มาดามแป้ง - ประธานกรรมการกองทุนฯ ขับเคลื่อน Soft Power
ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของศิลปินแห่งชาติ – ผู้ทรงคุณวุฒิ
และขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ระดับนานาชาติ
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พิจารณาสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการอุดหนุน จากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน เผยแพร่การดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมของบุคคล คณะบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติภายใต้โครงการ สนับสนุนการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
นางนวลพรรณ กล่าวว่า กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อน Soft Power ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ๑๑ สาขา ๑) แฟชั่น ๒) อาหาร ๓) เฟสติวัล ๔) ออกแบบ ๕) ดนตรี ๖) กีฬา ๗) หนังสือ ๔) เกม ๙) ศิลปะ ๑๐) ภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ ๑๑) ท่องเที่ยว ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยภาพรวมนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๗ ได้ให้การส่งเสริมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม ผู้มีผลงานดีเด่น ทางวัฒนธรรม ศิลปินพื้นบ้าน คณะบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และ ระดับนานาชาติไปแล้ว รวมทั้งสิ้น ๓๗๒๙ โครงการ เป็นจำนวนเงินกว่า ๑๕๒,๖๐๖,๘๑๕ บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบสองล้าน หกแสนหกพันแปดร้อยสิบห้าบาท)
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
ประธานกรรมการกองทุน ฯ กล่าวอีกว่า สำหรับในปี ๒๕๖๗ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรมมีผู้สนใจยื่นขอรับทุน ๗๔ โครงการ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้พิจารณาคัดเลือกตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ว่าด้วยเงื่อนไขและรายละเอียด ของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ผลปรากฏว่า มีผู้ได้รับทุน ครั้งที่ ๒ จำนวน 4 โครงการ รวมเป็นเงิน ๑,๐๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าหมื่นบาทถ้วน) โดยมีศิลปินแห่งชาติได้รับการสนับสนุนเพิ่มอีก จำนวน 4 ท่าน และมีกลุ่มเป้าหมาย นักเรียน นักศึกษา เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ที่จะเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๔,๖๘๐ คน ได้แก่ โครงการ "นิทรรศการ บ้านคำปุ่น" ของนายมีชัย แต่สุจริยา ศิลปินแห่งชาติ, โครงการการจัดพิมพ์หนังสือเล่มชื่อ จอนิโอ่โดเขา : ปราชญ์นักสู้แห่งภูเขา ของนางชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ, โครงการ "ส่องแก้ววรรณศิลป์ ศิลปินแห่งชาติ" ของนายอดุล จันทรศักดิ์ ศิลปินแห่งชาติ, โครงการ "การจัดทำหนังสือรวมบทนิพนธ์ คัดสรรของ 'สถาพร ศรีสัจจัง, พนม นันทพฤกษ์" ชุดที่ ๑ ของนายสถาพร ศรีสัจจัง ศิลปินแห่งชาติ, โครงการสร้างสรรค์วรรณศิลป์ กวีนิพนธ์ นิสิต นักศึกษา ระดับอุดมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของนายไพวรินทร์ ขาวงาม ศิลปินแห่งชาติ, โครงการจัดพิมพ์หนังสือบันทึกความทรงจําเกี่ยวกับเพลง พื้นบ้านและมหรสพไทย ของนายเอนก นาวิกมูล ศิลปินแห่งชาติ, โครงการ "มหกรรมขับร้องประสานเสียง แห่งประเทศไทย" ของคุณหญิงมาลัยวัลย์ บุณยะรัตเวช ศิลปินแห่งชาติ, โครงการ "จังหวะของแผ่นดินกับ ศิลปินแห่งชาติ" การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมลำตัดและ เพลงพื้นบ้านภาคกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ของนางศรีนวล ขำอาจ ศิลปินแห่งชาติ
ทั้งนี้ เมื่อกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพิ่มเติมจากรัฐบาล จะพิจารณาสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมอีกในโอกาสต่อไป และขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ผ่านกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม โดยสามารถบริจาคด้วยตนเอง หรือ โอนผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนรัชดาภิเษก ชื่อบัญชี กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เลขที่บัญชี ๐๖๐ - ๒ - ๑๖๕๑๑ - ๗ หรือ เช็คสั่งจ่ายในนามกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้ ๒ เท่า
ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม สนับสนุนเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านศิลปวัฒนธรรมสู่ระดับนานาชาติ
นางนวลพรรณ กล่าวว่า กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีนโยบายสนับสนุนการขับเคลื่อน Soft Power ความเป็นไทยให้เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติ มุ่งส่งเสริมวัฒนธรรม และขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ๑๑ สาขา ๑) แฟชั่น ๒) อาหาร ๓) เฟสติวัล ๔) ออกแบบ ๕) ดนตรี ๖) กีฬา ๗) หนังสือ ๔) เกม ๙) ศิลปะ ๑๐) ภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ ๑๑) ท่องเที่ยว ให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งในด้านศิลปวัฒนธรรม สังคมและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม จัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยภาพรวมนับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๗ ได้ให้การส่งเสริมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมของศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม ผู้มีผลงานดีเด่น ทางวัฒนธรรม ศิลปินพื้นบ้าน คณะบุคคล องค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และ ระดับนานาชาติไปแล้ว รวมทั้งสิ้น ๓๗๒๙ โครงการ เป็นจำนวนเงินกว่า ๑๕๒,๖๐๖,๘๑๕ บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบสองล้าน หกแสนหกพันแปดร้อยสิบห้าบาท)
ทั้งนี้ เมื่อกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ได้รับการงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ เพิ่มเติมจากรัฐบาล จะพิจารณาสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการอุดหนุนจากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมอีกในโอกาสต่อไป และขอเชิญชวนทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ผ่านกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม โดยสามารถบริจาคด้วยตนเอง หรือ โอนผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนรัชดาภิเษก ชื่อบัญชี กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม เลขที่บัญชี ๐๖๐ - ๒ - ๑๖๕๑๑ - ๗ หรือ เช็คสั่งจ่ายในนามกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม ซึ่งสามารถลดหย่อนภาษีได้ ๒ เท่า