สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
1. ไฟแนนซ์แจ้งความได้ในฐานะผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่ปกติเขาไม่อยากแจ้งความ มันสิ้นเปลือง
และเสียเวลายิ่งถ้าลูกหนี้ติดคุกโอกาสทวงมันยากหนี้สูญง่าย พนักงานเร่งรัดอดค่าคอมฯ
เขาอยากได้เงินคืนเพราะงั้นเขาจะไล่บี้จากคู่สัญญาเต็มเหนี่ยว ไม่จ่ายก็ฟ้องแพ่งครับ
ส่วนลูกหนี้ก็ต้องจ่ายถ้าถึงขั้นโดนฟ้อง ส่วนปัญหาอื่นๆไปเคลียร์เอาเอง จะไปฟ้องใครต่อ
ก็เรื่องของลูกหนี้ครับ อันนี้ในมุมของไฟแนนซ์
2. คุณจะแจ้งความยักยอกทรัพย์ได้ต่อเมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รับทราบ คือต้องให้ไฟแนนซ์
มอบอำนาจมาก่อนแล้วค่อยไปแจ้งไม่งั้นตำรวจไม่รับแจ้ง ถ้าตำรวจไม่แม่นกฎหมาย
ไปรับแจ้งไฟแนนซ์มารู้ทีหลังเขาจะฟ้องตำรวจที่รับแจ้งด้วย
ทีนี้ถ้าแจ้งความยักยอกทรัพย์สำเร็จ คดีนี้เป็นคดีที่ยอมความได้ถ้าผู้ต้องหารับผิดชอบชดใช้
จนผู้เสียหายพอใจและถอนแจ้งความไม่เอาความก็จบกันไปผู้ต้องหาก็ไม่ต้องรับโทษอาญา
แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ยอมความ ผู้ต้องหาก็ต้องขึ้นศาลเตรียมรับโทษตามที่ศาลจะลงโทษ
สรุปคือ ผู้ต้องหาจะได้รับโทษหรือไม่ขึ้นกับผู้แจ้งความ จะเลือกเอาทรัพย์และค่าเสียหาย
หรืออยากเอาผู้ต้องหาเข้าคุก คุณเลือกได้
3. ปกติคดียักยอกรถยนต์ มักนับจากวันที่ไฟแนนซ์เริ่มตามทวงรถแล้วไม่มีรถคืนครับ
โดยยึดวันที่จากหัวหนังสือทวงเพราะถือเป็นเอกสารยืนยันเวลาได้ชัดเจนที่สุด
มีเวลา3เดือน ก่อนหมดอายุความแจ้งความดำเนินคดี
4. ไฟแนนซ์ไม่เลิกตามจนกว่าจะฟ้อง(ตามทวงราว2เดือน) เขาจะติดตามจนถึงวันส่งฟ้อง
พอส่งฟ้องเขาก็จะเบรคการทวงและรอคุณได้รับหมายศาล นับจากวันยื่นคำร้อง
จนถึงวันที่คุณได้รับหมายศาล มักใช้เวลารอราวๆ2-6เดือน แต่ตอนนี้คดีไฟแนนซ์
ฟ้องลูกหนี้ล้นศาลเป็นหมื่นคดีคิวก็จะยาวหน่อย บางคดีอาจรอนานถึงปี
บางคดีโชคดีก็อาจจะแค่3เดือนครับ
และเสียเวลายิ่งถ้าลูกหนี้ติดคุกโอกาสทวงมันยากหนี้สูญง่าย พนักงานเร่งรัดอดค่าคอมฯ
เขาอยากได้เงินคืนเพราะงั้นเขาจะไล่บี้จากคู่สัญญาเต็มเหนี่ยว ไม่จ่ายก็ฟ้องแพ่งครับ
ส่วนลูกหนี้ก็ต้องจ่ายถ้าถึงขั้นโดนฟ้อง ส่วนปัญหาอื่นๆไปเคลียร์เอาเอง จะไปฟ้องใครต่อ
ก็เรื่องของลูกหนี้ครับ อันนี้ในมุมของไฟแนนซ์
2. คุณจะแจ้งความยักยอกทรัพย์ได้ต่อเมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รับทราบ คือต้องให้ไฟแนนซ์
มอบอำนาจมาก่อนแล้วค่อยไปแจ้งไม่งั้นตำรวจไม่รับแจ้ง ถ้าตำรวจไม่แม่นกฎหมาย
ไปรับแจ้งไฟแนนซ์มารู้ทีหลังเขาจะฟ้องตำรวจที่รับแจ้งด้วย
ทีนี้ถ้าแจ้งความยักยอกทรัพย์สำเร็จ คดีนี้เป็นคดีที่ยอมความได้ถ้าผู้ต้องหารับผิดชอบชดใช้
จนผู้เสียหายพอใจและถอนแจ้งความไม่เอาความก็จบกันไปผู้ต้องหาก็ไม่ต้องรับโทษอาญา
แต่ถ้าผู้เสียหายไม่ยอมความ ผู้ต้องหาก็ต้องขึ้นศาลเตรียมรับโทษตามที่ศาลจะลงโทษ
สรุปคือ ผู้ต้องหาจะได้รับโทษหรือไม่ขึ้นกับผู้แจ้งความ จะเลือกเอาทรัพย์และค่าเสียหาย
หรืออยากเอาผู้ต้องหาเข้าคุก คุณเลือกได้
3. ปกติคดียักยอกรถยนต์ มักนับจากวันที่ไฟแนนซ์เริ่มตามทวงรถแล้วไม่มีรถคืนครับ
โดยยึดวันที่จากหัวหนังสือทวงเพราะถือเป็นเอกสารยืนยันเวลาได้ชัดเจนที่สุด
มีเวลา3เดือน ก่อนหมดอายุความแจ้งความดำเนินคดี
4. ไฟแนนซ์ไม่เลิกตามจนกว่าจะฟ้อง(ตามทวงราว2เดือน) เขาจะติดตามจนถึงวันส่งฟ้อง
พอส่งฟ้องเขาก็จะเบรคการทวงและรอคุณได้รับหมายศาล นับจากวันยื่นคำร้อง
จนถึงวันที่คุณได้รับหมายศาล มักใช้เวลารอราวๆ2-6เดือน แต่ตอนนี้คดีไฟแนนซ์
ฟ้องลูกหนี้ล้นศาลเป็นหมื่นคดีคิวก็จะยาวหน่อย บางคดีอาจรอนานถึงปี
บางคดีโชคดีก็อาจจะแค่3เดือนครับ
แสดงความคิดเห็น
ช่วยด้วยค่ะ เครียดมากๆ ไฟแนนซ์ตามยึดรถแต่ไม่มีรถคืน รถอยู่กับสามี เลิกกันแล้วแต่ไม่ได้หย่า เขาหนีไปเราตามไม่เจอ
ขอเกริ่นก่อนนะคะ เราออกรถเป็นชื่อเรา ให้สามีใช้ แล้วเลิกกัน ไม่ได้จดทะเบียนหย่า เขาหนี ไม่ยอมคืนรถ ไฟแนนซ์มาตามกับเรา แล้วเราก็ตามตัวเขาและรถไม่เจอ
1. เราให้ไฟแนนซ์แจ้งความยักยอกทรัพย์สามีเลยได้ไหมคะ ไฟแนนซ์เคยเจอรถอยู่กับเขาเมื่อช่วง3-4เดือนก่อน
ตอนนั้นเขาค้างชำระ เราให้ไฟแนนซ์ไปตามที่เขา แล้วเขายอมจ่าย เลยจบค่ะ แต่ตอนนี้เขาหนี (เขาไม่ใช่คู่สัญญา คู่สัญญาเป็นชื่อเราคนเดียวเลยค่ะ)
2.ตามกฏหมาย ถ้าภรรยาแจ้งความยักยอกทรัพย์สามี แจ้งได้ แต่ไม่ต้องรับโทษ แบบนี้คือ เราแจ้งไปก็ไม่มีความหมายใช่ไหมคะ
3.ถ้าเรายืนยันจะแจ้งความสามีข้อหายักยอกทรัพย์ เราไปอ่านกฏหมายมา เขาบอกมีอายุความ3เดือน เริ่มนับอายุความจากวันไหนคะ (เรารู้เรื่องที่เขาไม่ส่งค่ารถประมาณเดือน มกราคมค่ะ) ต้องมีข้อมูลอะไรของสามีบ้างคะถึงจะแจ้งได้
4.ในกรณีที่เรา ทำอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ เราต้องผ่อนลมแทนเขา อยากทราบว่า นานไหมคะ กว่าไฟแนนซ์จะเลิกตาม แล้วยื่นฟ้องเรา