ตามจริงไม่อยากเลือกหมวดเป็นกระทู้รีวิวเท่าไหร่ ในเรื่องที่เป็น technical ไม่สามารถคาดหวังได้และไม่มีทางละเอียดได้เหมือน it expert ทั้งหมดที่จะได้อ่านต่อจากนี้คือความรู้สึกของ home user ล้วนๆ ครับ
ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ผมค่อนข้างคลั่งไคล้กับโน๊ตบุ๊คสองจอมากๆ อาจจะด้วยเพราะชอบทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน การมีจอมากกว่าหนึ่งก็เลยทำให้คล่องตัวขึ้น
ก่อนหน้าที่จะมาใช้ Lenovo Yoga Book 9i เครื่องนี้ ผมใช้ ASUS ZenBook Pro DUO 14 มาก่อน ซึ่งก็ถือว่าใช้สะดวกมากแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่นาน Lenovo ก็เปิดตัว Yoga Book 9i Gen 8 ออกมา ทำเอาว้าวุ่นเลย สองจอแบบสองจอของแทร่ แต่ในเมื่อเพิ่งถอย ZenBook มาได้ไม่กี่เดือน ก็เลยต้องพับโครงการไป และตั้งใจจะมาซื้อในปีนี้ ซึ่งตอนนั้นหวังแค่ Gen 8 คิดว่าคงแค่ทำมาเพื่อโชว์นวัตกรรม ไม่น่าจะต่อยอด แต่ช่วงต้นปีนี้ Gen 9 ก็เผยโฉม เท่านั้นแหละ ผมตัดสินใจขาย ZenBook ทันที แล้วก็ใช้ Surface Go 3 ตัวน้อยแก้ขัดไปก่อน

อย่าคิดว่าผมจะได้พุ่งเป้าไปที่การซื้อ Yoga Book 9i ได้อย่างปกติสุข เพราะในวันเดียวกัน ASUS ก็เปิดตัวโน๊ตบุ๊คสองจอของแท้ของตัวเองมาเหมือนกัน ลังเลนะบอกเลย ผมไม่เคยใช้ Lenovo มาก่อน แถม ASUS ก็ทำให้ผมไว้วางใจในคุณภาพได้ แถมตัวท็อปในไลน์อัพ ASUS ก็ชนะขาดทุกประตู ตั้งแต่ชิปประมวลผล (Core Ultra 9 H vs Core Ultra 7 U) รีเฟรชเรทหน้าจอที่สมัยนิยมกว่า (120 Hz vs 60 Hz) รวมถึงราคากลางก็ถูกกว่ากันเป็นหมื่น (เทียบจากราคาที่โพสต์ลงเพจ official ของทั้งสองแบรนด์) ดูอย่างนี้ ไงๆ ผมก็คงเลือก ZenBook แน่นอน ถูกกว่าเยอะ สเปคสุดกว่าแยะ

แต่ช้าแต่ สิ่งที่ ZenBook แพ้หลุดลุ่ยสำหรับผมก็คือความยืดหยุ่นในการใช้งานครับ บานพับเป็นเหตุเลย ZenBook พับได้มากสุดก็แค่ 180 องศา ซึ่งส่วนตัวมองว่าองศานี้ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ในขณะที่ Yoga Book ก็ทำได้กับชื่อซีรีส์ เพราะพี่แกพับได้ 360 องศา นั่นหมายความว่าผมจะได้ tent mode ให้ขอบจอทำเสมือนขาตั้ง กางวางดูคลิปดูหนังได้แบบไม่โฉ่งฉ่าง และยังได้ tablet mode มาอีก เท่านี้ผมก็ได้ Windows Tablet ที่สเปคสูงกว่าน้องน้อย Surface Go 3 มาครองแล้ว วะฮ่าฮ่าๆ อีกอย่างคือคีย์บอร์ดครับ ของทาง ZenBook จะให้มาแบบ typical มีแป้นพิมพ์อยู่ด้านบน ทัชแพ็ดอยู่ตรงกลางด้านล่าง ซึ่งจะพยายามยังไง ผมก็ไม่เคยถนัดใช้ทัชแพ็ด ยังคงรู้สึกว่าเป็นตำแหน่งที่ผิด (ใช่แล้วครับ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมตัดสินใจซื้อ ZenBook DUO เจนก่อนๆ ก็คือตำแหน่งทัชแพ็ดที่อยู่ด้านขวา ใกล้เคียงกับตำแหน่งวางเมาส์นั่นแหละ ช่วงที่ใช้ ผมไม่เคยใช้เมาส์เลยแม้แต่ครั้งเดียว) เพราะงั้น พอ Yoga Book ให้มาแบบ half size มันจึงตอบโจทย์ผมมากกว่าในแง่ความรู้สึก และทำให้ผมสะดวกใจในการมีเหตุผลเพิ่มที่จะซื้อ mechanical keyboard ด้วย
.
ไม่ใช่ว่าแค่เห็นรูป ผมก็ตัดสินใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ก่อนหน้าที่จะซื้อ ผมตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยการลองสัมผัสของจริง (โชคดีที่ Yoga Book ใช้ form factor เดิม ทำให้แค่ลอง Gen 8 ก็รู้ได้จริงๆ ว่าชอบมั้ย กับ ZenBook ชิงวางขายก่อนพอดี เลยมีเครื่องเดโม่ให้ลอง)
ยังไม่ทันจับ ใจผมก็ไปหา Yoga Book แล้วครับ แค่มองจากสายตายังรู้สึกว่า ZenBook หนักเลย ด้วยความที่ไซส์ของเครื่องก็ใหญ่กว่า คีย์บอร์ดก็ใหญ่กว่า แถมเก็บในตัวเครื่องได้ด้วย มี kickstand ติดมาเลยอีก มันก็เลยดูบึกบึนสมบุกสมบันไปหมด (แต่น้ำหนักจริงเบาอยู่นะ) แล้วก็ตำแหน่งสองจอที่เหลื่อมกัน ดูยังไงก็ไม่เป็นเนื้อเดียว ตำแหน่งลำโพงก็อยู่ด้านล่างตัวเครื่อง ขณะที่ Yoga Book เป็น front-facing speaker อาจจะต้องพกทุกอย่างแยกกัน ใช้เวลาตอน setup เพิ่มขึ้นหน่อย แต่พอใช้จริงกลับไม่รู้สึกเสียเวลาเลย รูปลักษณ์ก็ดูสวยงามสุขุมแบบผู้ชายใส่สูทเนี๊ยบๆ (ของ ZenBook ผมให้อิมเมจเป็นทหารกล้ามใหญ่)
.
งานนี้ Lenovo ชนะด้วยจริตส่วนตัวล้วนๆ
ในแง่ performance เนื่องจากผมไม่ใช่คนที่ใช้โปรแกรมหนักๆ อยู่แล้ว (เน้นจำนวนโปรแกรมที่เปิดพร้อมกันต่อครั้งมากกว่า) สิ่งที่ใส่มาในเครื่องก็เลยเพียงพอแบบเหลือๆ และใช้ได้ต่อแบบยาวๆ แน่ และผมก็คงอยู่กับ Yoga Book ต่อไปนี่แหละ
.
เรื่องที่หลายคนที่สนใจรุ่นนี้เป็นกังวล มีอยู่สองเรื่องหลักๆ ครับคือ virtual keyboard กับแบตอึดมั้ย

เริ่มจาก virtual keyboard ในยุคที่อุปกรณ์ไอทีหลายๆ อย่างเป็นระบบสัมผัสหมดแล้ว การคีย์บอร์ดเสมือนนี้ก็เลยไม่ต้องปรับตัวเยอะเท่าไหร่ อารมณ์เหมือนพิมพ์บนแท็บเลตน่ะแหละ การวางตำแหน่งแต่ละปุ่มก็คุ้นเคยดี ทัชแพ็ดก็ใช้ได้จริง ใช้ง่ายครับ แต่สิ่งที่ลำบากก็ยังมีแหละ คือ virtual keyboard เนี่ยพิมพ์ภาษาไทยได้นะ เพียงแต่ว่าเวลาเลือกเป็นภาษาไทย มันดันไม่แสดง layout อักษรไทยมาให้ด้วย (กึ่งบังคับกลายๆ ว่าไปใช้ physical keyboard ที่ให้มาเถอะนะ) ถ้าจะใช้ virtual keyboard พิมพ์ไทย ต้องจำตำแหน่งแต่ละปุ่มได้อยู่แล้วเอง
.
ส่วนเรื่องแบต สำหรับผม ไม่ติดขัดครับ จะว่าไงดี ในเมื่อเป็นโน๊ตบุ๊คสองจอ การที่ใช้ได้จริงเกินสี่ห้าชั่วโมงก็เก่งแล้ว ซึ่งเครื่องนี้ทำได้ แต่ผมเชื่อมต่ออุปกรณ์เยอะทั้งเสียบสายและผ่านบลูทูธ และใช้งานทั้งหมดที่ว่าพร้อมกัน standby time ที่เครื่องโชว์ให้ดูก็คือสองชั่วโมงกว่าๆ แต่มันชาร์ตจไปใช้ไปได้อยู่แล้ว ก็เลยไม่ใช่ปัญหา

สรุปสั้นๆ ผมพอใจกับเครื่องนี้มาก ไม่เปลี่ยนก่อน cycle ปกติของตัวเองแน่นอน และคนที่จะซื้อ Lenovo Yoga Book 9i ก็น่าจะต้องเป็นคนที่ให้น้ำหนักกับความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าสเปคสูงๆ น่ะนะ
ชื่อสินค้า: Lenovo Yoga Book 9i Gen 9 (2024)
[CR] ประสบการณ์การใช้ Lenovo Yoga Book 9i Gen 9 (2024)
ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ผมค่อนข้างคลั่งไคล้กับโน๊ตบุ๊คสองจอมากๆ อาจจะด้วยเพราะชอบทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน การมีจอมากกว่าหนึ่งก็เลยทำให้คล่องตัวขึ้น
ก่อนหน้าที่จะมาใช้ Lenovo Yoga Book 9i เครื่องนี้ ผมใช้ ASUS ZenBook Pro DUO 14 มาก่อน ซึ่งก็ถือว่าใช้สะดวกมากแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่นาน Lenovo ก็เปิดตัว Yoga Book 9i Gen 8 ออกมา ทำเอาว้าวุ่นเลย สองจอแบบสองจอของแทร่ แต่ในเมื่อเพิ่งถอย ZenBook มาได้ไม่กี่เดือน ก็เลยต้องพับโครงการไป และตั้งใจจะมาซื้อในปีนี้ ซึ่งตอนนั้นหวังแค่ Gen 8 คิดว่าคงแค่ทำมาเพื่อโชว์นวัตกรรม ไม่น่าจะต่อยอด แต่ช่วงต้นปีนี้ Gen 9 ก็เผยโฉม เท่านั้นแหละ ผมตัดสินใจขาย ZenBook ทันที แล้วก็ใช้ Surface Go 3 ตัวน้อยแก้ขัดไปก่อน
อย่าคิดว่าผมจะได้พุ่งเป้าไปที่การซื้อ Yoga Book 9i ได้อย่างปกติสุข เพราะในวันเดียวกัน ASUS ก็เปิดตัวโน๊ตบุ๊คสองจอของแท้ของตัวเองมาเหมือนกัน ลังเลนะบอกเลย ผมไม่เคยใช้ Lenovo มาก่อน แถม ASUS ก็ทำให้ผมไว้วางใจในคุณภาพได้ แถมตัวท็อปในไลน์อัพ ASUS ก็ชนะขาดทุกประตู ตั้งแต่ชิปประมวลผล (Core Ultra 9 H vs Core Ultra 7 U) รีเฟรชเรทหน้าจอที่สมัยนิยมกว่า (120 Hz vs 60 Hz) รวมถึงราคากลางก็ถูกกว่ากันเป็นหมื่น (เทียบจากราคาที่โพสต์ลงเพจ official ของทั้งสองแบรนด์) ดูอย่างนี้ ไงๆ ผมก็คงเลือก ZenBook แน่นอน ถูกกว่าเยอะ สเปคสุดกว่าแยะ
แต่ช้าแต่ สิ่งที่ ZenBook แพ้หลุดลุ่ยสำหรับผมก็คือความยืดหยุ่นในการใช้งานครับ บานพับเป็นเหตุเลย ZenBook พับได้มากสุดก็แค่ 180 องศา ซึ่งส่วนตัวมองว่าองศานี้ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่ ในขณะที่ Yoga Book ก็ทำได้กับชื่อซีรีส์ เพราะพี่แกพับได้ 360 องศา นั่นหมายความว่าผมจะได้ tent mode ให้ขอบจอทำเสมือนขาตั้ง กางวางดูคลิปดูหนังได้แบบไม่โฉ่งฉ่าง และยังได้ tablet mode มาอีก เท่านี้ผมก็ได้ Windows Tablet ที่สเปคสูงกว่าน้องน้อย Surface Go 3 มาครองแล้ว วะฮ่าฮ่าๆ อีกอย่างคือคีย์บอร์ดครับ ของทาง ZenBook จะให้มาแบบ typical มีแป้นพิมพ์อยู่ด้านบน ทัชแพ็ดอยู่ตรงกลางด้านล่าง ซึ่งจะพยายามยังไง ผมก็ไม่เคยถนัดใช้ทัชแพ็ด ยังคงรู้สึกว่าเป็นตำแหน่งที่ผิด (ใช่แล้วครับ อีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผมตัดสินใจซื้อ ZenBook DUO เจนก่อนๆ ก็คือตำแหน่งทัชแพ็ดที่อยู่ด้านขวา ใกล้เคียงกับตำแหน่งวางเมาส์นั่นแหละ ช่วงที่ใช้ ผมไม่เคยใช้เมาส์เลยแม้แต่ครั้งเดียว) เพราะงั้น พอ Yoga Book ให้มาแบบ half size มันจึงตอบโจทย์ผมมากกว่าในแง่ความรู้สึก และทำให้ผมสะดวกใจในการมีเหตุผลเพิ่มที่จะซื้อ mechanical keyboard ด้วย
.
ไม่ใช่ว่าแค่เห็นรูป ผมก็ตัดสินใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ก่อนหน้าที่จะซื้อ ผมตัดสินใจขั้นสุดท้ายด้วยการลองสัมผัสของจริง (โชคดีที่ Yoga Book ใช้ form factor เดิม ทำให้แค่ลอง Gen 8 ก็รู้ได้จริงๆ ว่าชอบมั้ย กับ ZenBook ชิงวางขายก่อนพอดี เลยมีเครื่องเดโม่ให้ลอง)
ยังไม่ทันจับ ใจผมก็ไปหา Yoga Book แล้วครับ แค่มองจากสายตายังรู้สึกว่า ZenBook หนักเลย ด้วยความที่ไซส์ของเครื่องก็ใหญ่กว่า คีย์บอร์ดก็ใหญ่กว่า แถมเก็บในตัวเครื่องได้ด้วย มี kickstand ติดมาเลยอีก มันก็เลยดูบึกบึนสมบุกสมบันไปหมด (แต่น้ำหนักจริงเบาอยู่นะ) แล้วก็ตำแหน่งสองจอที่เหลื่อมกัน ดูยังไงก็ไม่เป็นเนื้อเดียว ตำแหน่งลำโพงก็อยู่ด้านล่างตัวเครื่อง ขณะที่ Yoga Book เป็น front-facing speaker อาจจะต้องพกทุกอย่างแยกกัน ใช้เวลาตอน setup เพิ่มขึ้นหน่อย แต่พอใช้จริงกลับไม่รู้สึกเสียเวลาเลย รูปลักษณ์ก็ดูสวยงามสุขุมแบบผู้ชายใส่สูทเนี๊ยบๆ (ของ ZenBook ผมให้อิมเมจเป็นทหารกล้ามใหญ่)
.
งานนี้ Lenovo ชนะด้วยจริตส่วนตัวล้วนๆ
ในแง่ performance เนื่องจากผมไม่ใช่คนที่ใช้โปรแกรมหนักๆ อยู่แล้ว (เน้นจำนวนโปรแกรมที่เปิดพร้อมกันต่อครั้งมากกว่า) สิ่งที่ใส่มาในเครื่องก็เลยเพียงพอแบบเหลือๆ และใช้ได้ต่อแบบยาวๆ แน่ และผมก็คงอยู่กับ Yoga Book ต่อไปนี่แหละ
.
เรื่องที่หลายคนที่สนใจรุ่นนี้เป็นกังวล มีอยู่สองเรื่องหลักๆ ครับคือ virtual keyboard กับแบตอึดมั้ย
เริ่มจาก virtual keyboard ในยุคที่อุปกรณ์ไอทีหลายๆ อย่างเป็นระบบสัมผัสหมดแล้ว การคีย์บอร์ดเสมือนนี้ก็เลยไม่ต้องปรับตัวเยอะเท่าไหร่ อารมณ์เหมือนพิมพ์บนแท็บเลตน่ะแหละ การวางตำแหน่งแต่ละปุ่มก็คุ้นเคยดี ทัชแพ็ดก็ใช้ได้จริง ใช้ง่ายครับ แต่สิ่งที่ลำบากก็ยังมีแหละ คือ virtual keyboard เนี่ยพิมพ์ภาษาไทยได้นะ เพียงแต่ว่าเวลาเลือกเป็นภาษาไทย มันดันไม่แสดง layout อักษรไทยมาให้ด้วย (กึ่งบังคับกลายๆ ว่าไปใช้ physical keyboard ที่ให้มาเถอะนะ) ถ้าจะใช้ virtual keyboard พิมพ์ไทย ต้องจำตำแหน่งแต่ละปุ่มได้อยู่แล้วเอง
.
ส่วนเรื่องแบต สำหรับผม ไม่ติดขัดครับ จะว่าไงดี ในเมื่อเป็นโน๊ตบุ๊คสองจอ การที่ใช้ได้จริงเกินสี่ห้าชั่วโมงก็เก่งแล้ว ซึ่งเครื่องนี้ทำได้ แต่ผมเชื่อมต่ออุปกรณ์เยอะทั้งเสียบสายและผ่านบลูทูธ และใช้งานทั้งหมดที่ว่าพร้อมกัน standby time ที่เครื่องโชว์ให้ดูก็คือสองชั่วโมงกว่าๆ แต่มันชาร์ตจไปใช้ไปได้อยู่แล้ว ก็เลยไม่ใช่ปัญหา
สรุปสั้นๆ ผมพอใจกับเครื่องนี้มาก ไม่เปลี่ยนก่อน cycle ปกติของตัวเองแน่นอน และคนที่จะซื้อ Lenovo Yoga Book 9i ก็น่าจะต้องเป็นคนที่ให้น้ำหนักกับความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าสเปคสูงๆ น่ะนะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้