คิดยังไงกับคำว่า "เลี้ยงดูพ่อแม่" ในฐานะที่เป็น "ลูก" และ "พ่อแม่" (แชร์ประสบการณ์...อย่าเพิ่งด่าเพียงแค่อ่านหัวข้อ)

เริ่มต้นด้วยตัวอย่างชีวิตของผมเองครับ

ตอนนี้ผมอายุ 35 ปี โสด และเงินเดือนประมาณ 25,000 บาท

พ่อแม่ผมเดิมเป็นชาวไร่ชาวนา หลังๆ มาก็มาทำงานบริษัท ส่งผมและน้องสาวให้เรียนจนจบ และกำลังจะเกษียนตัวเองในกลางปีนี้

แล้วปัญหามันอยู่ตรงไหนล่ะ...?

ปัญหามันอยู่ที่คำสอนที่ว่า "โตไปให้เลี้ยงดูพ่อแม่ แสดงความกตัญญู" ซึ่งในฐานะที่เป็นลูกนั้นมันคือหน้าที่ต้องดูแล แล้ว....ยังไง?

ช่วงอายุของผมน่าจะเป็นตัวอย่างให้หลายๆ คนได้ เพราะผมเกิดในช่วงยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีมากที่สุด แนวคิดเรื่องการเรียนให้สูงจะได้ทำงานดีๆ และจะได้กลับมา "เลี้ยงดูพ่อแม่ยามแก่เฒ่า" ก็ยังเป็นแนวคิดพื้นฐานที่พ่อแม่ยังคงสอนลูกๆ มา

และนั่นคือ "ปัญหา" ของผมตอนนี้ เพราะแนวคิดนี้ไม่ได้รวมไปถึงการ "การวางแผนเกษียนของคนยุคเก่า" เพราะคนยุคนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของลูกๆ กลับมาดูแลพวกตน

คนรุ่นพ่อแม่ของผม โตมาโดยการทำไร่ไถนา ยุคที่มีลูกเยอะๆ แต่งงานไวๆ มีลูกทันใช้ จะได้ช่วยกันทำงาน ออกป่าล่าสัตว์ นั่นคือ...ยิ่งมีแรงงานเยอะ ก็จะยิ่งมีกินอิ่มท้อง

พอเปลี่ยนมาอีกยุคหนึ่งที่หากไม่มีเงินก็ไม่มีกินแล้ว ขอบเขตของงานจึงถูกจำกัดด้วยเงินเดือน เพราะเดี๋ยวนี้ ถ้าเงินเดือนไม่พอกินก็เข้าป่าล่าสัวต์ไม่ได้แล้ว (ส่วนใหญ่นะ)

เมื่อคุณภาพชีวิตถูกขีดไว้ที่เงินเดือน แล้วตัวผมมีภาระอะไรที่จะต้องทำบ้าง...
1. ปลูกบ้านให้พ่อแม่
2. ปลูกบ้านให้ตัวเอง
3. ออกรถเพื่อใช้ในครอบครัว
4. หาเงินแต่งงาน (ทุกวันนี้ไม่กล้ามีแฟนเพราะภาระที่มากมายนี่แหละ)
5. ส่งเงินให้พ่อแม่ใช้
6. เหลือเงินไว้ดูแลครอบครัวตัวเอง
7. ค่าเลี้ยงเด็ก ค่าเทอม และอีกหลายๆ อย่างที่ต้องเตรียมในอนาคต

คำถามคือ...ผมในฐานะที่เป็นลูกจะลืมตาอ้าปากได้เมื่อไร?

ทุกวันนี้จึงต้องมีอาชีพมากกว่า 1 เพื่อให้ได้เงินเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น และต้องเหนื่อมากขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

ตัวผมนั้นไม่ได้ไม่อยากจะดูแล "พ่อแม่" หรอกนะครับ ผมยังรักท่านอยู่ แต่สิ่งนี้จะเป็นบทเรียนต่อไปในอนาคตว่า...ถ้าหากผมมีลูก ผมจะต้องเตรียมตัวเองให้พร้อม เก็บเงินเพื่อเกษียนตัวเอง อย่างน้อยก็ให้ลูกๆ ได้โบยบินไปได้อย่างอิสระ หรืออย่างร้ายที่สุดเขาจะไม่เลี้ยงดูเรา เราก็ยังพอจะเอาตัวรอดได้บ้างครับ

แค่มาละบาย ร้องไห้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่