หลังจากได้เข้าชิงออสการ์ประจำปี 2024 ถึง 11 สาขา รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชื่อของ Poor Things ก็กลายเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างหนาหู ไม่ใช่แค่การได้ชิงรางวัลหลากสาขาเท่านั้น แต่เป็นการที่ภาพยนตร์ได้ติดเรท ฉ.20 (ผู้ชมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไปถึงจะดูได้) โดยมีนักแสดงนำมากฝีมืออย่าง เอ็มม่า สโตน (Emma Stone) มารับบทที่เรียกว่า “เปลืองตัว” ที่สุดในชีวิตการแสดงของเธอเลยทีเดียว
และก็ไม่แปลกใจนักถ้า Poor Things ของผู้กำกับชาวกรีก ยอร์กอส ลันธิมอส (Yorgos Lanthimos) จะเต็มไปด้วยความพิศดาร เพราะเมื่อมองจากผลงานก่อนหน้าของเขาที่จะเน้นไปในทาง “การทดลองเกี่ยวกับมนุษย์” ทั้ง Dogtooth (2009) ที่แจ้งเกิดชื่อของเขา และ The Lobsters (2015) ภาพยนตร์ที่ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมา
หากมองไปที่นิยายในชื่อเดียวกันในปี 1992 ของนักเขียนอลาสแตร์ เกรย์ (Alasdair Gray) ซึ่งเป็นต้นทางของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ว่ากันว่ามีกลิ่นอายของนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกของโลกอย่าง แฟรงเกนสไตน์ (Frankenstein) ในปี 1818 ของนักเขียนหญิงนามว่า แมรี่ เชลลีย์ (Mary Shelley) อยู่อย่างเต็มเปี่ยม ก็เดาไม่ยากว่าตัวละครที่มาแทนที่มนุษย์ดัดแปลงของ ดร.แฟรงเกนสไตน์ คงไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากตัวของ “เบลล่า” นั่นเอง
ในส่วนของ ดร.แฟรงเกนสไตน์ ในงานของเกรย์แทนที่ด้วย ดร. ก็อดวิน แบ็กซ์เตอร์ (Willem Dafoe) นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง(หมอผ่าตัด)ที่ชื่นชอบการตัดต่อดัดแปลงสิ่งมีชีวิต การที่ตัวของเบลล่าคลุกคลีและใช้ชีวิตอยู่ในบ้านของ ดร.ก็อดวิน ตลอดเวลา รวมถึงการได้เข้าไปเล่นในห้องทำงานของเขาที่เต็มไปด้วยศพ ก็เหมือนจะทำให้มนุษย์ดัดแปลงสาวผู้นี้ได้ซึมซับความเป็นนักวิทยาศาสตร์ติดตัวไปอย่างไม่รู้ตัวด้วยเหมือนกัน ก่อนที่เธอจะตัดสินใจก้าวออกจากบ้านจากคำชักชวนของ ดันแคน เวดเดอร์เบิร์น (Mark Ruffalo) ทนายขี้หลีที่หวังจะใช้ความไร้เดียงสาของเบลล่าเพื่อครอบครองเธอ
สิ่งน่าสนใจของ Poor Things อยู่ในส่วนของประเด็นที่ว่าหากมนุษย์ที่มีสมองเป็นเด็กแต่มีร่างกายเป็นผู้ใหญ่ถือกำเนิดขึ้นมาเขาหรือเธอจะใช้ชีวิตอย่างไร นั่นจึงทำให้การผจญภัยของเบลล่าไม่ต่างจากการท่องโลกแฟนตาซีที่ต้องเจอกับสิ่งต่างๆ เหนือจินตนาการ การท่องไปตามเมืองทั้งหลายทำให้เบลล่าเติบโตขึ้น(สมอง) และต้องรับมือกับโลกที่ไม่ได้สวยอย่างที่คิด ท้ายที่สุดเธอก็เติบโตขึ้นอย่างสง่างามตามท้องเรื่อง โดยไม่ได้มีการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนต้องคิดจนปวดหัวระหว่างดูแต่อย่างใด
นอกจากคุณภาพของการแสดงของทั้ง เอ็มม่า สโตน และมาร์ค รัฟฟาโล ที่การันตีโดยการเข้าชิงออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงและสมทบชายแล้ว งานสร้างด้านต่างๆ ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับตัวละครเบลล่าอย่างแท้จริง เริ่มจากงานด้านภาพที่เข้าชิงสาขากำกับภาพยอดเยี่ยม โดยมีการใช้สีขาวดำและภาพที่บิดเบี้ยว(จากเลนส์) ในช่วงแรกของเรื่องเพื่อสะท้อนถึงพัฒนาการของเบลล่าในช่วงที่เรียกได้ว่า “เกิดใหม่” ได้น่าสนใจ โดยสิ่งเหล่านี้จะหายไปและถูกแทนที่ด้วยสีสันสดใสเมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งยังแทรกความเป็นนิยายสยองขวัญ(Horror fiction) ในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อเคารพกลิ่นอายตามนิยายต้นฉบับอีกด้วย
เครื่องแต่งกายของเบลล่าที่เปลี่ยนไปแทบจะทุกฉาก (นึกว่าหอแต๋วแตกของพจน์อานนท์) อันมีนัยยะแฝงถึงเรื่องเพศและสังคมอย่างเด่นชัด ก็ส่งให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าชิงออสการ์สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม เช่นเดียวกันกับการแต่งหน้าและทำผมที่มีรายละเอียดเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของตัวละคร สังเกตได้จากผมที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบจะถึงพื้นของเบลล่า ไปจนถึงงานด้านดนตรีประกอบของเจอร์สกิน เฟนดริกซ์ (Jerskin Fendrix) ที่โดดเด่นอย่างมากในการกระตุ้นโสตประสาท ตลอดเวลา 2 ชั่วโมง 22 นาที รวมไปถึงการออกแบบงานสร้างเหนือจริงและเต็มไปด้วยสีสันของเมืองต่างๆ ที่ส่งให้ Poor Things เข้าชิงในสาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมด้วยอีกหนึ่ง
แต่ไฮไลท์จริงๆ ของเรื่องที่ทำให้ต้องใช้เรท ฉ.20 กับฉากเซ็กส์มากมายนั้น แน่นอนว่านี่ไม่ใช่การทำเพื่อกระตุ้นอารมณ์ผู้ชม แต่มันคือการตอกย้ำเรื่องของ “สังคมปิตาธิปไตย” คล้ายกับที่ Barbie สื่อสารเรื่องนี้ออกมาด้วยเช่นกัน (และเข้าชิงออสการ์ด้วยเหมือนกัน) ซึ่งในยุควิคตอเรียน(อังกฤษ)ที่มากไปด้วยกฏระเบียบ การใช้ชีวิตของผู้คนที่เหมือนปากว่าตาขยิบ จึงเป็นการทดลองที่น่าสนใจว่า หากมีตัวละครแบบเบลล่าที่ไม่ต้องยึดกับกรอบอันน่าอึดอัดนี้ การมีเซ็กส์เพื่อปลดปล่อยที่เกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา การไม่จำเป็นต้องรักษามารยาทบนโต๊ะอาหารที่น่าอืดอัด และอื่นๆ จะเป็นอย่างไร (โนสนโนแคร์ทุกสิ่ง)
ไม่เพียงแต่การใช้ชีวิตโดยเปิดกว้างแนวคิดเรื่องเซ็กส์ของเบลล่า แต่ตัวเรื่องมีการบอกอย่างชัดเจนว่า “แรงขับ” ของเบลล่า คือ การโหยหาอิสรภาพ เนื่องจากเธอถูกจองจำทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยมีผู้ชายเป็นผู้นำอยู่เสมอ ตั้งแต่ ดร.ก็อดวิน ผู้ให้กำเนิด(สร้าง) ทนายดันแคน(ชี้นำ) หรือแม้แต่ตัวละครตอนท้ายเรื่องที่เป็นจุดเริ่มต้นของการตายของเบลล่าก็ตาม(บงการ) ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า แรงขับของเบลล่าที่ทำให้เธออยากออกผจญภัยนั้น มาจากตัวตนเดิมของเธอ(เจ้าของร่าง) หรือมาจากสภาพแวดล้อมที่เบลล่าพบเจอตลอดทั้งเรื่องกันแน่
แต่ก็ใช่ว่า Poor Things จะสมบูรณ์แบบไร้ที่ติไปซะทีเดียว การที่เล่นกับประเด็นเรื่องอายุสมองไม่สัมพันธ์กับร่างกาย แน่นอนว่าเอ็มม่า สโตน มอบการแสดงที่ยอดเยี่ยมให้กับตัวละครนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านจนรู้สึกตัวอีกทีเบลล่าก็กลายเป็นคนปกติไปแล้ว อาการเดินไม่ถนัด พูดไม่ชัดก็หายไป ความงี่เง่าในแบบเด็กๆ ก็หายไปเช่นกัน แต่ดูเหมือนผู้กำกับลันธิมอสจะเน้นหนักไปที่เรื่องเซ็กส์มากจนเกินไป ยังมีประเด็นทางศีลธรรมหรือทางสังคมอื่นๆ ที่ควรจะพาตัวละครไปสำรวจมากกว่านี้ ทั้งในช่วงที่เบลล่ายังไม่ประสีประสาและในช่วงรู้ความแล้วก็ตาม ทำให้ในช่วงหลังเบลล่าก็ไม่ต่างอะไรกับคนธรรมดาที่มีอาการติดเซ็กส์เท่านั้นเอง
สรุป Poor Things เป็นภาพยนตร์ดาร์คคอเมดี้ที่ดูง่ายกว่าที่เห็นจนน่าประหลาดใจ เนื้อเรื่องเป็นเส้นตรงไม่ซับซ้อน แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมายที่สร้างมาเพื่อรองรับพัฒนาการตัวละครหลักของเรื่องซึ่งก็คือ เบลล่า หญิงสาวที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็น “สิ่งน่าสงสาร” แต่ก็น่าเฝ้ามองดูพัฒนาการของตัวละครนี้ไปจนจบเรื่อง ท่ามกลางคุณภาพของทุกสิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าชิงออสการ์ถึง 11 สาขานั่นเอง
Story Decoder
[รีวิว] Poor Things - สิ่งมีชีวิตชื่อเบลล่ากับการตามหาอิสรภาพในโลกที่แสนหรรษา
หลังจากได้เข้าชิงออสการ์ประจำปี 2024 ถึง 11 สาขา รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชื่อของ Poor Things ก็กลายเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างหนาหู ไม่ใช่แค่การได้ชิงรางวัลหลากสาขาเท่านั้น แต่เป็นการที่ภาพยนตร์ได้ติดเรท ฉ.20 (ผู้ชมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีขึ้นไปถึงจะดูได้) โดยมีนักแสดงนำมากฝีมืออย่าง เอ็มม่า สโตน (Emma Stone) มารับบทที่เรียกว่า “เปลืองตัว” ที่สุดในชีวิตการแสดงของเธอเลยทีเดียว
และก็ไม่แปลกใจนักถ้า Poor Things ของผู้กำกับชาวกรีก ยอร์กอส ลันธิมอส (Yorgos Lanthimos) จะเต็มไปด้วยความพิศดาร เพราะเมื่อมองจากผลงานก่อนหน้าของเขาที่จะเน้นไปในทาง “การทดลองเกี่ยวกับมนุษย์” ทั้ง Dogtooth (2009) ที่แจ้งเกิดชื่อของเขา และ The Lobsters (2015) ภาพยนตร์ที่ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักในเวลาต่อมา
หากมองไปที่นิยายในชื่อเดียวกันในปี 1992 ของนักเขียนอลาสแตร์ เกรย์ (Alasdair Gray) ซึ่งเป็นต้นทางของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ว่ากันว่ามีกลิ่นอายของนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกของโลกอย่าง แฟรงเกนสไตน์ (Frankenstein) ในปี 1818 ของนักเขียนหญิงนามว่า แมรี่ เชลลีย์ (Mary Shelley) อยู่อย่างเต็มเปี่ยม ก็เดาไม่ยากว่าตัวละครที่มาแทนที่มนุษย์ดัดแปลงของ ดร.แฟรงเกนสไตน์ คงไม่ใช่ใครที่ไหนนอกจากตัวของ “เบลล่า” นั่นเอง
ในส่วนของ ดร.แฟรงเกนสไตน์ ในงานของเกรย์แทนที่ด้วย ดร. ก็อดวิน แบ็กซ์เตอร์ (Willem Dafoe) นักวิทยาศาสตร์สติเฟื่อง(หมอผ่าตัด)ที่ชื่นชอบการตัดต่อดัดแปลงสิ่งมีชีวิต การที่ตัวของเบลล่าคลุกคลีและใช้ชีวิตอยู่ในบ้านของ ดร.ก็อดวิน ตลอดเวลา รวมถึงการได้เข้าไปเล่นในห้องทำงานของเขาที่เต็มไปด้วยศพ ก็เหมือนจะทำให้มนุษย์ดัดแปลงสาวผู้นี้ได้ซึมซับความเป็นนักวิทยาศาสตร์ติดตัวไปอย่างไม่รู้ตัวด้วยเหมือนกัน ก่อนที่เธอจะตัดสินใจก้าวออกจากบ้านจากคำชักชวนของ ดันแคน เวดเดอร์เบิร์น (Mark Ruffalo) ทนายขี้หลีที่หวังจะใช้ความไร้เดียงสาของเบลล่าเพื่อครอบครองเธอ
สิ่งน่าสนใจของ Poor Things อยู่ในส่วนของประเด็นที่ว่าหากมนุษย์ที่มีสมองเป็นเด็กแต่มีร่างกายเป็นผู้ใหญ่ถือกำเนิดขึ้นมาเขาหรือเธอจะใช้ชีวิตอย่างไร นั่นจึงทำให้การผจญภัยของเบลล่าไม่ต่างจากการท่องโลกแฟนตาซีที่ต้องเจอกับสิ่งต่างๆ เหนือจินตนาการ การท่องไปตามเมืองทั้งหลายทำให้เบลล่าเติบโตขึ้น(สมอง) และต้องรับมือกับโลกที่ไม่ได้สวยอย่างที่คิด ท้ายที่สุดเธอก็เติบโตขึ้นอย่างสง่างามตามท้องเรื่อง โดยไม่ได้มีการเล่าเรื่องที่ซับซ้อนต้องคิดจนปวดหัวระหว่างดูแต่อย่างใด
นอกจากคุณภาพของการแสดงของทั้ง เอ็มม่า สโตน และมาร์ค รัฟฟาโล ที่การันตีโดยการเข้าชิงออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงและสมทบชายแล้ว งานสร้างด้านต่างๆ ยังถูกออกแบบมาเพื่อรองรับตัวละครเบลล่าอย่างแท้จริง เริ่มจากงานด้านภาพที่เข้าชิงสาขากำกับภาพยอดเยี่ยม โดยมีการใช้สีขาวดำและภาพที่บิดเบี้ยว(จากเลนส์) ในช่วงแรกของเรื่องเพื่อสะท้อนถึงพัฒนาการของเบลล่าในช่วงที่เรียกได้ว่า “เกิดใหม่” ได้น่าสนใจ โดยสิ่งเหล่านี้จะหายไปและถูกแทนที่ด้วยสีสันสดใสเมื่อเวลาผ่านไป อีกทั้งยังแทรกความเป็นนิยายสยองขวัญ(Horror fiction) ในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อเคารพกลิ่นอายตามนิยายต้นฉบับอีกด้วย
เครื่องแต่งกายของเบลล่าที่เปลี่ยนไปแทบจะทุกฉาก (นึกว่าหอแต๋วแตกของพจน์อานนท์) อันมีนัยยะแฝงถึงเรื่องเพศและสังคมอย่างเด่นชัด ก็ส่งให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าชิงออสการ์สาขาออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม เช่นเดียวกันกับการแต่งหน้าและทำผมที่มีรายละเอียดเปลี่ยนแปลงไปตามพัฒนาการของตัวละคร สังเกตได้จากผมที่ยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเกือบจะถึงพื้นของเบลล่า ไปจนถึงงานด้านดนตรีประกอบของเจอร์สกิน เฟนดริกซ์ (Jerskin Fendrix) ที่โดดเด่นอย่างมากในการกระตุ้นโสตประสาท ตลอดเวลา 2 ชั่วโมง 22 นาที รวมไปถึงการออกแบบงานสร้างเหนือจริงและเต็มไปด้วยสีสันของเมืองต่างๆ ที่ส่งให้ Poor Things เข้าชิงในสาขาออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมด้วยอีกหนึ่ง
แต่ไฮไลท์จริงๆ ของเรื่องที่ทำให้ต้องใช้เรท ฉ.20 กับฉากเซ็กส์มากมายนั้น แน่นอนว่านี่ไม่ใช่การทำเพื่อกระตุ้นอารมณ์ผู้ชม แต่มันคือการตอกย้ำเรื่องของ “สังคมปิตาธิปไตย” คล้ายกับที่ Barbie สื่อสารเรื่องนี้ออกมาด้วยเช่นกัน (และเข้าชิงออสการ์ด้วยเหมือนกัน) ซึ่งในยุควิคตอเรียน(อังกฤษ)ที่มากไปด้วยกฏระเบียบ การใช้ชีวิตของผู้คนที่เหมือนปากว่าตาขยิบ จึงเป็นการทดลองที่น่าสนใจว่า หากมีตัวละครแบบเบลล่าที่ไม่ต้องยึดกับกรอบอันน่าอึดอัดนี้ การมีเซ็กส์เพื่อปลดปล่อยที่เกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา การไม่จำเป็นต้องรักษามารยาทบนโต๊ะอาหารที่น่าอืดอัด และอื่นๆ จะเป็นอย่างไร (โนสนโนแคร์ทุกสิ่ง)
ไม่เพียงแต่การใช้ชีวิตโดยเปิดกว้างแนวคิดเรื่องเซ็กส์ของเบลล่า แต่ตัวเรื่องมีการบอกอย่างชัดเจนว่า “แรงขับ” ของเบลล่า คือ การโหยหาอิสรภาพ เนื่องจากเธอถูกจองจำทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ โดยมีผู้ชายเป็นผู้นำอยู่เสมอ ตั้งแต่ ดร.ก็อดวิน ผู้ให้กำเนิด(สร้าง) ทนายดันแคน(ชี้นำ) หรือแม้แต่ตัวละครตอนท้ายเรื่องที่เป็นจุดเริ่มต้นของการตายของเบลล่าก็ตาม(บงการ) ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า แรงขับของเบลล่าที่ทำให้เธออยากออกผจญภัยนั้น มาจากตัวตนเดิมของเธอ(เจ้าของร่าง) หรือมาจากสภาพแวดล้อมที่เบลล่าพบเจอตลอดทั้งเรื่องกันแน่
แต่ก็ใช่ว่า Poor Things จะสมบูรณ์แบบไร้ที่ติไปซะทีเดียว การที่เล่นกับประเด็นเรื่องอายุสมองไม่สัมพันธ์กับร่างกาย แน่นอนว่าเอ็มม่า สโตน มอบการแสดงที่ยอดเยี่ยมให้กับตัวละครนี้ แต่เมื่อเวลาผ่านจนรู้สึกตัวอีกทีเบลล่าก็กลายเป็นคนปกติไปแล้ว อาการเดินไม่ถนัด พูดไม่ชัดก็หายไป ความงี่เง่าในแบบเด็กๆ ก็หายไปเช่นกัน แต่ดูเหมือนผู้กำกับลันธิมอสจะเน้นหนักไปที่เรื่องเซ็กส์มากจนเกินไป ยังมีประเด็นทางศีลธรรมหรือทางสังคมอื่นๆ ที่ควรจะพาตัวละครไปสำรวจมากกว่านี้ ทั้งในช่วงที่เบลล่ายังไม่ประสีประสาและในช่วงรู้ความแล้วก็ตาม ทำให้ในช่วงหลังเบลล่าก็ไม่ต่างอะไรกับคนธรรมดาที่มีอาการติดเซ็กส์เท่านั้นเอง
สรุป Poor Things เป็นภาพยนตร์ดาร์คคอเมดี้ที่ดูง่ายกว่าที่เห็นจนน่าประหลาดใจ เนื้อเรื่องเป็นเส้นตรงไม่ซับซ้อน แต่เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมายที่สร้างมาเพื่อรองรับพัฒนาการตัวละครหลักของเรื่องซึ่งก็คือ เบลล่า หญิงสาวที่อาจจะกล่าวได้ว่าเป็น “สิ่งน่าสงสาร” แต่ก็น่าเฝ้ามองดูพัฒนาการของตัวละครนี้ไปจนจบเรื่อง ท่ามกลางคุณภาพของทุกสิ่งที่ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าชิงออสการ์ถึง 11 สาขานั่นเอง
Story Decoder