อะไรทำให้คนเฒ่าคนแก่ และภิกษุสงฆ์ ที่เกิดในสมัย ร.5 ถึง ร.7 ถึงยังยิ้มและมีความสุขถึงแม้โลกจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคปัจจุบัน

ผมมีข้อสงสัยว่าทำไมคนเฒ่าคนแก่ ที่เกิดในสมัย ร.5 ถึง ร.7 ถึงยังมีความสุขยิ้มแย้มไม่รู้สึกทุกข์ร้อนหรือเครียดเมื่อได้เห็นว่าโลกได้เปลี่ยนไปเข้าสู้ยุคปัจจุบัน ที่มีตึกสูง ทีวีรถยนต์ และเทคโนโลยีใหม่เข้ามาในประเทศ ซึ่งบ้างคนก็ปรับตัวไม่ทันเป็นคนหลงยุค แต่ทำไมคนเฒ่าคนแก่ ที่ถือศีลปฏิบัติธรรม ไม่ว่ายากดีมีจน ทำไมพวกท่านถึงยังยิ้มแย้มและมีความสุข ถึงโลกจะเปลี่ยนไปแต่พวกท่านก็ไม่รู้สึกทุกข์ร้อน ค่อยอยู่สอนสั่งลูกหลานให้อยู่ในศีลธรรมใช้ชีวิตอย่างมีสติ

อย่างผมมีทวดคนหนึ่งท่านเกิดในสมัย ร.7 และเสียชีวิตในปี 2545 ซึ่งท่านเป็นคนมีศีลธรรมและปฏิบัติธรรม ถึงโลกจะเปลี่ยนไปแต่ท่านก็ยังยิ้ม และมีความสุข และท่านก็คอยสอนสั่งลูกหลานให้เป็นคนดีให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ

และต่อมาผมสงสัยว่าภิกษุหรือพระสงฆ์ผู้เป็นครูบาอาจารย์ที่เกิดในสมัย ร.5 , ร.6 และร.7  ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำไมต่อให้กาลเวลาผ่านมาถึงยุคปัจจุบันที่เจริญขึ้น ท่านถึงไม่ทุกข์ร้อนหรือปรับตัวไม่ทันกับโลกสมัยใหม่ตรงข้าม เหล่าบูรพาจารย์ ต่างสงบนิ่งมีความสุขไม่ทุกข์ร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ท่านก็ยังอยู่ปกติค่อยสอนสั่งลูกหลานลูกศิษย์ และภิกษุร่นใหม่ให้มีสติอยู่ในศีลธรรม ปฏิบัติธรรม

คำถามคือ

อะไรทำให้คนเฒ่าคนแก่ และภิกษุสงฆ์ ที่เกิดในสมัย ร.5 ถึง ร.7 ถึงยังยิ้มและมีความสุข ไม่ทุกข์ร้อนต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคปัจจุบัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่