สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
ความคิดเห็นที่ 4
พระสูตร...กลุ่มหนึ่ง..กล่าวว่า
" จิต..หลุดพ้นจาก..อุปาทานขันธ์๕ "..
พระสูตร..อีกกลุ่มหนึ่ง..กล่าวว่า
" จิต..เป็นสังขตะ..เป็นสิ่งที่..บุคคล..ไปยึดถือ "...
ผู้ที่ฉลาด..และ..ไม่โดนทิฏฐิครอบงำ..ก็ควรที่จะคิดได้ ...
ไม่เคยมีพระดำรัสว่า "จิตหลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ 5" นะครับ อย่างมาก คือการสละคืน
สละคืนคือไม่ยึดถือขันธ์ นั่นเอง
ยกตัวอย่างเปรียบอุปาทานขันธ์เป็นทราย จิตเป็นหิน ตัณหาเป็นปูนซีเมนต์
บ้าน 1 หลังจึงประกอบไปด้วยอะไรหลายๆ อย่าง โดยที่ปูนซีเมนต์มีทำหน้าที่แผ่กิ่งก้านสาขาตัวเองยึดโยงทรายและหินนั้นเข้าไว้ด้วยกัน
บ้านหลังนั้นจึงเป็นที่ตั้งของอุปาทาน บ้านจึงถูกเรียกว่าอุปาทานขันธ์ 5
หรือขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน โดยที่ปูนซีเมนต์เป็นตัวอุปาทาน
บ้านปูน 1 หลัง ถ้าไม่มีปูนซีเมนต์ทำหน้าที่ยึดโยงหรายและหินเข้าไว้ด้วยกัน
ก็จะเกิดอาการ "สลัดคืน" เกิดขึ้น นั่นคือทรายก็ทางนึง หินก็ทางนึงนั่นเอง
คราวนี้มาดูมุมมองของหินที่สมมติเอาว่าเป็นจิต
เมื่อหินนั้น "สลัดคืน" ออกจากทราย ก็เพราะหินนั้นหลุดพ้นจากการยึดเกาะโยงใยของปูนซีเมนต์
แบบนี้เรียว่าหลุดพ้นจากการยึดเกาะ
ไม่ได้หมายถึงหินนั้นหลุดพ้นจากทราย เพราะหินไม่ได้ถูดยึดเกาะโดยทราย
หรือหินนั้น สามารถยึดเกาะทรายได้เอง หรืออยากจะยึดเกาะทรายเอาไว้
เดิมนั้นทรายก็ทางนึง หินก็ทางนึงของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว
แต่เพราะการยึดเกาะของปูนซีเมนต์หรือตัณหาอุปาทานนั่นเอง จึงทำให้เกิดบ้านหลังนึงหรืออุปาทานขันธ์เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
นี่ละครับ เวลาที่มันเป็นหิน เป็นทรายธรรมดาๆ ไม่มีใครไปสน แต่เวลาที่มันเป็นบ้านขึ้นมาแล้ว
คราวนี้สีก็ต้องทา การบำรุงรักษาก็ต้องมี ความบีบคั้นต่างๆ ก็เริ่มประเดประดังเข้ามาจากปัจจัยดิน ฟ้า อากาศ
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถต้านทานอาการแปรปรวนได้เลย ทำได้อย่างมากก็ยืดอายุให้นานขึ้นเท่านั้น
ก็ยกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้เห็นภาพกว้างๆ ว่า จิตไม่ได้หลุดพ้นจากขันธ์ 5
แต่จิตหลุดพ้นจากอาสวะ เมื่อหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว จึงมีปฏิกิริยาสลัดคืนขันธ์ 5 เกิดขึ้น
และก็แน่นอนที่ว่า จิตก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เหมือนๆ กันกับขันธ์ 5 เพราะมันเป็นขันธ์ 5 นั่นเองครับ.
พระสูตร...กลุ่มหนึ่ง..กล่าวว่า
" จิต..หลุดพ้นจาก..อุปาทานขันธ์๕ "..
พระสูตร..อีกกลุ่มหนึ่ง..กล่าวว่า
" จิต..เป็นสังขตะ..เป็นสิ่งที่..บุคคล..ไปยึดถือ "...
ผู้ที่ฉลาด..และ..ไม่โดนทิฏฐิครอบงำ..ก็ควรที่จะคิดได้ ...
ไม่เคยมีพระดำรัสว่า "จิตหลุดพ้นจากอุปาทานขันธ์ 5" นะครับ อย่างมาก คือการสละคืน
สละคืนคือไม่ยึดถือขันธ์ นั่นเอง
ยกตัวอย่างเปรียบอุปาทานขันธ์เป็นทราย จิตเป็นหิน ตัณหาเป็นปูนซีเมนต์
บ้าน 1 หลังจึงประกอบไปด้วยอะไรหลายๆ อย่าง โดยที่ปูนซีเมนต์มีทำหน้าที่แผ่กิ่งก้านสาขาตัวเองยึดโยงทรายและหินนั้นเข้าไว้ด้วยกัน
บ้านหลังนั้นจึงเป็นที่ตั้งของอุปาทาน บ้านจึงถูกเรียกว่าอุปาทานขันธ์ 5
หรือขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปาทาน โดยที่ปูนซีเมนต์เป็นตัวอุปาทาน
บ้านปูน 1 หลัง ถ้าไม่มีปูนซีเมนต์ทำหน้าที่ยึดโยงหรายและหินเข้าไว้ด้วยกัน
ก็จะเกิดอาการ "สลัดคืน" เกิดขึ้น นั่นคือทรายก็ทางนึง หินก็ทางนึงนั่นเอง
คราวนี้มาดูมุมมองของหินที่สมมติเอาว่าเป็นจิต
เมื่อหินนั้น "สลัดคืน" ออกจากทราย ก็เพราะหินนั้นหลุดพ้นจากการยึดเกาะโยงใยของปูนซีเมนต์
แบบนี้เรียว่าหลุดพ้นจากการยึดเกาะ
ไม่ได้หมายถึงหินนั้นหลุดพ้นจากทราย เพราะหินไม่ได้ถูดยึดเกาะโดยทราย
หรือหินนั้น สามารถยึดเกาะทรายได้เอง หรืออยากจะยึดเกาะทรายเอาไว้
เดิมนั้นทรายก็ทางนึง หินก็ทางนึงของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว
แต่เพราะการยึดเกาะของปูนซีเมนต์หรือตัณหาอุปาทานนั่นเอง จึงทำให้เกิดบ้านหลังนึงหรืออุปาทานขันธ์เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา
นี่ละครับ เวลาที่มันเป็นหิน เป็นทรายธรรมดาๆ ไม่มีใครไปสน แต่เวลาที่มันเป็นบ้านขึ้นมาแล้ว
คราวนี้สีก็ต้องทา การบำรุงรักษาก็ต้องมี ความบีบคั้นต่างๆ ก็เริ่มประเดประดังเข้ามาจากปัจจัยดิน ฟ้า อากาศ
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่สามารถต้านทานอาการแปรปรวนได้เลย ทำได้อย่างมากก็ยืดอายุให้นานขึ้นเท่านั้น
ก็ยกตัวอย่างให้ผู้อ่านได้เห็นภาพกว้างๆ ว่า จิตไม่ได้หลุดพ้นจากขันธ์ 5
แต่จิตหลุดพ้นจากอาสวะ เมื่อหลุดพ้นจากอาสวะแล้ว จึงมีปฏิกิริยาสลัดคืนขันธ์ 5 เกิดขึ้น
และก็แน่นอนที่ว่า จิตก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เหมือนๆ กันกับขันธ์ 5 เพราะมันเป็นขันธ์ 5 นั่นเองครับ.
ความคิดเห็นที่ 14
...
[๓๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกสาติภิกษุบุตรชาวประมงมาตามคำของเราว่า ‘ท่าน
สาติ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน” ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงเข้าไปหา
สาติภิกษุแล้วบอกว่า “ท่านสาติ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามเธอว่า “สาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า
‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น
ท่องเที่ยวไป แล่นไป จริงหรือ”
สาติภิกษุทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร”
สาติภิกษุทูลตอบว่า “สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ เสวยวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งส่วนดีและส่วนชั่วในที่นั้นๆ เป็นวิญญาณ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแล้วแก่ใครเล่า
วิญญาณอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น เรากล่าวไว้แล้วโดยปริยายเป็นอเนกว่า ‘ปราศจาก
ปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ’ ก็เมื่อเป็นดังนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เรา ขุดตน
เองและจะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก เพราะทิฏฐิที่ตนถือผิด โมฆบุรุษ ความ
เห็นของเธอนั้นจักเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน”
...
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=38
๘. มหาตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรใหญ่
{ทิฏฐิของสาติภิกษุ}
ว่าด้วยความสิ้นตัณหา สูตรใหญ่
{ทิฏฐิของสาติภิกษุ}
...
[๓๙๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาตรัสว่า
“มาเถิด ภิกษุ เธอจงไปเรียกสาติภิกษุบุตรชาวประมงมาตามคำของเราว่า ‘ท่าน
สาติ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน” ภิกษุรูปนั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วจึงเข้าไปหา
สาติภิกษุแล้วบอกว่า “ท่านสาติ พระศาสดาตรัสเรียกท่าน”
สาติภิกษุรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร
พระผู้มีพระภาคตรัสถามเธอว่า “สาติ ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิชั่วเช่นนี้เกิดขึ้นว่า
‘เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแลมิใช่อื่น
ท่องเที่ยวไป แล่นไป จริงหรือ”
สาติภิกษุทูลตอบว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมตามที่
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “สาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร”
สาติภิกษุทูลตอบว่า “สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ เสวยวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย
ทั้งส่วนดีและส่วนชั่วในที่นั้นๆ เป็นวิญญาณ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “โมฆบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแล้วแก่ใครเล่า
วิญญาณอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น เรากล่าวไว้แล้วโดยปริยายเป็นอเนกว่า ‘ปราศจาก
ปัจจัย ก็ไม่มีความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ’ ก็เมื่อเป็นดังนี้ เธอชื่อว่ากล่าวตู่เรา ขุดตน
เองและจะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก เพราะทิฏฐิที่ตนถือผิด โมฆบุรุษ ความ
เห็นของเธอนั้นจักเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน”
...
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=12&siri=38
ความคิดเห็นที่ 6
[๓๘๑] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีราคะ’
จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’
จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ’
จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหดหู่’
จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’
จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’
จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้นแล้ว’
จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิต
ภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม
เป็นเหตุเกิดในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็น
ทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘จิตมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่น
อะไรๆ ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างนี้แล
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=9

จขกท.ครับ หรือจะเลือกจิตจากจิตหลายประเภทนี้ก็ย่อมได้ นำมาสร้างบารมีแสดงธรรมสั่งสอนชาวโลกให้รู้จักการปฏิบัติศาสนา เช่น แค่มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติกำหนดรู้จิต เมื่อจิตมีราคะเกิดขึ้นแล้ว ก็รู้ว่านั่นจิตมีราคะเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่หลงเข้าใจว่านั่นจิตมีโทสะเกิดขึ้น ไม่ใช่หลงเข้าใจว่านั่นเป็นสัตว์อัตตา นั่นเป็นจิตเที่ยง ดังนี้แล้ว จึงไม่ใช่แค่มั่วตำราอยู่ แต่เป็นขั้นปฏิบัติศาสนา คือการเจริญปัญญาในศาสนาพุทธที่จขกท.อยากจะสร้างปัญญาบารมี จะด้วยใครเป่าหูมาก็ตาม นั่นแล
จิตตานุปัสสนา
(การพิจารณาจิต)
(การพิจารณาจิต)
[๓๘๑] ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีราคะ’
จิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากราคะ’
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโทสะ’
จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโทสะ’
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีโมหะ’
จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตปราศจากโมหะ’
จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหดหู่’
จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า ‘จิตฟุ้งซ่าน’
จิตเป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นมหัคคตะ’
จิตไม่เป็นมหัคคตะ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นมหัคคตะ’
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า ‘จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า’
จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตเป็นสมาธิ’
จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่เป็นสมาธิ’
จิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ชัดว่า ‘จิตหลุดพ้นแล้ว’
จิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า ‘จิตไม่หลุดพ้น’
ด้วยวิธีนี้ ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิต
ภายนอกอยู่ หรือพิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม
เป็นเหตุเกิดในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่ หรือพิจารณาเห็น
ทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในจิตอยู่
หรือว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า ‘จิตมีอยู่’ ก็เพียงเพื่ออาศัย
เจริญญาณ เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัย (ตัณหาและทิฏฐิ) อยู่ และไม่ยึดมั่นถือมั่น
อะไรๆ ในโลก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ อย่างนี้แล
จิตตานุปัสสนา จบ
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=9

จขกท.ครับ หรือจะเลือกจิตจากจิตหลายประเภทนี้ก็ย่อมได้ นำมาสร้างบารมีแสดงธรรมสั่งสอนชาวโลกให้รู้จักการปฏิบัติศาสนา เช่น แค่มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติกำหนดรู้จิต เมื่อจิตมีราคะเกิดขึ้นแล้ว ก็รู้ว่านั่นจิตมีราคะเกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่หลงเข้าใจว่านั่นจิตมีโทสะเกิดขึ้น ไม่ใช่หลงเข้าใจว่านั่นเป็นสัตว์อัตตา นั่นเป็นจิตเที่ยง ดังนี้แล้ว จึงไม่ใช่แค่มั่วตำราอยู่ แต่เป็นขั้นปฏิบัติศาสนา คือการเจริญปัญญาในศาสนาพุทธที่จขกท.อยากจะสร้างปัญญาบารมี จะด้วยใครเป่าหูมาก็ตาม นั่นแล
ความคิดเห็นที่ 38
ทำความเข้าใจเบื้องต้นของคำว่า ดำรงอยู่ ....
ผู้ศึกษาจะเข้าใจถูก ต้องยอมรับธรรมของพระพุทธเจ้า และเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าสอน
พระพุทธเจ้าสอนว่า
..ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน
เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก และป่าใหญ่
จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น
ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
(มจร.ไทย 16/61/116)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทำความเข้าใจต่อไป ต้องยอมรับธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ว่า วิญญาณ คือ วิญญาณขันธ์
เหตุที่ชื่อว่าขันธ์
...วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์
(มจร.ไทย 14/86/98)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มีพระสูตรมากมายในพระไตรปิฎกที่พระตถาคตแสดงไว้ว่า
ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
อนิจจสูตร
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ...
จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
(ฉบับหลวง.ไทย 17/91/44-45)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Vimuttattā ṭhitaṁ. Ṭhitattā santusitaṁ. Santusitattā na paritassati. Aparitassaṁ paccattaññeva parinibbāyati.
Being free, it’s stable. Being stable, it’s content. Being content, they’re not anxious. Not being anxious, they personally become extinguished.
การดำรงอยู่ของสภาวะธรรม ไม่ใช่จิตเที่ยง

พระตถาคตแสดงไว้ว่า จิตมีการเกิดดับตลอดเวลา
การเกิดดับของจิตแต่ละครั้งเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ประกอบด้วยเจตสิกชนิดต่าง ๆ
จิตของพระอรหันต์ก็ยังมีการเกิดดับ แต่เจตสิกที่ประกอบกับจิตของพระอรหันต์เป็น เจตสิกที่ปราศจากกิเลส
จิตและเจตสิกของพระอรหันต์ ที่เกิดขึ้นนั้น
---> ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดภพ
---> สภาพจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นและต้องดับลง (ไม่ใช่จิตเกิดพร้อมกับเจตสิกแล้วเที่ยงค้างไว้คงที่ไว้)
---> จิตที่เกิดและดับสืบต่อกันนี้ เป็นสภาพที่ไม่ย้อนกลับไปเจือด้วยเจตสิกที่เป็นกิเลส (ดำรงอยู่ในสภาพที่ปราศจากกิเลสตลอดไป)
จึงเป็นคำที่ว่า ดำรงอยู่ ตราบเท่าที่พระอรหันต์ยังคงมีชีวิตอยู่
หมายถึง --> สภาพธรรม(นิพพาน) ของพระอรหันต์ที่ไม่เจือด้วยกิเลส นั้นคงที่ (ดำรงอยู่) ไม่ถอยหลับ
--> ไม่ใช่ จิตของพระอรหันต์เที่ยงแล้วไม่เกิดไม่ดับ

เจ้าของกระทู้ ผู้ละเมอเพ้อเจ้อ นั่งเหม่อลอยเห็นแสงจ้า จะเข้าใจหรือไม่ก็ไม่เป็นไร
ผมเขียนแสดงไว้สั้น ๆ เผื่อท่านอื่นจะได้ทำความเข้าใจง่ายขึ้น
จะได้ไม่ถูก จขกท ชักจูงโดยเอาพระพุทธพจน์ คำว่า ดำรงอยู่ (มีอยู่จริงในสูตร) มาแปลความหมายว่าคือ จิตพระอรหันต์เที่ยง
ย้ำอีกครั้งว่า คำว่า ดำรงอยู่ในสูตร หมายถึง สภาพนิพพานตั้งมั่นไม่ถอยกลับ
เจ้าของกระทู้ 2748147 ปรามาสพระพุทธเจ้าไว้มาก ก็ยากที่จะอ่านศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเข้าใจ
เมื่อไม่เข้าใจธรรม ก็เป็นการยากที่จะปฏิบัติถูก
ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะเขาตั้งจิตไว้ผิด นั่นเอง
https://ppantip.com/topic/42528404/comment56
ผู้ศึกษาจะเข้าใจถูก ต้องยอมรับธรรมของพระพุทธเจ้า และเข้าใจตามที่พระพุทธเจ้าสอน
พระพุทธเจ้าสอนว่า
..ตถาคตเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไปตลอดทั้งคืนและวัน
เปรียบเหมือนลิงเมื่อเที่ยวไปในป่าเล็ก และป่าใหญ่
จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งไม้นั้นแล้ว ย่อมจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วย่อมจับกิ่งอื่นต่อไป ฉะนั้น
ตถาคตจึงเรียกสิ่งนี้ว่า ‘จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง’
(มจร.ไทย 16/61/116)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ทำความเข้าใจต่อไป ต้องยอมรับธรรมที่พระตถาคตแสดงไว้ว่า วิญญาณ คือ วิญญาณขันธ์
เหตุที่ชื่อว่าขันธ์
...วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นไปในภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ก็ตาม
นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์
(มจร.ไทย 14/86/98)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
มีพระสูตรมากมายในพระไตรปิฎกที่พระตถาคตแสดงไว้ว่า
ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ แปรปรวนไปเป็นธรรมดา
อนิจจสูตร
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ...
จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
เพราะหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น
ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
(ฉบับหลวง.ไทย 17/91/44-45)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
Vimuttattā ṭhitaṁ. Ṭhitattā santusitaṁ. Santusitattā na paritassati. Aparitassaṁ paccattaññeva parinibbāyati.
Being free, it’s stable. Being stable, it’s content. Being content, they’re not anxious. Not being anxious, they personally become extinguished.
การดำรงอยู่ของสภาวะธรรม ไม่ใช่จิตเที่ยง

พระตถาคตแสดงไว้ว่า จิตมีการเกิดดับตลอดเวลา
การเกิดดับของจิตแต่ละครั้งเกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ประกอบด้วยเจตสิกชนิดต่าง ๆ
จิตของพระอรหันต์ก็ยังมีการเกิดดับ แต่เจตสิกที่ประกอบกับจิตของพระอรหันต์เป็น เจตสิกที่ปราศจากกิเลส
จิตและเจตสิกของพระอรหันต์ ที่เกิดขึ้นนั้น
---> ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทาน ไม่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดภพ
---> สภาพจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้นและต้องดับลง (ไม่ใช่จิตเกิดพร้อมกับเจตสิกแล้วเที่ยงค้างไว้คงที่ไว้)
---> จิตที่เกิดและดับสืบต่อกันนี้ เป็นสภาพที่ไม่ย้อนกลับไปเจือด้วยเจตสิกที่เป็นกิเลส (ดำรงอยู่ในสภาพที่ปราศจากกิเลสตลอดไป)
จึงเป็นคำที่ว่า ดำรงอยู่ ตราบเท่าที่พระอรหันต์ยังคงมีชีวิตอยู่
หมายถึง --> สภาพธรรม(นิพพาน) ของพระอรหันต์ที่ไม่เจือด้วยกิเลส นั้นคงที่ (ดำรงอยู่) ไม่ถอยหลับ
--> ไม่ใช่ จิตของพระอรหันต์เที่ยงแล้วไม่เกิดไม่ดับ

เจ้าของกระทู้ ผู้ละเมอเพ้อเจ้อ นั่งเหม่อลอยเห็นแสงจ้า จะเข้าใจหรือไม่ก็ไม่เป็นไร
ผมเขียนแสดงไว้สั้น ๆ เผื่อท่านอื่นจะได้ทำความเข้าใจง่ายขึ้น
จะได้ไม่ถูก จขกท ชักจูงโดยเอาพระพุทธพจน์ คำว่า ดำรงอยู่ (มีอยู่จริงในสูตร) มาแปลความหมายว่าคือ จิตพระอรหันต์เที่ยง
ย้ำอีกครั้งว่า คำว่า ดำรงอยู่ในสูตร หมายถึง สภาพนิพพานตั้งมั่นไม่ถอยกลับ
เจ้าของกระทู้ 2748147 ปรามาสพระพุทธเจ้าไว้มาก ก็ยากที่จะอ่านศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วเข้าใจ
เมื่อไม่เข้าใจธรรม ก็เป็นการยากที่จะปฏิบัติถูก
ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะเขาตั้งจิตไว้ผิด นั่นเอง
https://ppantip.com/topic/42528404/comment56
ความคิดเห็นที่ 32
พระสุตรที่คุณยกมา น่าจะเป็นอนัตตลักขณสูตร
ฉบับ มจร แสดงไว้ "เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น"
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=59
ฉบับหลวง แสดงไว้ "เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น"
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1472&Z=1535
ถ้าไปดุตามบาลี ใช้คำว่า "วิมุจฺจติ" ไม่ได้ใช้ศัพท์ที่แสดงถึงจิตตรง ๆ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=127&items=4
การแปลของฉบับ มจร ใช้คำว่า จิตหลุดพ้น ซึ่งถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าจิตที่หลุดพ้นคืออะไร ก็ไม่ได้แปลผิด จะผิดก็ที่ คุณแยกจิตเป็นสิ่งที่เที่ยง ออกมาจากขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยงนั้นแหละครับ ตรงนี้แหละที่เป็น สัสตทิฐิ เป็น มิจฉาทิฏฐิ ประเภทหนึ่ง
ฉบับ มจร แสดงไว้ "เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น"
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=17&siri=59
ฉบับหลวง แสดงไว้ "เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น"
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=1472&Z=1535
ถ้าไปดุตามบาลี ใช้คำว่า "วิมุจฺจติ" ไม่ได้ใช้ศัพท์ที่แสดงถึงจิตตรง ๆ
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=17&item=127&items=4
การแปลของฉบับ มจร ใช้คำว่า จิตหลุดพ้น ซึ่งถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าจิตที่หลุดพ้นคืออะไร ก็ไม่ได้แปลผิด จะผิดก็ที่ คุณแยกจิตเป็นสิ่งที่เที่ยง ออกมาจากขันธ์ 5 ที่ไม่เที่ยงนั้นแหละครับ ตรงนี้แหละที่เป็น สัสตทิฐิ เป็น มิจฉาทิฏฐิ ประเภทหนึ่ง
แสดงความคิดเห็น
จิตเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากขันธ์ 5 จิตจึงหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย จิตจึงตั้งมั่นดำรงอยู่
ดับรอบ คือ ปรินิพพาน แปลว่า สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค