BNK48 ถ้ามันลำบากใจ เพราะไม่รู้คนไหนจะทำเงินให้ได้บ้าง อยากให้แคนดิเดตได้ลองทำงานจริงๆ ก่อนสักระยะ ขออนุญาตแนะนำว่า เปลี่ยนจากการเป็นแคนดิเดต ให้เป็นโปรแกรม "Baito BNK" (Baito = งานพาร์ตไทม์) ทำสัญญาระยะสั้น 3 เดือน 6 เดือนไปเลยจะดีกว่า แล้วค่อยจิ้มรายคนว่าจะเซ็นสัญญาจริงกับคนไหนบ้าง (อาจใช้ชื่อที่ทำให้คนไทยเข้าใจขึ้น เช่น BNK Probation)
หลักสำคัญคือ เอาเด็กมาใช้งานแล้วต้องจ่ายเงินให้เขาอย่างเหมาะสมด้วย การอ้างว่าการทำกิจกรรมเสมือนเป็นไอดอลแล้วยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการคัดเลือกมันไม่แฟร์เท่าไหร่ บริษัททั่วไปทดลองงานยังต้องจ่ายเงินค่าแรงรายวัน (อย่าลืมคำว่า Good Governance ที่ประกาศเอาไว้เองด้วย)
แล้วอันที่จริง ต่อให้คัดคนเข้าเป็นเมมเบอร์รุ่น 5 แล้วมาพบทีหลังว่ามีบางคนไม่เวิร์ค ก็ออดิชันรุ่น 6 ต่อเลยก็ได้ สัญญาก็ไม่เห็นจำเป็นต้องเซ็นทีเดียว 6 ปี การทำสัญญามีรูปแบบตั้งเยอะ เช่น เขียนว่าสัญญาเป็นแบบ 1+2+3 ปีแรกคือการ probation บริษัทเป็นฝ่ายที่มีสิทธิ์ใช้ออปชั่นหากประเมินผ่านก็ได้ เป็นต้น ถ้าเมื่อเวลาผ่านไปแล้วมองเห็นได้ชัดเจนว่าเด็กบางคนความนิยมในวงไม่มี ทำเงินให้ไม่ได้ มันก็ต้องยอมให้เขาได้ออกไปเติบโตในแบบของตัวเอง ตัววงเองก็ได้ทรัพยากรกลับมาโฟกัสกับคนที่ยังไปต่อได้ได้ หรือจะเอามาหารุ่นใหม่เข้ามาเติมบุคลากรของวงก็ได้เหมือนกัน ระบบมันออกแบบมาอย่างนี้อยู่แล้ว การเก็บเด็กที่ตัวเองไม่มีไอเดียสร้างประโยชน์ไว้กับตัว 6 ปีรวด มันก็เหมือนจ่ายเงินทิ้งไปเปล่าๆ สองสามรุ่นที่ผ่านมาก็น่าจะมีบทเรียนแล้ว
📷 ภาพ: BAITO AKB โครงการไอดอลพาร์ตไทม์ของ AKB48 ที่ให้เด็กสาวที่ผ่านการคัดเลือกได้ลองมาเป็นไอดอลชั่วคราวในสัญญาสั้นๆ 6 เดือน ได้ทำกิจกรรมเหมือน AKB48 จริงๆ มีการฝึกซ้อมจริงๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในวาระครบสัญญาด้วยซ้ำ โดยเอเคบีจ่ายเงินให้ในเรตชั่วโมงละ 1000 เยน ซึ่งต่อมาหลายคนในนี้ก็ได้เข้าร่วม 48 กรุ๊ปจริงๆ ผ่านระบบดราฟต์ ที่เป็นการคัดเลือกสมาชิกอีกรูปแบบนึงของ 48 กรุ๊ป ซึ่งคนที่ดังที่สุดก็คือ โอกิโนะ ยูกะ ที่ไปถึงอันดับ 4 งานเลือกตั้งปี 2018.
https://www.facebook.com/share/p/ig4mM7QeJcoPifNP/?mibextid=WwoeoW
โปรแกรม "Baito BNK" (Baito = งานพาร์ตไทม์)
หลักสำคัญคือ เอาเด็กมาใช้งานแล้วต้องจ่ายเงินให้เขาอย่างเหมาะสมด้วย การอ้างว่าการทำกิจกรรมเสมือนเป็นไอดอลแล้วยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการคัดเลือกมันไม่แฟร์เท่าไหร่ บริษัททั่วไปทดลองงานยังต้องจ่ายเงินค่าแรงรายวัน (อย่าลืมคำว่า Good Governance ที่ประกาศเอาไว้เองด้วย)
แล้วอันที่จริง ต่อให้คัดคนเข้าเป็นเมมเบอร์รุ่น 5 แล้วมาพบทีหลังว่ามีบางคนไม่เวิร์ค ก็ออดิชันรุ่น 6 ต่อเลยก็ได้ สัญญาก็ไม่เห็นจำเป็นต้องเซ็นทีเดียว 6 ปี การทำสัญญามีรูปแบบตั้งเยอะ เช่น เขียนว่าสัญญาเป็นแบบ 1+2+3 ปีแรกคือการ probation บริษัทเป็นฝ่ายที่มีสิทธิ์ใช้ออปชั่นหากประเมินผ่านก็ได้ เป็นต้น ถ้าเมื่อเวลาผ่านไปแล้วมองเห็นได้ชัดเจนว่าเด็กบางคนความนิยมในวงไม่มี ทำเงินให้ไม่ได้ มันก็ต้องยอมให้เขาได้ออกไปเติบโตในแบบของตัวเอง ตัววงเองก็ได้ทรัพยากรกลับมาโฟกัสกับคนที่ยังไปต่อได้ได้ หรือจะเอามาหารุ่นใหม่เข้ามาเติมบุคลากรของวงก็ได้เหมือนกัน ระบบมันออกแบบมาอย่างนี้อยู่แล้ว การเก็บเด็กที่ตัวเองไม่มีไอเดียสร้างประโยชน์ไว้กับตัว 6 ปีรวด มันก็เหมือนจ่ายเงินทิ้งไปเปล่าๆ สองสามรุ่นที่ผ่านมาก็น่าจะมีบทเรียนแล้ว
📷 ภาพ: BAITO AKB โครงการไอดอลพาร์ตไทม์ของ AKB48 ที่ให้เด็กสาวที่ผ่านการคัดเลือกได้ลองมาเป็นไอดอลชั่วคราวในสัญญาสั้นๆ 6 เดือน ได้ทำกิจกรรมเหมือน AKB48 จริงๆ มีการฝึกซ้อมจริงๆ มีคอนเสิร์ตของตัวเองในวาระครบสัญญาด้วยซ้ำ โดยเอเคบีจ่ายเงินให้ในเรตชั่วโมงละ 1000 เยน ซึ่งต่อมาหลายคนในนี้ก็ได้เข้าร่วม 48 กรุ๊ปจริงๆ ผ่านระบบดราฟต์ ที่เป็นการคัดเลือกสมาชิกอีกรูปแบบนึงของ 48 กรุ๊ป ซึ่งคนที่ดังที่สุดก็คือ โอกิโนะ ยูกะ ที่ไปถึงอันดับ 4 งานเลือกตั้งปี 2018.
https://www.facebook.com/share/p/ig4mM7QeJcoPifNP/?mibextid=WwoeoW