วันที่ 1 ก.พ. 2567 สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า ประเทศไทยครองอันดับ 1 ที่ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวสูงสุดในอาเซียน “สุดาวรรณ” ชี้เวที ATF 2024 ปลื้มท่องเที่ยวอาเซียนฟื้นจากโควิด-19 ทั้งเจรจาเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวทางบก ขับรถเที่ยวเชื่อมต่อ 5 ประเทศ
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เผยผลการประชุมร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน 10 ประเทศ พบจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียนเพิ่มขึ้น 153% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ไทยนำโด่งอันดับหนึ่งด้านจำนวน 28.09 ล้านคน ขณะที่แผนฟื้นฟูท่องเที่ยวอาเซียนหลังโควิด-19 เดินหน้าไปแล้ว 60%
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ เปิดเผยผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาซียน ครั้งที่ 27 (ASEAN Tourism Forum : ATF 2024) ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้หัวข้อ “การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ: มุ่งสู่อนาคตอาเซียนที่ยั่งยืน”(Quality and Responsible Tourism – Sustaining ASEAN Future)” ว่ารัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน 10 ประเทศ ได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ ที่จะฟื้นฟูและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รับผิดชอบ และยั่งยืน
.
โดยมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ผ่านการดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2559 – 2568
.
“ประเด็นที่น่าสนใจที่ได้จากการประชุม พบว่าในปี 2566 ตัวเลขท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 153% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า โดยแคมเปญการตลาดในปี 2566 ทั้งสองแคมเปญได้แก่ แคมเปญ imaginASEANและแคมเปญฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมมากถึง 2,500 ล้านคนทั่วโลก”
.
นางสาวสุดาวรรรณ กล่าวต่อว่า ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าสูงสุดในปี 2566 โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 28.09 ล้านคน เพิ่มขึ้น 153.94% จากปีก่อนหน้าที่มี 11.06 ล้านคน เวียดนามมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 12.06 ล้านคน เพิ่มขึ้น 344.2% จากปีก่อนหน้าที่มี 3.66 ล้านคน
.
สิงคโปร์ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 130% จากปีก่อนหน้ามี 5.37 ล้านคน กัมพูชา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.45 ล้านคน เพิ่มขึ้น 139.5% จากปีก่อนหน้ามี 2.27 ล้านคน ฟิลิปปินส์ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.45 ล้านคน เพิ่มขึ้น 105.38% จากปีก่อนหน้ามี 2.65 ล้านคน บรูไน มีนักท่องเที่ยว 82,109 คน เพิ่มขึ้น 345.61% จากปีก่อนหน้ามี 18,426 คน เป็นต้น
.
ขณะเดียวกันที่ประชุมได้ติดตามมาตรการและกิจกรรมภายใต้แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนภายหลังโควิด-19 ได้ดำเนินการไปแล้ว หรือกำลังดำเนินการอยู่ผ่านแผนปฏิบัติการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียนฯ ถึง 60% จึงได้ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทบทวนกิจกรรมสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2559-2568 และข้อริเริ่มสำคัญอื่น ๆ
.
นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือถึงการดำเนินการกิจกรรมภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2559-2568 ตลอดจนประเด็นสำคัญอื่น ๆ ในปี 2566-2567 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวที่รวดเร็วของภาคการท่องเที่ยวในอนาคต ให้สอดคล้องกับแนวทาง “การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ: มุ่งสู่อนาคตอาเซียนที่ยั่งยืน”
.
โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าการท่องเที่ยวอาเซียนจะมีความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
.
สำหรับ ในปี 2568 การประชุมด้านการท่องเที่ยวอาเซียน จะจัดขึ้นในวันที่ 25 มกราคม 2568 ภายใต้หัวข้อ “Unity in Motion: Shaping ASEAN’s Tourism Tomorrow” โดยมีมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ
.
นอกจากนี้ยังได้ใช้โอกาสนี้หารือกับรัฐมนตรีและหน่วยงานด่านการท่องเที่ยวของ 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา โดยทุกประเทศเห็นชอบในหลักการให้เกิดความร่วมมือเดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค (Intraregional Connectivity) ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
.
ภายใต้โครงการ ASEAN Drive Tourism ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยยึดโยงกับแผนการดำเนินการที่ผ่านมาของไทยและของกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
.
“โครงการ ASEAN Drive Tourism เป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทย ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางบก หรือ Land Connectivity เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ กระจายรายได้ และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่นของทั้ง 5 ประเทศ”
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวต่อไปว่า จากนี้ไปจะมีการหารือเพิ่มเติมในระดับคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความแตกต่างของกฎระเบียบจราจร และโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสนอให้มีการนำเรียนนายกรัฐมนตรีของแต่ละประเทศ เพื่อยกระดับประเด็นดังกล่าว สู่วาระการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานต่อไป
.
นอกจากนี้ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา จะนำเส้นทางท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ จุดท่องเที่ยว ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกของแต่ละประเทศ นำไปประชาสัมพันธ์และทำการตลาดร่วมกัน โดยไทยมีเป้าหมายที่จะประกาศเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง "ASEAN Drive Tourism" ให้แก่สื่อมวลชนทั่วโลกและผู้ประกอบการท่องเที่ยวในงาน ITB Berlin ในวันที่ 5-7 มีนาคม 2567 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีด้วย
.
สำหรับตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้มีการหารือกัน เช่น กัมพูชาเสนอให้มีการเชื่อมโยงผ่านพื้นที่เมืองหลักและเมืองรอง อาทิ ศรีโสภณ พระตะบอง รวมถึงเส้นทางพรมแดนกัมพูชา -เวียดนาม เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จัก ได้ให้ความเห็นในประเด็นการอำนวยความสะดวกผ่านช่องทางตรวจลงตรา โดยเสนอกลไก ACMECS Visa
.
รวมถึงประเด็นการเพิ่มการลงทุนภาคบริการไปยังเมืองรองต่างๆ ของกัมพูชา นอกจากนี้ มีเส้นทางที่ทางไทยเสนอกับเวียดนาม อาทิ เส้นทางที่ 1: ไทย (มุกดาหาร) - สปป. ลาว (สันหวันนะเขต) - เวียดนาม (เว้-ดานัง) เส้นทางที่ 2: ไทย (ตราด) - กัมพูชา (สีหนุห์วีล) - เวียดนาม (ฟูก๊วก) ที่จะต้องนำไปหารือในรายละเอียดต่อไป
https://www.thansettakij.com/business/tourism/587393?fbclid=IwAR2C-So1CeyhcMvBepOKMI2cR6n0CDv-1pDBlIw8XwIIYzAwVWdnKJU-Wis
ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน ชาวต่างชาติเที่ยวมากที่สุด !!!
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เผยผลการประชุมร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน 10 ประเทศ พบจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียนเพิ่มขึ้น 153% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า ไทยนำโด่งอันดับหนึ่งด้านจำนวน 28.09 ล้านคน ขณะที่แผนฟื้นฟูท่องเที่ยวอาเซียนหลังโควิด-19 เดินหน้าไปแล้ว 60%
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวฯ เปิดเผยผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาซียน ครั้งที่ 27 (ASEAN Tourism Forum : ATF 2024) ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้หัวข้อ “การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ: มุ่งสู่อนาคตอาเซียนที่ยั่งยืน”(Quality and Responsible Tourism – Sustaining ASEAN Future)” ว่ารัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน 10 ประเทศ ได้ร่วมแสดงเจตนารมณ์ ที่จะฟื้นฟูและส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รับผิดชอบ และยั่งยืน
.
โดยมุ่งเน้นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของอาเซียน และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ผ่านการดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2559 – 2568
.
“ประเด็นที่น่าสนใจที่ได้จากการประชุม พบว่าในปี 2566 ตัวเลขท่องเที่ยวของภูมิภาคอาเซียน มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพิ่มขึ้น 153% เมื่อเทียบจากปีก่อนหน้า โดยแคมเปญการตลาดในปี 2566 ทั้งสองแคมเปญได้แก่ แคมเปญ imaginASEANและแคมเปญฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีผู้เข้าร่วมมากถึง 2,500 ล้านคนทั่วโลก”
.
นางสาวสุดาวรรรณ กล่าวต่อว่า ใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าสูงสุดในปี 2566 โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 28.09 ล้านคน เพิ่มขึ้น 153.94% จากปีก่อนหน้าที่มี 11.06 ล้านคน เวียดนามมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 12.06 ล้านคน เพิ่มขึ้น 344.2% จากปีก่อนหน้าที่มี 3.66 ล้านคน
.
สิงคโปร์ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 12.37 ล้านคน เพิ่มขึ้น 130% จากปีก่อนหน้ามี 5.37 ล้านคน กัมพูชา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.45 ล้านคน เพิ่มขึ้น 139.5% จากปีก่อนหน้ามี 2.27 ล้านคน ฟิลิปปินส์ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5.45 ล้านคน เพิ่มขึ้น 105.38% จากปีก่อนหน้ามี 2.65 ล้านคน บรูไน มีนักท่องเที่ยว 82,109 คน เพิ่มขึ้น 345.61% จากปีก่อนหน้ามี 18,426 คน เป็นต้น
.
ขณะเดียวกันที่ประชุมได้ติดตามมาตรการและกิจกรรมภายใต้แผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนภายหลังโควิด-19 ได้ดำเนินการไปแล้ว หรือกำลังดำเนินการอยู่ผ่านแผนปฏิบัติการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียนฯ ถึง 60% จึงได้ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทบทวนกิจกรรมสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมเหล่านี้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2559-2568 และข้อริเริ่มสำคัญอื่น ๆ
.
นอกจากนี้ที่ประชุมได้หารือถึงการดำเนินการกิจกรรมภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2559-2568 ตลอดจนประเด็นสำคัญอื่น ๆ ในปี 2566-2567 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวที่รวดเร็วของภาคการท่องเที่ยวในอนาคต ให้สอดคล้องกับแนวทาง “การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีความรับผิดชอบ: มุ่งสู่อนาคตอาเซียนที่ยั่งยืน”
.
โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แน่ใจว่าการท่องเที่ยวอาเซียนจะมีความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และยั่งยืน
.
สำหรับ ในปี 2568 การประชุมด้านการท่องเที่ยวอาเซียน จะจัดขึ้นในวันที่ 25 มกราคม 2568 ภายใต้หัวข้อ “Unity in Motion: Shaping ASEAN’s Tourism Tomorrow” โดยมีมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ
.
นอกจากนี้ยังได้ใช้โอกาสนี้หารือกับรัฐมนตรีและหน่วยงานด่านการท่องเที่ยวของ 4 ประเทศ ได้แก่ ลาว มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา โดยทุกประเทศเห็นชอบในหลักการให้เกิดความร่วมมือเดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค (Intraregional Connectivity) ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม
.
ภายใต้โครงการ ASEAN Drive Tourism ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมโยงใน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยยึดโยงกับแผนการดำเนินการที่ผ่านมาของไทยและของกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน
.
“โครงการ ASEAN Drive Tourism เป็นข้อริเริ่มของฝ่ายไทย ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางบก หรือ Land Connectivity เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่ ในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ กระจายรายได้ และส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวชุมชนและวัฒนธรรมท้องถิ่นของทั้ง 5 ประเทศ”
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวต่อไปว่า จากนี้ไปจะมีการหารือเพิ่มเติมในระดับคณะทำงาน เพื่อพิจารณาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นความแตกต่างของกฎระเบียบจราจร และโครงสร้างพื้นฐาน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งเสนอให้มีการนำเรียนนายกรัฐมนตรีของแต่ละประเทศ เพื่อยกระดับประเด็นดังกล่าว สู่วาระการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) เพื่อให้เกิดการบูรณาการการดำเนินงานต่อไป
.
นอกจากนี้ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา จะนำเส้นทางท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ จุดท่องเที่ยว ที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวกของแต่ละประเทศ นำไปประชาสัมพันธ์และทำการตลาดร่วมกัน โดยไทยมีเป้าหมายที่จะประกาศเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง "ASEAN Drive Tourism" ให้แก่สื่อมวลชนทั่วโลกและผู้ประกอบการท่องเที่ยวในงาน ITB Berlin ในวันที่ 5-7 มีนาคม 2567 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีด้วย
.
สำหรับตัวอย่างเส้นทางท่องเที่ยวที่ได้มีการหารือกัน เช่น กัมพูชาเสนอให้มีการเชื่อมโยงผ่านพื้นที่เมืองหลักและเมืองรอง อาทิ ศรีโสภณ พระตะบอง รวมถึงเส้นทางพรมแดนกัมพูชา -เวียดนาม เพื่อประชาสัมพันธ์เส้นทางใหม่ๆ ให้เป็นที่รู้จัก ได้ให้ความเห็นในประเด็นการอำนวยความสะดวกผ่านช่องทางตรวจลงตรา โดยเสนอกลไก ACMECS Visa
.
รวมถึงประเด็นการเพิ่มการลงทุนภาคบริการไปยังเมืองรองต่างๆ ของกัมพูชา นอกจากนี้ มีเส้นทางที่ทางไทยเสนอกับเวียดนาม อาทิ เส้นทางที่ 1: ไทย (มุกดาหาร) - สปป. ลาว (สันหวันนะเขต) - เวียดนาม (เว้-ดานัง) เส้นทางที่ 2: ไทย (ตราด) - กัมพูชา (สีหนุห์วีล) - เวียดนาม (ฟูก๊วก) ที่จะต้องนำไปหารือในรายละเอียดต่อไป
https://www.thansettakij.com/business/tourism/587393?fbclid=IwAR2C-So1CeyhcMvBepOKMI2cR6n0CDv-1pDBlIw8XwIIYzAwVWdnKJU-Wis