14 อาชีพเสริมหลังเลิกงาน สร้างรายได้ให้มนุษย์เงินเดือน
แม้สถานการณ์โควิดจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จริงๆ แล้วโรคภัยก็ยังอยู่กับเรา รวมถึงผลกระทบจากโรคระบาดที่ส่งผลเป็นกว้าง จนทำให้เศรษฐกิจฝืดเคืองไปทั่วทุกหัวระแหง ลำพังการรับบทเป็นมนุษย์เงินเดือนในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นอย่างน่าใจหาย อาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินของพนักงานออฟฟิศบางคนต้องสั่นคลอน ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะช่วยพยุงเงินในกระเป๋าให้ขานรับกับสภาวะเศรษฐกิจ ก็คือการหาอาชีพเสริมหลังเลิกงานนี่แหละ
14 อาชีพเสริมสร้างรายได้ โดนใจมนุษย์เงินเดือน
โดยในบทความนี้เราจะมาชี้เป้าถึงอาชีพเสริมหลังเลิกงาน งานไหนน่าทำ งานไหนจะช่วยสร้างรายได้เสริมกันบ้าง ตามไปดู แล้วเลือกตามรอยกันได้ตามความถนัดเลย
1. ขายสินค้าออนไลน์
ข้อแรกนี้ถือเป็นอาชีพมาแรงแห่งยุคเลยก็ว่าได้ เพราะทุกวันนี้เราแทบจะเห็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันอยู่เต็มช่องทางโซเชียลมีเดียไปหมด เพราะนี่ถือเป็นสิ่งที่ทำง่าย สามารถทำที่ไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เท่านั้น จากนั้นก็ลองเลือกสินค้าที่อยากนำมาขาย แล้วก็ลุยกันได้เลย
โดยส่วนใหญ่ที่นิยมขายออนไลน์กันจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ของกิฟท์ช้อป เคสมือถือ ฯลฯ ส่วนช่องทางการลงขายก็มากมาย อาทิ โซเชียลมีเดียของตัวเอง, การไลฟ์สด, ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ เป็นต้น
2. ตัวแทนจำหน่ายสินค้า
หากสังเกตในรายการทีวียุคปัจจุบัน เรามักจะเห็นคนดังหรือเซเลบหลายคนที่มาโฆษณาขายสินค้าต่างๆ กันมากมาย ซึ่งสินค้าบางชิ้นก็มีการเปิดรับตัวแทนสินค้าเพื่อเป็นการกระจายสินค้า นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับการสร้างรายได้เสริม ซึ่งเป็นการตัวแทนจำหน่ายนี้ ถือเป็นการขายของแบบที่ไม่ต้องลงทุน ซึ่งจริงๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแขนงของธุรกิจขายของออนไลน์
โดยคุณจะมีหน้าที่ให้การหาออเดอร์ให้ร้านหรือสินค้านั้นๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เหมือนเป็นตัวแทนหรือนายหน้านั่นเอง จากนั้นเมื่อมียอดสั่งซื้อเข้ามา ทางร้านก็จะทำการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าในชื่อของคุณ โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาแพ็คสินค้าหรือเดินทางไปส่งสินค้าด้วยตนเอง
3. ขายของที่ตลาดนัด
แม้จะเป็นยุคเฟื่องฟูของการขายของออนไลน์ แต่การเดินตลาดนัดก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์โดนใจขาช้อปตลอดกาลเช่นกัน เพราะถือเป็นการได้ออกเจอโลกภายนอก ได้ผ่อนคลายจากโลกโซเชียลบ้างเหมือนกัน ดังนั้นหากใครชื่นชอบที่พบปะผู้คน แล้วอยากลองขายของที่ตลาดนัด ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่าจะตกเทรนด์ เพราะยังไงก็ยังมีคนออกมาเดินจับจ่ายใช้สอยกันอยู่แล้ว
โดยคุณสามารถเลือกไปเช้าพื้นที่ยังตลาดที่ให้บริการช่วงเย็นหลังเลิกงานหรือตลาดที่ให้บริการวันเสาร์-อาทิตย์ได้ เพื่อที่จะได้ไม่กระทบกับเวลาทำงานประจำ โดยสินค้าที่นิยมขายกันก็มักจะเป็น เสื้อผ้า, สินค้าแฟชั่น, สินค้ามือสอง, อุปกรณ์มือถือ, อาหาร หรือ เครื่องดื่ม เป็นต้น
4. ทำอาหารขายตอนเช้าหรือหลังเลิกงาน
หากใครที่มีสกิลการทำอาหารติดตัวอยู่แล้วล่ะก็ บอกเลยว่าอาชีพนี้ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด โดยอาจจะสานต่อจากข้อที่เราแนะนำด้านบนก็ได้ เพราะถ้าคุณทำอาหารเป็น ก็สามารถที่จะเลือกขายอาหารที่ตลาดนัดกันได้เลย แต่ถ้าหากอยากมีรายได้แบบจุกๆ ก็ลองทำอาหารขายในช่วงเช้าในโซนใกล้ๆ ออฟฟิศดูด้วยก็ได้ เพราะอย่างไรพนักงานออฟฟิศก็ต้องทานอาหารเช้ากันอยู่แล้ว อาจลองเลือกขายเป็นเมนูง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวหมู ขนมปัง แซนวิช หรือเบเกอรี่ต่างๆ เป็นต้น
หรือถ้ายังไม่จุใจก็เปิดรับออเดอร์จากเพื่อนที่ทำงานไปซะด้วยเลย อาจจะขายที่ตลาดแถวออฟฟิศช่วงเช้าก่อน แล้วจัดสรรออเดอร์เก็บไว้ให้เพื่อนที่ออฟฟิศ พอถึงเวลาเข้างาน ก็ค่อยเอาอาหารเช้าไปส่งให้เพื่อน
5. ขายอาหารแบบเดลิเวอรี
สานต่อจากข้อด้านบนสำหรับคนที่มีสกิลการทำอาหาร แต่ไม่อยากหน้าพื้นที่ในการขายหน้าร้านหรือไม่อยากเสียค่าเช่าที่ ก็ลองทำอาหารขายแบบเดลิเวอรีดูก็ได้ ซึ่งหลักการก็คล้ายๆ กับการขายสินค้าทั่วไปทางออนไลน์แต่เปลี่ยนมาเป็นขายอาหารนั่นเอง หรือถ้าจะให้เจาะกลุ่มเป้าหมาย ก็อาจจะพุ่งไปที่ทาร์เก็ตของผู้ที่ชื่นชอบอาหารคลีนดูก็ได้ เพราะถือเป็นประเภทอาหารที่มีนิยมสั่งทานกันทางออนไลน์มากกว่านั่นเอง
6. รับงานฟรีแลนซ์
อีกหนึ่งอาชีพเสริมยอดนิยมที่หลายคนชอบทำ โดยเป็นการสานต่อจากทักษะที่เรามีหรือสายงานที่เราทำประจำอยู่แล้ว มารับทำงานฟรีแลนซ์จากบริษัทอื่นๆ ที่เขาไม่ได้จากพนักงานประจำนั่นเอง เช่น งานออกแบบกราฟิก, งานการตลาดออนไลน์, งานบัญชี, งานแปลเอกสาร ฯลฯ โดยงานเหล่านี้คุณสามารถรับมาทำที่บ้านในช่วงเวลาหลังเลิกงาน หรือทำในวันหยุดได้
7. รับเขียนบทความ
เช่นเดียวกับคนที่มีสกิลทางด้านการเขียน ก็อาจจะรับงานเสริมที่เกี่ยวกับการเขียนคอนเทนต์ได้เช่นกัน เพราะในยุคนี้หลายคนก็หันมาทำคอนเทนต์ลงสื่อโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น เช่น การเขียนบล็อก, การเขียนรีวิวสินค้า, การรีวิวอาหาร, การรีวิวท่องเที่ยว ฯลฯ โดยความรู้ที่เราอยากแนะนำติดตัวไว้คือเรื่องของ SEO เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่นักเขียนออนไลน์ต้องมี เพราะจะทำให้บทความติดอันดับบนหน้า 1 ของการค้นหาจาก Google ก็จะช่วยตอบโจทย์ของนายจ้างได้ดีขึ้น
8. สวมบทบาท Youtuber หรือ Blogger
อย่างที่บอกไปว่าในยุคนี้หลายคนหันมาสนใจการทำคอนเทนต์ลงสื่อโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น ซึ่งใครที่ไม่ถนัดทางด้านการเขียน แต่ชื่นชอบในการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ หรือการพูดหน้ากล้อง การลองหันมาเป็น Youtuber หรือ Blogger ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าการทำคอนเทนต์ลง Youtube นั้นก็ต้องใช้เวลาที่นอกเหนือจากเวลางานอยู่แล้ว ผ่านการท่องเที่ยวของคุณ หากคุณอยากทำวิดีโอที่เกี่ยวกับการรีวิวอาหารหรือการท่องเที่ยว ส่วนใครที่ชอบรีวิวสินค้าต่างๆ ก็อาจใช้ช่วงเวลาที่ไปช้อปปิ้งนี่แหละ ในการถ่ายคลิปไปด้วย
หากคอนเทนต์ที่นำเสนอมีความน่าสนใจ และมีผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้น จนมียอดวิวที่มากขึ้น ก็จะทำให้มีผู้จ้างให้รีวิวสินค้าหรือซื้อโฆษณาในช่องจนทำให้เกิดรายได้ตามมานั่นเอง
9. เปิดสอนพิเศษ
อาชีพเสริมนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสายวิชาการ ซึ่งอาชีพก็ถือเป็นอาชีพเสริมที่มีคนทำกันมานานแล้วเช่นกัน ดังที่เราจะเห็นกันตามร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ร้านกาแฟ หรือฟู้ดคอร์ทในห้างสรรพสินค้า ที่จะมีติวเตอร์มานั่งติวเข้มการสอนวิชาต่างๆ ในแก่น้องๆ นักเรียน หรือนิสิตนักศึกษา ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ในเวลาทำการพวกเขาก็ต้องไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเช่นกัน ดังนั้นเวลาที่เขาว่างก็จะตรงกับคุณ ที่จะมาเริ่มการสอนพิเศษกันได้ หากใครมีความถนัดในการด้านใด เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาต่างๆ ก็ลองเลือกอาชีพได้เช่นกัน เผลอๆ ถ้าลองแล้วติดใจ ในอนาคตอาจจะอยากเลิกเป็นพนักงานออฟฟิศ แล้วกลายไปเป็นอาจารย์ก็ได้
10. รับจ้างส่งอาหาร หรือให้บริการขับรถ
อีกหนึ่งอาชีพยอดฮิตที่โด่งดังสุดๆ ในยุคโควิด จนหลายคนออกจากประจำมาทำกันแบบจริงจังเลยก็มี ส่วนใครที่อยากจะทำเป็นแค่อาชีพเสริม ก็เลือกสามารถเลือกทำได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้บริการแอปพลิชันเดลิเวอรีอาหาร หรือ ให้บริการขับรถมากมายหลายเจ้า สามารถเลือกสมัครกันได้ตามความชอบและความถนัด ยิ่งถ้าคุณมียานพาหนะส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้ว ก็แทบจะไม่ต้องลงทุนมากมาย จ่ายเพิ่มเพียงแค่ค่าน้ำมันเท่านั้น อีกทั้งแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการยังสามารถเปิด-ปิดการรับลูกค้าได้ตามใจเรา เลือกเวลาที่อยากรับลูกค้าได้ตามสะดวกเลย
11. เปิดร้านแฟรนไชส์
อาชีพเสริมนี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินเก็บหรือเงินก้อนสำรองอยู่ประมาณหนึ่ง โดยสามารถเลือกแฟรนไชส์ได้จากทั้งผู้ให้บริการด้านอาหาร เครื่องดื่ม หรือบริการต่างๆ ที่มีกันอย่างมากมาย โดยเพียงแค่เราต้องทำเล จากนั้นก็เข้าทำการฝึกอบรมกับแบรนด์นั้นๆ หากช่วงแรกไม่มีเวลา ก็อาจให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวมาช่วยเฝ้าร้านก่อน ถ้าสุดท้ายแล้วรายได้ดีจนสร้างกำไร ก็อาจลองพิจารณาในการออกงานประจำแล้วมาทำร้านแฟรนไชส์อย่างจริงจังก็ได้
12. ขายสินค้า DIY
ส่วนใครที่มีทักษะด้านการประดิษฐ์ประดอยมีความสนใจด้านงานคราฟต์ต่างๆ อาจลองสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ หรืองานแฮนด์เมดต่างๆ มาลองวางขายดูก็ได้ โดยจะขายทางออนไลน์หรือไปขายตามตลาดนัด ก็เลือกกันได้ตามสะดวก เพราะคนที่มีความชื่นชอบหรือสนใจสินค้าสไตล์นี้ ก็ยังมีมากอยู่ หากเจอลูกค้าที่ชื่นชอบงานแฮนด์เมดของเรา นอกจากรายได้เสริมที่ได้รับแล้ว อาจได้เป็นกำลังใจกลับมาอีกด้วย
13. ปลูกผักสวนครัวขาย
เรื่องของสุขภาพถือเป็นเรื่องที่คนหันมาให้ความสนใจมากขึ้นในยุคโรคระบาดนี้ บางทีการลองหันมาปลูกผักทานเอง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี นอกจากจะสะอาด ปลอดภัย ไร้สารพิษแล้ว ยังได้เสริมสร้างสุขภาพ ประหยัดเงินไปในตัว ถ้าการปลูกพืชพันธุ์งอกงาม จุดนี้นี่แหละที่เราสามารถนำเจ้าผักเหล่านี้เป็นสินค้าเพื่อขายสร้างรายได้เสริมได้
14. เพาะพันธุ์ต้นไม้ขาย
เทรนด์เรื่องของต้นไม้ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มาแรงสุดๆ บางต้นบางพันธุ์ราคาพุ่งไปเป็นหลักหมื่นหลักแสนเลยทีเดียว เพราะจริงๆ แล้วการเพราะพันธุ์ต้นไม้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไร ขอแค่ดูแลมันให้ดีก็พอ พอถึงเวลาที่ออกดอกออกผลหรือมีใบที่สวยงาม ก็ลองนำไปขายตามตลาดนัดหรือขายผ่านช่องทางออนไลน์ หากเป็นพันธุ์ไม้ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ด้วยล่ะก็ บอกเลยว่ารายได้มหาศาลแน่นอน
สรุปการสร้างรายได้เพิ่ม ด้วยอาชีพเสริมหลังเลิกงาน
ประโยชน์ของอาชีพเสริมนั้น นอกจากจะเป็นการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะได้รับก็คือทักษะต่างๆ ที่ไม่อาจหาได้จากการทำงานประจำในออฟฟิศ บางทีคุณอาจได้ค้นพบตัวเองในอีกแง่มุมหนึ่งจากการทำงานเสริมก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นแล้วจะรออะไรอ ลองค้นหาไลฟ์สไตล์ที่ใช่ หรือทักษะไหนที่ตัวคุณมีอยู่ แล้วนำมาแปรเปลี่ยนเป็นการสร้างอาชีพเสริมหลังเลิกงานกันเลย
ขอขอบพระคุณเครดิตข้อมูลจาก
https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/14-part-time-job
14 อาชีพเสริมหลังเลิกงาน สร้างรายได้ให้มนุษย์เงินเดือน
โดยในบทความนี้เราจะมาชี้เป้าถึงอาชีพเสริมหลังเลิกงาน งานไหนน่าทำ งานไหนจะช่วยสร้างรายได้เสริมกันบ้าง ตามไปดู แล้วเลือกตามรอยกันได้ตามความถนัดเลย
1. ขายสินค้าออนไลน์
ข้อแรกนี้ถือเป็นอาชีพมาแรงแห่งยุคเลยก็ว่าได้ เพราะทุกวันนี้เราแทบจะเห็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์กันอยู่เต็มช่องทางโซเชียลมีเดียไปหมด เพราะนี่ถือเป็นสิ่งที่ทำง่าย สามารถทำที่ไหนก็ได้ ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เท่านั้น จากนั้นก็ลองเลือกสินค้าที่อยากนำมาขาย แล้วก็ลุยกันได้เลย
โดยส่วนใหญ่ที่นิยมขายออนไลน์กันจะเป็น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ของกิฟท์ช้อป เคสมือถือ ฯลฯ ส่วนช่องทางการลงขายก็มากมาย อาทิ โซเชียลมีเดียของตัวเอง, การไลฟ์สด, ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันต่างๆ เป็นต้น
2. ตัวแทนจำหน่ายสินค้า
หากสังเกตในรายการทีวียุคปัจจุบัน เรามักจะเห็นคนดังหรือเซเลบหลายคนที่มาโฆษณาขายสินค้าต่างๆ กันมากมาย ซึ่งสินค้าบางชิ้นก็มีการเปิดรับตัวแทนสินค้าเพื่อเป็นการกระจายสินค้า นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับการสร้างรายได้เสริม ซึ่งเป็นการตัวแทนจำหน่ายนี้ ถือเป็นการขายของแบบที่ไม่ต้องลงทุน ซึ่งจริงๆ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งแขนงของธุรกิจขายของออนไลน์
โดยคุณจะมีหน้าที่ให้การหาออเดอร์ให้ร้านหรือสินค้านั้นๆ ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เหมือนเป็นตัวแทนหรือนายหน้านั่นเอง จากนั้นเมื่อมียอดสั่งซื้อเข้ามา ทางร้านก็จะทำการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าในชื่อของคุณ โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลาแพ็คสินค้าหรือเดินทางไปส่งสินค้าด้วยตนเอง
3. ขายของที่ตลาดนัด
แม้จะเป็นยุคเฟื่องฟูของการขายของออนไลน์ แต่การเดินตลาดนัดก็ยังถือเป็นอีกหนึ่งไลฟ์สไตล์โดนใจขาช้อปตลอดกาลเช่นกัน เพราะถือเป็นการได้ออกเจอโลกภายนอก ได้ผ่อนคลายจากโลกโซเชียลบ้างเหมือนกัน ดังนั้นหากใครชื่นชอบที่พบปะผู้คน แล้วอยากลองขายของที่ตลาดนัด ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่าจะตกเทรนด์ เพราะยังไงก็ยังมีคนออกมาเดินจับจ่ายใช้สอยกันอยู่แล้ว
โดยคุณสามารถเลือกไปเช้าพื้นที่ยังตลาดที่ให้บริการช่วงเย็นหลังเลิกงานหรือตลาดที่ให้บริการวันเสาร์-อาทิตย์ได้ เพื่อที่จะได้ไม่กระทบกับเวลาทำงานประจำ โดยสินค้าที่นิยมขายกันก็มักจะเป็น เสื้อผ้า, สินค้าแฟชั่น, สินค้ามือสอง, อุปกรณ์มือถือ, อาหาร หรือ เครื่องดื่ม เป็นต้น
4. ทำอาหารขายตอนเช้าหรือหลังเลิกงาน
หากใครที่มีสกิลการทำอาหารติดตัวอยู่แล้วล่ะก็ บอกเลยว่าอาชีพนี้ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด โดยอาจจะสานต่อจากข้อที่เราแนะนำด้านบนก็ได้ เพราะถ้าคุณทำอาหารเป็น ก็สามารถที่จะเลือกขายอาหารที่ตลาดนัดกันได้เลย แต่ถ้าหากอยากมีรายได้แบบจุกๆ ก็ลองทำอาหารขายในช่วงเช้าในโซนใกล้ๆ ออฟฟิศดูด้วยก็ได้ เพราะอย่างไรพนักงานออฟฟิศก็ต้องทานอาหารเช้ากันอยู่แล้ว อาจลองเลือกขายเป็นเมนูง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวหมู ขนมปัง แซนวิช หรือเบเกอรี่ต่างๆ เป็นต้น
หรือถ้ายังไม่จุใจก็เปิดรับออเดอร์จากเพื่อนที่ทำงานไปซะด้วยเลย อาจจะขายที่ตลาดแถวออฟฟิศช่วงเช้าก่อน แล้วจัดสรรออเดอร์เก็บไว้ให้เพื่อนที่ออฟฟิศ พอถึงเวลาเข้างาน ก็ค่อยเอาอาหารเช้าไปส่งให้เพื่อน
5. ขายอาหารแบบเดลิเวอรี
สานต่อจากข้อด้านบนสำหรับคนที่มีสกิลการทำอาหาร แต่ไม่อยากหน้าพื้นที่ในการขายหน้าร้านหรือไม่อยากเสียค่าเช่าที่ ก็ลองทำอาหารขายแบบเดลิเวอรีดูก็ได้ ซึ่งหลักการก็คล้ายๆ กับการขายสินค้าทั่วไปทางออนไลน์แต่เปลี่ยนมาเป็นขายอาหารนั่นเอง หรือถ้าจะให้เจาะกลุ่มเป้าหมาย ก็อาจจะพุ่งไปที่ทาร์เก็ตของผู้ที่ชื่นชอบอาหารคลีนดูก็ได้ เพราะถือเป็นประเภทอาหารที่มีนิยมสั่งทานกันทางออนไลน์มากกว่านั่นเอง
6. รับงานฟรีแลนซ์
อีกหนึ่งอาชีพเสริมยอดนิยมที่หลายคนชอบทำ โดยเป็นการสานต่อจากทักษะที่เรามีหรือสายงานที่เราทำประจำอยู่แล้ว มารับทำงานฟรีแลนซ์จากบริษัทอื่นๆ ที่เขาไม่ได้จากพนักงานประจำนั่นเอง เช่น งานออกแบบกราฟิก, งานการตลาดออนไลน์, งานบัญชี, งานแปลเอกสาร ฯลฯ โดยงานเหล่านี้คุณสามารถรับมาทำที่บ้านในช่วงเวลาหลังเลิกงาน หรือทำในวันหยุดได้
7. รับเขียนบทความ
เช่นเดียวกับคนที่มีสกิลทางด้านการเขียน ก็อาจจะรับงานเสริมที่เกี่ยวกับการเขียนคอนเทนต์ได้เช่นกัน เพราะในยุคนี้หลายคนก็หันมาทำคอนเทนต์ลงสื่อโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น เช่น การเขียนบล็อก, การเขียนรีวิวสินค้า, การรีวิวอาหาร, การรีวิวท่องเที่ยว ฯลฯ โดยความรู้ที่เราอยากแนะนำติดตัวไว้คือเรื่องของ SEO เพราะเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นที่นักเขียนออนไลน์ต้องมี เพราะจะทำให้บทความติดอันดับบนหน้า 1 ของการค้นหาจาก Google ก็จะช่วยตอบโจทย์ของนายจ้างได้ดีขึ้น
8. สวมบทบาท Youtuber หรือ Blogger
อย่างที่บอกไปว่าในยุคนี้หลายคนหันมาสนใจการทำคอนเทนต์ลงสื่อโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น ซึ่งใครที่ไม่ถนัดทางด้านการเขียน แต่ชื่นชอบในการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ หรือการพูดหน้ากล้อง การลองหันมาเป็น Youtuber หรือ Blogger ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งแน่นอนว่าการทำคอนเทนต์ลง Youtube นั้นก็ต้องใช้เวลาที่นอกเหนือจากเวลางานอยู่แล้ว ผ่านการท่องเที่ยวของคุณ หากคุณอยากทำวิดีโอที่เกี่ยวกับการรีวิวอาหารหรือการท่องเที่ยว ส่วนใครที่ชอบรีวิวสินค้าต่างๆ ก็อาจใช้ช่วงเวลาที่ไปช้อปปิ้งนี่แหละ ในการถ่ายคลิปไปด้วย
หากคอนเทนต์ที่นำเสนอมีความน่าสนใจ และมีผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้น จนมียอดวิวที่มากขึ้น ก็จะทำให้มีผู้จ้างให้รีวิวสินค้าหรือซื้อโฆษณาในช่องจนทำให้เกิดรายได้ตามมานั่นเอง
9. เปิดสอนพิเศษ
อาชีพเสริมนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบสายวิชาการ ซึ่งอาชีพก็ถือเป็นอาชีพเสริมที่มีคนทำกันมานานแล้วเช่นกัน ดังที่เราจะเห็นกันตามร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ร้านกาแฟ หรือฟู้ดคอร์ทในห้างสรรพสินค้า ที่จะมีติวเตอร์มานั่งติวเข้มการสอนวิชาต่างๆ ในแก่น้องๆ นักเรียน หรือนิสิตนักศึกษา ซึ่งนักเรียนส่วนใหญ่ในเวลาทำการพวกเขาก็ต้องไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเช่นกัน ดังนั้นเวลาที่เขาว่างก็จะตรงกับคุณ ที่จะมาเริ่มการสอนพิเศษกันได้ หากใครมีความถนัดในการด้านใด เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือภาษาต่างๆ ก็ลองเลือกอาชีพได้เช่นกัน เผลอๆ ถ้าลองแล้วติดใจ ในอนาคตอาจจะอยากเลิกเป็นพนักงานออฟฟิศ แล้วกลายไปเป็นอาจารย์ก็ได้
10. รับจ้างส่งอาหาร หรือให้บริการขับรถ
อีกหนึ่งอาชีพยอดฮิตที่โด่งดังสุดๆ ในยุคโควิด จนหลายคนออกจากประจำมาทำกันแบบจริงจังเลยก็มี ส่วนใครที่อยากจะทำเป็นแค่อาชีพเสริม ก็เลือกสามารถเลือกทำได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีผู้บริการแอปพลิชันเดลิเวอรีอาหาร หรือ ให้บริการขับรถมากมายหลายเจ้า สามารถเลือกสมัครกันได้ตามความชอบและความถนัด ยิ่งถ้าคุณมียานพาหนะส่วนตัวของตัวเองอยู่แล้ว ก็แทบจะไม่ต้องลงทุนมากมาย จ่ายเพิ่มเพียงแค่ค่าน้ำมันเท่านั้น อีกทั้งแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการยังสามารถเปิด-ปิดการรับลูกค้าได้ตามใจเรา เลือกเวลาที่อยากรับลูกค้าได้ตามสะดวกเลย
11. เปิดร้านแฟรนไชส์
อาชีพเสริมนี้เหมาะกับผู้ที่มีเงินเก็บหรือเงินก้อนสำรองอยู่ประมาณหนึ่ง โดยสามารถเลือกแฟรนไชส์ได้จากทั้งผู้ให้บริการด้านอาหาร เครื่องดื่ม หรือบริการต่างๆ ที่มีกันอย่างมากมาย โดยเพียงแค่เราต้องทำเล จากนั้นก็เข้าทำการฝึกอบรมกับแบรนด์นั้นๆ หากช่วงแรกไม่มีเวลา ก็อาจให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวมาช่วยเฝ้าร้านก่อน ถ้าสุดท้ายแล้วรายได้ดีจนสร้างกำไร ก็อาจลองพิจารณาในการออกงานประจำแล้วมาทำร้านแฟรนไชส์อย่างจริงจังก็ได้
12. ขายสินค้า DIY
ส่วนใครที่มีทักษะด้านการประดิษฐ์ประดอยมีความสนใจด้านงานคราฟต์ต่างๆ อาจลองสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ หรืองานแฮนด์เมดต่างๆ มาลองวางขายดูก็ได้ โดยจะขายทางออนไลน์หรือไปขายตามตลาดนัด ก็เลือกกันได้ตามสะดวก เพราะคนที่มีความชื่นชอบหรือสนใจสินค้าสไตล์นี้ ก็ยังมีมากอยู่ หากเจอลูกค้าที่ชื่นชอบงานแฮนด์เมดของเรา นอกจากรายได้เสริมที่ได้รับแล้ว อาจได้เป็นกำลังใจกลับมาอีกด้วย
13. ปลูกผักสวนครัวขาย
เรื่องของสุขภาพถือเป็นเรื่องที่คนหันมาให้ความสนใจมากขึ้นในยุคโรคระบาดนี้ บางทีการลองหันมาปลูกผักทานเอง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี นอกจากจะสะอาด ปลอดภัย ไร้สารพิษแล้ว ยังได้เสริมสร้างสุขภาพ ประหยัดเงินไปในตัว ถ้าการปลูกพืชพันธุ์งอกงาม จุดนี้นี่แหละที่เราสามารถนำเจ้าผักเหล่านี้เป็นสินค้าเพื่อขายสร้างรายได้เสริมได้
14. เพาะพันธุ์ต้นไม้ขาย
เทรนด์เรื่องของต้นไม้ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มาแรงสุดๆ บางต้นบางพันธุ์ราคาพุ่งไปเป็นหลักหมื่นหลักแสนเลยทีเดียว เพราะจริงๆ แล้วการเพราะพันธุ์ต้นไม้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนอะไร ขอแค่ดูแลมันให้ดีก็พอ พอถึงเวลาที่ออกดอกออกผลหรือมีใบที่สวยงาม ก็ลองนำไปขายตามตลาดนัดหรือขายผ่านช่องทางออนไลน์ หากเป็นพันธุ์ไม้ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ด้วยล่ะก็ บอกเลยว่ารายได้มหาศาลแน่นอน
สรุปการสร้างรายได้เพิ่ม ด้วยอาชีพเสริมหลังเลิกงาน
ประโยชน์ของอาชีพเสริมนั้น นอกจากจะเป็นการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะได้รับก็คือทักษะต่างๆ ที่ไม่อาจหาได้จากการทำงานประจำในออฟฟิศ บางทีคุณอาจได้ค้นพบตัวเองในอีกแง่มุมหนึ่งจากการทำงานเสริมก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นแล้วจะรออะไรอ ลองค้นหาไลฟ์สไตล์ที่ใช่ หรือทักษะไหนที่ตัวคุณมีอยู่ แล้วนำมาแปรเปลี่ยนเป็นการสร้างอาชีพเสริมหลังเลิกงานกันเลย
ขอขอบพระคุณเครดิตข้อมูลจาก
https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/14-part-time-job