***สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องราชดำเนินทุกคน***
กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....แต่มีเสียง.........
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกัน
แล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
สุขสันต์เย็นวันศุกร์ค่ะ เพื่อนๆ ห้องเพลง .....พี่สาวเหลือน้อย..... รับหน้าที่ MC เฉพาะกิจ
เนื่องด้วยในวันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 17.30 น. ณ สวนโรมัน พระราชวังพญาไท จะมีงาน
คอนเสิร์ตการกุศล “รวมใจไทยภักดิ์...รักษ์วังพญาไท” โดยจัดขึ้นเพื่อระดมทุนสนับสนุน
มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในการบูรณะและอนุรักษ์พระราชวังพญาไทไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
คอนเสิร์ตนี้ จะรวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มาขับร้อง โดยศิลปินแห่งชาติ อย่าง
จินตนา สุขสถิตย์ และ เศรษฐา ศิระฉายา พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญ อาทิ นายแพทย์วิภู กำเนิดดี, รัดเกล้า อามระดิษ,
ไต้ฝุ่น KPN เป็นต้น
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก
"วังพญาไท" กันสักหน่อย นะคะ
วังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จ ทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่
ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธี แรกนาขวัญ หลายครั้ง ณ วังพญาไท
วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่
ได้เพียงไม่กี่ เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงพระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย
จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท
เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่
หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็นพระราชวังพญาไท
รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่ง
รัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต
พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา พระนางเจ้าสุวัทนา
พระวรราชเทวี และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดาพระสนมเอก อีกด้วยสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไท
ในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้แก่ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเป็นเมืองจำลอง ขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันไม่มีเหลือให้เห็นแล้วต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7
ทรงโปรดเกล้าฯให้กรม รถไฟ หลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์
2468 ตามพระราช ประสงค์ ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่มีพระราชดำริ
จัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไท
ได้เป็นที่ตั้งของ สถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการ
โรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร
จึงทรงพระราชทาน วังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบกและได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาจนปัจจุบัน
พระราชวังพญาไท ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค
โดยจุดเด่นของ พระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้สำหรับ ชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จมา ประทับรวมทั้ง บริเวณฝาผนังใกล้กับเพดานและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูน เปียกซึ่งมีความงดงามมาก
และ บาน ประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.๖"ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี
ชกาลที่ ๖ พระที่นั่งพิมานจักรีใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมเหสี
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พระพันปีหลวงเสด็จมา ประทับ ณ พระราชวังพญาไทโดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไบแซนไทน์
ภายในท้องพระโรงทาสีฉูดฉาดหลายสี และมี พระปรมาภิไธยย่อ "สผ" (เสาวภาผ่องศรี พระนามเดิมของสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง) อยู่ตอนบนใกล้หลังคาภายในพระที่นั่ง
พระที่นั่งแห่งนี้ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทาง ศาสนาในโอกาสต่าง ๆ
ใช้รับรองแขกส่วนพระองค์ ใช้เป็นโรงละคร เป็นต้น
สวนโรมัน
เข้าใจว่าเดิมเป็นหนึ่งในสามของพระราชอุทยานในพระราชวังพญาไทสำหรับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ การจัดแต่ง
ภูมิสถาปัตย์เป็น ลักษณะแบบเรขาคณิต ประกอบด้วยศาลาในสวนที่ใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบโรมัน
ศาลาทรงกลมตรงกลาง มีหลังคาโดม รับด้วยเสาแบบคอรินเธียน (Corinthian Order)
ขนาบด้วยศาลาทรงสี่เหลี่ยมโปร่งไม่มีหลังคากำหนดขอบเขตด้วยเสา แบบเดียวกัน กับโดม รองรับคานที่พาดด้านบน
(Entablature) มีการประดับด้วยตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมัน บริเวณบันไดทางขึ้น ซึ่งต่อเนื่องกับ ด้านหน้า
ที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในแนวแกนเดียวกับโดม มีทางเดินกว้างโดยรอบสระน้ำเชื่อมต่อกับศาลา ซึ่งศาลานี้ใช้เป็น
เวทีการแสดงกลางแจ้งในบางโอกาส
บทเพลงที่นำพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ใส่ทำนอง มาฟังกันแบบเรียกน้ำย่อย ค่ะ
เพลง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ
https://www.youtube.com/watch?v=9_0DIE0iXaM
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ เป็นเพลงประกอบละครเวทีเรื่อง "เกียรติศักดิ์ทหารเสือ"
ของ ศักดิ์เกษม หุตาคม หรือ "อิงอร" เมื่อประมาณ พ.ศ. 2490-2495 ขับร้อง
โดยสันติ ลุนเผ่ ประพันธ์ทำนองโดยสง่า อารัมภีร และสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
โดยใช้คำร้องจากโคลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสไว้เมื่อครั้งที่หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต
นำโคลงนี้ไปตีพิมพ์ เมื่อ พ.ศ. 2461 ว่า"นักรบฝรั่งเศสโบราณมีภาษิตอยู่อัน 1
สำหรับเป็นบรรทัดฐานแห่งความประพฤติของเขา เป็นภาษิตที่จับใจข้าพเจ้ายิ่งนัก
จึ่งได้นิพนธ์เทียบเป็นคำโคลงภาษาไทยขึ้นไว้ว่า "
มโนมอบพระผู้ สถิตย์อยู่ยอดสวรรค์
แขนถวายให้ทรงธรรม์ พระผ่านเผ้าเจ้าชีวา
ดวงใจให้ขวัญจิต ยอดชีวิตและมารดา
เกียรติศักดิ์รักของข้า ชาติชายแท้แก่ตนเอง
มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์
แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่
เกียรติศักดิ์รักข้า มอบไว้แก่ตัว
สยามมานุสสติ
https://www.youtube.com/watch?v=AflvGcGvUXg
สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยนารถ ถาวรบุตร
๏ ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงามฯ
๏ หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ
(บรรเลงโดย วงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย)
ห้องเพลง**คนรากหญ้า** พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....มีแต่เสียง 22/1/2016.../sao..เหลือ..noi
***สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ห้องราชดำเนินทุกคน***
กระทู้นี้ เป็นมุมพักผ่อน มุมนี้ไม่มีสี ไม่มีกลุ่ม....แต่มีเสียง.........
ห้องเพลงคนรากหญ้าเปิดขึ้นมามีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. มีพื้นที่ให้เพื่อนๆ ได้มาพบปะ พูดคุยระหว่างกัน ในภาวะที่ต้องระมัดระวังการโพสการเมืองอย่างเคร่งครัด
2. เป็นพื้นที่ พักผ่อน ลดความเครียดทางการเมือง ให้เพื่อนๆ มีกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกัน
3. สร้างมิตรภาพและความปรองดอง ซึ่งเราหวังให้สังคมไทยเป็นเช่นนี้ แม้นคิดต่างกัน แต่เมื่อคุยกัน
แล้วก็เป็นเพื่อนกันเหมือนเดิม
สุขสันต์เย็นวันศุกร์ค่ะ เพื่อนๆ ห้องเพลง .....พี่สาวเหลือน้อย..... รับหน้าที่ MC เฉพาะกิจ
เนื่องด้วยในวันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 17.30 น. ณ สวนโรมัน พระราชวังพญาไท จะมีงาน
คอนเสิร์ตการกุศล “รวมใจไทยภักดิ์...รักษ์วังพญาไท” โดยจัดขึ้นเพื่อระดมทุนสนับสนุน
มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในการบูรณะและอนุรักษ์พระราชวังพญาไทไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
คอนเสิร์ตนี้ จะรวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 มาขับร้อง โดยศิลปินแห่งชาติ อย่าง
จินตนา สุขสถิตย์ และ เศรษฐา ศิระฉายา พร้อมด้วยศิลปินรับเชิญ อาทิ นายแพทย์วิภู กำเนิดดี, รัดเกล้า อามระดิษ,
ไต้ฝุ่น KPN เป็นต้น
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จัก "วังพญาไท" กันสักหน่อย นะคะ
วังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จ ทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่
ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธี แรกนาขวัญ หลายครั้ง ณ วังพญาไท
วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่
ได้เพียงไม่กี่ เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงพระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย
จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท
เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่
หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็นพระราชวังพญาไท
รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่ง
รัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต
พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา พระนางเจ้าสุวัทนา
พระวรราชเทวี และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดาพระสนมเอก อีกด้วยสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไท
ในสมัย รัชกาลที่ 6 ได้แก่ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างเป็นเมืองจำลอง ขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันไม่มีเหลือให้เห็นแล้วต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7
ทรงโปรดเกล้าฯให้กรม รถไฟ หลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์
2468 ตามพระราช ประสงค์ ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่มีพระราชดำริ
จัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไท
ได้เป็นที่ตั้งของ สถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการ
โรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร
จึงทรงพระราชทาน วังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบกและได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้ามาจนปัจจุบัน
พระราชวังพญาไท ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค
โดยจุดเด่นของ พระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้สำหรับ ชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จมา ประทับรวมทั้ง บริเวณฝาผนังใกล้กับเพดานและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูน เปียกซึ่งมีความงดงามมาก
และ บาน ประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.๖"ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี
ชกาลที่ ๖ พระที่นั่งพิมานจักรีใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมเหสี
พระที่นั่งเทวราชสภารมย์สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี
พระพันปีหลวงเสด็จมา ประทับ ณ พระราชวังพญาไทโดยมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบไบแซนไทน์
ภายในท้องพระโรงทาสีฉูดฉาดหลายสี และมี พระปรมาภิไธยย่อ "สผ" (เสาวภาผ่องศรี พระนามเดิมของสมเด็จ
พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง) อยู่ตอนบนใกล้หลังคาภายในพระที่นั่ง
พระที่นั่งแห่งนี้ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับงานต่าง ๆ เช่น ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทาง ศาสนาในโอกาสต่าง ๆ
ใช้รับรองแขกส่วนพระองค์ ใช้เป็นโรงละคร เป็นต้น
สวนโรมัน
เข้าใจว่าเดิมเป็นหนึ่งในสามของพระราชอุทยานในพระราชวังพญาไทสำหรับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ การจัดแต่ง
ภูมิสถาปัตย์เป็น ลักษณะแบบเรขาคณิต ประกอบด้วยศาลาในสวนที่ใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบโรมัน
ศาลาทรงกลมตรงกลาง มีหลังคาโดม รับด้วยเสาแบบคอรินเธียน (Corinthian Order)
ขนาบด้วยศาลาทรงสี่เหลี่ยมโปร่งไม่มีหลังคากำหนดขอบเขตด้วยเสา แบบเดียวกัน กับโดม รองรับคานที่พาดด้านบน
(Entablature) มีการประดับด้วยตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมัน บริเวณบันไดทางขึ้น ซึ่งต่อเนื่องกับ ด้านหน้า
ที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในแนวแกนเดียวกับโดม มีทางเดินกว้างโดยรอบสระน้ำเชื่อมต่อกับศาลา ซึ่งศาลานี้ใช้เป็น
เวทีการแสดงกลางแจ้งในบางโอกาส
บทเพลงที่นำพระราชนิพนธ์ในล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ใส่ทำนอง มาฟังกันแบบเรียกน้ำย่อย ค่ะ
เพลง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ
https://www.youtube.com/watch?v=9_0DIE0iXaM
เกียรติศักดิ์ทหารเสือ เป็นเพลงประกอบละครเวทีเรื่อง "เกียรติศักดิ์ทหารเสือ"
ของ ศักดิ์เกษม หุตาคม หรือ "อิงอร" เมื่อประมาณ พ.ศ. 2490-2495 ขับร้อง
โดยสันติ ลุนเผ่ ประพันธ์ทำนองโดยสง่า อารัมภีร และสุนทรียา ณ เวียงกาญจน์
โดยใช้คำร้องจากโคลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสไว้เมื่อครั้งที่หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต
นำโคลงนี้ไปตีพิมพ์ เมื่อ พ.ศ. 2461 ว่า"นักรบฝรั่งเศสโบราณมีภาษิตอยู่อัน 1
สำหรับเป็นบรรทัดฐานแห่งความประพฤติของเขา เป็นภาษิตที่จับใจข้าพเจ้ายิ่งนัก
จึ่งได้นิพนธ์เทียบเป็นคำโคลงภาษาไทยขึ้นไว้ว่า "
มโนมอบพระผู้ สถิตย์อยู่ยอดสวรรค์
แขนถวายให้ทรงธรรม์ พระผ่านเผ้าเจ้าชีวา
ดวงใจให้ขวัญจิต ยอดชีวิตและมารดา
เกียรติศักดิ์รักของข้า ชาติชายแท้แก่ตนเอง
มโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์
แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่
เกียรติศักดิ์รักข้า มอบไว้แก่ตัว
สยามมานุสสติ
https://www.youtube.com/watch?v=AflvGcGvUXg
สยามานุสสติ เป็นคำโคลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2461 และได้พระราชทานแก่ทหารอาสาสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาได้มีการนำโคลงนี้มาแต่งเป็นเพลงปลุกใจ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยนารถ ถาวรบุตร
๏ ใครรานใครรุกด้าว แดนไทย
ไทยรบจนสุดใจ ขาดดิ้น
เสียเนื้อเลือดหลั่งไหล ยอมสละ สิ้นแล
เสียชีพไป่เสียสิ้น ชื่อก้องเกียรติงามฯ
๏ หากสยามยังอยู่ยั้ง ยืนยง
เราก็เหมือนอยู่คง ชีพด้วย
หากสยามพินาศลง ไทยอยู่ ได้ฤๅ
เราก็เหมือนมอดม้วย หมดสิ้นสกุลไทยฯ
(บรรเลงโดย วงดุริยางค์ฟิลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย)