ฟังงานเสวนาที่หอสมุดแห่งชาติ ... โดยเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา 17 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 น. ทางหอสมุดแห่งชาติได้จัดงานเสวนาในหัวข้อ “สู่ราชสำนักสยาม บันทึกการเดินทางของคณะทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียถึงราชสำนักสยามและญวน” ซึ่งเป็นการพูดถึงหนังสือแปลเล่มหนึ่ง ที่เพิ่งพิมพ์เสร็จออกมาได้ไม่นาน จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊ค สำหรับวิทยากรที่มาพูดให้ความรู้ในครั้งนี้มี 2 ท่าน ท่านแรกคือผู้แปลหนังสือเล่มนี้ คุณสุทธิศักดิ์ ปาลโพธิ์ อีกท่านคืออาจารย์พงศกร ระวิเพียรทรัพย์ (หัวหน้างานพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการ ฝ่ายจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นนักวิชาการผู้ให้ทัศนะเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ โดยมีผู้ดำเนินรายการคนเก่งประจำหอสมุดแห่งชาติ คุณบารมี สมาธิปัญญา หรือคุณนนท์ (นักวิชาการเผยแพร่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ) ซึ่งคุณนนท์เป็นผู้ชวนผมไปร่วมฟังงานเสวนาในครั้งนี้
.
โดยงานเสวนาในครั้งนี้ จริง ๆ แล้วคือโครงการต่อเนื่องที่ทางหอสมุดแห่งชาติดำเนินการมานานหลายปีแล้ว ซึ่งก็คือโครงการ “กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน สร้างแรงบันดาลใจการเรียนรู้” ในชื่อภาษาอังกฤษว่า “NLT Edutainment” ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันดี จริง ๆ แล้วโครงการ “NLT Edutainment” ผมเคยไปร่วมฟังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดงานเสวนาประมาณต้นปี 2561 แล้วก็ได้ไปร่วมฟังอีกหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งช่วงหลัง ๆ ผมห่างเหินจากเวทีเสวนาฯ นี้ไปนาน พลาดไม่ได้ไปหลายครั้งมาก อาจจะเป็นเพราะถนนสามเสนในด้านหน้าหอสมุดแห่งชาติกำลังก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินก็เป็นได้ ทำให้การเดินทางไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่
.
(งานเสวนาครั้งแรกหัวข้อการเสวนาว่า “คนไทย(ชอบ)อ่านอะไร?” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ตามลิงค์นี้
https://ppantip.com/topic/37390144 )
.
พอมาถึงกิจกรรมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมพบว่ากิจกรรมของโครงการ “NLT Edutainment” มีการพัฒนาไปมากขึ้นหลายเท่าตัว รูปแบบการจัดงานดูทันสมัยเป็นมืออาชีพมาก ตั้งแต่สถานที่ที่มีการออกแบบเวทีซึ่งสามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายเก็บได้ มีการเพิ่มดวงไฟสปอต์ไลท์บนเพดานห้องโถงที่ฉายเข้าหาเวที ทำให้บนเวทีที่วิทยากรนั่งพูดนั้นดูสว่างกว่าด้านล่างที่เป็นพื้นที่สำหรับคนนั่งฟัง อุปกรณ์และระบบการถ่ายทอดไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กไลฟ์ก็ทันสมัยมาก ทางหอสมุดแห่งชาติพัฒนาระบบจนเป็นมืออาชีพจริง ๆ ภาพสวยคมชัด เสียงดังฟังชัด มีโลโก้มุมจอ มีตัววิ่ง มีแทรกภาพประกอบ และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย จนกลายเป็นไลฟ์สดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะต้องชื่นชมทางหอสมุดแห่งชาติที่เป็นผู้จัดงานนี้ โดยรวมแล้วรู้สึกว่าทางหอสมุดแห่งชาติให้ความสำคัญกับโครงการถ่ายทอดความรู้นี้อย่างมาก
.
สำหรับผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อลงทะเบียนแล้วก็จะได้รับชุดอาหารว่างแจกฟรี ที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้กล่องและขนมปังพร้อมทาน หรือท่านใดอยากดื่มกาแฟ เดี๋ยวนี้ทางหอสมุดแห่งชาติมีตู้กดกาแฟอัตโนมัติ "เต่าบิน" ให้บริการอยู่ในโถงชั้น 1 ด้วย เรียกว่าทันสมัยสุด ๆ
.
แต่ที่สำคัญที่สุดของงานคือ ท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านพนมบุตร จันทรโชติ ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมอบของที่ระลึกให้แก่ท่านวิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้ สำหรับตัวผมที่ทำงานข่าวด้านวรรณกรรม ภาพของท่านอธิบดีกรมศิลปากรที่ปรากฏตัวเป็นประธานอยู่ในงานนี้ น่าจะบอกเป็นนัยได้ว่า ท่านหลักผู้ใหญ่ในองค์กรหลักของประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ด้านวรรณกรรมและให้ความสำคัญกับหนังสือมากขึ้น ยิ่งตัวสถานที่เป็นหอสมุดแห่งชาติด้วย ทำให้งานเสวนาในครั้งนี้เพิ่มความขลังจนดูพิเศษขึ้นมากไปอีก
.
ส่วนเนื้อหาที่ท่านวิทยากรพูดบนเวทีเสวนานั้น โดยรวมแล้วเป็นการพูดถึงรายละเอียดของหนังสือ “สู่ราชสำนักสยาม บันทึกการเดินทางของคณะทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียถึงราชสำนักสยามและญวน” เป็นหลัก โดยหนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทย ในช่วงสมัยปลายรัชกาลที่ 1 ถึงต้นรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยดูเหมือนจะขาดเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์อยู่พอสมควร จริง ๆ แล้วหนังสือเล่มนี้เขียนเป็นบันทึกผ่านหัวหน้าคณะทูตที่ชื่อ จอห์น ครอว์เฟิร์ด เมื่อครั้งมาเยือนสยาม มีนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ยกย่องให้เทียบเท่ากับ “บักทึกลาลูแบร์” ที่หลายท่านรู้จักกันดี โดยยกย่องว่าหนังสือฯ เล่มนี้เป็นเสมือน “บันทึกลาลูแบร์ในช่วงรัตนโกสินทร์” เลย
.
สำหรับหนังสือเล่มนี้ ผมฟังจากท่านวิทยากรบนเวทีพูดแล้ว ถ้าท่านใดอยากจะอ่านผมเชื่อว่าสามารถอ่านได้ทั้งเป็นเชิงวิชาการทางประวัติศาสตร์ หรือจะอ่านเป็นเชิงเรื่องเล่าแต่โบราณก็ได้ เพราะในเล่มมีภาพประกอบที่ทางคณะทูตฯ สเก็ตภาพเพื่อบันทึกไว้ ภาพเหล่านี้บางภาพท่านอาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อนก็ได้ ส่วนรายละเอียดทั้งหมดผมอยากให้ไปฟังย้อนหลังจากคลิปไลฟ์สดของทางหอสมุดแห่งชาติ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
.
https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand/videos/724641063099192
.
เพิ่มเติมสำหรับสถานศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะจัดงานหรือจัดกิจกรรมด้านงานวรรณกรรม ถ้าท่านต้องการเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้ออกสู่วงกว้างมากขึ้น ถ้าท่านต้องการให้เพจ “วรรณกรรมรีวิว รีวิววัฒนธรรม” ไปทำข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์งานของท่าน สามารถก็ติดต่อผมได้ที่ akungklong@gmail.com หรือ โทร 081-4015011 อาคุงกล่อง
ฟังงานเสวนาที่หอสมุดแห่งชาติ ... โดยเฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
.
โดยงานเสวนาในครั้งนี้ จริง ๆ แล้วคือโครงการต่อเนื่องที่ทางหอสมุดแห่งชาติดำเนินการมานานหลายปีแล้ว ซึ่งก็คือโครงการ “กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน สร้างแรงบันดาลใจการเรียนรู้” ในชื่อภาษาอังกฤษว่า “NLT Edutainment” ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยกันดี จริง ๆ แล้วโครงการ “NLT Edutainment” ผมเคยไปร่วมฟังตั้งแต่ครั้งแรกที่จัดงานเสวนาประมาณต้นปี 2561 แล้วก็ได้ไปร่วมฟังอีกหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งช่วงหลัง ๆ ผมห่างเหินจากเวทีเสวนาฯ นี้ไปนาน พลาดไม่ได้ไปหลายครั้งมาก อาจจะเป็นเพราะถนนสามเสนในด้านหน้าหอสมุดแห่งชาติกำลังก่อสร้างทางรถไฟใต้ดินก็เป็นได้ ทำให้การเดินทางไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่
.
(งานเสวนาครั้งแรกหัวข้อการเสวนาว่า “คนไทย(ชอบ)อ่านอะไร?” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2561 ตามลิงค์นี้ https://ppantip.com/topic/37390144 )
.
พอมาถึงกิจกรรมเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมพบว่ากิจกรรมของโครงการ “NLT Edutainment” มีการพัฒนาไปมากขึ้นหลายเท่าตัว รูปแบบการจัดงานดูทันสมัยเป็นมืออาชีพมาก ตั้งแต่สถานที่ที่มีการออกแบบเวทีซึ่งสามารถติดตั้งและเคลื่อนย้ายเก็บได้ มีการเพิ่มดวงไฟสปอต์ไลท์บนเพดานห้องโถงที่ฉายเข้าหาเวที ทำให้บนเวทีที่วิทยากรนั่งพูดนั้นดูสว่างกว่าด้านล่างที่เป็นพื้นที่สำหรับคนนั่งฟัง อุปกรณ์และระบบการถ่ายทอดไลฟ์สดทางเฟซบุ๊กไลฟ์ก็ทันสมัยมาก ทางหอสมุดแห่งชาติพัฒนาระบบจนเป็นมืออาชีพจริง ๆ ภาพสวยคมชัด เสียงดังฟังชัด มีโลโก้มุมจอ มีตัววิ่ง มีแทรกภาพประกอบ และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย จนกลายเป็นไลฟ์สดที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพขององค์กร ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่ควรจะต้องชื่นชมทางหอสมุดแห่งชาติที่เป็นผู้จัดงานนี้ โดยรวมแล้วรู้สึกว่าทางหอสมุดแห่งชาติให้ความสำคัญกับโครงการถ่ายทอดความรู้นี้อย่างมาก
.
สำหรับผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนาที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อลงทะเบียนแล้วก็จะได้รับชุดอาหารว่างแจกฟรี ที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้กล่องและขนมปังพร้อมทาน หรือท่านใดอยากดื่มกาแฟ เดี๋ยวนี้ทางหอสมุดแห่งชาติมีตู้กดกาแฟอัตโนมัติ "เต่าบิน" ให้บริการอยู่ในโถงชั้น 1 ด้วย เรียกว่าทันสมัยสุด ๆ
.
แต่ที่สำคัญที่สุดของงานคือ ท่านอธิบดีกรมศิลปากร ท่านพนมบุตร จันทรโชติ ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวเปิดงาน และมอบของที่ระลึกให้แก่ท่านวิทยากรที่มาบรรยายให้ความรู้ สำหรับตัวผมที่ทำงานข่าวด้านวรรณกรรม ภาพของท่านอธิบดีกรมศิลปากรที่ปรากฏตัวเป็นประธานอยู่ในงานนี้ น่าจะบอกเป็นนัยได้ว่า ท่านหลักผู้ใหญ่ในองค์กรหลักของประเทศ ได้ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดความรู้ด้านวรรณกรรมและให้ความสำคัญกับหนังสือมากขึ้น ยิ่งตัวสถานที่เป็นหอสมุดแห่งชาติด้วย ทำให้งานเสวนาในครั้งนี้เพิ่มความขลังจนดูพิเศษขึ้นมากไปอีก
.
ส่วนเนื้อหาที่ท่านวิทยากรพูดบนเวทีเสวนานั้น โดยรวมแล้วเป็นการพูดถึงรายละเอียดของหนังสือ “สู่ราชสำนักสยาม บันทึกการเดินทางของคณะทูตจากข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดียถึงราชสำนักสยามและญวน” เป็นหลัก โดยหนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทย ในช่วงสมัยปลายรัชกาลที่ 1 ถึงต้นรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยดูเหมือนจะขาดเอกสารบันทึกทางประวัติศาสตร์อยู่พอสมควร จริง ๆ แล้วหนังสือเล่มนี้เขียนเป็นบันทึกผ่านหัวหน้าคณะทูตที่ชื่อ จอห์น ครอว์เฟิร์ด เมื่อครั้งมาเยือนสยาม มีนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ยกย่องให้เทียบเท่ากับ “บักทึกลาลูแบร์” ที่หลายท่านรู้จักกันดี โดยยกย่องว่าหนังสือฯ เล่มนี้เป็นเสมือน “บันทึกลาลูแบร์ในช่วงรัตนโกสินทร์” เลย
.
สำหรับหนังสือเล่มนี้ ผมฟังจากท่านวิทยากรบนเวทีพูดแล้ว ถ้าท่านใดอยากจะอ่านผมเชื่อว่าสามารถอ่านได้ทั้งเป็นเชิงวิชาการทางประวัติศาสตร์ หรือจะอ่านเป็นเชิงเรื่องเล่าแต่โบราณก็ได้ เพราะในเล่มมีภาพประกอบที่ทางคณะทูตฯ สเก็ตภาพเพื่อบันทึกไว้ ภาพเหล่านี้บางภาพท่านอาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อนก็ได้ ส่วนรายละเอียดทั้งหมดผมอยากให้ไปฟังย้อนหลังจากคลิปไลฟ์สดของทางหอสมุดแห่งชาติ ตามลิงค์ด้านล่างนี้ครับ
.
https://www.facebook.com/NationalLibraryThailand/videos/724641063099192
.
เพิ่มเติมสำหรับสถานศึกษา หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่จะจัดงานหรือจัดกิจกรรมด้านงานวรรณกรรม ถ้าท่านต้องการเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์ให้ออกสู่วงกว้างมากขึ้น ถ้าท่านต้องการให้เพจ “วรรณกรรมรีวิว รีวิววัฒนธรรม” ไปทำข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์งานของท่าน สามารถก็ติดต่อผมได้ที่ akungklong@gmail.com หรือ โทร 081-4015011 อาคุงกล่อง