ดอกเบี้ยทบต้น หมายถึง ดอกเบี้ย หรือผลตอบแทนที่คิดจากเงินต้น บวกกับดอกเบี้ยที่เราได้รับจากงวดก่อนหน้า
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยกให้ “ดอกเบี้ยทบต้น” เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก
โดยบอกว่าคนที่เข้าใจมัน จะหาเงินจากมันได้ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจมัน จะต้องจ่ายเงินให้กับมัน
ยกตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย
หากเรานำเงิน 100,000 บาทไปลงทุน และได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
เราจะได้ดอกเบี้ยปีละ 1,500 บาทเท่ากันทุกปี
รวมดอกเบี้ย 10 ปี เท่ากับ 15,000 บาท
โดยตัวอย่างของ ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้, เงินปันผลที่ได้จากหุ้นหรือกองทุน
แนะนำ กระทู้หุ้นปันผล SETHD
https://ppantip.com/topic/42587665?sc=CDZg876
แบบที่สอง ถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบทบต้น
สิ้นปีที่ 1 ได้ดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 1 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 101,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 ได้ดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 2 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 103,022.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 ได้ดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
สิ้นปีที่ 3 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 104,567.8 บาท
และทบแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อสิ้นปีที่ 10 เงินต้นรวมดอกเบี้ยจะเป็น 116,054 บาท
นับเฉพาะดอกเบี้ยเท่ากับ 16,054 บาท เทียบกับแบบแรกที่ได้ 15,000 บาท
โดยสูตรการคำนวณเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกเบี้ยต่อปี) ยกกำลังจำนวนปี
โดยตัวอย่างของดอกเบี้ยแบบทบต้น คือเงินฝากออมทรัพย์
รวมถึงการลงทุนที่มีหลักการคล้ายกับดอกเบี้ยทบต้น เช่น
- การซื้อกองทุนรวมชนิดสะสมมูลค่า ซึ่งผลตอบแทนจะทบรวมเข้าไปในกองทุนเรื่อย ๆ แทนที่จะถูกจ่ายเป็นปันผลออกมา
- การนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ได้รับ ไปลงทุนต่อที่อัตราผลตอบแทนเท่าเดิม
นอกจากในด้านรายรับแล้ว พลังของดอกเบี้ยทบต้นก็ยังส่งผลต่อด้านรายจ่ายด้วยเช่นกัน
ซึ่งเราก็สามารถแบ่งได้ 2 แบบเหมือนเดิม
ยกตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเรามีหนี้ 100,000 บาท ถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี และเรายังไม่ได้จ่ายคืนเงินต้นเลย
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เราก็จะเสียดอกเบี้ย ปีละ 1,500 บาท เท่ากันทุกปี
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยกู้ซื้อรถยนต์
แบบที่สอง คำนวณแบบดอกเบี้ยทบต้น
สิ้นปีที่ 1 เสียดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 เสียดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 เสียดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต และดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน
อย่างที่ได้บอกไปว่าดอกเบี้ยแบบทบต้น จะคำนวณจากฐานเงินต้นใหม่เสมอ
นั่นแปลว่า ยิ่งเราจ่ายเงินต้นคืนช้าเท่าไร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งทวีคูณมากเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราจ่ายเงินต้นคืนมาก ก็จะทำให้ฐานเงินต้นใหม่มีค่าน้อยลง และดอกเบี้ยก็จะน้อยลงตามไปด้วย
ขอบคุณบทความจากลงทุนแมนครับ
ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร ? ข้อดีของการลงทุน
อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ยกให้ “ดอกเบี้ยทบต้น” เป็นสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก
โดยบอกว่าคนที่เข้าใจมัน จะหาเงินจากมันได้ ส่วนคนที่ไม่เข้าใจมัน จะต้องจ่ายเงินให้กับมัน
ยกตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย
หากเรานำเงิน 100,000 บาทไปลงทุน และได้ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี เป็นระยะเวลา 10 ปี
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น
เราจะได้ดอกเบี้ยปีละ 1,500 บาทเท่ากันทุกปี
รวมดอกเบี้ย 10 ปี เท่ากับ 15,000 บาท
โดยตัวอย่างของ ดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยจากพันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้, เงินปันผลที่ได้จากหุ้นหรือกองทุน
แนะนำ กระทู้หุ้นปันผล SETHD
https://ppantip.com/topic/42587665?sc=CDZg876
แบบที่สอง ถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบทบต้น
สิ้นปีที่ 1 ได้ดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 1 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 101,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 ได้ดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 2 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 103,022.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 ได้ดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
สิ้นปีที่ 3 เงินต้นรวมดอกเบี้ย คือ 104,567.8 บาท
และทบแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อสิ้นปีที่ 10 เงินต้นรวมดอกเบี้ยจะเป็น 116,054 บาท
นับเฉพาะดอกเบี้ยเท่ากับ 16,054 บาท เทียบกับแบบแรกที่ได้ 15,000 บาท
โดยสูตรการคำนวณเงินต้นรวมกับดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ
เงินต้นรวมดอกเบี้ย = เงินต้น x (1+อัตราดอกเบี้ยต่อปี) ยกกำลังจำนวนปี
โดยตัวอย่างของดอกเบี้ยแบบทบต้น คือเงินฝากออมทรัพย์
รวมถึงการลงทุนที่มีหลักการคล้ายกับดอกเบี้ยทบต้น เช่น
- การซื้อกองทุนรวมชนิดสะสมมูลค่า ซึ่งผลตอบแทนจะทบรวมเข้าไปในกองทุนเรื่อย ๆ แทนที่จะถูกจ่ายเป็นปันผลออกมา
- การนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลที่ได้รับ ไปลงทุนต่อที่อัตราผลตอบแทนเท่าเดิม
นอกจากในด้านรายรับแล้ว พลังของดอกเบี้ยทบต้นก็ยังส่งผลต่อด้านรายจ่ายด้วยเช่นกัน
ซึ่งเราก็สามารถแบ่งได้ 2 แบบเหมือนเดิม
ยกตัวอย่างเดิม แต่เปลี่ยนเป็นเรามีหนี้ 100,000 บาท ถูกคิดดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี และเรายังไม่ได้จ่ายคืนเงินต้นเลย
แบบที่หนึ่ง ดอกเบี้ยไม่ทบต้น
เราก็จะเสียดอกเบี้ย ปีละ 1,500 บาท เท่ากันทุกปี
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น คือ ดอกเบี้ยกู้ซื้อรถยนต์
แบบที่สอง คำนวณแบบดอกเบี้ยทบต้น
สิ้นปีที่ 1 เสียดอกเบี้ย 1,500 บาท
สิ้นปีที่ 2 เสียดอกเบี้ย 1,522.5 บาท
สิ้นปีที่ 3 เสียดอกเบี้ย 1,545.3 บาท
โดยตัวอย่างของการคิดดอกเบี้ยแบบทบต้น คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิต และดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน
อย่างที่ได้บอกไปว่าดอกเบี้ยแบบทบต้น จะคำนวณจากฐานเงินต้นใหม่เสมอ
นั่นแปลว่า ยิ่งเราจ่ายเงินต้นคืนช้าเท่าไร ดอกเบี้ยก็จะยิ่งทวีคูณมากเท่านั้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราจ่ายเงินต้นคืนมาก ก็จะทำให้ฐานเงินต้นใหม่มีค่าน้อยลง และดอกเบี้ยก็จะน้อยลงตามไปด้วย
ขอบคุณบทความจากลงทุนแมนครับ