เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2767158
คนไทย จ่ายเก่ง-ช็อปออนไลน์ เบอร์ 1 ของเอเชีย ดันเศรษฐกิจดิจิทัลพุ่ง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เจน Z ซื้อน้อย แต่บ่อย-เจน X กระเป๋าหนัก เฉลี่ย 3,000-5,000 ต่อเดือน ขณะ Shopee, Lazada, TikTok ยังครองใจคนชอบซื้อของออนไลน์
ใช้จ่ายเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน คือ ตัวเลขการใช้จ่ายออนไลน์ของคนไทย ในช่วงปี 2020-2022 ที่ผ่านมา โดยเติบโตมากถึง 30.6% ต่อปี สูงสุดในเอเชีย อีกทั้งยังปรากฏข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยว่า คนไทยมีการทำธุรกรรมออนไลน์ คิดเป็น 95.5% ของปริมาณธุรกรรมรายย่อยทั้งหมด
ซึ่งมาจาก 3 ปัจจัยสำคัญด้วยกัน ได้แก่
มาตรการ Promptpay และ Thai QR code
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Mobile Banking ที่ตอบโจทย์การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ
คนไทยคุ้นชินกับการใช้จ่ายออนไลน์ขึ้นนับตั้งแต่ช่วงโควิด-19
สอดคล้องกับข้อมูลจาก e-Conomy SEA 2023 ฉบับล่าสุด รายงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยจะมีมูลค่าประมาณ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการค้าออนไลน์ และคาดว่าปี 2568 จะมีมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล่าสุด สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ยังเผยว่า การค้าออนไลน์มีแนวโน้มการแข่งขันกันสูงโดยพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของคนไทย ทั้งความถี่ และยอดมูลค่า (การใช้จ่ายต่อครั้ง) จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ โดยพบ ประเด็นน่าสนใจ ดังนี้
กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุน้อย มีแนวโน้มซื้อสินค้าออนไลน์บ่อยครั้ง สวนทางกับยอดมูลค่าซื้อ (ซื้อบ่อย แต่เน้นไม่แพงมาก)
กลุ่มผู้บริโภคอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นวัย Gen Z มีสัดส่วนผู้ที่ซื้อออนไลน์บ่อยขึ้น
Gen Z ส่วนใหญ่ซื้อเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง
กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุสูง มีแนวโน้มซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยความถี่ลดลง แม้ว่าอาจจะมียอดการใช้จ่ายที่สูงกว่า (ซื้อไม่บ่อย แต่เน้นคุณภาพ)
กลุ่มผู้บริโภคอายุ 50-59 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัย Gen X มีสัดส่วนผู้ที่ซื้อสินค้าถี่ลดลง
คน Gen X มียอดซื้อต่อเดือน 3,001-5,000 บาท สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ
แพลตฟอร์มซื้อสินค้าออนไลน์อาจยังไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอายุ 60 ปีขึ้นไปบางกลุ่ม หรือวัย Baby Boomer ที่มีแนวโน้มซื้อถี่ลดลง และมียอดการซื้อเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาท
Shopee, Lazada, TikTok ยังครองใจคนชอบช็อป
สำหรับแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์โดยพิจารณาทั้งจากความถี่ในการใช้งาน และยอดมูลค่าซื้อส่วนมาก เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ 20-29 ปี TikTok ก้าวขึ้นมาเป็นช่องทางนิยมอันดับ 2 เป็นรองเพียง Shopee
กระแสความนิยมของโซเชียลคอมเมิร์ซในกลุ่มวัยรุ่น ที่เน้นการสร้างความสุข และความบันเทิงให้กับนักช็อป หรือที่เรียกว่า “Shoppertainment” ผ่านการรับชมการไลฟ์สตรีม และวิดีโอสั้นเกี่ยวกับบอกเล่าประสบการณ์การใช้สินค้า และข้อมูลสินค้าอื่นๆ ที่สร้างสรรค์จากผู้ใช้งานและอินฟลูเอนเซอร์
กลุ่มผู้บริโภคช่วงวัยอื่น อีคอมเมิร์ซดั้งเดิม Shopee และ Lazada ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า TikTok เนื่องจากจุดแข็งในเรื่องระบบที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะการจัดการร้านค้า และสินค้า ระบบการชำระเงิน รวมถึงกลไกการคืนสินค้า ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความไว้วางใจระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ
ทั้งนี้ ผู้บริโภคอายุ 50-59 ปี และกลุ่ม Baby Boomer ยังคงนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook เป็นอันดับ 3 รองจาก Shopee และ Lazada เนื่องจากมีความเคยชินในการใช้งาน ทำให้การถาม/ตอบข้อมูลสินค้าผ่านช่องแชต และไลฟ์สตรีมเป็นไปได้อย่างสะดวก ประกอบกับผู้ขายมักเสนอส่วนลดราคาที่น่าดึงดูดใจ อย่างไรก็ดี ปัญหาความเชื่อถือ และมาตรฐานของร้านค้า อาจทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้หันไปเลือกใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กระทรวงพาณิชย์
คนไทย จ่ายเก่ง-ช็อปออนไลน์ เบอร์ 1 ของเอเชีย ดันเศรษฐกิจดิจิทัลพุ่ง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์
https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2767158
คนไทย จ่ายเก่ง-ช็อปออนไลน์ เบอร์ 1 ของเอเชีย ดันเศรษฐกิจดิจิทัลพุ่ง 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เจน Z ซื้อน้อย แต่บ่อย-เจน X กระเป๋าหนัก เฉลี่ย 3,000-5,000 ต่อเดือน ขณะ Shopee, Lazada, TikTok ยังครองใจคนชอบซื้อของออนไลน์
ใช้จ่ายเฉลี่ยอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน คือ ตัวเลขการใช้จ่ายออนไลน์ของคนไทย ในช่วงปี 2020-2022 ที่ผ่านมา โดยเติบโตมากถึง 30.6% ต่อปี สูงสุดในเอเชีย อีกทั้งยังปรากฏข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยว่า คนไทยมีการทำธุรกรรมออนไลน์ คิดเป็น 95.5% ของปริมาณธุรกรรมรายย่อยทั้งหมด
ซึ่งมาจาก 3 ปัจจัยสำคัญด้วยกัน ได้แก่
มาตรการ Promptpay และ Thai QR code
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Mobile Banking ที่ตอบโจทย์การทำธุรกรรมทุกรูปแบบ
คนไทยคุ้นชินกับการใช้จ่ายออนไลน์ขึ้นนับตั้งแต่ช่วงโควิด-19
สอดคล้องกับข้อมูลจาก e-Conomy SEA 2023 ฉบับล่าสุด รายงานว่า เศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทยจะมีมูลค่าประมาณ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2566 โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการค้าออนไลน์ และคาดว่าปี 2568 จะมีมูลค่าถึง 5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
ล่าสุด สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ยังเผยว่า การค้าออนไลน์มีแนวโน้มการแข่งขันกันสูงโดยพฤติกรรมการซื้อออนไลน์ของคนไทย ทั้งความถี่ และยอดมูลค่า (การใช้จ่ายต่อครั้ง) จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ โดยพบ ประเด็นน่าสนใจ ดังนี้
กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุน้อย มีแนวโน้มซื้อสินค้าออนไลน์บ่อยครั้ง สวนทางกับยอดมูลค่าซื้อ (ซื้อบ่อย แต่เน้นไม่แพงมาก)
กลุ่มผู้บริโภคอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งเป็นวัย Gen Z มีสัดส่วนผู้ที่ซื้อออนไลน์บ่อยขึ้น
Gen Z ส่วนใหญ่ซื้อเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาทต่อครั้ง
กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุสูง มีแนวโน้มซื้อสินค้าออนไลน์ด้วยความถี่ลดลง แม้ว่าอาจจะมียอดการใช้จ่ายที่สูงกว่า (ซื้อไม่บ่อย แต่เน้นคุณภาพ)
กลุ่มผู้บริโภคอายุ 50-59 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัย Gen X มีสัดส่วนผู้ที่ซื้อสินค้าถี่ลดลง
คน Gen X มียอดซื้อต่อเดือน 3,001-5,000 บาท สูงกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ
แพลตฟอร์มซื้อสินค้าออนไลน์อาจยังไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอายุ 60 ปีขึ้นไปบางกลุ่ม หรือวัย Baby Boomer ที่มีแนวโน้มซื้อถี่ลดลง และมียอดการซื้อเฉลี่ยต่ำกว่า 1,000 บาท
Shopee, Lazada, TikTok ยังครองใจคนชอบช็อป
สำหรับแพลตฟอร์มยอดนิยมที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์โดยพิจารณาทั้งจากความถี่ในการใช้งาน และยอดมูลค่าซื้อส่วนมาก เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
กลุ่มผู้บริโภคที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และ 20-29 ปี TikTok ก้าวขึ้นมาเป็นช่องทางนิยมอันดับ 2 เป็นรองเพียง Shopee
กระแสความนิยมของโซเชียลคอมเมิร์ซในกลุ่มวัยรุ่น ที่เน้นการสร้างความสุข และความบันเทิงให้กับนักช็อป หรือที่เรียกว่า “Shoppertainment” ผ่านการรับชมการไลฟ์สตรีม และวิดีโอสั้นเกี่ยวกับบอกเล่าประสบการณ์การใช้สินค้า และข้อมูลสินค้าอื่นๆ ที่สร้างสรรค์จากผู้ใช้งานและอินฟลูเอนเซอร์
กลุ่มผู้บริโภคช่วงวัยอื่น อีคอมเมิร์ซดั้งเดิม Shopee และ Lazada ยังคงได้รับความนิยมมากกว่า TikTok เนื่องจากจุดแข็งในเรื่องระบบที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะการจัดการร้านค้า และสินค้า ระบบการชำระเงิน รวมถึงกลไกการคืนสินค้า ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มความไว้วางใจระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อ
ทั้งนี้ ผู้บริโภคอายุ 50-59 ปี และกลุ่ม Baby Boomer ยังคงนิยมซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook เป็นอันดับ 3 รองจาก Shopee และ Lazada เนื่องจากมีความเคยชินในการใช้งาน ทำให้การถาม/ตอบข้อมูลสินค้าผ่านช่องแชต และไลฟ์สตรีมเป็นไปได้อย่างสะดวก ประกอบกับผู้ขายมักเสนอส่วนลดราคาที่น่าดึงดูดใจ อย่างไรก็ดี ปัญหาความเชื่อถือ และมาตรฐานของร้านค้า อาจทำให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้หันไปเลือกใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, กระทรวงพาณิชย์