Key Point :
คนส่วนใหญ่มักจะพบปัญหา นอนไม่หลับ แต่ความจริง ปัญหาการนอนมีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนอนละเมอ นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
Sleep test การตรวจการนอนหลับ จึงเป็นแนวทางในการสังเกตการทำงานของร่างกาย สามารถบอกความผิดปกติของการนอนหลับได้
ประกันสังคม ได้ให้ผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าตรวจ Sleep test ได้แล้วไม่เกิน 7,000 บาท ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ปัญหาการนอนหลับ มีผลต่อสุขภาพทั้งโรคทางกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตใจ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนและการทำงานได้
ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ ระบุว่า ปัญหาโรคจากการนอนหลับโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มโรค ดังนี้
1.โรคนอนไม่หลับ (insomnia)
2. โรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ (sleep related breathing disorders)
3. โรคนอนละเมอ (parasomnias)
4. โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติขณะหลับ (sleep related movement disorders)
5. ภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน (central disorders of hypersomnolence)
6. ความแปรปรวนของนาฬิกาชีวิต (circadian rhythm sleep-wake disorders)
โดยล่าสุด ผู้ประกันตนที่มีปัญหา 'การนอนหลับ' จนกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน และต้องการเข้าไปตรวจ Sleep test ขณะนี้ สามารถเบิกค่าตรวจ Sleep test ได้แล้วผ่านประกันสังคม ไม่เกิน 7,000 บาท ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
นอนหลับลึกช่วยให้สมองดีขึ้น
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า แนวโน้มภาวะนอนไม่หลับของผู้คนในปัจจุบันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการนอนไม่หลับเป็นหนึ่งในปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยประมาณ 19 ล้านคน และกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก ทั้งที่การนอนหลับลึกมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ ทั้งด้านความจำ ภาษา การแสดงออกของพฤติกรรม และอารมณ์
การนอนหลับลึก ช่วยจัดเรียงความทรงจำในสมองให้ดีขึ้น เชื่อมโยงความทรงจำเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน หากอดนอน ความสามารถในการเรียนรู้จะลดลงมากถึง 40% รูปแบบของการนอนจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี จะสูญเสียการหลับลึกไปมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับคนอายุ 18-25 ปี นี่คือสาเหตุว่า ทำไมผู้สูงอายุจึงมีปัญหาในเรื่องความจำ
หากเกิดปัญหาในการนอน เช่น นอนไม่หลับ, นอนกรน หรือนอนหลับไม่สนิท ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ ตามมา ซึ่งผลกระทบในระยะสั้นนี้อาจก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ขาดสมาธิในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะส่งผลต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆได้ง่าย
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1110182
ประกันสังคม ได้ให้ผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าตรวจ Sleep test ได้แล้วไม่เกิน 7,000 บาท ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1/1/2567
คนส่วนใหญ่มักจะพบปัญหา นอนไม่หลับ แต่ความจริง ปัญหาการนอนมีมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นนอนละเมอ นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
Sleep test การตรวจการนอนหลับ จึงเป็นแนวทางในการสังเกตการทำงานของร่างกาย สามารถบอกความผิดปกติของการนอนหลับได้
ประกันสังคม ได้ให้ผู้ประกันตน สามารถเบิกค่าตรวจ Sleep test ได้แล้วไม่เกิน 7,000 บาท ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ปัญหาการนอนหลับ มีผลต่อสุขภาพทั้งโรคทางกาย เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตใจ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ บนท้องถนนและการทำงานได้
ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ ระบุว่า ปัญหาโรคจากการนอนหลับโดยทั่วไป แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มโรค ดังนี้
1.โรคนอนไม่หลับ (insomnia)
2. โรคการหายใจผิดปกติขณะหลับ (sleep related breathing disorders)
3. โรคนอนละเมอ (parasomnias)
4. โรคการเคลื่อนไหวผิดปกติขณะหลับ (sleep related movement disorders)
5. ภาวะง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน (central disorders of hypersomnolence)
6. ความแปรปรวนของนาฬิกาชีวิต (circadian rhythm sleep-wake disorders)
โดยล่าสุด ผู้ประกันตนที่มีปัญหา 'การนอนหลับ' จนกระทบต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน และต้องการเข้าไปตรวจ Sleep test ขณะนี้ สามารถเบิกค่าตรวจ Sleep test ได้แล้วผ่านประกันสังคม ไม่เกิน 7,000 บาท ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
นอนหลับลึกช่วยให้สมองดีขึ้น
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า แนวโน้มภาวะนอนไม่หลับของผู้คนในปัจจุบันจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการนอนไม่หลับเป็นหนึ่งในปัญหาที่บั่นทอนสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนไทยประมาณ 19 ล้านคน และกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก ทั้งที่การนอนหลับลึกมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ ทั้งด้านความจำ ภาษา การแสดงออกของพฤติกรรม และอารมณ์
การนอนหลับลึก ช่วยจัดเรียงความทรงจำในสมองให้ดีขึ้น เชื่อมโยงความทรงจำเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน หากอดนอน ความสามารถในการเรียนรู้จะลดลงมากถึง 40% รูปแบบของการนอนจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ เมื่ออายุมากกว่า 60 ปี จะสูญเสียการหลับลึกไปมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับคนอายุ 18-25 ปี นี่คือสาเหตุว่า ทำไมผู้สูงอายุจึงมีปัญหาในเรื่องความจำ
หากเกิดปัญหาในการนอน เช่น นอนไม่หลับ, นอนกรน หรือนอนหลับไม่สนิท ก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอื่นๆ ตามมา ซึ่งผลกระทบในระยะสั้นนี้อาจก่อให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ขาดสมาธิในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะส่งผลต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆได้ง่าย
https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1110182