พ่อเสียชีวิตไป 8 ปี มีคำสั่งศาลให้เราใช้หนี้ที่พ่อค้ำประกัน

เรื่องของเรื่องก็คือ นาย ก. (นามสมมุติ) เป็นจำเลยในคดีกับนิติบุคคลแห่งหนึ่งแล้วถูกฟ้องว่าไม่จ่ายหนี้ โดยมีชื่อพ่อเป็นหนึ่งในคนที่ค้ำประกัน(คนค้ำรวมแล้วน่าจะมี 4-5คน) โดยทางโจทย์ให้ นาย ก. ชำระหนี้จำนวน 3แสนบาท และให้พ่อเราร่วมรับผิดชอบหนี้ส่วนหนึ่ง เป็นมุลค่า 4หมื่นบาท แต่เนื่องจากพ่อเราตาย ศาลจึงให้เราเป็นจำเลยร่วม เพื่อเป็นผู้มีหน้าที่ติดตามให้นาย ก.ไปใช้หนี้ หากนาย ก.ไม่ใช้หนี้ เราจะต้องชำระส่วนนี้แทน แต่ต้องไม่เกินมรดกที่เราได้รับ
ทีนี้ปัญหาก็คือ แม่เพิ่งสารภาพว่าแม่รู้อยู่แล้ว และที่แม่ไม่บอกเราก็เพราะว่าแม่เคยไปคุยกับ นาย ก. ตั้งแต่ตอนเป็นคดีตอนปี 62 ซึ่งตอนนั้นเขารับปากว่าจะชดใช้แทนให้ ไม่ต้องห่วง แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีหมายบังคับคดีตัวเดิมมาแขวนหน้าบ้านอีกรอบ แม่เลยยอมบอกเรา (เดากันว่า นาย ก.ผิดชำระหนี้แน่ๆ)
ครอบครัวเรามีกัน 5 คน มีน้องชาย น้องสาว เราเป็นคนกลาง พี่สาว แล้วก็แม่ ส่วนพ่อเสียไปตั้งแต่ปี 59 ในหมายบังคับคดีระบุว่าการฟ้องร้องเกิดเมื่อปี 61 และตัดสินไปแล้วเมื่อปี 62 โดยระบุให้เราชดใช้ในส่วนของพ่อตามที่เล่าไป แต่ที่สงสัยก็คือ
1. น้องเรา 2 คน พี่สาว แล้วก็แม่ ไม่มีชื่อในนั้น (มีเราคนเดียวที่ถูกระบุว่าเป็นทายาทของจำเลยที่ต้องชดใช้หนี้)
2. คำตัดสินระบุให้เราชดใช้ไม่เกินมรดกที่ได้ ขอเล่าก่อนว่าเราออกจากบ้านมาทำงานและสร้างครอบครัวที่ต่างจังหวัดมาเกือบ 15ปีแล้ว และเราเองก็ย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านมากกว่า 10 ปีแล้วด้วย สิ่งเดียวที่ได้หลังจากพ่อตายคือเงินประกันชีวิต เป็นสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิตของพ่อเท่านั้น (ซึ่งจากที่หาความรู้ดู เงินนี้ไม่ถือเป็นมรดก) ส่วนมรดกอย่างอื่น เราไม่ได้เลย แม่บอกว่าทุกอย่างจะถูกแบ่งให้ลูกเมื่อแม่เสียแล้วเท่านั้น (แม่เป็นผู้จัดการมรดก)
3. เราคะยั้นคะยอขอดูเอกสารแนบจากแม่ ซึ่งบอกได้ว่าหนามาก จนเจอหนึ่งในหลักฐานที่เราเอ๊ะที่สุดก็คือ ในเอกสารค้ำประกันการกู้ยืม ไม่ใช่ลายมือพ่อเรา
4. แม่เล่าว่าตั้งแต่ฟ้องจนถึงตอนตัดสิน โจทย์และจำเลยจะกันแม่เราออกตลอด แม่เราไม่เคยได้ขึ้นแถลงต่อศาล คุยผ่านทนายของโจทย์และจำเลยเท่านั้น
5. แม่ในฐานะคู่สมรส ไม่ได้รู้เห็นเกี่ยวกับการค้ำประกันนี้เลย และแม่เองก็ไม่เคยรู้จักหรือพบปะกับ นาย ก.เลยแม้แต่ครั้งเดียว ซึ่งเราก็เชื่อนะ เพราะพ่อกับแม่ตัวติดกันตลอด(สไตล์คนบ้านนอก) ไม่งั้นทำไมถึงไม่มีชื่อแม่ในคำสั่งศาล ทั้งที่แม่เป็นคนที่ตามคดีนี้ตลอดตั้งแต่รู้ว่าถูกฟ้องจนตัดสิน เราเดาเอาว่าเขาไม่ใส่แม่เพราะกลัวแม่จะถูกเรียกตัวไปสอบและเจอพิรุธในคดีรึเปล่า 
แต่ก็อย่างว่า....แม่เราก็เป็นแค่ชาวบ้าน คงไม่มีความรู้ทางกฎหมาย และไม่ทันคนพวกนี้
ยาวหน่อย แต่อยากถามว่า
1. ศาลตัดสินไปตั้งแต่ปี 62 แล้ว ยื่นอุทธรณ์หรือแก้ต่างทันมั๊ย?
2. อย่างที่บอกไป เรายังไม่ได้มรดกสักอย่าง นั่นหมายความว่าเราอยู่นิ่งๆไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เขาก็ทำอะไรไม่ได้ใช่ไหม
3. กรณีเราเพิ่งสังเกตว่ามีการปลอมลายเซ็น เราจะฟ้องกลับได้ไหม หรือต้องฟ้องใคร ฟ้องนาย ก. หรือฟ้องโจทย์
4. คดีมรดก จำได้ว่าต้องฟ้องภายใน 1 ปีหลังเสียชีวิต ซึ่งพ่อเราเสียปี 59 แต่เขาฟ้อง 61 ทำไมฟ้องได้?
คือตอนนี้ก็ยังนิ่งๆกันอยู่ และพยายามสอบถามทั้งฝั่งโจทย์ และนาย ก.ว่าจะเอายังไง แต่ก็สไตล์เดิม เงียบ บอกแค่ไม่ต้องห่วง ซึ่งเรามองว่าเราไม่อยากอยู่แบบระแวงว่ามีคดีแพ่งติดตัว อยากทำให้มันจบๆ (แบบเราไม่ต้องใช้หนี้ เพราะเราเชื่อว่าพ่อเราไม่ค้ำมั่วๆให้คนไม่รู้จักหรอก)
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
1. ศาลตัดสินไปตั้งแต่ปี 62 แล้ว ยื่นอุทธรณ์หรือแก้ต่างทันมั๊ย?
ตอบ ไม่ทันแล้ว

2. อย่างที่บอกไป เรายังไม่ได้มรดกสักอย่าง นั่นหมายความว่าเราอยู่นิ่งๆไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย เขาก็ทำอะไรไม่ได้ใช่ไหม
ตอบ เมื่อเราไม่ได้รับมรดก ก็ไม่ต้องกังวล เจ้าหนี้จะต้องนำบังคับคดีมายึดทรัพย์ แล้วเค้าต้องมีหลักฐานมาว่าเรารับมรดก
จึงจะยึดได้ เราก็แจ้งว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดกไม่ให้ยึด ส่วนอื่นเพิ่มเติม ดูหน้างานแล้วแก้เป็นเรื่องไๆผ

3. กรณีเราเพิ่งสังเกตว่ามีการปลอมลายเซ็น เราจะฟ้องกลับได้ไหม หรือต้องฟ้องใคร ฟ้องนาย ก. หรือฟ้องโจทย์
ตอบ  ฟ้องได้แต่จะฟ้องนาย ก ทำไม(เหตุผล  ) เมื่อไม่มีผลต่อการค้ำประกันใดๆ  พ่อคุณยังไงต้องรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกัน
เว้นแต่ทำให้ มีความเสียหายเกิดขึ้น

4. คดีมรดก จำได้ว่าต้องฟ้องภายใน 1 ปีหลังเสียชีวิต ซึ่งพ่อเราเสียปี 59 แต่เขาฟ้อง 61 ทำไมฟ้องได้?
ตอบ ดูในสำเนาคำฟ้อง หรือคำพิพากษา  
เริ่มฟ้อง จะระบุ หมายเลขคดี ดำที่  ... /25..( 25. พศ .ที่ฟ้องเช่น 1234/ 2559 หรือ 4231/2560)
ศาลตัดสินแล้ว จะระบุ หมายเลขคดีแดงที่ .../2562  


ปล. ส่วนนี้เพิ่มให้

"โจทย์ให้ นาย ก. ชำระหนี้จำนวน 3แสนบาท และให้พ่อเราร่วมรับผิดชอบหนี้ส่วนหนึ่ง เป็นมุลค่า 4หมื่นบาท แต่เนื่องจากพ่อเราตาย ศาลจึงให้เราเป็นจำเลยร่วม เพื่อเป็นผู้มีหน้าที่ติดตามให้นาย ก.ไปใช้หนี้ หากนาย ก.ไม่ใช้หนี้ เราจะต้องชำระส่วนนี้แทน แต่ต้องไม่เกินมรดกที่เราได้รับ

ตอบ ศาลฟ้องคุณ ในฐานะทายาทผู้ค้ำประกัน และศาลไม่ได้สามารถสั่งให้คุณติดตามนาย ห มาใช้หนี้ เพียงแต่ศาลจะสั่งว่า ถ้านาย กไม่ใช้คุณ ต้องใช้แทนในฐานะ(ทายาท)ผู้ค้ำประกัน แต่ไม่เกินทรัพย์มรดกที่ได้รับ

ดังนั้น คุณ ตรวจเช็คให้ดีว่า รับมรดกอะไรหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับเลย
ก็ เตรียมหลักฐานการได้มา ทรัพย์ของคุณ ที่สามารถยึดได้ เอาไว้แจ้งบังคับคดี ว่าไม่ใช่มรดก
กรณีมายึดทรัพย์

กรณี แม่คุณนั้น ไม่ต้อง กังวลจะรู้หรือไม่รู้ มันเลยเวลานั้นมาแล้ว เจ้าหนี้สามารถฟ้องทายาทผู้ค้ำประกันคนไหนก๋ได้
แล้ว คนที่จ่ายไปไล่เอาส่วนที่ได้จ่ายไป คืนจากทายาทคนอื่นเอาเอง และเอาหลักฐานการจ่ายเงินไปฟ้องบังคับลูกหนี้
คืนได้ ถ้าเค้ามีเงิน

สรุป พ่อคุณ เป็นผู้ค้ำประกัน ประเภทจำกัดวงเงิน 4 หมื่น บาท แล้วเสียชีวิต เจ้าหนี้สามารถฟ้องทายาทคนใดคนหนึ่งได้
หรือฟ้องกองมรดกได้ เท่าที่ได้ค้ำประกันไว้ ศาลตัดสินในลูกหนี้และทายาทคนค้ำประกันชำระหนี้
แต่ทายาทคนไหนไม่ได้รับมรดก ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบในมูลหนี้


จบ เรื่องฟ้องทายาทผู้ค้ำประกัน ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำปรกะกัน(กรณีนี้ น่าจะทำสัญญาค้ำประกันก่อนกฎหมายใหม่ ยังให้รับผิดแบบลูกหนี้ร่วม)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่