มาดูกันว่ากองทุนประกันสังคมต้องนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอต่อการจ่ายเงินบำนาณ

ข้อมูลที่ใช้ คิดจากฐานสูงสุด ระยะเวลาสูงสุด:
อายุเริ่มทำงาน : 22 ปี
อายุเกษียณ: 55 ปี
ฐานเงินเดือนประกันสังคม : 15,000 บาท
เงินบำนาญรายเดือน: 6,825 บาท มาจาก ((20+((32-15)*1.5))*15000)/100)
อายุขัย: 85 ปี 
(ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา อายุขัยเฉลี่ยของชายไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 65.6 ปี ในปี 2513 เป็น 73.5 ปี ในปี 2564 คาดการณ์ว่าอายุขัยเฉลี่ยของชายไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า (ปี 2584) น่าจะมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ประมาณ 80-85 ปี)

หาเงินที่ส่งประกันสังคมไปเฉพาะส่วนกรณีชราภาพ (3%)
1. ระยะเวลาการทำงาน: ทำงานเป็นเวลา 33 ปี (55 - 22 = 33)
2. เงินสมทบ: เงินสมทบและนายจ้างรวมกันอยู่ที่ 450 บาท + 450 บาท = 900 บาทต่อเดือน
ยอดเงินรวม = (900 บาท x (33 x 12 เดือน)) = 356,400 บาท 

คำนวณกำไรจากเงินบำนาญประกันสังคม
1. คำนวณจำนวนปีที่รับเงินบำนาญ: 85 - 55 = 30 ปี
2. คำนวณเงินบำนาญรวมที่ได้รับ: 6,825 บาท x (30 x 12 เดือน) = 2,457,000 บาท
ดังนั้น จะได้กำไรจากเงินชราภาพ = 2,457,000 - 356,400 = 2,100,600

เท่ากับว่าต้องทำเงินจำนวน 356,400 ให้เป็น 2,457,000 ให้ได้ โดยใช้ระยะเวลา 33 ปี

หาผลตอบแทนต่อปีที่ต้องการ
เงินลงทุนต่อเดือนคือ 900 บาท ระยะเวลาการลงทุนคือ 33 ปี (เป็นเงิน 356,400 บาท ) และผลตอบแทนรวมที่ต้องการในตอนท้ายคือ 2,457,000 บาท

ใช้สูตรการคำนวณจำนวนเงินทบต้น
A = P * (1 + r/n)^(nt)

โดยที่
A = จำนวนเงินรวมในตอนท้าย
P = เงินลงทุนเริ่มต้น
r = อัตราผลตอบแทนต่อปี
n = จำนวนการลงทุนต่อปี
t = จำนวนปี

จากโจทย์
A = 2,457,000 บาท
P = 900 บาท/เดือน * 12 เดือน/ปี = 10,800 บาท/ปี
n = 12 (ลงทุนทุกเดือน)
t = 33 ปี
แทนค่าในสูตร จะได้

2,457,000 = 10,800 * (1 + r/12)^(12*33)
227,500 = (1 + r/12)^(396)
1.0988 = 1 + r/12
r/12 = 0.0988
r = 11.856%

ดังนั้น ต้องการผลตอบแทนต่อปี 11.856%

สรุปสุดท้าย
ผลตอบแทนที่กองทุนประกันสังคมต้องทำให้ได้คือประมาณ 12% กองทุนถึงจะยั่งยืนและอยู่ได้

ปล.ผลลัพธ์ยังไม่ได้รวมค่าดำเนินการต่างๆ และยังไม่ได้หักที่รัฐบาลต้องจ่ายให้กองทุนอีก 2.75% และอาจจะมีคนที่ได้บำนาณมากหรือน้อยกว่านี้

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่