โครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาลัยเทคนิค (CTC) : ก้าวใหม่ของการอาชีวศึกษา

กระทู้สนทนา
การแก้ไขการขาดแคลนแรงงานฝีมือใน EEC อย่างเป็นรูปธรรมของคุณพ่อ สุขวิช รังสิตพล

โครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาลัยเทคนิค(CTC) : ก้าวใหม่ของการอาชีวศึกษา ของ การอภิวัฒน์การศึกษาไทย 2538ในสภาวะการแข่งขันของระบบเศรษฐกิจ
และสังคมยุคโลกาภิวัตน์ ที่ประชาคมโลกได้พัฒนาไปสู่สังคมและเศรษฐกิจที่ไร้พรมแดนทุกประเทศจะต้องมีการแข่งขันกันในระบบเศรษฐกิจและการลงทุน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกจับตามองว่ามีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาร่วม 10 ปี

เรามีการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ ในปี2538 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศชลอตัว อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายอ ย่ า ง ปั จ จั ย สํ า คั ญ อ ย่ า ง ห นึ่ ง ข อ ง ร ะ บ บาทเศรษฐกิจโดยรวมก็คือ การขาดแคลนแรงงานฝีมือและแรงงานระดับเทคนิค ที่จะรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานฝีมือและอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงประกอบกับผู้เรียนจบประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ส่วนใหญ่ มุ่งเรียนต่อในระดับสูง ก่อให้เกิดการขาดแคลนแรงงานฝีมือในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ขณะเดียวกันบุตรหลานของคนยากจนที่มีความประสงค์จะเข้าทํางานแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน เพราะฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
ไม่สามารถส่งบุตรเรียนได้ โครงการศูนย์วิทยาลัยเทคนิคจึงได้ริเริ่มขึ้น เพื่อให้เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งสร้างกําลังแรงงานฝีมือ
และระดับเทคนิครองรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและบริการ โดยมีเป้าหมายรับเยาวชนผู้มีความประสงค์จะเข้าสู่ตําแหน่งงาน
หลังจบการศึกษา ได้เข้าเรียนและถือเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อคนทํางาน (Worker'sCollege) โดยแท้

โครงการจัดตั้งศูนย์วิทยาลัยเทคนิค(CTC) จัดตั้งขึ้นบนพื้นที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี และวิทยาลัยเทคนิค
สัตหีบ โดยรวมสถานศึกษาทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน แล้วใช้ชื่อใหม่ว่า “ศูนย์วิทยาลัยเทคนิค(Center of Technical Colleges)” ห รื อ
ชื่ อ ย่ อ CTC

ใน ศู น ย์ CTC ที่ ตั้ ง ขึ้ น ใ ห ม่ จ ะประกอบด้วยวิทยาลัยต่าง ๆ ที่จะรับผิดชอบการผลิตกําลังคนระดับฝีมือและระดับช่างเทคนิคในแต่ละด้าน ประกอบด้วย วิทยาลัยบริหารธุรกิจ วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยเทคโนโลยีอาหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตร วิทยาลัยเทคนิคเมคคาทรอนิกส์
วิทยาลัยอุตสาหกรรมยานยนต์ วิทยาลัยเทคนิคการผลิต วิทยาลัยเทคนิคไฟฟ้าและอีเล็คทรอนิกส์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมพลาสติกและวิทยาลัยเทคนิคการก่อสร้าง นอกจากนั้นจะประกอบด้วยสํานักและศูนย์ต่าง ๆ ที่จะรับผิดชอบนักศึกษาในภาพรวมทั้งหมดของทุกวิทยาลัยคือ สํานักหอสมุดกลาง สํานักวิชา
สามัญและพื้นฐาน สํานักหอพักเรียนนักศึกษาและสวัสดิการ สํานักเทคโนโลยีการผลิตสื่อ และวิจัย สํานักงานความร่วมมือภาครัฐและ เอกชนศู น ย์ เ ท ค โ น โ ล ยี ส า ร ส น เ ท ศ ศู น ย์ ภ า ษ า และสํานักงานศูนย์วิทยาลัย

จัดระบบบริหาร ด้วยคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน มีอํานาจในการตัดสินใจกําหนดนโยบายด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านหลักสูตรด้วย

ระบบการเรียนการสอนในศูนย์ CTCเป็นระบบนักเรียนประจําที่เน้นการเรียนด้วยการปฏิบัติจริง ด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกิดจากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการกําหนดหลักสูตรร่วมกัน สอนร่วมกันการรับนักเรียนจะเน้นรับผู้ที่มีความประสงค์จะออกไปทํางานหลังจบการศึกษา ทั้งนี้จัดให้
เป็นระบบที่รับนักเรียนเข้าเรียนได้ทุกชั้นปีกล่าวคือ รับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้าเรียน3 ปี รับผู้ผ่านการเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1 จากสถาบันอื่นเข้าเรียนอีก 2 ปี รับผู้ผ่านการเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1และชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2 แล้วเข้าเรียนอีก 1 ปี และรับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ 3
แล้วเข้าเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงโดย กําหนดรับนักเรียนตั้งแต่ปีการศึกษา 2540เป็นต้นไป เป้าหมายการศึกษาเพื่อผลิตกําลังคนระดับฝีมือและระดับช่างเทคนิคเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่น้อยกว่าปีละ 20,000 คน 

ศูนย์วิทยาลัยเทคนิคนอกจากจะรองรับความต้องการเข้าเรียนต่อในสายอาชีพของเยาวชนและบุตรหลานของคนยากจนเข้าเรียนแล้วยังเป็นสถาบันที่จะรองรับนักเรียนจากโครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต และนักเรียนของกรมอาชีวศึกษาจากสถานศึกษาทั่วประเทศที่มีความประสงค์จะเข้าทํางานในเขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกได้เข้าเรียนได้ด้วยเยาวชนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือผู้ที่กําลังเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 1

และประกาศนียบัตรวิชาชีพ 2 เมื่อเข้าเรียนในศูนย์ CTC รัฐบาลจะให้นักเรียนทุกคนกู้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นค่าใช้จ่ายใน
การเรียน การกินอยู่ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายและอื่น ๆ ที่เป็นระบบนักเรียนประจำโครงการ CTC จึงเป็นโครงการสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการที่จะเป็นสถาบันที่ผลิตกําลังแรงงานฝีมือและระดับเทคนิคที่จะกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความ มั่นใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศที่
จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อมีการลงทุนแล้ว เราจะมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบการผลิตที่ทันสมัย
ได้ และที่สําคัญจะสามารถสนองตอบต่อนโยบายที่จะพัฒนาเยาวชนผู้ด้อยโอกาส ได้พัฒนาตนเองในระบบการศึกษา 12 ปี ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างการศึกษาในศูนย์ CTC แห่งนี้ จะเป็นพื้นฐานที่สําคัญให้เยาวชนได้นําไปประกอบอาชีพในสถานประกอบการ สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองในวิชาชีพให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น อันจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โครงการ CTC จึงเป็นความหวังของเยาวชนผู้ด้อยโอกาส และความหวังของประเทศในการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพรองรับการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะต้องแข่งขันในระดับสากลในอนาคต

บันทึกโดย
ลูกสาว คุณพ่อสุขวิช รังสิตพล
พันโทหญิง ฐิฏา รังสิตพล มานิตกุล - ผู้พันปราง
ผู้หญิงคนแรกในรอบ 77 ปี 
ผู้กล้าท้าชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่ 9 
โฆษกกระทรวงกลาโหมคนแรก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี 2545
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่