ศุภณัฐ เปิด 6 สาเหตุ ทำพระราม 2 ล่าช้า ลั่น ออกแบบมีปัญหา ไม่วางแผนล่วงหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4445589
ศุภณัฐ เปิด 6 สาเหตุ ทำพระราม 2 ล่าช้า ลั่น ออกแบบมีปัญหา ไม่วางแผนล่วงหน้า
จากกรณี นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ติดตามและเร่งรัดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ล่าช้า โดยเฉพาะถนนพระราม 2 ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้สัญจรไปมาและนักท่องเที่ยว ซึ่งกลายเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวหัวหินกันน้อยลงนั้น โดยทางกระทรวงคมนาคม แจ้งว่าจะเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถเดินทางได้สะดวกขึ้นก่อนเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้นั้น
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่น X ระบุว่า
“เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนผมได้ยื่นญัตติตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทาง “ยกระดับมาตรฐานการก่อสร้าง ความปลอดภัย และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบ” เพื่อจะแก้ปัญหาการก่อสร้างในประเทศนี้
หลักการ การบริหารโครงการก่อสร้าง (project management) ปกติเราจะดูกันอยู่ 5 ด้าน
1. time
2. cost
3. quality
4. health & safety
5. sustainability
ซึ่งปัญหาของพระราม 2 หลักๆ ที่จะมีพูดกันคือ time และ health and safety
โดย 6 สาเหตุ ทำไม พระราม 2 ทั้งล่าช้า และเกิดอุบัติเหตุบ่อย?
1. เส้นทางลงใต้ที่จำกัด คือมีเพียงถนนพระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) และ ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เท่านั้น โดยในอดีตมีการพูดถึง โครงการเส้นทางลัด สมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ ซึ่งจะทำให้ลงใต้ได้ไวขึ้น แต่โครงการได้ถูกพับไป
2. การไม่วางแผนระบบคมนาคมล่วงหน้า ทำให้มีการขยายถนน ซ้ำแล้วซ้ำอีก ตั้งแต่ 2 เลน > 4 เลน > 6 เลน >8 เลน > 10 เลน > 12 เลน แถมยังก่อสร้างทั้ง ทางหลวง, ทางยกระดับ, และ ทางพิเศษ เรียกได้ว่า #ทำแล้วทำอยู่ทำต่อ ไม่สิ้นสุด เพราะไม่ลงทุนทำทีเดียว
3. การลงทุนด้านรถไฟที่ล่าช้า ทำให้ระบบรางคุณภาพต่ำ ไร้ประสิทธิภาพ จนคนเปลี่ยน mode จากแต่ก่อน คนลงใต้จะนั่งรถไฟกันเยอะ ตอนนี้กลายเป็นขับรถกันหมด
4. วิธีการก่อสร้างของกรมทางหลวง ที่บีบการปิดถนน และการใช้พื้นที่เป็นอย่างมาก ทำให้โครงการทำได้ช้า เน้นทำงานกลางคืน ด้วยที่เวลาทำงานที่น้อยและเร่งรีบ แถมค่าใช้จ่ายกลางคืนแพงกว่ากลางวัน และทำได้ยุ่งยากกว่า โอกาสพลาดสูงกว่า ไม่เหมาะสมกับโครงการขนาดใหญ่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง และโครงการล่าช้ากว่าเดิม (เข้าใจว่าถ้าปิดก็โดนว่า แต่พอเปิดถนน และบีบพื้นที่ก่อสร้าง ปัญหาเลยเกิดตามมาเยอะ)
5. การออกแบบที่มีปัญหา เกิดการแก้แบบหลายครั้ง ถ้าสังเกตหลายโครงการของภาครัฐจะมีการขยายสัญญาตลอดเวลา 1 ในสาเหตุหลักคือการแก้แบบ เพราะแบบที่ออกมา ไม่ตรงกับหน้างานจริง ทั้งที่เรามีการจ้างที่ปรึกษา ทีมสำรวจ แต่เคยมีใครถามหรือไม่ถึงตัวแบบที่ออกมา กับหน้างานจริง
6. ปัญหาการเวนคืนที่ดิน โครงการรัฐส่วนใหญ่ จะของบเวนคืน พร้อมกับงบก่อสร้าง ทำให้สร้างไปเวนคืนไป จนมีหลายโครงการเริ่มแล้ว แต่มารอเวนคืน จนล่าช้ากว่าแผนงาน
https://twitter.com/SuphanatMFP/status/1762465021366567301
สัมภาษณ์ สารวัตรเพียว ก้าวไกล จากคดีอดีต ผบ.ตร. ถึงศึกตำรวจใหญ่ อย่ากลัว สตช.พัง แฉให้เต็มที่ ดีกว่า...
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4445595
รายการ The Politics สัมภาษณ์ พ.ต.ต.
ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ อดีต ส.ส.ก้าวไกล และอดีตตำรวจทำคดีบอสอยู่วิทยา มองประเด็นหลัง อัยการสูงสุด มีมติสั่งฟ้องอาญา 8 ผู้ต้องหาคดีบอส ซึ่งรวมถึง อดีต ผบ.ตร. ด้วย ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงความเร็ว รวมถึงศึกในวงการตำรวจ
เพิ่งจะกุมภา แต่ไฟพีคครั้งแรกของปี 67 มาแล้ว! 22 ก.พ.ช่วง 1 ทุ่ม ยอดใช้ไฟพุ่ง 30,989.3 เมกะวัตต์
https://ch3plus.com/news/economy/morning/389056
หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 2567 โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในปี 2567 อากาศจะร้อนกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส
แค่ไม่กี่วันต่อมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รายงานตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประจำปี 2567 พุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 30,989.3 เมกะวัตต์ เมื่อเวลา 19.29 น. วันที่ 22 ก.พ.67 ถือเป็นยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ครั้งแรก นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
นอกจากอากาศร้อนที่ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ยังประกอบกับ เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว รวมทั้ง ยอดการใช้ไฟฟ้าจากยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพิ่มสูงขึ้น โดยต้องจับตาว่า พีคไฟฟ้าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนอีกครั้ง
สำหรับสถิติพีคไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของไทย ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 ช่วงกลางคืนเวลา 21.41 น. มียอดพีคไฟฟ้าที่ 34,826.5 เมกะวัตต์
JJNY : ศุภณัฐ เปิด 6 สาเหตุ│สัมภาษณ์ สารวัตรเพียว│เพิ่งจะกุมภา แต่ไฟพีคครั้งแรกมาแล้ว! │รัสเซียระงับส่งออกน้ำมัน 6 ด.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4445589
ศุภณัฐ เปิด 6 สาเหตุ ทำพระราม 2 ล่าช้า ลั่น ออกแบบมีปัญหา ไม่วางแผนล่วงหน้า
จากกรณี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ติดตามและเร่งรัดโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ล่าช้า โดยเฉพาะถนนพระราม 2 ซึ่งสร้างปัญหาให้กับผู้สัญจรไปมาและนักท่องเที่ยว ซึ่งกลายเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวหัวหินกันน้อยลงนั้น โดยทางกระทรวงคมนาคม แจ้งว่าจะเร่งแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถเดินทางได้สะดวกขึ้นก่อนเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้นั้น
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่น X ระบุว่า
“เมื่อ 2 อาทิตย์ก่อนผมได้ยื่นญัตติตั้ง กมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาแนวทาง “ยกระดับมาตรฐานการก่อสร้าง ความปลอดภัย และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างเป็นระบบ” เพื่อจะแก้ปัญหาการก่อสร้างในประเทศนี้
หลักการ การบริหารโครงการก่อสร้าง (project management) ปกติเราจะดูกันอยู่ 5 ด้าน
1. time
2. cost
3. quality
4. health & safety
5. sustainability
ซึ่งปัญหาของพระราม 2 หลักๆ ที่จะมีพูดกันคือ time และ health and safety
โดย 6 สาเหตุ ทำไม พระราม 2 ทั้งล่าช้า และเกิดอุบัติเหตุบ่อย?
1. เส้นทางลงใต้ที่จำกัด คือมีเพียงถนนพระราม 2 (ทางหลวงหมายเลข 35) และ ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) เท่านั้น โดยในอดีตมีการพูดถึง โครงการเส้นทางลัด สมุทรสาคร-แหลมผักเบี้ย-ชะอำ ซึ่งจะทำให้ลงใต้ได้ไวขึ้น แต่โครงการได้ถูกพับไป
2. การไม่วางแผนระบบคมนาคมล่วงหน้า ทำให้มีการขยายถนน ซ้ำแล้วซ้ำอีก ตั้งแต่ 2 เลน > 4 เลน > 6 เลน >8 เลน > 10 เลน > 12 เลน แถมยังก่อสร้างทั้ง ทางหลวง, ทางยกระดับ, และ ทางพิเศษ เรียกได้ว่า #ทำแล้วทำอยู่ทำต่อ ไม่สิ้นสุด เพราะไม่ลงทุนทำทีเดียว
3. การลงทุนด้านรถไฟที่ล่าช้า ทำให้ระบบรางคุณภาพต่ำ ไร้ประสิทธิภาพ จนคนเปลี่ยน mode จากแต่ก่อน คนลงใต้จะนั่งรถไฟกันเยอะ ตอนนี้กลายเป็นขับรถกันหมด
4. วิธีการก่อสร้างของกรมทางหลวง ที่บีบการปิดถนน และการใช้พื้นที่เป็นอย่างมาก ทำให้โครงการทำได้ช้า เน้นทำงานกลางคืน ด้วยที่เวลาทำงานที่น้อยและเร่งรีบ แถมค่าใช้จ่ายกลางคืนแพงกว่ากลางวัน และทำได้ยุ่งยากกว่า โอกาสพลาดสูงกว่า ไม่เหมาะสมกับโครงการขนาดใหญ่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง และโครงการล่าช้ากว่าเดิม (เข้าใจว่าถ้าปิดก็โดนว่า แต่พอเปิดถนน และบีบพื้นที่ก่อสร้าง ปัญหาเลยเกิดตามมาเยอะ)
5. การออกแบบที่มีปัญหา เกิดการแก้แบบหลายครั้ง ถ้าสังเกตหลายโครงการของภาครัฐจะมีการขยายสัญญาตลอดเวลา 1 ในสาเหตุหลักคือการแก้แบบ เพราะแบบที่ออกมา ไม่ตรงกับหน้างานจริง ทั้งที่เรามีการจ้างที่ปรึกษา ทีมสำรวจ แต่เคยมีใครถามหรือไม่ถึงตัวแบบที่ออกมา กับหน้างานจริง
6. ปัญหาการเวนคืนที่ดิน โครงการรัฐส่วนใหญ่ จะของบเวนคืน พร้อมกับงบก่อสร้าง ทำให้สร้างไปเวนคืนไป จนมีหลายโครงการเริ่มแล้ว แต่มารอเวนคืน จนล่าช้ากว่าแผนงาน
https://twitter.com/SuphanatMFP/status/1762465021366567301
สัมภาษณ์ สารวัตรเพียว ก้าวไกล จากคดีอดีต ผบ.ตร. ถึงศึกตำรวจใหญ่ อย่ากลัว สตช.พัง แฉให้เต็มที่ ดีกว่า...
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4445595
รายการ The Politics สัมภาษณ์ พ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ อดีต ส.ส.ก้าวไกล และอดีตตำรวจทำคดีบอสอยู่วิทยา มองประเด็นหลัง อัยการสูงสุด มีมติสั่งฟ้องอาญา 8 ผู้ต้องหาคดีบอส ซึ่งรวมถึง อดีต ผบ.ตร. ด้วย ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงความเร็ว รวมถึงศึกในวงการตำรวจ
เพิ่งจะกุมภา แต่ไฟพีคครั้งแรกของปี 67 มาแล้ว! 22 ก.พ.ช่วง 1 ทุ่ม ยอดใช้ไฟพุ่ง 30,989.3 เมกะวัตต์
https://ch3plus.com/news/economy/morning/389056
หลังจากที่ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 2567 โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ในปี 2567 อากาศจะร้อนกว่าปีที่แล้ว ประมาณ 1-2 องศาเซลเซียส
แค่ไม่กี่วันต่อมา คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รายงานตัวเลขความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดประจำปี 2567 พุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 30,989.3 เมกะวัตต์ เมื่อเวลา 19.29 น. วันที่ 22 ก.พ.67 ถือเป็นยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ครั้งแรก นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
นอกจากอากาศร้อนที่ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น ยังประกอบกับ เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว รวมทั้ง ยอดการใช้ไฟฟ้าจากยานยนต์ไฟฟ้า (EV) เพิ่มสูงขึ้น โดยต้องจับตาว่า พีคไฟฟ้าอาจจะเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนอีกครั้ง
สำหรับสถิติพีคไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของไทย ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 ช่วงกลางคืนเวลา 21.41 น. มียอดพีคไฟฟ้าที่ 34,826.5 เมกะวัตต์