วัดพระธรรมกายในสายตาของข้าพเจ้า ตอนที่ 2

คำว่า "ธรรมกาย" กับความไม่เข้าใจของสังคม 
ธรรมกายนี้ในฝ่ายเถรวาทมีปรากฏตั้งแต่ชั้นพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค และจารึกพระธรรมกาย เป็นต้น รวมถึงในฝ่ายมหายานก็มีในพระสูตรสำคัญเช่น ในปรัชญาปารมิตาสูตร  ในตถาคตครรภสูตร แล้วยังพบในฝ่ายวัชรยานก็มี ซึ่งดูจะมีปรากฏมากกว่าในฝ่ายเถรวาทด้วยซ้ำ มีกระจัดกระจายอยู่ที่ต่าง ๆ รวมถึงภาพวาดบางภาพบนผนังถ้ำ รูปปั้นพระแหวกท้อง ในสมัยโบราณก็ดูจะสื่อถึงความมีอยู่จริงขององค์พระภายในที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นพุทธศิลป์เหล่านั้นเป็นต้น แต่แล้วก็มีบางท่านยังไม่เข้าใจสรุปที่มาของธรรมกายว่าแท้จริงคือหมวดแห่งธรรมด้วยซ้ำไม่ใช่ธรรมกายที่มีกายแบบหลวงปู่สดท่านค้นพบ จริง ๆ ก็ไม่แปลก ปัญญามี 3 ระดับได้แก่ สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟังหรือจากการเล่าเรียนอ่านมา จินตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจาก การลงมือปฏิบัติ ดังนั้นในความหมายเดียวกันที่ปรากฏในคัมภีร์เถรวาท คนใช้สุตมยปัญญา ก็เข้าใจในรูปแบบของสุตมยปัญญา ใช้จินตมยปัญญาก็เข้าใจในรูปแบบของจินตมยปัญญา และใช้ภาวนามยปัญญาก็เข้าใจในรูปแบบของภาวนามยปัญญา กล่าวคือเข้าใจแบบในคำภีร์เหมือนกันแต่ระดับของความลึกซึ้งของความเข้าใจไม่เหมือนกัน หากนำคำว่าธรรมกายที่ปรากฏในที่ต่าง ๆ ทั้งเถรวาท มหายาน และวัชรยาน มาหาอินเตอร์เซกชัน คือจุดร่วมแบบเดียวกัน ก็จะสามารถเข้าใจบริบทของธรรมกายในรูปแบบที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านค้นพบด้วยซ้ำ ประกอบพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของรัชกาลที่ 4 คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณ-ปรีชา ท่านก็เข้าใจบริบทของธรรมกายตรงนี้ดีถึงขนาดเขียนไว้ในหนังสือแก่นไตรภพ เพ็ชรในหิน วิธธัมโมทัย มฤตยูกถา หรือ มรณานุสสร ของท่านอีกด้วย
                                                                                                                                                                        ธมฺมาภินฺนโท ภิกฺขุ  2/2/67
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่