ที่เยอรมนีทุกคนจะต้องมีบัตรประกันสุขภาพที่รัฐบาลบังคับ เราจะต้องนำบัตรประกันสุขภาพตัวนี้เวลาไปหาหมอ และยื่นให้หมอทุกไตรมาส ซึ่งทางบริษัทประกันสุขภาพจะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลค่ะ!!
การที่เราเจ็บป่วยทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุร้ายแรง เราจะต้องทำนัดกับหมอบ้าน(Hausarzt) ที่คลีนิกที่เราได้ลงทะเบียนไว้ตอนแรกที่มาอยู่ที่เยอรมนี นัดแล้วห้ามมาสาย ควรไปล่วงหน้าสัก 15-30 นาที ถ้าไปไม่ได้ให้โทรยกเลิกหรือเลื่อนออกไป หลังจากตรวจเสร็จ หมอบ้านจะเขียนใบสั่งยา (Rezept) ลงในระบบออนไลน์ ให้เรานำบัตรประกันสุขภาพไปรับยาที่ร้านขายยา (Apotheke) ที่ไหนก็ได้ค่ะ โดยเสียเงินแต่ละรายการขั้นต่ำ 5€ ค่ะ แล้วแต่ชนิดยาด้วยนะคะ ยาบางตัวก็ต้องจ่ายเอง ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันสุขภาพของเราค่ะ ปัจจุบันมีแอปสำหรับทำนัดออนไลน์ได้แล้ว เช่น doctolib ค่ะ
หากต้องการใบลาป่วย (Krankenschein) หมอบ้านจะเป็นผู้ออกให้ค่ะ มีเพียง 1 ใบ สำหรับยื่นให้นายจ้างที่เราทำงานอยู่ (เมื่อก่อนมี 3 ใบ ที่ตัดไปคือ ใบที่ยื่นให้บริษัทประกันสุขภาพ และ ใบสุดท้ายที่เราต้องเก็บไว้)
หากเราป่วยเฉพาะทาง เช่น ไอเรื้อรัง ส่องกล้องลำไส้ ตรวจไทรอยด์ ฯลฯ ทางหมอบ้านจะเขียนใบส่งตัว (Überweisung) และแนะนำคลีนิคเฉพาะทางให้ โดยเราต้องโทรทำนัดก่อนเช่นเดียวกันค่ะ กรณีที่ไม่ได้ไปตามนัด ต้องโทรแจ้งนะคะ บางคลีนิคส่งบิลมาเก็บเงินถ้าไม่ไปตามนัดค่ะ 😅.. ปัญหาที่เจอบ่อยๆ คือ รอคิวนานมากกก บางครั้งรอหลายเดือนถึงครึ่งปีก็มีค่ะ (รอจนหายเองแหละ 😩)
เวลาทำงานของทั้งคลีนิคหมอบ้านและคลีนิคเฉพาะทาง จะเหมือนกันคือ เสาร์-อาทิตย์ คลีนิคปิดค่ะ!! 😆
ส่วนวันจันทร์-ศุกร์จะขึ้นอยู่กับแต่ละคลีนิก เช่น
วันจันทร์ อังคาร และพฤหัส จะเปิดบริการ 2 รอบ
รอบเช้า 7:30-11:00 น. และรอบบ่าย 15:00-17:00 น
วันพุธและศุกร์ เปิดแค่ครึ่งวันเช้า เวลา 7:30-11:00 น.
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในวันหยุด เราสามารถโทรหาหน่วยฉุกเฉิน (Notdienst)ได้แต่ในกรณีที่ฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้นนะคะ ซึ่งทางหมอบ้านจะแจ้งไว้ว่ามาประจำการช่วงไหน (ส.-อา) และให้เบอร์ไว้ค่ะ ในทางปฎิบัติแล้ว เราสามารถไปพบแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลได้เช่นกันค่ะ
หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม ขาหัก ให้ติดต่อเรียกรถพยาบาลให้มารับทันทีที่เบอร์ 112 ซึ่งเบอร์นี้มี 2 บริการคือ 1. รถพยาบาล (Krankenwagen) หรือ 2. รถดับเพลิง (Feuerwehr) ค่ะ
แล้วมีโรงพยาบาลไว้ทำอะไรล่ะ?? ที่โรงพยาบาลมีเครื่องไม้เครื่องมือครบครัน ดังนั้น ในกรณีที่ต้องรักษา เช่น การผ่าตัด หรือ อุบัติเหตุร้ายแรง ทางหมอบ้านจะเขียนใบส่งตัวให้เราไปรักษาที่โรงพยาบาลต่อค่ะ ครั้งก่อน เราป่วยนอนโรงพยาบาล 3 คืน ไม่เสียค่ารักษาพยาบาล แต่เสียแค่ค่าห้องพัก วันละ 10€ ห้องรวมมีเตียง 3 เตียงค่ะ 😊
ระบบการไปพบแพทย์ที่เยอรมนีซึ่งต้องทำนัดล่วงหน้าก่อนเสมอ!!
การที่เราเจ็บป่วยทั่วๆ ไป ที่ไม่ใช่อุบัติเหตุร้ายแรง เราจะต้องทำนัดกับหมอบ้าน(Hausarzt) ที่คลีนิกที่เราได้ลงทะเบียนไว้ตอนแรกที่มาอยู่ที่เยอรมนี นัดแล้วห้ามมาสาย ควรไปล่วงหน้าสัก 15-30 นาที ถ้าไปไม่ได้ให้โทรยกเลิกหรือเลื่อนออกไป หลังจากตรวจเสร็จ หมอบ้านจะเขียนใบสั่งยา (Rezept) ลงในระบบออนไลน์ ให้เรานำบัตรประกันสุขภาพไปรับยาที่ร้านขายยา (Apotheke) ที่ไหนก็ได้ค่ะ โดยเสียเงินแต่ละรายการขั้นต่ำ 5€ ค่ะ แล้วแต่ชนิดยาด้วยนะคะ ยาบางตัวก็ต้องจ่ายเอง ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันสุขภาพของเราค่ะ ปัจจุบันมีแอปสำหรับทำนัดออนไลน์ได้แล้ว เช่น doctolib ค่ะ
หากต้องการใบลาป่วย (Krankenschein) หมอบ้านจะเป็นผู้ออกให้ค่ะ มีเพียง 1 ใบ สำหรับยื่นให้นายจ้างที่เราทำงานอยู่ (เมื่อก่อนมี 3 ใบ ที่ตัดไปคือ ใบที่ยื่นให้บริษัทประกันสุขภาพ และ ใบสุดท้ายที่เราต้องเก็บไว้)
หากเราป่วยเฉพาะทาง เช่น ไอเรื้อรัง ส่องกล้องลำไส้ ตรวจไทรอยด์ ฯลฯ ทางหมอบ้านจะเขียนใบส่งตัว (Überweisung) และแนะนำคลีนิคเฉพาะทางให้ โดยเราต้องโทรทำนัดก่อนเช่นเดียวกันค่ะ กรณีที่ไม่ได้ไปตามนัด ต้องโทรแจ้งนะคะ บางคลีนิคส่งบิลมาเก็บเงินถ้าไม่ไปตามนัดค่ะ 😅.. ปัญหาที่เจอบ่อยๆ คือ รอคิวนานมากกก บางครั้งรอหลายเดือนถึงครึ่งปีก็มีค่ะ (รอจนหายเองแหละ 😩)
เวลาทำงานของทั้งคลีนิคหมอบ้านและคลีนิคเฉพาะทาง จะเหมือนกันคือ เสาร์-อาทิตย์ คลีนิคปิดค่ะ!! 😆
ส่วนวันจันทร์-ศุกร์จะขึ้นอยู่กับแต่ละคลีนิก เช่น
วันจันทร์ อังคาร และพฤหัส จะเปิดบริการ 2 รอบ
รอบเช้า 7:30-11:00 น. และรอบบ่าย 15:00-17:00 น
วันพุธและศุกร์ เปิดแค่ครึ่งวันเช้า เวลา 7:30-11:00 น.
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินในวันหยุด เราสามารถโทรหาหน่วยฉุกเฉิน (Notdienst)ได้แต่ในกรณีที่ฉุกเฉินจริงๆ เท่านั้นนะคะ ซึ่งทางหมอบ้านจะแจ้งไว้ว่ามาประจำการช่วงไหน (ส.-อา) และให้เบอร์ไว้ค่ะ ในทางปฎิบัติแล้ว เราสามารถไปพบแพทย์ฉุกเฉินที่โรงพยาบาลได้เช่นกันค่ะ
หากเกิดอุบัติเหตุ เช่น ลื่นล้ม ขาหัก ให้ติดต่อเรียกรถพยาบาลให้มารับทันทีที่เบอร์ 112 ซึ่งเบอร์นี้มี 2 บริการคือ 1. รถพยาบาล (Krankenwagen) หรือ 2. รถดับเพลิง (Feuerwehr) ค่ะ
แล้วมีโรงพยาบาลไว้ทำอะไรล่ะ?? ที่โรงพยาบาลมีเครื่องไม้เครื่องมือครบครัน ดังนั้น ในกรณีที่ต้องรักษา เช่น การผ่าตัด หรือ อุบัติเหตุร้ายแรง ทางหมอบ้านจะเขียนใบส่งตัวให้เราไปรักษาที่โรงพยาบาลต่อค่ะ ครั้งก่อน เราป่วยนอนโรงพยาบาล 3 คืน ไม่เสียค่ารักษาพยาบาล แต่เสียแค่ค่าห้องพัก วันละ 10€ ห้องรวมมีเตียง 3 เตียงค่ะ 😊