รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ประชาชนส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นพาหนะเดินทางในชีวิตประจำวัน
เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวเมื่อเกิดการจราจรติดขัด ราคาไม่สูงเท่ากับรถยนต์ ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็เป็นพาหนะที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหลายอย่าง ส่วนใหญ่
เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่เหมาะส ม เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนด การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด การดื่มสุราก่อนขับขี่ สภาพร่างกายอ่อนเพลีย
ง่วงนอน และการไม่เห็นความสำคัญของการสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตราย พบว่ามีผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ใช้หมวกนิรภัยกันเป็นจำนวนน้อย ซึ่งการไม่สวมหมวกนิรภัยเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงและการเสียชีวิตได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้รถจักรยานยนต์ คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงกำหนดให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ซึ่งจะต้องระบุข้อมูลของสินค้า คือ ชื่อประเภทสินค้า ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าและชื่อประเทศที่ผลิต สถานที่ตั้ง ขนาด วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือการเก็บรักษา คำเตือน ข้อห้ามใช้หรือข้อควรระวัง วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ราคา และข้อความที่เป็น คำเตือน ต้องระบุว่า “อาจถึงตายหรือพิการ หากไม่สวมหมวกนิรภัย” ข้อความคำเตือนต้องมีตัวอักษรไม่ต่ำกว่า ๓ มิลลิเมตร โดยใช้สีตัดกับพื้นสำหรับแสดงไว้ที่คู่มือการใช้งานรถจักรยานยนต์ และแสดงไว้ในลักษณะคงทนถาวรที่บริเวณถังน้ำมันหรือบริเวณอื่นของรถจักรยานยนต์ ที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ซึ่งในการติดคำเตือนนั้นเพื่อมิให้ผู้บริโภคเกิดความประมาทในการขับขี่
ทั้งนี้ หากผู้ใดขายสินค้ารถจักรยานยนต์โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลาก แต่ฉลากไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ผลิต ผู้สั่งหรือผู้นำเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าดังกล่าวสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชั่น OCPB Connect พูดคุยสอบถามกับ Chat Bot พี่ปกป้องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือมาด้วยตนเองที่ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี หรืออาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด
รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วและคล่องตัวเมื่อเกิดการจราจรติดขัด ราคาไม่สูงเท่ากับรถยนต์ ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็เป็นพาหนะที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหลายอย่าง ส่วนใหญ่
เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่เหมาะส ม เช่น การขับรถเร็วเกินกำหนด การขับรถตัดหน้ากระชั้นชิด การดื่มสุราก่อนขับขี่ สภาพร่างกายอ่อนเพลีย
ง่วงนอน และการไม่เห็นความสำคัญของการสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตราย พบว่ามีผู้ขับขี่และผู้โดยสารที่ใช้หมวกนิรภัยกันเป็นจำนวนน้อย ซึ่งการไม่สวมหมวกนิรภัยเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความรุนแรงและการเสียชีวิตได้
ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้รถจักรยานยนต์ คณะกรรมการว่าด้วยฉลากจึงกำหนดให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๖๐) เรื่อง ให้รถจักรยานยนต์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ซึ่งจะต้องระบุข้อมูลของสินค้า คือ ชื่อประเภทสินค้า ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิต ผู้สั่งหรือนำเข้าและชื่อประเทศที่ผลิต สถานที่ตั้ง ขนาด วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือการเก็บรักษา คำเตือน ข้อห้ามใช้หรือข้อควรระวัง วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ราคา และข้อความที่เป็น คำเตือน ต้องระบุว่า “อาจถึงตายหรือพิการ หากไม่สวมหมวกนิรภัย” ข้อความคำเตือนต้องมีตัวอักษรไม่ต่ำกว่า ๓ มิลลิเมตร โดยใช้สีตัดกับพื้นสำหรับแสดงไว้ที่คู่มือการใช้งานรถจักรยานยนต์ และแสดงไว้ในลักษณะคงทนถาวรที่บริเวณถังน้ำมันหรือบริเวณอื่นของรถจักรยานยนต์ ที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน ซึ่งในการติดคำเตือนนั้นเพื่อมิให้ผู้บริโภคเกิดความประมาทในการขับขี่
ทั้งนี้ หากผู้ใดขายสินค้ารถจักรยานยนต์โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลาก แต่ฉลากไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จะมีโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ผลิต ผู้สั่งหรือผู้นำเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าดังกล่าวสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชั่น OCPB Connect พูดคุยสอบถามกับ Chat Bot พี่ปกป้องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือมาด้วยตนเองที่ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี หรืออาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด