จากเฟซ คนไทย ที่ ได้ไป อยู่ บ้านที่ ตจว.ของญี่ปุ่น เอามาเล่า Hayashi Kisara
...................................
อย่างที่รู้ว่าเราอาศัยในแถบที่ถือว่าค่อนข้างต่างจังหวัดของญี่ปุ่น หลายคนคิดว่าการได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดแบบนี้เป็นชีวิตในฝัน
ยิ่งตอนนี้ญี่ปุ่นประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างจังหวัดขาดแรงงานและคนหนุ่มสาว
ทำให้มีบ้านเก่าเอามาปล่อยเช่าปล่อยขายมากมายในราคาแสนถูก พื้นที่ก็กว้างขวาง หลายคนก็อยากจะมาอยู่กัน
เลยมีคนมาถามว่าชีวิตต่างจังหวัดมันมีความลำบากอะไรบ้าง? ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกความลำบากหรือเปล่า............
1. ต้องขับรถให้ได้ และต้องมีรถขับ ถ้าขับรถไม่ได้จะลำบากมาก เรียกได้ว่าแทบจะต้องมีรถคนละคนกันเลยทีเดียว
แล้วถ้ามีรถหลายคันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายพวกพรบ., ประกัน, ค่าตรวจสภาพ อะไรพวกนี้ ต้องคำนวณปีดีๆ ไม่งั้นค่าใช้จ่ายมาทีจะล้มละลายเอาได้
............. คนไทย ตอนนนี้ ก็ มอไซ คนละคัน กันอยู่แล้ว รร. บางเเห่ง ไม่ให้ นร.เอามอไซ ไปจอดใน รร. หน้ารร. รถจอดเรียงๆกันยาวเป็นร้อยเมตร
2. ตอนทำประกันก็ต้องคิดเช่นกันว่าจะเลือกเบี้ยประกันแบบไหน ถ้าบ้านนอกมากๆ อย่งบ้านข้อย คือมีทั้งหมี กวาง ทะนุกิ หมูป่า
ก็ต้องคิดถึงกรณีไปบวกกับมันด้วย........ แต่ตอนข้อยย้ายมาใหม่ๆ เจอหมูป่าเข้าชาร์จ ค่าซ่อมสามแสนกว่าเยน จะเอาที่ไหนมาจ่ายถ้าไม่ได้ทำประกันชั้น 1
.......... ไทย อย่าง ลพบุรี เจอลิงเเสม ที่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง บุกยึดหลายๆตึกห้องแถว ทำเป็น Ape planet ไปแล้ว..... หรือที่ ฉะเชิงเทรา ก็ เจอช้าง
3. ค่าแรงงานถูก แต่ค่าครองชีพไม่ได้ถูกนะ พวกค่าเช่าบ้านอะไรอาจจะไม่แพงและได้พื้นที่เยอะกว่าในเมือง
แต่ข้าวของเครื่องใช้ตามซุปเปอร์ก็ราคาเท่ากันปกติ และอาจจะไม่มีให้เลือกมาก เพราะเขาไม่ต้องแข่งขันเรื่องราคากันมาก
..........ไทย ยังมีแรงงงานจาก ชาติเพื่อนบ้าน
4. แต่ผักหลายอย่างจะถูก หรือบางทีได้ฟรี เพื่อนบ้านเอามาให้ แต่เราก็ควรหาอะไรไปตอบแทนกันด้วยเนอะ ไม่ใช่เอาอย่างเดียว
5. พื้นที่บ้านมาก ก็เท่ากับต้องถางหญ้ามาก หญ้ามันจะขึ้นเร็วมาก อยู่ต่างจังหวัดต้องสู้กับหญ้าทั้งปี
6. ไม่ใช่แค่แอเรียบ้าน แต่ในหมู่บ้าน ตำบล โรงเรียน เขาจะมีรวมตัวกันเพื่อไปช่วยถางหญ้า
คือจริงๆ ย้ายบ้านมาต่างจังหวัดควรซื้อเครื่องตัดหญ้าเป็นอย่างแรกๆ
7. นอกจากอีเว้นต์ตัดหญ้าแล้ว มันจะมีอีเว้นต์ของหมู่บ้านเรื่อยๆ ต้องคอยไปร่วม ไปช่วย ไปประชุม ไปเป็นอาสาสมัคร คณะกรรมการ หรืออะไรต่างๆ นานา อาจจะไม่ต้องร่วมทุกอีเว้นต์ แต่ต้องไปบ้าง โดยเฉพาะอะไรสำคัญๆ อย่างงานกีฬาหมู่บ้าน, เก็บขยะ,ถางหญ้า............
8. มีค่าส่วนกลาง (จิจิไกฮิ) ที่บางที่อาจจะแพงพอตัว เพราะคนมันน้อย อย่างที่อยู่นี่เสียประมาณปีละ 15000 เยน
.......... ไทยก็ อาจจะ ซองผ้าป่า กฐิน งาน ศพ งานบวช
9. ราคาพวกสาธารณูปโภคอาจจะแพงกว่าในเมือง เช่นค่าน้ำ ไฟ แก๊ส แก๊สเป็นแบบถังแก๊ส ราคาก็จะแพงกว่า ข้อยเสียค่าแก๊สประมาณเดือนละ 2 หมืนเยนเลยทีเดียว (ซักผ้า ล้างจาน อาบน้ำ โอฟุโระ) ค่าไฟก็จะแพงมากตอนหน้าหนาว เพราะมันจะหนาวมาก
ถ้าไม่ใช้ไฟก็ต้องใช้เครื่องทำความอุ่นแบบเตาน้ำมันก๊าด ก็จะต้องคอยไปซื้อน้ำมันมาเติม คอยเติมเวลามันหมด และใช้ตอนนอนไม่ได้ น้ำมันเองก็ไม่ได้ถูก
10. ค่าน้ำตอนอยู่โอซาก้าเสียสองเดือนประมาณ 5000 พันเยน แถวนี้สองเดือนข้อยเสีย 2 หมื่นกว่าเยน
เพราะจำนวนครัวเรือนน้อย ทำให้ค่าบริการพื้นฐานแพงไปด้วย
11. มีค่าเคเบิลทีวีรายเดือน 6 พันกว่าเยน (รวมเน็ท) เพราะคลื่นทีวีปกติเข้าไม่ถึง ถ้าไม่จ่ายแบบนี้ก็มีทางเลือกจ่ายแบบเสารวมกับหมู่บ้าน
น่าจะประมาณเดือนละ 500 เยน แต่ก็ต้องติดเน็ทเอง ก็เดือนละ 4000
.......... ตรงนี้ ก็ น่าจะไปแบบเดียวกัน
12. ระบบสุขาแถวบ้านยังเป็นแบบส้วมหลุม แบบหลุมเลย คือปล่อยลงไปแล้วทิ้งลงไปในแท้งข้างล่างอย่างนั้น ไม่มีน้ำให้กด ถ้าเต็มก็เรียกรถมาดูดส้วม
ถ้าจะทำห้องน้ำแบบกดน้ำทั่วไปอย่างที่บ้านเราทำ ต้องติดตั้งบ่อน้ำทิ้งและใช้บริการระบบน้ำทิ้งเฉพาะของบ้านตัวเองคนเดียว อันนี้ข้อยจ่ายประมาณ 10000 เยนต่อ 2 เดือน
13. รถโดยสารสาธารณะจะน้อยมาก รอบรถไฟ/ รถเมลน้อย บางทีสองชั่วโมงมาขบวนเดียว ตู้เดียว แล้วรถเมลหมดเร็วมาก รอบสุดท้ายอาจจะทุ่มสองทุ่ม
14. มีแท็กซี่ แต่ก็จะค่อนข้างแพงเพราะระยะทางมันจะไกล เรียกจากบ้านเราไปตัวอำเภอประมาณ 10 กว่ากิโลคือเกือบๆ 4 พัน
ปล.ที่ ญี่ปุ่น ไม่มี ครอบครองปรปักษ์ แบบ ไทยๆ เลยหรือ บ้านว่างถึงได้ ไม่มีใครบุกรุก
อนาคตมี โอกาศ ไทย จะเป็นเเบบ ญี่ปุ่น มั้ย( คือ บ้านตจว.ถูกทิ้งร้างสังคมคนแก่ หนุ่มสาวเข้าเมือง/ไป ตปท.)
...................................
อย่างที่รู้ว่าเราอาศัยในแถบที่ถือว่าค่อนข้างต่างจังหวัดของญี่ปุ่น หลายคนคิดว่าการได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดแบบนี้เป็นชีวิตในฝัน
ยิ่งตอนนี้ญี่ปุ่นประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างจังหวัดขาดแรงงานและคนหนุ่มสาว
ทำให้มีบ้านเก่าเอามาปล่อยเช่าปล่อยขายมากมายในราคาแสนถูก พื้นที่ก็กว้างขวาง หลายคนก็อยากจะมาอยู่กัน
เลยมีคนมาถามว่าชีวิตต่างจังหวัดมันมีความลำบากอะไรบ้าง? ก็ไม่รู้ว่าจะเรียกความลำบากหรือเปล่า............
1. ต้องขับรถให้ได้ และต้องมีรถขับ ถ้าขับรถไม่ได้จะลำบากมาก เรียกได้ว่าแทบจะต้องมีรถคนละคนกันเลยทีเดียว
แล้วถ้ามีรถหลายคันก็ต้องมีค่าใช้จ่ายพวกพรบ., ประกัน, ค่าตรวจสภาพ อะไรพวกนี้ ต้องคำนวณปีดีๆ ไม่งั้นค่าใช้จ่ายมาทีจะล้มละลายเอาได้
............. คนไทย ตอนนนี้ ก็ มอไซ คนละคัน กันอยู่แล้ว รร. บางเเห่ง ไม่ให้ นร.เอามอไซ ไปจอดใน รร. หน้ารร. รถจอดเรียงๆกันยาวเป็นร้อยเมตร
2. ตอนทำประกันก็ต้องคิดเช่นกันว่าจะเลือกเบี้ยประกันแบบไหน ถ้าบ้านนอกมากๆ อย่งบ้านข้อย คือมีทั้งหมี กวาง ทะนุกิ หมูป่า
ก็ต้องคิดถึงกรณีไปบวกกับมันด้วย........ แต่ตอนข้อยย้ายมาใหม่ๆ เจอหมูป่าเข้าชาร์จ ค่าซ่อมสามแสนกว่าเยน จะเอาที่ไหนมาจ่ายถ้าไม่ได้ทำประกันชั้น 1
.......... ไทย อย่าง ลพบุรี เจอลิงเเสม ที่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง บุกยึดหลายๆตึกห้องแถว ทำเป็น Ape planet ไปแล้ว..... หรือที่ ฉะเชิงเทรา ก็ เจอช้าง
3. ค่าแรงงานถูก แต่ค่าครองชีพไม่ได้ถูกนะ พวกค่าเช่าบ้านอะไรอาจจะไม่แพงและได้พื้นที่เยอะกว่าในเมือง
แต่ข้าวของเครื่องใช้ตามซุปเปอร์ก็ราคาเท่ากันปกติ และอาจจะไม่มีให้เลือกมาก เพราะเขาไม่ต้องแข่งขันเรื่องราคากันมาก
..........ไทย ยังมีแรงงงานจาก ชาติเพื่อนบ้าน
4. แต่ผักหลายอย่างจะถูก หรือบางทีได้ฟรี เพื่อนบ้านเอามาให้ แต่เราก็ควรหาอะไรไปตอบแทนกันด้วยเนอะ ไม่ใช่เอาอย่างเดียว
5. พื้นที่บ้านมาก ก็เท่ากับต้องถางหญ้ามาก หญ้ามันจะขึ้นเร็วมาก อยู่ต่างจังหวัดต้องสู้กับหญ้าทั้งปี
6. ไม่ใช่แค่แอเรียบ้าน แต่ในหมู่บ้าน ตำบล โรงเรียน เขาจะมีรวมตัวกันเพื่อไปช่วยถางหญ้า
คือจริงๆ ย้ายบ้านมาต่างจังหวัดควรซื้อเครื่องตัดหญ้าเป็นอย่างแรกๆ
7. นอกจากอีเว้นต์ตัดหญ้าแล้ว มันจะมีอีเว้นต์ของหมู่บ้านเรื่อยๆ ต้องคอยไปร่วม ไปช่วย ไปประชุม ไปเป็นอาสาสมัคร คณะกรรมการ หรืออะไรต่างๆ นานา อาจจะไม่ต้องร่วมทุกอีเว้นต์ แต่ต้องไปบ้าง โดยเฉพาะอะไรสำคัญๆ อย่างงานกีฬาหมู่บ้าน, เก็บขยะ,ถางหญ้า............
8. มีค่าส่วนกลาง (จิจิไกฮิ) ที่บางที่อาจจะแพงพอตัว เพราะคนมันน้อย อย่างที่อยู่นี่เสียประมาณปีละ 15000 เยน
.......... ไทยก็ อาจจะ ซองผ้าป่า กฐิน งาน ศพ งานบวช
9. ราคาพวกสาธารณูปโภคอาจจะแพงกว่าในเมือง เช่นค่าน้ำ ไฟ แก๊ส แก๊สเป็นแบบถังแก๊ส ราคาก็จะแพงกว่า ข้อยเสียค่าแก๊สประมาณเดือนละ 2 หมืนเยนเลยทีเดียว (ซักผ้า ล้างจาน อาบน้ำ โอฟุโระ) ค่าไฟก็จะแพงมากตอนหน้าหนาว เพราะมันจะหนาวมาก
ถ้าไม่ใช้ไฟก็ต้องใช้เครื่องทำความอุ่นแบบเตาน้ำมันก๊าด ก็จะต้องคอยไปซื้อน้ำมันมาเติม คอยเติมเวลามันหมด และใช้ตอนนอนไม่ได้ น้ำมันเองก็ไม่ได้ถูก
10. ค่าน้ำตอนอยู่โอซาก้าเสียสองเดือนประมาณ 5000 พันเยน แถวนี้สองเดือนข้อยเสีย 2 หมื่นกว่าเยน
เพราะจำนวนครัวเรือนน้อย ทำให้ค่าบริการพื้นฐานแพงไปด้วย
11. มีค่าเคเบิลทีวีรายเดือน 6 พันกว่าเยน (รวมเน็ท) เพราะคลื่นทีวีปกติเข้าไม่ถึง ถ้าไม่จ่ายแบบนี้ก็มีทางเลือกจ่ายแบบเสารวมกับหมู่บ้าน
น่าจะประมาณเดือนละ 500 เยน แต่ก็ต้องติดเน็ทเอง ก็เดือนละ 4000
.......... ตรงนี้ ก็ น่าจะไปแบบเดียวกัน
12. ระบบสุขาแถวบ้านยังเป็นแบบส้วมหลุม แบบหลุมเลย คือปล่อยลงไปแล้วทิ้งลงไปในแท้งข้างล่างอย่างนั้น ไม่มีน้ำให้กด ถ้าเต็มก็เรียกรถมาดูดส้วม
ถ้าจะทำห้องน้ำแบบกดน้ำทั่วไปอย่างที่บ้านเราทำ ต้องติดตั้งบ่อน้ำทิ้งและใช้บริการระบบน้ำทิ้งเฉพาะของบ้านตัวเองคนเดียว อันนี้ข้อยจ่ายประมาณ 10000 เยนต่อ 2 เดือน
13. รถโดยสารสาธารณะจะน้อยมาก รอบรถไฟ/ รถเมลน้อย บางทีสองชั่วโมงมาขบวนเดียว ตู้เดียว แล้วรถเมลหมดเร็วมาก รอบสุดท้ายอาจจะทุ่มสองทุ่ม
14. มีแท็กซี่ แต่ก็จะค่อนข้างแพงเพราะระยะทางมันจะไกล เรียกจากบ้านเราไปตัวอำเภอประมาณ 10 กว่ากิโลคือเกือบๆ 4 พัน
ปล.ที่ ญี่ปุ่น ไม่มี ครอบครองปรปักษ์ แบบ ไทยๆ เลยหรือ บ้านว่างถึงได้ ไม่มีใครบุกรุก