เปิด 7 อันดับหนี้ของคนไทย พร้อมแผนรับมือที่ทำได้จริง

เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99/219899

ประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้ต่อครัวเรือนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มาอยู่ 7 อันดับหนี้ที่คนไทยแบกอยู่ พร้อมแผนรับมือที่ทำได้จริง
ธนาคารทหารไทยธนชาต ระบุว่า คนส่วนใหญ่อาจคิดว่าเป็นหนี้บ้านหรือรถ แต่ความจริงแล้วจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยประจำปี 2565 กลับพบว่า คนไทยเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลมากที่สุด โดยจะสังเกตเห็นว่าหนี้ทั้งสองประเภทนี้มักเกิดจากค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันมากกว่าการลงทุนหรือสร้างโอกาสทางการเงินในอนาคต
แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นหนี้ที่สร้างปัญหาได้เช่นกัน หากไม่มีวินัยทางการเงินเพียงพอ

ซึ่งหนี้ที่เกิดขึ้นอันดับอื่น ๆ ของคนไทยได้แก่
 
สินเชื่อส่วนบุคคล 39%
บัตรเครดิต 29%
การเกษตร 12%
รถยนต์ 10%
บ้าน 4%
ธุรกิจ 4%
มอเตอร์ไซค์ 2%
 
ขณะที่ ข้อมูลภาวะสังคมไตรมาสที่ 4/2566 และภาพรวมปี 2566 พบว่า หนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.3% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และถ้าเทียบกับจีดีพีหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจพบว่า หนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะอยู่ที่ 90.9%  

แล้วพอจะมีวิธีการเอาชนะหนี้ หรือ ทำให้หนี้หมดไปจากชีวิตไดด้หรือไม่ เพื่อชีวิตการเงินที่ดีขึ้น
 
1.  จดรายการหนี้สิน เริ่มต้นจากการระบุรายการหนี้ที่มีทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง และใส่รายละเอียดเกี่ยวกับหนี้แต่ละรายการ ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต้องชำระต่อเดือน อัตราค่าปรับในกรณีชำระผิดนัด ยอดหนี้สุทธิ ระยะเวลาผ่อนชำระ และอื่น ๆ 

2. วางแผนชำระหนี้อย่างเป็นระบบ โดยทั่วไปแล้ว ควรเริ่มชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงที่สุดก่อน เช่น หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลหรือหนี้นอกระบบ และเมื่อจ่ายหนี้ก้อนนี้เรียบร้อยแล้ว ให้เริ่มชำระหนี้ก้อนเล็กที่สุดเป็นลำดับต่อมา จากนั้นนำเงินไปใช้ชำระหนี้ก้อนถัดไปที่เหลือน้อยที่สุด และให้ทำเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 18 – 24 เดือน จึงจะเริ่มเห็นสภาพการเงินที่ดีขึ้น

3. แบ่งเงินออมหรือเงินก้อนมาชำระหนี้ หากมีเงินออม อัตราดอกเบี้ยที่จะได้จากเงินออมมักอยู่ที่ราว 0.25% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสินเชื่ออยู่ที่ 10-25% ดังนั้น การเลือกแบ่งเงินออมบางส่วนมาชำระหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดก่อน จะช่วยลดภาระหนี้สินที่หนักให้เบาลงได้

4. การรวบหนี้ (Debt Consolidation) คือ การนำหนี้จากหลาย ๆ ที่ มารวมไว้เป็นก้อนเดียว ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล เพื่อนำไปขอสินเชื่อกับธนาคาร โดยใช้ทรัพย์สินที่มี เช่น บ้าน หรือ รถยนต์ มาใช้ค้ำประกัน ซึ่งธนาคารจะนำเงินที่ได้ไปปิดหนี้ต่าง ๆ โดยที่ยังสามารถใช้บ้าน หรือ รถยนต์ ได้ตามปกติ ทำให้การรวบหนี้ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้สามารถจ่ายหนี้ได้ง่ายขึ้น และช่วยลดภาระการจ่ายหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ รวมทั้งยังเหมาะกับคนที่มีหนี้หลายก้อน เพราะการรวบหนี้จะช่วยให้จ่ายเงินค่างวดต่อเดือนลดลง และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่