ที่ทำงานเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในภาวะตลาดหมี

ที่ทำงานเพิ่งประกาศว่าจะมีการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

>> ปูมหลัง: กองทุนสำรองขนาดประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท สมาชิกประมาณ 4 พันคน

>> Timeline
           ปี 2566
            1. 25 ก.ย. - 20 ต.ค.     คณะกก.กองทุนพิจารณาข้อเสนอ   
            2. 20 ต.ค.                   คณะกก. vote เลือกบลจ.
            3. 1   ธ.ค.                   คณะกก. แจ้งรายละเอียดการจะเปลี่ยนบลจ.จัดการกองทุนรายใหม่ ในการประชุมสมาชิก (ทราบเฉพาะในที่ประชุม)
           ปี 2567
            4. 19 ม.ค.                   ผอ.เกริ่นถึงเรื่องนี้ในที่ประชุมพบปะพนง. (เริ่มเป็นที่รู้กันในวงกว้าง)
            5. 21 ม.ค.                   มี e-mail กลาง แจ้งพนง.เรื่องการเปลี่ยนบลจ.จัดการกองทุน
            6. 1   มี.ค.                   กำหนดการย้ายไปยังบลจ.ใหม่

>> คำถาม:
     Q1: เหมาะสมหรือไม่ในการเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนในภาวะตลาดแบบนี้ (ไม่ย้ายกอง = loss unrealised)
     Q2: การเปลี่ยนบริษัทจัดการกองทุนสำรอง ควรให้อำนาจในการตัดสินใจ เป็นของสมาชิกหรือไม่
     Q3: หากเราเห็นว่าการตัดสินใจของคณะกก.ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิกส่วนใหญ่ เราสามารถจัดการอะไรได้บ้าง
            - เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนคณะกก.กองทุน
            - ตรวจสอบบัญชีคณะกก.ย้อนหลัง 6 เดือน
            - มีหน่วยงานอื่น (กลต.?) ที่มีอำนาจในการจัดการเรื่องร้องเรียนเหล่านี้หรือไม่

ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบนะครับ
เมื่อทราบข่าว เพื่อนพนง.หลายคนก็ไม่สบายใจมาก บางคนทำงานมา 10 กว่าปี เงินที่ลงไปในกองทุน(เฉพาะส่วนของพนง.)ประมาณ 1.5 ล้าน ถ้ามีการเปลี่ยนบลจ. เท่ากับกำไรที่เคยได้ 2-3 แสน จะ realised ตามสภาวะตลาด เหลือ 8000 บาท บางคนติดลบ

----------------------------
ข้างล่างนี้ EDITED เพิ่มเติม -----

1. เพิ่มรูปเปรียบเทียบ performance บลจ.เดิม และเจ้าใหม่ 2 รูป
คหสต. ไม่ต่างกันมาก มีนโยบายผสมตราสารทุนในประเทศปีหนึ่งเจ้าใหม่ดีกว่ามากจึงดึง mean


2. ข้อเสนอแนะสำหรับการจัดการกองทุนสำรอง สำหรับเพื่อน ๆ พันทิปท่านอื่น ซึ่งคิดว่าจะเป็นประโยชน์กับทั้งทางองค์กรเองและพนักงาน
 
S1 - การให้คณะกก.จำนวนไม่กี่ท่านเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินจำนวนมาก อาจต้องมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อความโปร่งใส
        เช่น อาจให้คณะกก.เป็นผู้จัดหาและเสนอตัวเลือกมาให้ที่ประชุมใหญ่ตัดสินใจเลือกอีกที
S2 - กรณีเปลี่ยนผู้จัดการอาจต้องคำนึงทั้งผลได้ (ผลประกอบการที่คาดว่าจะดีขึ้น) และ ผลเสีย (ขาย=ขาดทุน) แล้วนำมาเปรียบเทียบ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่