและเป็นประโยชน์"
ทรัมป์ ลังเลที่จะมอบคำรับประกันด้านความมั่นคงแก่ยูเครน และปฏิเสธความทะเยอทะยานของเคียฟในการเข้าร่วมนาโต แต่ในวันพุธ(30เม.ย.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯบอกว่าการปรากฏตัวของอเมริกาในพื้นที่ จะเป็นประโยชน์แก่ยูเครน "ผมคิดว่า การปรากฏตัวของอเมริกา จะช่วยกันตัวละครแย่ๆออกจากประเทศแห่งนี้ หรือออกจากบางพื้นที่ บริเวณที่เราจะทำการขุดเจาะ" ทรัมป์ บอกกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ทรัมป์ ผลักดันทางออกหนึ่งๆซึ่ง ยูเครน จะต้องยอมสละดินแดนบางส่วนที่ถูกยึดครองโดยรัสเซีย อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ปฏิเสธการสละแคว้นไครเมียอย่างเป็นทางการให้รัสเซีย แม้ว่าแหลมแห่งนี้ถูกรัสเซียยึดไปตั้งแต่ปี 2014 และมอสโกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อ้างอิงจากการประเมินต่างๆนานา ยูเครนถือครองทรัพยากรแร่และแร่แรร์เอิร์ธ คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 5% ของทรัพยากรแร่และแร่แรร์เอิร์ธทั้งหมดของโลก อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้จำนวนมากของทรัพยากรเหล่านั้นยังไม่ได้มีการขุดเจาะ และที่ตั้งหลายแห่งอยู่ในดินแดน ที่เวลานี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรัสเซีย
รัสเซียควบคุมดินแดนของยูเครน คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 20% ตามหลังการสู้รบอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่ลากยาวมานานกว่า 3 ปี ที่ค่าชีวิตผู้คนไปหลายหมื่นคน ในนั้นรวมถึงพลเรือน
เซเลนสกี้ ยูเครน กระจอกหมดฟอร์มขายชาติ ลงนามมอบแร่ หายากให้ สหรัฐฯ มีสิทธิเหนือดินแดนเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ
ยูเครนเผยว่าพวกเขาได้ผลประโยชน์สำคัญๆ ตามหลังการเจรจาที่ยืดเยื้อ ในนั้นรวมถึงอำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์เหนือแร่แรร์เอิร์ธ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆและส่วนใหญ่แล้วยังไม่มีการสำรวจ
หลังมีท่าทีลังเลในเบื้องต้น ยูเครนตอบรับข้อตกลงแร่ในแนวทางหนึ่งๆที่จะรับประกันการลงทุนของสหรัฐฯในระยะยาว ในขณะที่ทรัมป์พยายามลดระดับคำมั่นสัญญาด้านความมั่นคงของอเมริกาที่มีต่อทั่วโลกลงอย่างมาก
ในกรุงเคียฟ เดนีส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ว่าข้อตกลงนี้ "เป็นข้อตกลงที่ดี มีความเท่าเทียมและเป็นประโยชน์"
ทรัมป์ ลังเลที่จะมอบคำรับประกันด้านความมั่นคงแก่ยูเครน และปฏิเสธความทะเยอทะยานของเคียฟในการเข้าร่วมนาโต แต่ในวันพุธ(30เม.ย.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯบอกว่าการปรากฏตัวของอเมริกาในพื้นที่ จะเป็นประโยชน์แก่ยูเครน "ผมคิดว่า การปรากฏตัวของอเมริกา จะช่วยกันตัวละครแย่ๆออกจากประเทศแห่งนี้ หรือออกจากบางพื้นที่ บริเวณที่เราจะทำการขุดเจาะ" ทรัมป์ บอกกับที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ทรัมป์ ผลักดันทางออกหนึ่งๆซึ่ง ยูเครน จะต้องยอมสละดินแดนบางส่วนที่ถูกยึดครองโดยรัสเซีย อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ปฏิเสธการสละแคว้นไครเมียอย่างเป็นทางการให้รัสเซีย แม้ว่าแหลมแห่งนี้ถูกรัสเซียยึดไปตั้งแต่ปี 2014 และมอสโกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
อ้างอิงจากการประเมินต่างๆนานา ยูเครนถือครองทรัพยากรแร่และแร่แรร์เอิร์ธ คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 5% ของทรัพยากรแร่และแร่แรร์เอิร์ธทั้งหมดของโลก อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้จำนวนมากของทรัพยากรเหล่านั้นยังไม่ได้มีการขุดเจาะ และที่ตั้งหลายแห่งอยู่ในดินแดน ที่เวลานี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรัสเซีย
รัสเซียควบคุมดินแดนของยูเครน คิดเป็นสัดส่วนราวๆ 20% ตามหลังการสู้รบอันโหดร้ายป่าเถื่อนที่ลากยาวมานานกว่า 3 ปี ที่ค่าชีวิตผู้คนไปหลายหมื่นคน ในนั้นรวมถึงพลเรือน