เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย สกุลชัย เก่งอนันตานนท์ , ลัลน์ลลิต ศรีจันทร์ดร
https://thestandard.co/how-did-japan-market-get-to-all-time-high/
HIGHLIGHTS
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นต้องใช้เวลามากถึง 34 ปี กว่าที่ดัชนี Nikkei 225 จะกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากเคยทะยานขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเดิมไว้ 38,916 จุดเมื่อปี 1989
นิโคลัส สมิธ นักกลยุทธ์ของCLSA Securities Japan Co., Ltd. เคยกล่าวไว้ว่า “ปี 1989 แทบจะเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”
ญี่ปุ่นเดินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ ชินโซ อาเบะ ประธานาธิบดีญี่ปุ่นในเวลานั้น ตัดสินใจเริ่มต้นนโยบายที่ชื่อว่า ‘ธนู 3 ดอก’ (The Three Arrows)
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นผู้ยิงธนูดอกแรก ด้วยการประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE)
หุ้นญี่ปุ่นเริ่มปีนกลับขึ้นมาจากก้นเหว ดัชนี Nikkei 225 วิ่งจากประมาณ 8,000 จุด กลับมาแตะ 15,000 จุด หลังจากที่ไม่ได้เห็นดัชนีระดับนี้ตั้งแต่ปี 2007
Abenomics จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เลยหากพึ่งพาแค่นโยบายการคลังและการเงิน สิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมภาคเอกชนให้เป็นหัวหอกขับเคลื่อนการเติบโต
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวกับ CNBC ไว้ว่า “ผมแค่คิดว่าบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทใหญ่ เป็นบริษัทที่ผมเข้าใจว่าพวกเขาทำอะไร บางอย่างคล้ายกับ Berkshire และหุ้นเหล่านี้กำลังซื้อ-ขายในระดับที่ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ”
หุ้นญี่ปุ่นกลับมาอยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนต่างชาติอย่างเต็มตัว จากปี 1989 ที่นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นญี่ปุ่นเพียง 5% ทุกวันนี้สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 30%
เหตุการณ์ ‘ฟองสบู่แตก’ ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า Lost Decade หรือทศวรรษที่สาบสูญ โดยเฉพาะช่วงทศวรรษแรกที่เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยเพียงประมาณ 1%
ในมุมเศรษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประเมินว่า ญี่ปุ่นออกจากทศวรรษที่สาบสูญอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2002 หลังขนาด GDP กลับมาสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนฟองสบู่แตก
แต่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นต้องใช้เวลามากถึง 34 ปีกว่าที่ดัชนี Nikkei 225 จะกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากเคยทะยานขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเดิมไว้ 38,916 จุดเมื่อปี 1989
หุ้นญี่ปุ่นต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์มากมายระหว่างทาง ทั้งปัญหาเงินฝืดภายในประเทศ, ฟองสบู่ Dot-Com และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ จนมาถึงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา
แล้วญี่ปุ่นทำอย่างไรจนสามารถฉุดตลาดหุ้นให้กลับขึ้นมาได้อีกครั้ง?
Nikkei 225 ร่วงหล่นสู่ก้นเหว
ดัชนีหลักของหุ้นญี่ปุ่นคือ Nikkei 225 ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำ 225 บริษัท ถูกนักลงทุนเทขายอย่างหนัก จนฉุดให้ดัชนีร่วงลงมาต่ำกว่า 8,000 จุดในปี 2003
นิโคลัส สมิธ นักกลยุทธ์ของCLSA Securities Japan Co., Ltd. เคยกล่าวไว้ว่า “ปี 1989 แทบจะเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”
หลังฟองสบู่แตก คนญี่ปุ่นเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินและการลงทุนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่เคยรื่นรมย์กับการลงทุนและเก็งกำไร กลายมาเป็นคนที่เน้นเก็บออมเงินและเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมั่นคง เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยน ธุรกิจก็ลดการลงทุน ลังเลที่จะจ้างงานเพิ่ม
ซ้ำร้ายยังถูกซ้ำเติมจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียช่วงปี 1997-1998 ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกของญี่ปุ่น ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจเติบโตช้า ตามมาด้วยวิกฤตแฮมเบอร์ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2008 ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก รวมทั้งหุ้นญี่ปุ่นที่ร่วงลงไปทำจุดต่ำที่เกือบ 7,000 จุด
ธนู 3 ดอก จุดเริ่มต้นของ Abenomics
หลังพยายามหาหนทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจอยู่หลายทศวรรษ ในที่สุดญี่ปุ่นก็เดินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ ชินโซ อาเบะ ประธานาธิบดีญี่ปุ่นในเวลานั้น ตัดสินใจเริ่มต้นนโยบายที่ชื่อว่า ‘ธนู 3 ดอก’ (The Three Arrows)
ธนู 3 ดอกของอาเบะประกอบด้วย
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างเข้มข้น (Aggressive Monetary Easing) โดยให้ธนาคารกลางดำเนินการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และการซื้อพันธบัตร
นโยบายการคลังแบบยืดหยุ่น (Flexible Fiscal Policy) โดยกำหนดให้ภาครัฐสามารถปรับนโยบายด้านการใช้จ่ายและการเก็บภาษีได้อย่างคล่องตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน
นโยบายปฏิรูปโครงสร้างเพื่อยกระดับศักยภาพการเติบโต (Structural Reforms to Raise Potential Growth) ผ่านการดำเนินการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น การปฏิรูประบบการศึกษา การปฏิรูปตลาดแรงงาน และการลดข้อกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น
นโยบายดังกล่าวได้รับการขนานนามว่า Abenomics และได้รับการยกย่องว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ชาญฉลาดที่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว
แต่นอกเหนือไปจากนโยบายที่ดี การสื่อสารก็ต้องดีไม่แพ้กัน เพราะความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วนคือกุญแจสำคัญ สิ่งที่ต้องชื่นชมอย่างมากคือทีมงานของอาเบะ เพราะในช่วงปี 2012-2013 นักเรียนและผู้ที่ให้ความสนใจการปฏิรูปเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่างหยิบยกนโยบายธนู 3 ดอกขึ้นมาถกเถียงกันในวงกว้าง ขณะที่อาเบะแปลงร่างตัวเองเป็นซูเปอร์แมนเวอร์ชันญี่ปุ่น และไปปรากฏตัวอยู่บนหน้าปกของนิตยสาร The Economist
ธนาคารกลางญี่ปุ่น ผู้ยิงธนูดอกแรก
ในเดือนเมษายน 2013 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นผู้ยิงธนูดอกแรก ด้วยการประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE) ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งการกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับ 2% ภายใน 2 ปี
แต่ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย ธนูเพียงดอกเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นจากการทำ QE คือ เงินเยนอ่อนค่าทันทีถึง 24% ในระหว่างเดือนกันยายน 2012 – พฤษภาคม 2013
แม้ธนูดอกแรกยังห่างไกลจากเป้าหมาย แต่นักลงทุนก็เริ่มรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง หุ้นญี่ปุ่นเริ่มปีนกลับขึ้นมาจากก้นเหว ดัชนี Nikkei 225 วิ่งจากประมาณ 8,000 จุดกลับมาแตะ 15,000 จุด หลังจากที่ไม่ได้เห็นดัชนีระดับนี้ตั้งแต่ปี 2007
หลังการอัดฉีดเงินราว 1.5% ของ GDP รัฐบาลญี่ปุ่นเดินหน้าขึ้นภาษีการบริโภคจาก 5% เป็น 8% ในปี 2014 และเดิมทีก็มีแผนจะขึ้นต่อเป็น 10% ในปี 2015 แต่ตัดสินใจที่จะชะลอออกไปจนกระทั่งปี 2017 เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาดไว้
ระหว่างการเดินหน้าตามแผน รัฐบาลญี่ปุ่นก็มีอีกหนึ่งปัญหาให้หนักใจเช่นกัน จากตัวเลขหนี้สาธารณะที่พุ่งขึ้นจาก 13% เมื่อปี 1990 มาเป็น 134% ในปี 2012 แม้ตัวเลขหนี้จะพุ่งสูง แต่ที่ผ่านมานักลงทุนก็ยังคงเชื่อมั่นต่อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น แต่จากบทเรียนของหลายประเทศในยุโรป ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักดีว่า มุมมองของนักลงทุนเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และหากความเชื่อมั่นสูญไปแล้ว ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมากเพื่อดึงความเชื่อมั่นกลับมา
ด้วยบริบทเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจใช้นโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พยายามเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุล และพยายามหลีกเลี่ยงนโยบายที่จะทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) กระชากขึ้นมาแรงๆ
การใช้นโยบายที่ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์เหล่านี้คือธนูดอกที่ 2 ที่ถูกยิงออกไป
ธนูดอกสุดท้าย ให้เอกชนนำการเติบโต
Abenomics จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เลยหากพึ่งพาแค่นโยบายการคลังและการเงิน สิ่งสำคัญคือการส่งเสริมภาคเอกชนให้เป็นหัวหอกขับเคลื่อนการเติบโต
ทั้งการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางการเมืองให้เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจ การแก้ปัญหาจำนวนแรงงานที่กำลังลดลง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มแรงงานผู้หญิง คนสูงวัย และต่างชาติ ที่มีความต้องการจะทำงานในญี่ปุ่น รวมทั้งตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ การให้เงินสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรและบริการ รวมทั้งการลดภาษีธุรกิจและปรับปรุงธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจ
ภาคการเงินเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญเพื่อเป็นแหล่งทุนให้กับธุรกิจ รวมทั้งการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพและ SMEs ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
ขณะเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นระหว่างทางให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการพยายามดึงดูดเงินลงทุนจากบริษัทระดับโลก เช่น TSMC, Samsung, Micron, Intel, IBM และ Applied Materials ซึ่งกำลังมองหาแหล่งผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ จุดกระแสหุ้นญี่ปุ่น
ระหว่างปี 2015-2022 แม้หุ้นญี่ปุ่นจะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นมาได้ต่อจากบริเวณ 15,000 จุดไปแตะ 24,000 จุด แต่ในสายตานักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 27 ล้านเยน อาจบอกได้ว่าหุ้นญี่ปุ่นยังไม่น่าดึงดูดใจเท่าที่ควร
แต่หลังวิกฤตโควิด หุ้นญี่ปุ่นเริ่มกลับมาอยู่ในกระแสและสายตาของนักลงทุนทั่วโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นักลงทุนระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เดินหน้าเพิ่มเงินลงทุนในญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020
Berkshire Hathaway บริษัทลงทุนของบัฟเฟตต์ เข้าลงทุนรวม 6.7 พันล้านดอลลาร์ใน 5 บริษัทเทรดดิ้งของญี่ปุ่นเมื่อปี 2020
ก่อนหน้านี้ ชาร์ลี มังเกอร์ อดีตรองประธานของ Berkshire Hathaway และคู่หูของบัฟเฟตต์ ผู้ล่วงลับ เคยให้เหตุผลไว้ว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยในญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำมาก หมายความว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นยังสามารถกู้เงินด้วยต้นทุนต่ำไปล่วงหน้าอีก 10 ปี
ขณะที่บัฟเฟตต์เคยกล่าวกับ CNBC ไว้ว่า “ผมแค่คิดว่าบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทใหญ่ เป็นบริษัทที่ผมเข้าใจว่าพวกเขาทำอะไร บางอย่างคล้ายกับ Berkshire และหุ้นเหล่านี้กำลังซื้อ-ขายในระดับที่ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ”
ย้อนไปเมื่อปี 2023 บริษัทญี่ปุ่นมีเงินสดอยู่ในมือรวมกันถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าของหุ้นญี่ปุ่นราวครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด 1,835 บริษัทในตลาดหุ้นโตเกียวยังคงมีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ต่ำกว่า 1 เท่า
สู่ All Time High แม้จะเกิด Technical Recession
ดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่นให้ผลตอบแทนมากถึง 17% นับตั้งแต่ต้นปี 2024 และพุ่งขึ้นมากว่า 40% ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จนดัชนี Nikkei 225 ทำสถิติสูงสุดใหม่ได้อีกครั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
หุ้นญี่ปุ่นกลับมาอยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนต่างชาติอย่างเต็มตัว จากปี 1989 ที่ระดับการถือครองหุ้นญี่ปุ่นของต่างชาติลดลงไปเหลือเพียง 5% ทุกวันนี้สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 30% เรียบร้อยแล้ว
โจนาธาน การ์เนอร์ หัวหน้านักกลยุทธ์ฝั่งเอเชียของ Morgan Stanley กล่าวว่า “มันใช้เวลานานมากกว่าที่นักลงทุนทั่วโลกจะยอมรับว่าญี่ปุ่นเปลี่ยนไปแล้ว” และหลังจากการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นของบริษัทญี่ปุ่น ตอนนี้ทุกคนยอมรับแล้วว่า หุ้นญี่ปุ่นอยู่ในตลาดกระทิง
รายได้ของบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่านับตั้งแต่ยุคฟองสบู่ เนื่องจากการยกระดับธรรมาภิบาล บริษัทญี่ปุ่นได้ปรับปรุงงบดุล อัตรากำไรจากการดำเนินงาน รัฐบาลพยายามผลักดันการปฏิรูปการกำกับดูแลกิจการที่ดียิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนทุ่มเงินทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจำนวนมหาศาล
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ชาวต่างชาติลงทุนมากกว่า 2 ล้านล้านเยนจากการเปิดตัวดัชนีหุ้นญี่ปุ่นใหม่ ‘Prime’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการแข่งขันระหว่างบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น และทำให้ตลาดหุ้นของประเทศมีความคล่องตัวและน่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนทั่วโลกมากขึ้น
ญี่ปุ่นทำอย่างไร ดึงตลาดหุ้นจากก้นเหวสู่ All Time High ครั้งใหม่ในรอบ 34 ปี
https://thestandard.co/how-did-japan-market-get-to-all-time-high/
HIGHLIGHTS
ตลาดหุ้นญี่ปุ่นต้องใช้เวลามากถึง 34 ปี กว่าที่ดัชนี Nikkei 225 จะกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากเคยทะยานขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเดิมไว้ 38,916 จุดเมื่อปี 1989
นิโคลัส สมิธ นักกลยุทธ์ของCLSA Securities Japan Co., Ltd. เคยกล่าวไว้ว่า “ปี 1989 แทบจะเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”
ญี่ปุ่นเดินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ ชินโซ อาเบะ ประธานาธิบดีญี่ปุ่นในเวลานั้น ตัดสินใจเริ่มต้นนโยบายที่ชื่อว่า ‘ธนู 3 ดอก’ (The Three Arrows)
ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นผู้ยิงธนูดอกแรก ด้วยการประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE)
หุ้นญี่ปุ่นเริ่มปีนกลับขึ้นมาจากก้นเหว ดัชนี Nikkei 225 วิ่งจากประมาณ 8,000 จุด กลับมาแตะ 15,000 จุด หลังจากที่ไม่ได้เห็นดัชนีระดับนี้ตั้งแต่ปี 2007
Abenomics จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เลยหากพึ่งพาแค่นโยบายการคลังและการเงิน สิ่งสำคัญคือ การส่งเสริมภาคเอกชนให้เป็นหัวหอกขับเคลื่อนการเติบโต
วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวกับ CNBC ไว้ว่า “ผมแค่คิดว่าบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทใหญ่ เป็นบริษัทที่ผมเข้าใจว่าพวกเขาทำอะไร บางอย่างคล้ายกับ Berkshire และหุ้นเหล่านี้กำลังซื้อ-ขายในระดับที่ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ”
หุ้นญี่ปุ่นกลับมาอยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนต่างชาติอย่างเต็มตัว จากปี 1989 ที่นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นญี่ปุ่นเพียง 5% ทุกวันนี้สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 30%
เหตุการณ์ ‘ฟองสบู่แตก’ ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ส่งผลให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า Lost Decade หรือทศวรรษที่สาบสูญ โดยเฉพาะช่วงทศวรรษแรกที่เศรษฐกิจเติบโตเฉลี่ยเพียงประมาณ 1%
ในมุมเศรษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนประเมินว่า ญี่ปุ่นออกจากทศวรรษที่สาบสูญอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2002 หลังขนาด GDP กลับมาสู่ระดับเดียวกับช่วงก่อนฟองสบู่แตก
แต่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นต้องใช้เวลามากถึง 34 ปีกว่าที่ดัชนี Nikkei 225 จะกลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้ง หลังจากเคยทะยานขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเดิมไว้ 38,916 จุดเมื่อปี 1989
หุ้นญี่ปุ่นต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์มากมายระหว่างทาง ทั้งปัญหาเงินฝืดภายในประเทศ, ฟองสบู่ Dot-Com และวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในสหรัฐฯ จนมาถึงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา
แล้วญี่ปุ่นทำอย่างไรจนสามารถฉุดตลาดหุ้นให้กลับขึ้นมาได้อีกครั้ง?
Nikkei 225 ร่วงหล่นสู่ก้นเหว
ดัชนีหลักของหุ้นญี่ปุ่นคือ Nikkei 225 ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทญี่ปุ่นชั้นนำ 225 บริษัท ถูกนักลงทุนเทขายอย่างหนัก จนฉุดให้ดัชนีร่วงลงมาต่ำกว่า 8,000 จุดในปี 2003
นิโคลัส สมิธ นักกลยุทธ์ของCLSA Securities Japan Co., Ltd. เคยกล่าวไว้ว่า “ปี 1989 แทบจะเป็นฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ”
หลังฟองสบู่แตก คนญี่ปุ่นเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินและการลงทุนจากหน้ามือเป็นหลังมือ จากที่เคยรื่นรมย์กับการลงทุนและเก็งกำไร กลายมาเป็นคนที่เน้นเก็บออมเงินและเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมั่นคง เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยน ธุรกิจก็ลดการลงทุน ลังเลที่จะจ้างงานเพิ่ม
ซ้ำร้ายยังถูกซ้ำเติมจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียช่วงปี 1997-1998 ส่งผลกระทบต่อความต้องการสินค้าส่งออกของญี่ปุ่น ทำให้เกิดภาวะเงินฝืดและเศรษฐกิจเติบโตช้า ตามมาด้วยวิกฤตแฮมเบอร์ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2008 ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลก รวมทั้งหุ้นญี่ปุ่นที่ร่วงลงไปทำจุดต่ำที่เกือบ 7,000 จุด
ธนู 3 ดอก จุดเริ่มต้นของ Abenomics
หลังพยายามหาหนทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจอยู่หลายทศวรรษ ในที่สุดญี่ปุ่นก็เดินมาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อ ชินโซ อาเบะ ประธานาธิบดีญี่ปุ่นในเวลานั้น ตัดสินใจเริ่มต้นนโยบายที่ชื่อว่า ‘ธนู 3 ดอก’ (The Three Arrows)
ธนู 3 ดอกของอาเบะประกอบด้วย
นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างเข้มข้น (Aggressive Monetary Easing) โดยให้ธนาคารกลางดำเนินการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย การเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ และการซื้อพันธบัตร
นโยบายการคลังแบบยืดหยุ่น (Flexible Fiscal Policy) โดยกำหนดให้ภาครัฐสามารถปรับนโยบายด้านการใช้จ่ายและการเก็บภาษีได้อย่างคล่องตัวตามสถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน
นโยบายปฏิรูปโครงสร้างเพื่อยกระดับศักยภาพการเติบโต (Structural Reforms to Raise Potential Growth) ผ่านการดำเนินการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว เช่น การปฏิรูประบบการศึกษา การปฏิรูปตลาดแรงงาน และการลดข้อกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น
นโยบายดังกล่าวได้รับการขนานนามว่า Abenomics และได้รับการยกย่องว่าเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ชาญฉลาดที่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว
แต่นอกเหนือไปจากนโยบายที่ดี การสื่อสารก็ต้องดีไม่แพ้กัน เพราะความเชื่อมั่นจากทุกภาคส่วนคือกุญแจสำคัญ สิ่งที่ต้องชื่นชมอย่างมากคือทีมงานของอาเบะ เพราะในช่วงปี 2012-2013 นักเรียนและผู้ที่ให้ความสนใจการปฏิรูปเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่างหยิบยกนโยบายธนู 3 ดอกขึ้นมาถกเถียงกันในวงกว้าง ขณะที่อาเบะแปลงร่างตัวเองเป็นซูเปอร์แมนเวอร์ชันญี่ปุ่น และไปปรากฏตัวอยู่บนหน้าปกของนิตยสาร The Economist
ธนาคารกลางญี่ปุ่น ผู้ยิงธนูดอกแรก
ในเดือนเมษายน 2013 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นผู้ยิงธนูดอกแรก ด้วยการประกาศใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (QE) ผ่านการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งการกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับ 2% ภายใน 2 ปี
แต่ไม่มีอะไรได้มาโดยง่าย ธนูเพียงดอกเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ผลที่เกิดขึ้นในระยะสั้นจากการทำ QE คือ เงินเยนอ่อนค่าทันทีถึง 24% ในระหว่างเดือนกันยายน 2012 – พฤษภาคม 2013
แม้ธนูดอกแรกยังห่างไกลจากเป้าหมาย แต่นักลงทุนก็เริ่มรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง หุ้นญี่ปุ่นเริ่มปีนกลับขึ้นมาจากก้นเหว ดัชนี Nikkei 225 วิ่งจากประมาณ 8,000 จุดกลับมาแตะ 15,000 จุด หลังจากที่ไม่ได้เห็นดัชนีระดับนี้ตั้งแต่ปี 2007
หลังการอัดฉีดเงินราว 1.5% ของ GDP รัฐบาลญี่ปุ่นเดินหน้าขึ้นภาษีการบริโภคจาก 5% เป็น 8% ในปี 2014 และเดิมทีก็มีแผนจะขึ้นต่อเป็น 10% ในปี 2015 แต่ตัดสินใจที่จะชะลอออกไปจนกระทั่งปี 2017 เนื่องจากเศรษฐกิจเติบโตได้ต่ำกว่าที่คาดไว้
ระหว่างการเดินหน้าตามแผน รัฐบาลญี่ปุ่นก็มีอีกหนึ่งปัญหาให้หนักใจเช่นกัน จากตัวเลขหนี้สาธารณะที่พุ่งขึ้นจาก 13% เมื่อปี 1990 มาเป็น 134% ในปี 2012 แม้ตัวเลขหนี้จะพุ่งสูง แต่ที่ผ่านมานักลงทุนก็ยังคงเชื่อมั่นต่อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น แต่จากบทเรียนของหลายประเทศในยุโรป ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักดีว่า มุมมองของนักลงทุนเป็นสิ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และหากความเชื่อมั่นสูญไปแล้ว ต้องใช้ต้นทุนที่สูงมากเพื่อดึงความเชื่อมั่นกลับมา
ด้วยบริบทเช่นนี้ ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจใช้นโยบายการคลังเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ พยายามเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายเพื่อลดการขาดดุล และพยายามหลีกเลี่ยงนโยบายที่จะทำให้ผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาล (Bond Yield) กระชากขึ้นมาแรงๆ
การใช้นโยบายที่ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์เหล่านี้คือธนูดอกที่ 2 ที่ถูกยิงออกไป
ธนูดอกสุดท้าย ให้เอกชนนำการเติบโต
Abenomics จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เลยหากพึ่งพาแค่นโยบายการคลังและการเงิน สิ่งสำคัญคือการส่งเสริมภาคเอกชนให้เป็นหัวหอกขับเคลื่อนการเติบโต
ทั้งการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางการเมืองให้เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจ การแก้ปัญหาจำนวนแรงงานที่กำลังลดลง ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มแรงงานผู้หญิง คนสูงวัย และต่างชาติ ที่มีความต้องการจะทำงานในญี่ปุ่น รวมทั้งตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ การให้เงินสนับสนุนอุตสาหกรรมการเกษตรและบริการ รวมทั้งการลดภาษีธุรกิจและปรับปรุงธรรมาภิบาลของภาคธุรกิจ
ภาคการเงินเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญเพื่อเป็นแหล่งทุนให้กับธุรกิจ รวมทั้งการสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพและ SMEs ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ
ขณะเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นระหว่างทางให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการพยายามดึงดูดเงินลงทุนจากบริษัทระดับโลก เช่น TSMC, Samsung, Micron, Intel, IBM และ Applied Materials ซึ่งกำลังมองหาแหล่งผลิตเพื่อลดความเสี่ยงจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ
วอร์เรน บัฟเฟตต์ จุดกระแสหุ้นญี่ปุ่น
ระหว่างปี 2015-2022 แม้หุ้นญี่ปุ่นจะค่อยๆ ไต่ระดับขึ้นมาได้ต่อจากบริเวณ 15,000 จุดไปแตะ 24,000 จุด แต่ในสายตานักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 27 ล้านเยน อาจบอกได้ว่าหุ้นญี่ปุ่นยังไม่น่าดึงดูดใจเท่าที่ควร
แต่หลังวิกฤตโควิด หุ้นญี่ปุ่นเริ่มกลับมาอยู่ในกระแสและสายตาของนักลงทุนทั่วโลกอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นักลงทุนระดับตำนานอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เดินหน้าเพิ่มเงินลงทุนในญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2020
Berkshire Hathaway บริษัทลงทุนของบัฟเฟตต์ เข้าลงทุนรวม 6.7 พันล้านดอลลาร์ใน 5 บริษัทเทรดดิ้งของญี่ปุ่นเมื่อปี 2020
ก่อนหน้านี้ ชาร์ลี มังเกอร์ อดีตรองประธานของ Berkshire Hathaway และคู่หูของบัฟเฟตต์ ผู้ล่วงลับ เคยให้เหตุผลไว้ว่า เพราะอัตราดอกเบี้ยในญี่ปุ่นยังอยู่ในระดับต่ำมาก หมายความว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นยังสามารถกู้เงินด้วยต้นทุนต่ำไปล่วงหน้าอีก 10 ปี
ขณะที่บัฟเฟตต์เคยกล่าวกับ CNBC ไว้ว่า “ผมแค่คิดว่าบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทใหญ่ เป็นบริษัทที่ผมเข้าใจว่าพวกเขาทำอะไร บางอย่างคล้ายกับ Berkshire และหุ้นเหล่านี้กำลังซื้อ-ขายในระดับที่ต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ”
ย้อนไปเมื่อปี 2023 บริษัทญี่ปุ่นมีเงินสดอยู่ในมือรวมกันถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่มูลค่าของหุ้นญี่ปุ่นราวครึ่งหนึ่งของจำนวนทั้งหมด 1,835 บริษัทในตลาดหุ้นโตเกียวยังคงมีราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV) ต่ำกว่า 1 เท่า
สู่ All Time High แม้จะเกิด Technical Recession
ดัชนี Nikkei ของญี่ปุ่นให้ผลตอบแทนมากถึง 17% นับตั้งแต่ต้นปี 2024 และพุ่งขึ้นมากว่า 40% ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา จนดัชนี Nikkei 225 ทำสถิติสูงสุดใหม่ได้อีกครั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
หุ้นญี่ปุ่นกลับมาอยู่ในเรดาร์ของนักลงทุนต่างชาติอย่างเต็มตัว จากปี 1989 ที่ระดับการถือครองหุ้นญี่ปุ่นของต่างชาติลดลงไปเหลือเพียง 5% ทุกวันนี้สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มกลับขึ้นมาเป็น 30% เรียบร้อยแล้ว
โจนาธาน การ์เนอร์ หัวหน้านักกลยุทธ์ฝั่งเอเชียของ Morgan Stanley กล่าวว่า “มันใช้เวลานานมากกว่าที่นักลงทุนทั่วโลกจะยอมรับว่าญี่ปุ่นเปลี่ยนไปแล้ว” และหลังจากการเติบโตของกำไรอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับความสามารถในการทำกำไรที่ดีขึ้นของบริษัทญี่ปุ่น ตอนนี้ทุกคนยอมรับแล้วว่า หุ้นญี่ปุ่นอยู่ในตลาดกระทิง
รายได้ของบริษัทญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่านับตั้งแต่ยุคฟองสบู่ เนื่องจากการยกระดับธรรมาภิบาล บริษัทญี่ปุ่นได้ปรับปรุงงบดุล อัตรากำไรจากการดำเนินงาน รัฐบาลพยายามผลักดันการปฏิรูปการกำกับดูแลกิจการที่ดียิ่งขึ้น ทำให้ธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืน สิ่งนี้ทำให้นักลงทุนทุ่มเงินทุนเข้าสู่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นจำนวนมหาศาล
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์โตเกียวล่าสุดแสดงให้เห็นว่า ชาวต่างชาติลงทุนมากกว่า 2 ล้านล้านเยนจากการเปิดตัวดัชนีหุ้นญี่ปุ่นใหม่ ‘Prime’ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการแข่งขันระหว่างบริษัทจดทะเบียนมากขึ้น และทำให้ตลาดหุ้นของประเทศมีความคล่องตัวและน่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนทั่วโลกมากขึ้น