ขุมทรัพย์ 10,000 ล้าน ของโรงพยาบาลวิภาวดี /โดย ลงทุนแมน
หลายคนที่เคยใช้ถนนวิภาวดีรังสิต หรือทางด่วนโทลล์เวย์ ก็น่าจะเคยเห็น โรงพยาบาลวิภาวดี ผ่านตากันมาบ้าง
เจ้าของโรงพยาบาลแห่งนี้ ก็คือ VIBHA ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย และมีมูลค่าบริษัทกว่า 24,000 ล้านบาท
แต่รู้ไหมว่า อาณาจักรของ VIBHA ไม่ได้มีเพียงโรงพยาบาลนี้แห่งเดียว
เพราะจริง ๆ แล้ว VIBHA เป็นกลุ่มทุนโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ที่ลงทุนในโรงพยาบาลอื่นอีกมากมาย
ที่น่าสนใจคือ พอร์ตการลงทุนของ VIBHA นับเป็นขุมทรัพย์มูลค่าหลัก 10,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
แล้วขุมทรัพย์ที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง ?
นอกจากโรงพยาบาลวิภาวดี VIBHA ยังครอบครองโรงพยาบาลไหนอีก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
VIBHA หรือบริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี 2529 เพื่อประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ “โรงพยาบาลวิภาวดี”
ก่อนจะขยายธุรกิจจนเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2535 หรือภายในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น
ปัจจุบันเฉพาะโรงพยาบาลวิภาวดี มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยใน 258 เตียง และให้บริการผู้ป่วยนอกได้ถึง 2,000 คนต่อวัน
ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ VIBHA จากโรงพยาบาลแห่งเดียว กลายมาเป็นเครือโรงพยาบาลขนาดใหญ่อย่างทุกวันนี้ ก็คือ การใช้กลยุทธ์เข้าซื้อกิจการ รวมถึงเข้าถือหุ้นบางส่วนในโรงพยาบาลอื่น ๆ
โดยเฉพาะในปี 2554 ที่มีการเข้าซื้อกิจการ “กลุ่มเชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์” ทำให้ปัจจุบันเป็นบริษัทย่อยของ VIBHA ที่ทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ภาคเหนือ
ซึ่งโรงพยาบาลภายใต้สังกัด กลุ่มเชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ ก็จะมีโรงพยาบาลลานนา, โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม, โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล เป็นต้น
นอกจากนี้ VIBHA ยังมีบริษัทร่วม (ถือหุ้นเกิน 20% แต่ไม่ถึง 50%) เป็นกลุ่มโรงพยาบาลวิภาราม (ถือหุ้น 33.9%) ซึ่งบริหารโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และบริเวณภาคตะวันออก
อย่างเช่น โรงพยาบาลวิภาราม ปากเกร็ด, โรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ, โรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร
รวมไปถึงโรงพยาบาลบางโพ (ถือหุ้น 28.6%) ที่ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกด้วย
ทีนี้มาดูผลประกอบการของ VIBHA ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในช่วงที่ผ่านมา
- ปี 2564
รายได้ 7,874 ล้านบาท กำไร 1,805 ล้านบาท
- ปี 2565
รายได้ 9,107 ล้านบาท กำไร 1,323 ล้านบาท
- 9 เดือนแรก ปี 2566
รายได้ 6,414 ล้านบาท กำไร 620 ล้านบาท
โดยโครงสร้างรายได้จะมาจาก
- ค่ารักษาพยาบาล 93%
- ปันผลรับ 4%
- อื่น ๆ 3%
ที่น่าสนใจคือ ตามโครงสร้างรายได้ในไตรมาส 3 ปี 2566
VIBHA มีรายได้จากโรงพยาบาลวิภาวดี ราว 37%
ในขณะที่รายได้ส่วนใหญ่กว่า 61% ของ VIBHA นั้น มาจาก บมจ.เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ (CMR)
สำหรับผลประกอบการของ CMR
- ปี 2564
รายได้ 4,312 ล้านบาท กำไร 292 ล้านบาท
- ปี 2565
รายได้ 5,351 ล้านบาท กำไร 484 ล้านบาท
- 9 เดือนแรก ปี 2566
รายได้ 3,893 ล้านบาท กำไร 135 ล้านบาท
ปัจจุบัน VIBHA ถือหุ้นใน CMR ในสัดส่วน 83.6% คิดเป็นมูลค่าราว 7,074 ล้านบาท
และนอกเหนือจากที่พูดถึงไปแล้ว VIBHA ยังมีการเข้าไปถือหุ้นโรงพยาบาลอื่น ๆ ในตลาดหุ้นไทย เช่น
- บมจ.โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) ในสัดส่วน 16.2% คิดเป็นมูลค่าราว 1,047 ล้านบาท
- บมจ.ศิครินทร์ เจ้าของโรงพยาบาลศิครินทร์ (SKR) ในสัดส่วน 8.8% คิดเป็นมูลค่าราว 1,821 ล้านบาท
- บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล เจ้าของเครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (BCH) ในสัดส่วน 1.3% คิดเป็นมูลค่าราว 721 ล้านบาท
นอกจากนี้ VIBHA ยังมีการถือหุ้นไขว้กันระหว่าง บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) อีกด้วย
โดย VIBHA ถือหุ้น RAM ในสัดส่วน 6.2% คิดเป็นมูลค่า 2,302 ล้านบาท
และทาง RAM ถือหุ้น VIBHA ในสัดส่วน 7.1% คิดเป็นมูลค่า 1,684 ล้านบาท
จะเห็นว่า ด้วยมูลค่าหุ้นที่ทาง VIBHA เข้าไปถือในบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหุ้นไทย ก็เรียกได้ว่าเป็นขุมทรัพย์ระดับหมื่นล้านบาทของ โรงพยาบาลวิภาวดี นั่นเอง
ซึ่งนี่ยังไม่นับรวมถึงมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้น
ทั้งหมดนี้คือ อาณาจักร VIBHA ที่มีจุดเริ่มต้นจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แต่ไม่หยุดที่จะลงทุนขยายอาณาจักร
จนวันนี้ธุรกิจกลับมีรายได้หลัก มาจากโรงพยาบาลในภาคเหนือไปแล้ว..
คำเตือน: บทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เป็นการแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด
References
-
https://www.set.or.th/.../stock/quote/CMR/major-shareholders
-
https://www.set.or.th/.../product/stock/quote/RAM/price
-
https://www.set.or.th/.../pro.../stock/quote/vibha/factsheet
-
https://www.vibhavadi.com/ir-company-background
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน)
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน)
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน)
ขุมทรัพย์ 10,000 ล้าน ของโรงพยาบาลวิภาวดี
หลายคนที่เคยใช้ถนนวิภาวดีรังสิต หรือทางด่วนโทลล์เวย์ ก็น่าจะเคยเห็น โรงพยาบาลวิภาวดี ผ่านตากันมาบ้าง
เจ้าของโรงพยาบาลแห่งนี้ ก็คือ VIBHA ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นไทย และมีมูลค่าบริษัทกว่า 24,000 ล้านบาท
แต่รู้ไหมว่า อาณาจักรของ VIBHA ไม่ได้มีเพียงโรงพยาบาลนี้แห่งเดียว
เพราะจริง ๆ แล้ว VIBHA เป็นกลุ่มทุนโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ที่ลงทุนในโรงพยาบาลอื่นอีกมากมาย
ที่น่าสนใจคือ พอร์ตการลงทุนของ VIBHA นับเป็นขุมทรัพย์มูลค่าหลัก 10,000 ล้านบาท เลยทีเดียว..
แล้วขุมทรัพย์ที่ว่านี้ มีอะไรบ้าง ?
นอกจากโรงพยาบาลวิภาวดี VIBHA ยังครอบครองโรงพยาบาลไหนอีก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
VIBHA หรือบริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี 2529 เพื่อประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ในพื้นที่กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อ “โรงพยาบาลวิภาวดี”
ก่อนจะขยายธุรกิจจนเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 2535 หรือภายในระยะเวลาเพียง 6 ปีเท่านั้น
ปัจจุบันเฉพาะโรงพยาบาลวิภาวดี มีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยใน 258 เตียง และให้บริการผู้ป่วยนอกได้ถึง 2,000 คนต่อวัน
ซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญ ที่ทำให้ VIBHA จากโรงพยาบาลแห่งเดียว กลายมาเป็นเครือโรงพยาบาลขนาดใหญ่อย่างทุกวันนี้ ก็คือ การใช้กลยุทธ์เข้าซื้อกิจการ รวมถึงเข้าถือหุ้นบางส่วนในโรงพยาบาลอื่น ๆ
โดยเฉพาะในปี 2554 ที่มีการเข้าซื้อกิจการ “กลุ่มเชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์” ทำให้ปัจจุบันเป็นบริษัทย่อยของ VIBHA ที่ทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ภาคเหนือ
ซึ่งโรงพยาบาลภายใต้สังกัด กลุ่มเชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ ก็จะมีโรงพยาบาลลานนา, โรงพยาบาลเชียงใหม่ ราม, โรงพยาบาลหริภุญชัย เมโมเรียล เป็นต้น
นอกจากนี้ VIBHA ยังมีบริษัทร่วม (ถือหุ้นเกิน 20% แต่ไม่ถึง 50%) เป็นกลุ่มโรงพยาบาลวิภาราม (ถือหุ้น 33.9%) ซึ่งบริหารโรงพยาบาลในพื้นที่กรุงเทพฯ และบริเวณภาคตะวันออก
อย่างเช่น โรงพยาบาลวิภาราม ปากเกร็ด, โรงพยาบาลวิภาราม ชัยปราการ, โรงพยาบาลวิภาราม อมตะนคร
รวมไปถึงโรงพยาบาลบางโพ (ถือหุ้น 28.6%) ที่ให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ อีกด้วย
ทีนี้มาดูผลประกอบการของ VIBHA ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในช่วงที่ผ่านมา
- ปี 2564
รายได้ 7,874 ล้านบาท กำไร 1,805 ล้านบาท
- ปี 2565
รายได้ 9,107 ล้านบาท กำไร 1,323 ล้านบาท
- 9 เดือนแรก ปี 2566
รายได้ 6,414 ล้านบาท กำไร 620 ล้านบาท
โดยโครงสร้างรายได้จะมาจาก
- ค่ารักษาพยาบาล 93%
- ปันผลรับ 4%
- อื่น ๆ 3%
ที่น่าสนใจคือ ตามโครงสร้างรายได้ในไตรมาส 3 ปี 2566
VIBHA มีรายได้จากโรงพยาบาลวิภาวดี ราว 37%
ในขณะที่รายได้ส่วนใหญ่กว่า 61% ของ VIBHA นั้น มาจาก บมจ.เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ (CMR)
สำหรับผลประกอบการของ CMR
- ปี 2564
รายได้ 4,312 ล้านบาท กำไร 292 ล้านบาท
- ปี 2565
รายได้ 5,351 ล้านบาท กำไร 484 ล้านบาท
- 9 เดือนแรก ปี 2566
รายได้ 3,893 ล้านบาท กำไร 135 ล้านบาท
ปัจจุบัน VIBHA ถือหุ้นใน CMR ในสัดส่วน 83.6% คิดเป็นมูลค่าราว 7,074 ล้านบาท
และนอกเหนือจากที่พูดถึงไปแล้ว VIBHA ยังมีการเข้าไปถือหุ้นโรงพยาบาลอื่น ๆ ในตลาดหุ้นไทย เช่น
- บมจ.โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) ในสัดส่วน 16.2% คิดเป็นมูลค่าราว 1,047 ล้านบาท
- บมจ.ศิครินทร์ เจ้าของโรงพยาบาลศิครินทร์ (SKR) ในสัดส่วน 8.8% คิดเป็นมูลค่าราว 1,821 ล้านบาท
- บมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล เจ้าของเครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (BCH) ในสัดส่วน 1.3% คิดเป็นมูลค่าราว 721 ล้านบาท
นอกจากนี้ VIBHA ยังมีการถือหุ้นไขว้กันระหว่าง บมจ.โรงพยาบาลรามคำแหง (RAM) อีกด้วย
โดย VIBHA ถือหุ้น RAM ในสัดส่วน 6.2% คิดเป็นมูลค่า 2,302 ล้านบาท
และทาง RAM ถือหุ้น VIBHA ในสัดส่วน 7.1% คิดเป็นมูลค่า 1,684 ล้านบาท
จะเห็นว่า ด้วยมูลค่าหุ้นที่ทาง VIBHA เข้าไปถือในบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหุ้นไทย ก็เรียกได้ว่าเป็นขุมทรัพย์ระดับหมื่นล้านบาทของ โรงพยาบาลวิภาวดี นั่นเอง
ซึ่งนี่ยังไม่นับรวมถึงมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทร่วม ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหุ้น
ทั้งหมดนี้คือ อาณาจักร VIBHA ที่มีจุดเริ่มต้นจากโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ แต่ไม่หยุดที่จะลงทุนขยายอาณาจักร
จนวันนี้ธุรกิจกลับมีรายได้หลัก มาจากโรงพยาบาลในภาคเหนือไปแล้ว..
คำเตือน: บทความนี้เป็นเพียงการนำเสนอข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้เป็นการแนะนำการลงทุนแต่อย่างใด
References
-https://www.set.or.th/.../stock/quote/CMR/major-shareholders
-https://www.set.or.th/.../product/stock/quote/RAM/price
-https://www.set.or.th/.../pro.../stock/quote/vibha/factsheet
-https://www.vibhavadi.com/ir-company-background
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท เชียงใหม่รามธุรกิจการแพทย์ จำกัด (มหาชน)
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน)
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน)