[CR] เที่ยวไปกิน by laser @ พระราชวังบางปะอิน, วัดนิเวศธรรมประวัติฯ, ร้านริมน้ำ

วันศุกร์ที่ 14-4-23 ยังอยู่ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ไม่ได้กลับบ้าน
ชวนผู้จัดการชาวสิงคโปร์ ซึ่งไม่ได้ไปไหนไปเที่ยวพระราชวงศ์บางปะอิน
นัดกัน 10 โมงเช้า จากที่ทำงานและที่พักแถวคลองหนึ่ง รังสิต ขับรถไปตามพหลโยธิน
10.45 น.เลี้ยวซ้ายเข้า ทล.32 (AH1) บางปะอิน-อยุธยา



11.00 น.จอดรถริมถนนปราสาททองหน้าทางเข้าที่จอดรถ 
อาคารสำนักงานและประชาสัมพันธ์พราะราชวังบางประอิน และไปรษณีย์ไทย สาขาบางปะอิน
ทีสามารนั่งกระเช้าข้ามไปวัดนิเวศน์ธรรมประวัติได้ 
ริมถนนก่อนถึงประตูเข้าพระราชวังบางปะอินจอดไม่เสียเงิน



ซื้อบัตรเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติให้ผู้จัดการ 100 บาท
ส่วนตัวเองไม่สามารถใช้สิทธิ์ผู้สูงวัยเข้าฟรี ต้องซื้อตั๋วเด็ก 20 บาท
เป็นครั้งที่สองที่พาคนสิงคโปร์มาเที่ยวพระราชวังบางปะอิน ก่อนไปตลาดกลางกุ้งเมื่อปี 2017
วันนี้แจ้งผู้จัดการแล้วว่าห้ามนุ่งขาสั้นและเสื้อไม่มีแขน 
เพราะครั้งที่ลืมบอกเพื่อน ต้องเดินไปซื้อกางเกงช้างสวมทับ
การพาต่างชาตไปเที่ยววัดเที่ยววังต้องระวัง บางแห่งแม้ไม่ห้ามกางเกงยีนส์ แต่ถ้าผ้าขาดห้ามเข้า





เมื่อซื้อบัตรจะได้รับแจกแผ่นพับ มีภาพแผนที่
และประวัติความเป็นมาของพระราชวังบางปะอิน พระที่นั่งและอาคารสำคัญ เป็นภาษาไทยและอังกฤษ
-พระราชวังบางปะอิน เป็นพระราชวังโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้นโดยพระเจ้าปราสาททอง 
หลังเสียกรุง พระราชวังบางปะอินถูกปล่อยทิ้งร้าง และกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้งเมื่อสุนทรภู่
ซึ่งได้ตามเสด็จรัชกาลที่ 1 ไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ได้ประพันธ์ถึงพระราชวังบางปะอินไว้ในนิราศพระบาท 
จนกระทั้งสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการบูรณะ และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ 
โดยได้สร้างพระที่นั่ง พระตำหนัก และตำหนักต่าง ๆ ขึ้นมากมาย ภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ เขตพระราชฐานชั้นนอก ประกอบด้วย หอเหมมณฑลเทวราช พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ 
พระที่นั่งวโรภาษพิมาน สภาคารราชประยูร กระโจมแตร และเรือนแพพระที่นั่ง และเขตพระราชฐานชั้นใน 
ประกอบด้วย พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร หอวิฑูรทัศนา เก๋งบุปผาประพาส พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ 
หมู่พระตำหนักฝ่ายใน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ 
และประตูเทวราชครรไล ที่ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รถม้าพระที่นั่ง
https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/272



ทางซ้ายมือริมสระน้ำใต้ต้นโพธิ์ คือ เหมมณเฑียรเทวราช
-หอเหมมณเฑียรเทวราช หรือที่บางคนเรียกกันว่า "ศาลพระเจ้าปราสาททอง" 
เป็นปรางค์ศิลา จำลองแบบจากปรางค์ขอม ภายในประดิษฐานเทวรูปสมมุติ
แทนพระองค์พระเจ้าปราสาททอง ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก 
ริมสระใต้ต้นโพธิ์ ภายในพระราชวังบางปะอิน (วิกิ)



เดินตรงไปจนถึงกระโจมแตร 
เป็นศาลาริมน้ำให้นักท่องเที่ยวชมหมู่พระที่นั่งในเขตพระราชฐานชั้นใน และให้อาหารปลา





-พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพย์อาสน์กลางสระน้ำอยู่ระหว่างการบูรณะ
จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว
ใกล้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
มีลักษณะเป็นพลับพลาโถงแบบปราสาทจตุรมุขลดชั้น หลังคาเป็นเครื่องยอดทรงมณฑปจอมแห 
ปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
หล่อด้วยสำริด ฉลองพระองค์เต็มยศจอมพลทหารบก ขนาดเท่าองค์จริง
https://www.sarakadee.com/feature/2003/03/bang-pa-in_palace.htm



ภาพถ่ายครั้งพาเพื่อนสิงคโปร์สองคนและคนไทยอีกหนึ่งคนมาเที่ยวเมื่อปี 2017 จากในกระโจมแตร





จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้ว
ใกล้พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง



ข้างกระโจมแตรมีป้ายบอกทางไปพระที่นั่งต่าง ๆ



ในพระราชวังบางประอินมีบริการรถกอล์ฟไฟฟ้าให้เช่าขับเอง



เดินข้ามสะพานเข้าสู่เขตพระราชฐานชั้นในไปชมพระที่นั่งต่าง ๆ
ด้านซ้ายของสะพาน คือ อาคารประตูเทวราชครรไล



เริ่มจากพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรทางด้านขวามือ
-พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน 
ตรงข้ามกับสระทางด้านตะวันออก ของพระราชวังบางปะอิน 
พระที่นั่งองค์นี้สร้างด้วยไม้ สไตล์ยุโรป แบบสวิสชาเล่ต์ 2 ชั้น มีกำแพงแก้ว 
จดหมายเหตุได้กล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานเงิน 90 ชั่งเพื่อสร้างพระที่นั่งองค์นี้ และรั้วพระราชวังบางปะอิน 







พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรด้านสระน้ำ มองเห็นหอวิฑูรทัศนา







เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2420 ต่อมา พ.ศ. 2481 ได้มีการซ่อมแซมใหญ่พระราชวังบางปะอิน 
แต่ผู้รับเหมาประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดไฟไหม้พระที่นั่งทั้งองค์ คงเหลือแต่หอยุโรปข้าง ๆ เท่านั้น 
หลังจากนั้น ในปี พ.ศ. 2537 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 
ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นใหม่ 
ปัจจุบัน พระที่นั่งองค์นี้ไม่เปิดให้เข้าชม (วิกิ)



เรือนขนมปังขิงตรงข้ามพระที่นั่ง มีชื่อว่าเก๋งบุปผาประพาส



เดือนเมษายนต้นราชพฤกษ์ (คูน) ข้างสนามหญ้าเขียงขจี ออกดอกสีเหลืองสวยงาม 
-เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครรัชกาลที่ 6 เดิมที คือ ตำหนักวรนาฏเกษมสานต์
เป็นตำหนักที่ประทับของพระบรมวงศ์ฝ่ายในหลายพระองค์ ประทับอยู่ด้วยกัน 
โดยในนวนิยายเรื่อง สี่แผ่นดิน นั้น แม่พลอยซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องก็ได้มาพักที่ตำหนักนี้ 
ในรัชกาลที่ 6 ตำหนักแห่งนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นโรงละครประจำพระราชวัง
โดยเปลี่ยนชื่อเป็น "วรนาฏยศาลา" เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 6 จึงรื้อโรงละครออกไป 
ปัจจุบันเป็นสนามกว้างปลูกต้นไม้เป็นรูปสัตว์ต่างๆ
https://www.ayutthaya.go.th/travel-1/Historic%20site.html







เดินไปพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ





ขวามือทางเข้าพระที่นั่ง มองเห็นหอวิฑูรทัศนา มีพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรอยู่ด้านหลัง





-พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ เป็นพระที่นั่งสองชั้น สถาปัตยกรรมแบบจีน 
สร้างในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2432 
พระที่นั่งองค์นี้มีนามในภาษาจีนว่า เทียน เม่ง เต้ย (天明殿 อ่านแบบจีนกลางว่า เทียน หมิง เตี้ยน) 
แปลเป็นไทยว่า พระที่นั่งฟ้าสว่าง (เทียน แปลว่า เวหา , เม่ง แปลว่า จำรูญ , เตี้ยน แปลว่า พระที่นั่ง) 
ใช้เวลาในการสร้างประมาณ 10 ปี และเป็นพระที่นั่งองค์สุดท้ายที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5
ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้ายเป็นประจำทุกปี
พระที่นั่งเวหาศจำรูญ เป็นของถวายของข้าราชการกรมท่าซ้าย คือ พ่อค้าใหญ่ชาวจีน 
โดยมีพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก โชติกสวัสดิ์) เป็นนายงาน หลวงสาทรราชายุตก์ (ยม พิศลยบุตร) 
และหลวงโภคานุกุล (จื๋ว) เป็นผู้ควบคุมในการก่อสร้าง และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ 
พระองค์เจ้าทองแถม กรมหมื่นสรรพศาสตร์ศุภกิจ เป็นผู้ควบคุมดูแล
เมื่อพระที่นั่งสร้างเสร็จ รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ จัดให้มีพระราชพิธีเฉลิมขึ้นพระที่นั่งตามแบบจีน
เมื่อวันที่ 27 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2432 (วิกิ)



ชื่อสินค้า:   กุ้งแม่น้ำเผา
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่