เครดิตภาพจาก Facebook
(ขอบคุณเจ้าของภาพมากๆ ค่ะ)
คนรุ่นใหม่ไม่อยากมีบ้าน เก็บเงิน 30 ปี ถึงซื้อบ้านได้ อยู่กับพ่อแม่สบายกว่า
ใช้เวลาเก็บเงิน 30 ปี ถึงจะซื้อบ้านได้! หนุ่มสาวอังกฤษ - สหรัฐเผชิญวิกฤติ “บ้านแพง” ส่วนใหญ่เลือกอยู่กับพ่อแม่ แม้ทำงานมาเป็นสิบปี งานศึกษา ชี้ ไม่มีเงินซื้อบ้าน ทำคนรุ่นใหม่ “ไม่อยากมีลูก”
วิกฤติ “บ้านแพง” ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบ้านเราเท่านั้น แต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก อย่าง “สหรัฐ” และ “อังกฤษ” ต่างต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ และค่าครองชีพสูงด้วย ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย คนรุ่นใหม่จึงตัดสินใจชะลอการซื้อบ้าน-สร้างครอบครัวออกไปก่อน
สำนักข่าว “ไฟแนนเชียล ไทม์ส” (Financial Times) รายงานถึงวิกฤติที่อยู่อาศัยของคนหนุ่มสาวใน “สหรัฐ” และ “อังกฤษ” โดยระบุว่า หนึ่งในความเชื่อที่ถูกส่งต่อมาตั้งแต่ยุคก่อนคือ หากทำงานหนักมากเพียงพอ ก็จะมีเงินไปซื้อบ้าน สร้างตัว-สร้างครอบครัวได้
สำหรับคนเจเนอเรชั่น “เบบี้บูมเมอร์” ในสหรัฐ และอังกฤษ มีอัตราการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วราว 70% ทัศนคติของคนรุ่นดังกล่าวจึงมักออกไปสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยการซื้อบ้านตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ขณะที่คนรุ่นใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลับไม่เป็นเช่นนั้น
แนวโน้มที่ปรับตัวลดลงของการซื้อบ้านในกลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่เพียง “หยุดนิ่ง” แต่ยังพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือด้วยสัดส่วนที่ลดลงมากกว่า “ครึ่งหนึ่ง” โดยบริบทที่พบบ่อยในกลุ่มคนรุ่นใหม่ขณะนี้คือ การอยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันกับพ่อแม่ ตั้งแต่อายุ 18 ปี จนถึงอายุ 34 ปี ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเรื่องการขยายตัวของโอกาสทางการศึกษา ที่ทำให้สถานะนักเรียน - นักศึกษายาวนานไปจนถึงอายุ 23 ปี แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่า ความฝันที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองตามสูตรสำเร็จเดิมได้กลายเป็นเรื่องไกลตัวที่ยากจะเอื้อมถึงได้
“ไฟแนนเชียล ไทม์ส” ระบุว่า วิกฤติที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นแตกต่างจากวิกฤติอื่นๆ อย่างภาวะเงินเฟ้อ หรือเศรษฐกิจถดถอยอย่างมีนัยสำคัญ ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่มี “Playbook” ให้รัฐบาลแก้ไขได้ทันท่วงที จนทำให้ราคาบ้านในอังกฤษโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น “สองเท่า” ในระยะเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น ตรงกันข้ามกับช่วงทศวรรษ 1990 ที่ออมเงินเพียง 2 - 3 ปี ก็สามาถดาวน์บ้านได้ไม่ยาก ข้อมูลจากสำนักข่าวระบุว่า ขณะนี้ต้องใช้เวลากว่า “13 ปี” จึงจะมีเงินออมเพียงพอสำหรับวางเงินดาวน์บ้านในอังกฤษได้ และหากขยับเป็นทำเลย่าน “ลอนดอน” อาจต้องใช้เวลานานถึง “30 ปี” เพื่อการออมเงินซื้อบ้าน
อย่างไรก็ตาม โดมิโนวิกฤติราคาบ้านพุ่งมีผลกระทบกับการตัดสินใจสร้างครอบครัวของคนรุ่นใหม่ เมื่อพวกเขาไม่มีเงินซื้อบ้าน จึงตัดสินใจชะลอการแต่งงาน-มีลูกออกไป ราคาบ้านที่สูงขึ้นยังทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปด้วย พวกเขาเลือกตัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออกเพื่อใช้จ่ายอย่างประหยัดมากที่สุด ซึ่งตรงนี้อาจเพิ่มช่องว่างและโอกาสของที่ไม่เท่าเทียม รวมถึงทำให้ผู้คนรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในชีวิตในอนาคตได้ด้วย
อ้างอิง: Financial Times
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
ขอบคุณข่าวจาก : กรุงเทพธุรกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/world/1109283
คนรุ่นใหม่ไม่อยากมีบ้าน เก็บเงิน 30 ปี ถึงซื้อบ้านได้ อยู่กับพ่อแม่สบายกว่า
ใช้เวลาเก็บเงิน 30 ปี ถึงจะซื้อบ้านได้! หนุ่มสาวอังกฤษ - สหรัฐเผชิญวิกฤติ “บ้านแพง” ส่วนใหญ่เลือกอยู่กับพ่อแม่ แม้ทำงานมาเป็นสิบปี งานศึกษา ชี้ ไม่มีเงินซื้อบ้าน ทำคนรุ่นใหม่ “ไม่อยากมีลูก”
วิกฤติ “บ้านแพง” ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะบ้านเราเท่านั้น แต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของโลก อย่าง “สหรัฐ” และ “อังกฤษ” ต่างต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ และค่าครองชีพสูงด้วย ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย คนรุ่นใหม่จึงตัดสินใจชะลอการซื้อบ้าน-สร้างครอบครัวออกไปก่อน
สำนักข่าว “ไฟแนนเชียล ไทม์ส” (Financial Times) รายงานถึงวิกฤติที่อยู่อาศัยของคนหนุ่มสาวใน “สหรัฐ” และ “อังกฤษ” โดยระบุว่า หนึ่งในความเชื่อที่ถูกส่งต่อมาตั้งแต่ยุคก่อนคือ หากทำงานหนักมากเพียงพอ ก็จะมีเงินไปซื้อบ้าน สร้างตัว-สร้างครอบครัวได้
สำหรับคนเจเนอเรชั่น “เบบี้บูมเมอร์” ในสหรัฐ และอังกฤษ มีอัตราการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วราว 70% ทัศนคติของคนรุ่นดังกล่าวจึงมักออกไปสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยการซื้อบ้านตั้งแต่วัยหนุ่มสาว ขณะที่คนรุ่นใหม่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลับไม่เป็นเช่นนั้น
แนวโน้มที่ปรับตัวลดลงของการซื้อบ้านในกลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่เพียง “หยุดนิ่ง” แต่ยังพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือด้วยสัดส่วนที่ลดลงมากกว่า “ครึ่งหนึ่ง” โดยบริบทที่พบบ่อยในกลุ่มคนรุ่นใหม่ขณะนี้คือ การอยู่อาศัยในบ้านหลังเดียวกันกับพ่อแม่ ตั้งแต่อายุ 18 ปี จนถึงอายุ 34 ปี ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเรื่องการขยายตัวของโอกาสทางการศึกษา ที่ทำให้สถานะนักเรียน - นักศึกษายาวนานไปจนถึงอายุ 23 ปี แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังพบว่า ความฝันที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองตามสูตรสำเร็จเดิมได้กลายเป็นเรื่องไกลตัวที่ยากจะเอื้อมถึงได้
“ไฟแนนเชียล ไทม์ส” ระบุว่า วิกฤติที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นแตกต่างจากวิกฤติอื่นๆ อย่างภาวะเงินเฟ้อ หรือเศรษฐกิจถดถอยอย่างมีนัยสำคัญ ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่มี “Playbook” ให้รัฐบาลแก้ไขได้ทันท่วงที จนทำให้ราคาบ้านในอังกฤษโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น “สองเท่า” ในระยะเวลาเพียง 10 ปีเท่านั้น ตรงกันข้ามกับช่วงทศวรรษ 1990 ที่ออมเงินเพียง 2 - 3 ปี ก็สามาถดาวน์บ้านได้ไม่ยาก ข้อมูลจากสำนักข่าวระบุว่า ขณะนี้ต้องใช้เวลากว่า “13 ปี” จึงจะมีเงินออมเพียงพอสำหรับวางเงินดาวน์บ้านในอังกฤษได้ และหากขยับเป็นทำเลย่าน “ลอนดอน” อาจต้องใช้เวลานานถึง “30 ปี” เพื่อการออมเงินซื้อบ้าน
อย่างไรก็ตาม โดมิโนวิกฤติราคาบ้านพุ่งมีผลกระทบกับการตัดสินใจสร้างครอบครัวของคนรุ่นใหม่ เมื่อพวกเขาไม่มีเงินซื้อบ้าน จึงตัดสินใจชะลอการแต่งงาน-มีลูกออกไป ราคาบ้านที่สูงขึ้นยังทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไปด้วย พวกเขาเลือกตัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นออกเพื่อใช้จ่ายอย่างประหยัดมากที่สุด ซึ่งตรงนี้อาจเพิ่มช่องว่างและโอกาสของที่ไม่เท่าเทียม รวมถึงทำให้ผู้คนรู้สึกถึงความไม่มั่นคงในชีวิตในอนาคตได้ด้วย
อ้างอิง: Financial Times
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
ขอบคุณข่าวจาก : กรุงเทพธุรกิจ
https://www.bangkokbiznews.com/world/1109283