จากสถานการณ์การสู้รบ ที่ยุทธภัณฑ์ประเภทกระสุนปืนใหญ่มีความสำคัญมากๆ บริโภคกันมหาศาลในสมรภูมิของทั้งรัสเซีย-ยูเครน หนึ่งในประเด็นที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อผลการรบในช่วงนี้แน่ๆ คือตอนนี้ CNN บอกว่า อเมริกาและนาโต้ ผลิตกระสุนปืนใหญ่ได้น้อยกว่ารัสเซีย ๓ เท่า แต่ NY Times บอก ห่างกัน ๗ เท่า กระสุนปืนใหญ่ของพันธมิตรลำเลียงติดขัดได้ไม่ถึงแนวหน้า และนักวิเคราะห์มองว่าเป็นอย่างนี้ต่อไปชาติพันธมิตรจะยิ่งลำบาก เพราะอุตสาหกรรมทางทหารของชาติพันธมิตรตลอดมานี้ เน้นเงินเอาไปลงกับเก็ตเจ๊ตหรูๆ เช่น จรวด หรือ เครื่องบินขับไล่ชั้นสูง แต่ทว่าอุตสาหกรรมยุทธภัณฑ์พื้นฐานอย่างกระสุนปืนใหญ่ ทางอเมริกาและยุโรปไม่มีโรงงานเอกชนที่จะเร่งขยายกำลังการผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ต่อให้เป็นภายใน ๓ ถึง ๕ ปี ข้างหน้าก็ตาม คุณอาจจะรวย คุณพิมพ์แบงค์ได้ แต่คุณพิมพ์กระสุนปืนใหญ่เยอะๆรวดเดียวไม่ได้ เแม้จะทุ่มเงินจ้างเอกชน มันมีเรื่องของค่าใช้จ่าย ค่าเครื่องจักรในโรงงาน ค่าการตลาด การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และเงิน UpFront ที่รัฐบาลต้องจ่ายให้กับผู้ผลิตหน้าใหม่ หรือเจ้าเดิมที่จะขยายกำลังการผลิต ซึ่งทั้งหมดคือภาษีของประชาชนอเมริกันและพันธมิตรในยุโรป
ขณะเดียวกันในสถานการณ์การสู้รบ รัสเซียก็กำลังรุกคืบอย่างต่อเนื่องด้วยยุทธวิธีสุดแสนจะดั้งเดิม ที่ใช้กันมาตั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งมันได้ผล และได้พื้นที่จริงๆ (แพ้ในโซเชี่ยล แต่ชนะในการปะทะ)
ทหารรัสเซียกำลังดำเนินกลยุทธยึดที่ละพื้นที่ ทีละแนวรบแบบซ้ำๆ คือ เลือกแนวตั้งรับของข้าศึกที่เป็นเป้าหมาย > ครองอากาศแล้วหย่อนด้วยจรวดร่อนราคาถูกตระกูล FAB > ระดมยิงด้วยปืนใหญ่ > รถถังหลักนำหน้า รถลำเลียงพลตามหลัง > ถึงหน้าคูแนวรบของศัตรู ทหารราบกระจายกำลังยึดพื้นที่ โดยมีทหารม้าหุ้มเกราะยิงสนับสนุน (คลิปด้านล่างนาทีที่ ๖.๓๐ เป็นต้นไป) สงครามยิ่งผ่านวัน ยูเครนที่เป็นฝ่ายตั้งรับก็ยิ่งเสียพื้นที่ทีละน้อยๆ พร้อมๆ กับกำลังคนและยุทโธปกรณ์ ในสัดส่วนที่สูงเกินไป (รัสเซียในฐานะฝ่ายรุกควรจะเสียมากกว่านี้) ถ้าเทียบกับที่ตัวเองนั้นกำลังตั้งรับ
สุดท้ายคือขวัญกำลังใจของคนในยูเครน หลายคนยังสู้ หลายคนอยากเจรจา แต่ในนาทีที่ ๓.๓๐ ของคลิปนี้ จะเห็นภาพของทหารยูเครนที่นัยย์ตาเหม่อลอยมาให้สัมภาษณ์ พี่น้องในครอบครัวเขาพลีชีพเพื่อชาติไปสองคนแล้ว เขาก็บาดเจ็บจากการรบในสงคราม เพิ่งออกจากโรงพยาบาล อาทิตย์หน้าก็ต้องกลับเข้าแนวรบแถวบัคมุต ...เขาบอกเดี๋ยว อีกไม่นานตนเองก็คงต้องตายเพื่ออะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่มันเป็นหน้าที่ เขารู้สึกว่ามันกลายเป็นการเมืองมากกว่าสงคราม และอะไรๆ ก็ดูไร้เหตุผลไปหมดแล้ว
บอกคนบอกว่า สู้ไปเถอะยังไงรัสเซียก็ไม่หยุด อย่าไปเจรจรา พอนักข่าวถามว่า ชีวิตคนมีค่าน้อยกว่าเมืองที่เสียไปเหรอ? บางคนก็ตอบเลี่ยงไปว่า ผมไม่รู้ ผมตอบแทนคนมีอำนาจไม่ได้
เห็นใจชาวยูเครนครับ และเข้าใจข้อความที่สมเด็จพระสันตะปาปาท่านสื่อ... แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งนี้แหล่ะ จะเป็นบทเรียนราคาแพงให้ทุกคนได้สำรวจตัวเอง และศึกษาเรื่องสันติภาพและการทำอย่างไรให้สามารถรักษามันไว้ ภายใต้ความขัดแย้งมากมายและไม่รู้จบของมนุษยชาติ
๑๑...กระสุนปืนใหญ่ ภาพสงครามแบบดั้งเดิม และความหวังในการเจรจาที่ยูเครน...๑๑
ขณะเดียวกันในสถานการณ์การสู้รบ รัสเซียก็กำลังรุกคืบอย่างต่อเนื่องด้วยยุทธวิธีสุดแสนจะดั้งเดิม ที่ใช้กันมาตั้งสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งมันได้ผล และได้พื้นที่จริงๆ (แพ้ในโซเชี่ยล แต่ชนะในการปะทะ)
ทหารรัสเซียกำลังดำเนินกลยุทธยึดที่ละพื้นที่ ทีละแนวรบแบบซ้ำๆ คือ เลือกแนวตั้งรับของข้าศึกที่เป็นเป้าหมาย > ครองอากาศแล้วหย่อนด้วยจรวดร่อนราคาถูกตระกูล FAB > ระดมยิงด้วยปืนใหญ่ > รถถังหลักนำหน้า รถลำเลียงพลตามหลัง > ถึงหน้าคูแนวรบของศัตรู ทหารราบกระจายกำลังยึดพื้นที่ โดยมีทหารม้าหุ้มเกราะยิงสนับสนุน (คลิปด้านล่างนาทีที่ ๖.๓๐ เป็นต้นไป) สงครามยิ่งผ่านวัน ยูเครนที่เป็นฝ่ายตั้งรับก็ยิ่งเสียพื้นที่ทีละน้อยๆ พร้อมๆ กับกำลังคนและยุทโธปกรณ์ ในสัดส่วนที่สูงเกินไป (รัสเซียในฐานะฝ่ายรุกควรจะเสียมากกว่านี้) ถ้าเทียบกับที่ตัวเองนั้นกำลังตั้งรับ
สุดท้ายคือขวัญกำลังใจของคนในยูเครน หลายคนยังสู้ หลายคนอยากเจรจา แต่ในนาทีที่ ๓.๓๐ ของคลิปนี้ จะเห็นภาพของทหารยูเครนที่นัยย์ตาเหม่อลอยมาให้สัมภาษณ์ พี่น้องในครอบครัวเขาพลีชีพเพื่อชาติไปสองคนแล้ว เขาก็บาดเจ็บจากการรบในสงคราม เพิ่งออกจากโรงพยาบาล อาทิตย์หน้าก็ต้องกลับเข้าแนวรบแถวบัคมุต ...เขาบอกเดี๋ยว อีกไม่นานตนเองก็คงต้องตายเพื่ออะไรก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่มันเป็นหน้าที่ เขารู้สึกว่ามันกลายเป็นการเมืองมากกว่าสงคราม และอะไรๆ ก็ดูไร้เหตุผลไปหมดแล้ว
บอกคนบอกว่า สู้ไปเถอะยังไงรัสเซียก็ไม่หยุด อย่าไปเจรจรา พอนักข่าวถามว่า ชีวิตคนมีค่าน้อยกว่าเมืองที่เสียไปเหรอ? บางคนก็ตอบเลี่ยงไปว่า ผมไม่รู้ ผมตอบแทนคนมีอำนาจไม่ได้
เห็นใจชาวยูเครนครับ และเข้าใจข้อความที่สมเด็จพระสันตะปาปาท่านสื่อ... แต่เหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งนี้แหล่ะ จะเป็นบทเรียนราคาแพงให้ทุกคนได้สำรวจตัวเอง และศึกษาเรื่องสันติภาพและการทำอย่างไรให้สามารถรักษามันไว้ ภายใต้ความขัดแย้งมากมายและไม่รู้จบของมนุษยชาติ