เราติดกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องวงจรปิดก็เสี่ยงต่อการถูกสอดแนมด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น (Northeastern University) รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า อีเอ็ม อาย (EM Eye) ซึ่งทำให้สามารถแอบดึงวิดีโอจากกล้องวงจรปิดผ่านสายไฟได้แบบเรียลไทม์โดยที่ไม่ทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้เลย
โดยปกติกล้องวงจรปิดจะมีสายไฟ ซึ่งสายไฟได้ปล่อยคลื่นวิทยุ (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงความถี่วิทยุ) ออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เทคนิคอีเอ็มอายนี้ก็จะเป็นการใช้เสาอากาศวิทยุเพื่อรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากสายไฟนี้เอง นักวิจัยใช้วิทยุที่สามารถกำหนดค่าต่าง ๆ เช่น ปรับความถี่ การประมวลผลสัญญาณประเภทต่าง ๆ ได้ผ่านซอฟต์แวร์ และยังใช้เสาอากาศแบบกำหนดทิศทางและกรองเสียงรบกวนออกไป จากนั้นโฟกัสไปที่กล้องที่ต้องการดึงข้อมูล พวกเขาก็สามารถจับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าและแปลงเป็นสตรีมวิดีโอได้แบบเรียลไทม์
เทคนิคนี้ใช้หลักการของการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงมันจะสามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในตัวนำได้ ในกรณีนี้สายไฟในกล้องเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าของข้อมูลวิดีโอ เมื่อกระแสไฟเปลี่ยนแปลง มันจะสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถตรวจจับได้ด้วยเสาอากาศวิทยุ
สำหรับวิดีโอที่เทคนิคอีเอ็มอายสามารถดึงออกมาได้นั้น ตอนแรกได้วิดีโอที่ไม่ค่อยชัด เพราะสูญเสียพิกเซลระหว่างส่งสัญญาณ แต่อย่างไรก็ตาม ก็สามารถใช้แมชชีนเลิร์นนิง (machine learning) หรืออัลกอริธึมที่ถูกฝึกมาให้สามารถปรับปรุงคุณภาพวิดีโอได้ เพื่อทำให้ภาพคมชัดได้อยู่ดี ซึ่งไม่เพียงใช้กับกล้องวงจรปิด เทคนิคนี้ใช้ได้กับกล้องอีกหลายประเภท คือ กล้องติดรถยนต์ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีสายไฟส่งข้อมูลวิดีโอ เช่น จอภาพ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สมาร์ตโฟน โดยนักวิจัยได้ทดสอบกับกล้อง 12 ชนิดที่แตกต่างกัน พบว่าระยะห่างที่สามารถแอบดึงข้อมูลออกมาได้นั้นอยู่ในช่วง 0.3 เมตร ถึง 4.88 เมตร แล้วแต่ชนิดของกล้อง
นักวิจัยกล่าวว่าเทคนิคอีเอ็มอาย แตกต่างจากวิธีการสอดแนมกล้องอื่น ๆ อย่างการแฮ็กเข้าสู่เครือข่ายไร้สาย เทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงเครือข่ายหรือพื้นที่เก็บข้อมูลของกล้อง และไม่ทิ้งร่องรอยการบุกรุกใด ๆ รวมถึงยังใช้งานได้กับกล้องที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอย่างกล้องติดรถยนต์ได้ด้วย ซึ่งจุดนี้ทำให้เห็นข้อบกพร่องในการออกแบบและผลิตกล้อง โดยกล้องส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันเรื่องที่เกี่ยวกับดิจิทัลโดยตั้งใจ อย่างการป้องกันไม่ให้อัพโหลดรูปหรือวิดีโอไปยังคลาวน์ แต่กลับมองข้ามการรั่วไหลของข้อมูลผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น สายไฟ
สำหรับประโยชน์ของเทคนิคนี้คือสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ อย่างการวิเคราะห์ทางนิติเวช แต่ผลเสียก็มีคืออาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงส่วนบุคคลและความมั่นคงของชาติด้วย นักวิจัยหวังว่างานของพวกเขาจะสร้างความตระหนักรู้และทำให้เกิดมาตรการเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้กล้อง
เทคนิคอีเอ็มอายเป็นเปเปอร์ที่ได้รับการยอมรับและจะถูกนำเสนอในงานสัมมนาเกี่ยวกับความปลอดภัยเครือข่ายและระบบแบบกระจายอย่าง Network and Distributed System Security Symposium (NDSS) 2024 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2024 ที่ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ใครก็ตามที่มีทักษะด้านวิศวกรรมและมีอุปกรณ์ในราคาหลักพันบาท ก็สามารถสอดแนมกล้องที่อยู่ใกล้เคียงได้โดยไม่ถูกตรวจพบเลย
สิ่งที่นักวิจัยแนะนำ
อ่านมาถึงจุดนี้หลายท่านอาจจะกังวล จนเกิดคำถามว่าแล้วควรป้องกันอย่างไรต่อ ซึ่งนักวิจัยก็แนะนำว่าสำหรับผู้ผลิตกล้อง ควรพิจารณาป้องกันสายไฟภายในกล้องหรือเข้ารหัสข้อมูลวิดีโอเพื่อป้องกันการโจมตีดังกล่าว ส่วนผู้ใช้ยังต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่ว่าอาจมีคนเจาะข้อมูลของตัวเองได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งกล้องในสถานที่ที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น
ที่มาข้อมูล
https://www.tnnthailand.com/news/tech/161584/
ระวัง ! กล้องวงจรปิดไม่ปลอดภัยอีกต่อไป พบเทคนิคใหม่สามารถดึงวิดีโอจากกล้องได้โดยไม่มีใครรู้
เราติดกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องวงจรปิดก็เสี่ยงต่อการถูกสอดแนมด้วย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ธอีสเทิร์น (Northeastern University) รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า อีเอ็ม อาย (EM Eye) ซึ่งทำให้สามารถแอบดึงวิดีโอจากกล้องวงจรปิดผ่านสายไฟได้แบบเรียลไทม์โดยที่ไม่ทิ้งร่องรอยใด ๆ ไว้เลย
โดยปกติกล้องวงจรปิดจะมีสายไฟ ซึ่งสายไฟได้ปล่อยคลื่นวิทยุ (คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงความถี่วิทยุ) ออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เทคนิคอีเอ็มอายนี้ก็จะเป็นการใช้เสาอากาศวิทยุเพื่อรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากสายไฟนี้เอง นักวิจัยใช้วิทยุที่สามารถกำหนดค่าต่าง ๆ เช่น ปรับความถี่ การประมวลผลสัญญาณประเภทต่าง ๆ ได้ผ่านซอฟต์แวร์ และยังใช้เสาอากาศแบบกำหนดทิศทางและกรองเสียงรบกวนออกไป จากนั้นโฟกัสไปที่กล้องที่ต้องการดึงข้อมูล พวกเขาก็สามารถจับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าและแปลงเป็นสตรีมวิดีโอได้แบบเรียลไทม์
เทคนิคนี้ใช้หลักการของการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า คือ เมื่อสนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลงมันจะสามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าในตัวนำได้ ในกรณีนี้สายไฟในกล้องเป็นตัวนำกระแสไฟฟ้าของข้อมูลวิดีโอ เมื่อกระแสไฟเปลี่ยนแปลง มันจะสร้างสนามแม่เหล็กที่สามารถตรวจจับได้ด้วยเสาอากาศวิทยุ
สำหรับวิดีโอที่เทคนิคอีเอ็มอายสามารถดึงออกมาได้นั้น ตอนแรกได้วิดีโอที่ไม่ค่อยชัด เพราะสูญเสียพิกเซลระหว่างส่งสัญญาณ แต่อย่างไรก็ตาม ก็สามารถใช้แมชชีนเลิร์นนิง (machine learning) หรืออัลกอริธึมที่ถูกฝึกมาให้สามารถปรับปรุงคุณภาพวิดีโอได้ เพื่อทำให้ภาพคมชัดได้อยู่ดี ซึ่งไม่เพียงใช้กับกล้องวงจรปิด เทคนิคนี้ใช้ได้กับกล้องอีกหลายประเภท คือ กล้องติดรถยนต์ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีสายไฟส่งข้อมูลวิดีโอ เช่น จอภาพ แล็ปท็อป แท็บเล็ต สมาร์ตโฟน โดยนักวิจัยได้ทดสอบกับกล้อง 12 ชนิดที่แตกต่างกัน พบว่าระยะห่างที่สามารถแอบดึงข้อมูลออกมาได้นั้นอยู่ในช่วง 0.3 เมตร ถึง 4.88 เมตร แล้วแต่ชนิดของกล้อง
นักวิจัยกล่าวว่าเทคนิคอีเอ็มอาย แตกต่างจากวิธีการสอดแนมกล้องอื่น ๆ อย่างการแฮ็กเข้าสู่เครือข่ายไร้สาย เทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องเข้าถึงเครือข่ายหรือพื้นที่เก็บข้อมูลของกล้อง และไม่ทิ้งร่องรอยการบุกรุกใด ๆ รวมถึงยังใช้งานได้กับกล้องที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอย่างกล้องติดรถยนต์ได้ด้วย ซึ่งจุดนี้ทำให้เห็นข้อบกพร่องในการออกแบบและผลิตกล้อง โดยกล้องส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การป้องกันเรื่องที่เกี่ยวกับดิจิทัลโดยตั้งใจ อย่างการป้องกันไม่ให้อัพโหลดรูปหรือวิดีโอไปยังคลาวน์ แต่กลับมองข้ามการรั่วไหลของข้อมูลผ่านช่องทางอื่น ๆ เช่น สายไฟ
สำหรับประโยชน์ของเทคนิคนี้คือสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ อย่างการวิเคราะห์ทางนิติเวช แต่ผลเสียก็มีคืออาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงส่วนบุคคลและความมั่นคงของชาติด้วย นักวิจัยหวังว่างานของพวกเขาจะสร้างความตระหนักรู้และทำให้เกิดมาตรการเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้กล้อง
เทคนิคอีเอ็มอายเป็นเปเปอร์ที่ได้รับการยอมรับและจะถูกนำเสนอในงานสัมมนาเกี่ยวกับความปลอดภัยเครือข่ายและระบบแบบกระจายอย่าง Network and Distributed System Security Symposium (NDSS) 2024 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2024 ที่ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ใครก็ตามที่มีทักษะด้านวิศวกรรมและมีอุปกรณ์ในราคาหลักพันบาท ก็สามารถสอดแนมกล้องที่อยู่ใกล้เคียงได้โดยไม่ถูกตรวจพบเลย
สิ่งที่นักวิจัยแนะนำ
อ่านมาถึงจุดนี้หลายท่านอาจจะกังวล จนเกิดคำถามว่าแล้วควรป้องกันอย่างไรต่อ ซึ่งนักวิจัยก็แนะนำว่าสำหรับผู้ผลิตกล้อง ควรพิจารณาป้องกันสายไฟภายในกล้องหรือเข้ารหัสข้อมูลวิดีโอเพื่อป้องกันการโจมตีดังกล่าว ส่วนผู้ใช้ยังต้องตระหนักถึงความเสี่ยงที่ว่าอาจมีคนเจาะข้อมูลของตัวเองได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งกล้องในสถานที่ที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น
ที่มาข้อมูล https://www.tnnthailand.com/news/tech/161584/