คนทำงานหลายคนไม่ว่าจะ First Jobbers ไปจนถึงคนที่ทำงานมาหลายปียังคงตอบตัวเองไม่ได้ว่า “งานในฝันของฉันคืออะไร?” และไม่รู้ว่าควรจะตั้งเป้าหมายให้กับชีวิตการทำงานยังไงดี ซึ่งการที่เรายังไม่รู้เป้าหมายนั้นไม่ใช่สิ่งที่น่าอายเลย มันไม่ได้เป็นสิ่งที่นิยามว่าเราเป็นคนขี้เกียจหรือเป็นคนไม่มีแรงจูงใจ เพราะลึก ๆ แล้วมันมีอะไรมากกว่านั้น วันนี้ JobThai Tips ได้รวบรวมข้อคิดและเทคนิคดี ๆ มาฝากคนที่กำลังค้นหาตัวเองอยู่
1. ถามตัวเองว่า “ทำไมเรายังไม่มีเป้าหมายทางอาชีพ?”
คำถามนี้อาจฟังดูน่ากลัวสักหน่อย แต่ลองนั่งคุยกับตัวเองอย่างเปิดใจดูว่าอะไรรั้งไม่ให้เราตั้งเป้าหมายในอาชีพของตัวเอง มันเป็นเพราะเราไม่มีความสุขกับชีวิตการทำงานรึเปล่า เป็นเพราะพอใจกับชีวิตช่วงนี้รึเปล่า หรือเป็นเพราะเราไม่อยากจะแบกรับอะไรมากไปกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
เมื่อเรารู้สาเหตุแล้ว แนวคิดและทางออกจะตามมาเอง เช่น ถ้าวันนึงค้นพบว่าตัวเองน่าจะไม่ชอบงานที่ทำอยู่ มันก็คงถึงเวลาที่จะต้องมองหางานใหม่แล้ว หรือถ้าเราอยากใช้เวลาทำอย่างอื่นมากกว่าการประสบความสำเร็จในสายงานของตัวเอง ก็ลองมองหาสิ่งอื่นที่น่าจะสร้างรายได้ให้กับเราได้และเป็นสิ่งที่เราชอบทำด้วย เช่น การทำอาหาร หรือการทำขนมขาย
2. เช็กตัวเองว่าตอนนี้เป็นยังไงบ้าง
ก่อนจะเริ่มมองไปยังอนาคตข้างหน้า ลองเช็กตัวเองในตอนนี้ดูว่าเราเป็นยังไงบ้าง ถ้าตอนนี้รู้สึกไม่มีความสุขกับงานที่ทำ ให้ลองถามตัวเองดูว่าก่อนหน้านี้เราเคยรู้สึกยังไงกับงานนี้ ความรู้สึกของเราเพิ่งมาเปลี่ยนไปหรือจริง ๆ แล้วเราไม่เคยชอบในสิ่งที่ต้องทำเลย เพราะไม่แน่ว่าสิ่งที่เราทำในตอนนี้มันไม่ใช่สิ่งที่เราตรงใจจริง ๆ ทำให้นึกภาพในระยะยาวไม่ออกว่าเราควรเดินไปทางไหนในอนาคต
ที่สำคัญให้ลองถามตัวเองดูว่าจริง ๆ ในตอนนี้เราชอบด้านไหนกันแน่ แล้วทำไมถึงชอบ เพราะสาเหตุที่ชอบอาจกลายเป็นแรงจูงใจที่นำเราไปสู่สายอาชีพอื่น ๆ ที่อาจจะตรงใจเรามากกว่า แค่ว่าก่อนหน้านี้เราไม่เคยหยิบมันมาพิจารณาอย่างจริงจังมาก่อน
3. แน่วแน่เข้าไว้ แม้ใจจะกลัวการเปลี่ยนแปลง
ไม่แน่ว่าการที่เรายังไม่ตั้งเป้าหมายการทำงาน อาจเป็นเพราะว่าเรากลัวการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสำหรับคนกลัวการเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมายอาชีพสามารถทำให้รู้สึกกังวลจนทำอะไรไม่ถูก เช่น กังวลว่าเมื่อขยับขึ้นไปทำงานในตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น หรือทำงานที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง เราจะต้องเหนื่อยขึ้น รับผิดชอบอะไร ๆ มากขึ้น เครียดขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่เป็นไรเลยที่เราจะกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่อย่าลืมว่ายังไงชีวิตของเรายังคงเดินหน้า เพราะฉะนั้นก่อนจะตั้งเป้าหมาย เราอาจจะเริ่มจากการทำความคุ้นเคยกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ก่อนก็ได้
4. จดลิสต์ว่าเราเก่งอะไรบ้าง
การที่เราจะตั้งเป้าหมายทางอาชีพได้ ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าตัวเองเก่งอะไรและไม่เก่งอะไร เส้นทางอนาคตไม่ใช่สิ่งที่มืดมนอยู่แล้วในเมื่อทุก ๆ งานที่เราเคยทำ ทุก ๆ ประสบการณ์ที่มี รวมถึงงานที่กำลังทำในตอนนี้ ต่างก็มอบทักษะให้เรา เช่น เราอาจได้ทักษะการพูดนำเสนอ การต่อรอง หรือแม้แต่ Hard Skills ที่ต้องอาศัยชั่วโมงการฝึกฝนและลงมือทำ
ลองหันมาโฟกัสใน “สิ่งที่เราทำได้ดี” และ “สิ่งที่เราชอบ” (2 สิ่งนี้คือคนละอย่างกัน) บางครั้งสิ่งที่เราทำได้ดีก็อาจไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ และเมื่อทำไปโดยไม่ได้ชอบขนาดนั้น เราเลยไม่ได้รู้สึกว่าอยากจะตั้งเป้าหมายอะไร เพราะฉะนั้นให้ลองเขียนลงกระดาษดูว่าเรา “ชอบทำอะไร” และเรา “เก่งด้านไหน” และดูว่าอาชีพไหนที่พอจะตอบโจทย์หรือใกล้เคียงกับทั้ง 2 อย่างนี้ และสามารถสร้างรายได้ได้ด้วย
ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบหรือถนัดอะไรกันแน่ เราอาจจะลองทำควิซค้นหาอาชีพที่ใช่ดูก็ได้ อย่างน้อยมันจะช่วยทำให้เรามีไอเดียมากขึ้นว่าเรามีทักษะด้านไหน เหมาะกับอาชีพอื่นรึเปล่า หรือจริง ๆ เราอาจจะเหมาะกับอาชีพเดิมที่สุด แค่ว่าเรากำลังอยู่ในจุดที่เบื่อกับชีวิตการทำงานในตอนนี้
5. ค้นหาสิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้นและทุ่มเวลาให้มัน
เมื่อเรารู้สึกเหมือนติดกับ ไปไหนไม่ได้แล้ว เราก็อาจคิดว่าการเปลี่ยนสายงานคงเป็นทางออกเดียว แต่ในความจริงแล้วมันอาจจะยังไม่ต้องไปถึงจุดนั้น เราอาจลองทำให้ชีวิตของเรามีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจมากขึ้นดูก่อน ไม่แน่ว่าการที่ชีวิตของเราไม่มีอะไรน่าดึงดูดใจก็ส่งผลให้เราไม่ได้อยากจะตั้งเป้าหมายอะไรเพิ่มเติม ดังนั้นนอกจากสิ่งที่ทำอยู่เป็นปกติ ลองมองหาสิ่งที่สนใจหรืออยากทำนอกเหนือจากเวลาทำงานประจำดูว่าเราทำอะไรแล้วมีความสุข รู้สึกมีแรง และคุ้มที่จะเหนื่อย และถามตัวเองดูว่าสิ่งที่เราตื่นเต้นจะทำนั้น เราตื่นเต้นกับมันขนาดไหน บางคนชอบดนตรีมาก แต่พอต้องมาเรียนเรื่องทฤษฎีดนตรี ก็พบว่าตัวเองอาจจะชอบมันในแบบงานอดิเรกมากกว่า
อย่าลืมดูตารางชีวิตของตัวเองด้วยว่าเราควรทำอะไรถึงจะตอบโจทย์ 24 ชั่วโมงที่มีในแต่ละวัน ให้เรามีเวลาให้ตัวเอง งานประจำ สิ่งที่อยากทำ และคนที่เรารัก และสำหรับบางคน ชีวิตที่มีเพียงงานประจำอาจไม่ได้ตอบโจทย์ขนาดนั้น บางคนอาจพบว่าสิ่งที่ชอบสามารถกลายเป็นงานฟรีแลนซ์หรืองานเสริมที่รับมาทำเพิ่มนอกเหนือเวลางานได้ เช่น การทำขนม บางคนพบว่าความชอบสามารถกลายเป็นงานอดิเรก งานอาสา หรืออื่น ๆ ได้ นอกจากนี้การมีสิ่งอื่นให้ทำนอกเหนือจากงานประจำยังช่วยให้เราไม่เข้าสู่ภาวะ Burnout แถมยังได้ค่อย ๆ หาคำตอบไปด้วยว่าเราชอบทำอะไรกันแน่
6. ลงเรียนสิ่งที่สนใจ ปลดล็อกทักษะใหม่ ๆ
การเรียนเป็นวิธีการค้นหาและพัฒนาตัวเองที่ดี เราอาจจะได้ค้นพบทักษะใหม่ ๆ และพบเส้นทางอาชีพที่อาจเหมาะกับเรามากกว่าที่เป็นอยู่ โดยสิ่งที่เลือกเรียนควรเกี่ยวข้องกับความสนใจของตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเป็นสายอาชีพที่ได้เงินดี ซึ่งเดี๋ยวนี้มีคอร์สเรียนให้เลือกเยอะมาก ทั้งแบบเรียนที่สถานที่จริง เรียนออนไลน์ หรือเป็นคอร์สอบรม นอกจากจะได้ค้นพบตัวเองแล้ว เรซูเม่ของเราจะมีความน่าสนใจมากขึ้นด้วย
7. ศึกษาและปรึกษาใครสักคนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่สนใจ
เมื่อพบสิ่งที่สนใจหรืองานที่อยากทำในอนาคตแล้ว ลองหาข้อมูลหรืออ่าน Job Descriptions ของประเภทงานที่สนใจดูว่าเราควรมีทักษะอะไรบ้างถึงจะทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ศึกษาลักษณะการทำงานและดูความเหมาะสมกับตัวเราเอง เช่น งานประเภทนี้ต้องทำในห้องแล็บรึเปล่า ไม่ค่อยเจอคนรึเปล่า แล้วปกติเราชอบเจอคนไหม ถ้าทำงานนี้ต้องเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง แน่นอนว่าทุกอาชีพมาพร้อมกับความท้าทาย แต่เราสามารถเลือกรูปแบบความท้าทายที่เราอยากจะเจอได้
ลองทำความรู้จักกับคนที่ทำงานสายอื่นและถามเขาเกี่ยวกับงานนั้น ๆ หรืออาจสมัครเข้าฟังสัมมนาเพื่อหา Insights เกี่ยวกับงานที่สนใจ โดยการที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสายงานอื่นจะช่วยให้เราพบว่าตัวเองมี Transferable Skills หรือทักษะอะไรบ้างที่สามารถเอาไปปรับใช้ในสายงานอื่นได้
เราอาจปรึกษากับ Career Coach เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายและช่วยให้เราเห็นภาพตัวเองบนเส้นทางสายอาชีพใหม่ของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น และยังสามารถขอความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจจากมุมมองของคนที่เราสบายใจที่จะคุยด้วย เช่น คนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท
มันไม่เป็นไรเลยถ้าเรายังไม่มีแผนอาชีพในตอนนี้ แต่มันก็คงจะดีมากถ้าเรารู้ว่าเราอยากให้ชีวิตของเรามุ่งหน้าไปทางไหน สำหรับในตอนนี้ก็ทำเท่าที่ทำได้ไปก่อนและให้เวลาตัวเองค่อย ๆ ค้นหาคำตอบ หรืออาจใช้วิธีทดลองทำจริงในสิ่งที่น่าสนใจและตัดชอยส์ก็ได้ว่าตอนนี้ฉันน่าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร
ไม่รู้ว่าตัวเองชอบงานที่ทำมั้ย ค้นหาตัวเองไม่เจอทำไงดี
1. ถามตัวเองว่า “ทำไมเรายังไม่มีเป้าหมายทางอาชีพ?”
คำถามนี้อาจฟังดูน่ากลัวสักหน่อย แต่ลองนั่งคุยกับตัวเองอย่างเปิดใจดูว่าอะไรรั้งไม่ให้เราตั้งเป้าหมายในอาชีพของตัวเอง มันเป็นเพราะเราไม่มีความสุขกับชีวิตการทำงานรึเปล่า เป็นเพราะพอใจกับชีวิตช่วงนี้รึเปล่า หรือเป็นเพราะเราไม่อยากจะแบกรับอะไรมากไปกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
เมื่อเรารู้สาเหตุแล้ว แนวคิดและทางออกจะตามมาเอง เช่น ถ้าวันนึงค้นพบว่าตัวเองน่าจะไม่ชอบงานที่ทำอยู่ มันก็คงถึงเวลาที่จะต้องมองหางานใหม่แล้ว หรือถ้าเราอยากใช้เวลาทำอย่างอื่นมากกว่าการประสบความสำเร็จในสายงานของตัวเอง ก็ลองมองหาสิ่งอื่นที่น่าจะสร้างรายได้ให้กับเราได้และเป็นสิ่งที่เราชอบทำด้วย เช่น การทำอาหาร หรือการทำขนมขาย
2. เช็กตัวเองว่าตอนนี้เป็นยังไงบ้าง
ก่อนจะเริ่มมองไปยังอนาคตข้างหน้า ลองเช็กตัวเองในตอนนี้ดูว่าเราเป็นยังไงบ้าง ถ้าตอนนี้รู้สึกไม่มีความสุขกับงานที่ทำ ให้ลองถามตัวเองดูว่าก่อนหน้านี้เราเคยรู้สึกยังไงกับงานนี้ ความรู้สึกของเราเพิ่งมาเปลี่ยนไปหรือจริง ๆ แล้วเราไม่เคยชอบในสิ่งที่ต้องทำเลย เพราะไม่แน่ว่าสิ่งที่เราทำในตอนนี้มันไม่ใช่สิ่งที่เราตรงใจจริง ๆ ทำให้นึกภาพในระยะยาวไม่ออกว่าเราควรเดินไปทางไหนในอนาคต
ที่สำคัญให้ลองถามตัวเองดูว่าจริง ๆ ในตอนนี้เราชอบด้านไหนกันแน่ แล้วทำไมถึงชอบ เพราะสาเหตุที่ชอบอาจกลายเป็นแรงจูงใจที่นำเราไปสู่สายอาชีพอื่น ๆ ที่อาจจะตรงใจเรามากกว่า แค่ว่าก่อนหน้านี้เราไม่เคยหยิบมันมาพิจารณาอย่างจริงจังมาก่อน
3. แน่วแน่เข้าไว้ แม้ใจจะกลัวการเปลี่ยนแปลง
ไม่แน่ว่าการที่เรายังไม่ตั้งเป้าหมายการทำงาน อาจเป็นเพราะว่าเรากลัวการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสำหรับคนกลัวการเปลี่ยนแปลง การตั้งเป้าหมายอาชีพสามารถทำให้รู้สึกกังวลจนทำอะไรไม่ถูก เช่น กังวลว่าเมื่อขยับขึ้นไปทำงานในตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น หรือทำงานที่แตกต่างจากเดิมโดยสิ้นเชิง เราจะต้องเหนื่อยขึ้น รับผิดชอบอะไร ๆ มากขึ้น เครียดขึ้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่เป็นไรเลยที่เราจะกลัวการเปลี่ยนแปลง แต่อย่าลืมว่ายังไงชีวิตของเรายังคงเดินหน้า เพราะฉะนั้นก่อนจะตั้งเป้าหมาย เราอาจจะเริ่มจากการทำความคุ้นเคยกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ก่อนก็ได้
4. จดลิสต์ว่าเราเก่งอะไรบ้าง
การที่เราจะตั้งเป้าหมายทางอาชีพได้ ก่อนอื่นเราต้องรู้ว่าตัวเองเก่งอะไรและไม่เก่งอะไร เส้นทางอนาคตไม่ใช่สิ่งที่มืดมนอยู่แล้วในเมื่อทุก ๆ งานที่เราเคยทำ ทุก ๆ ประสบการณ์ที่มี รวมถึงงานที่กำลังทำในตอนนี้ ต่างก็มอบทักษะให้เรา เช่น เราอาจได้ทักษะการพูดนำเสนอ การต่อรอง หรือแม้แต่ Hard Skills ที่ต้องอาศัยชั่วโมงการฝึกฝนและลงมือทำ
ลองหันมาโฟกัสใน “สิ่งที่เราทำได้ดี” และ “สิ่งที่เราชอบ” (2 สิ่งนี้คือคนละอย่างกัน) บางครั้งสิ่งที่เราทำได้ดีก็อาจไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ และเมื่อทำไปโดยไม่ได้ชอบขนาดนั้น เราเลยไม่ได้รู้สึกว่าอยากจะตั้งเป้าหมายอะไร เพราะฉะนั้นให้ลองเขียนลงกระดาษดูว่าเรา “ชอบทำอะไร” และเรา “เก่งด้านไหน” และดูว่าอาชีพไหนที่พอจะตอบโจทย์หรือใกล้เคียงกับทั้ง 2 อย่างนี้ และสามารถสร้างรายได้ได้ด้วย
ถ้าเรายังไม่แน่ใจว่าตัวเองชอบหรือถนัดอะไรกันแน่ เราอาจจะลองทำควิซค้นหาอาชีพที่ใช่ดูก็ได้ อย่างน้อยมันจะช่วยทำให้เรามีไอเดียมากขึ้นว่าเรามีทักษะด้านไหน เหมาะกับอาชีพอื่นรึเปล่า หรือจริง ๆ เราอาจจะเหมาะกับอาชีพเดิมที่สุด แค่ว่าเรากำลังอยู่ในจุดที่เบื่อกับชีวิตการทำงานในตอนนี้
5. ค้นหาสิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้นและทุ่มเวลาให้มัน
เมื่อเรารู้สึกเหมือนติดกับ ไปไหนไม่ได้แล้ว เราก็อาจคิดว่าการเปลี่ยนสายงานคงเป็นทางออกเดียว แต่ในความจริงแล้วมันอาจจะยังไม่ต้องไปถึงจุดนั้น เราอาจลองทำให้ชีวิตของเรามีเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจมากขึ้นดูก่อน ไม่แน่ว่าการที่ชีวิตของเราไม่มีอะไรน่าดึงดูดใจก็ส่งผลให้เราไม่ได้อยากจะตั้งเป้าหมายอะไรเพิ่มเติม ดังนั้นนอกจากสิ่งที่ทำอยู่เป็นปกติ ลองมองหาสิ่งที่สนใจหรืออยากทำนอกเหนือจากเวลาทำงานประจำดูว่าเราทำอะไรแล้วมีความสุข รู้สึกมีแรง และคุ้มที่จะเหนื่อย และถามตัวเองดูว่าสิ่งที่เราตื่นเต้นจะทำนั้น เราตื่นเต้นกับมันขนาดไหน บางคนชอบดนตรีมาก แต่พอต้องมาเรียนเรื่องทฤษฎีดนตรี ก็พบว่าตัวเองอาจจะชอบมันในแบบงานอดิเรกมากกว่า
อย่าลืมดูตารางชีวิตของตัวเองด้วยว่าเราควรทำอะไรถึงจะตอบโจทย์ 24 ชั่วโมงที่มีในแต่ละวัน ให้เรามีเวลาให้ตัวเอง งานประจำ สิ่งที่อยากทำ และคนที่เรารัก และสำหรับบางคน ชีวิตที่มีเพียงงานประจำอาจไม่ได้ตอบโจทย์ขนาดนั้น บางคนอาจพบว่าสิ่งที่ชอบสามารถกลายเป็นงานฟรีแลนซ์หรืองานเสริมที่รับมาทำเพิ่มนอกเหนือเวลางานได้ เช่น การทำขนม บางคนพบว่าความชอบสามารถกลายเป็นงานอดิเรก งานอาสา หรืออื่น ๆ ได้ นอกจากนี้การมีสิ่งอื่นให้ทำนอกเหนือจากงานประจำยังช่วยให้เราไม่เข้าสู่ภาวะ Burnout แถมยังได้ค่อย ๆ หาคำตอบไปด้วยว่าเราชอบทำอะไรกันแน่
6. ลงเรียนสิ่งที่สนใจ ปลดล็อกทักษะใหม่ ๆ
การเรียนเป็นวิธีการค้นหาและพัฒนาตัวเองที่ดี เราอาจจะได้ค้นพบทักษะใหม่ ๆ และพบเส้นทางอาชีพที่อาจเหมาะกับเรามากกว่าที่เป็นอยู่ โดยสิ่งที่เลือกเรียนควรเกี่ยวข้องกับความสนใจของตัวเอง ไม่ใช่เพียงแค่เพราะเป็นสายอาชีพที่ได้เงินดี ซึ่งเดี๋ยวนี้มีคอร์สเรียนให้เลือกเยอะมาก ทั้งแบบเรียนที่สถานที่จริง เรียนออนไลน์ หรือเป็นคอร์สอบรม นอกจากจะได้ค้นพบตัวเองแล้ว เรซูเม่ของเราจะมีความน่าสนใจมากขึ้นด้วย
7. ศึกษาและปรึกษาใครสักคนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับงานที่สนใจ
เมื่อพบสิ่งที่สนใจหรืองานที่อยากทำในอนาคตแล้ว ลองหาข้อมูลหรืออ่าน Job Descriptions ของประเภทงานที่สนใจดูว่าเราควรมีทักษะอะไรบ้างถึงจะทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ศึกษาลักษณะการทำงานและดูความเหมาะสมกับตัวเราเอง เช่น งานประเภทนี้ต้องทำในห้องแล็บรึเปล่า ไม่ค่อยเจอคนรึเปล่า แล้วปกติเราชอบเจอคนไหม ถ้าทำงานนี้ต้องเจอกับความท้าทายอะไรบ้าง แน่นอนว่าทุกอาชีพมาพร้อมกับความท้าทาย แต่เราสามารถเลือกรูปแบบความท้าทายที่เราอยากจะเจอได้
ลองทำความรู้จักกับคนที่ทำงานสายอื่นและถามเขาเกี่ยวกับงานนั้น ๆ หรืออาจสมัครเข้าฟังสัมมนาเพื่อหา Insights เกี่ยวกับงานที่สนใจ โดยการที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสายงานอื่นจะช่วยให้เราพบว่าตัวเองมี Transferable Skills หรือทักษะอะไรบ้างที่สามารถเอาไปปรับใช้ในสายงานอื่นได้
เราอาจปรึกษากับ Career Coach เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายและช่วยให้เราเห็นภาพตัวเองบนเส้นทางสายอาชีพใหม่ของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น และยังสามารถขอความคิดเห็นประกอบการตัดสินใจจากมุมมองของคนที่เราสบายใจที่จะคุยด้วย เช่น คนในครอบครัวหรือเพื่อนสนิท
มันไม่เป็นไรเลยถ้าเรายังไม่มีแผนอาชีพในตอนนี้ แต่มันก็คงจะดีมากถ้าเรารู้ว่าเราอยากให้ชีวิตของเรามุ่งหน้าไปทางไหน สำหรับในตอนนี้ก็ทำเท่าที่ทำได้ไปก่อนและให้เวลาตัวเองค่อย ๆ ค้นหาคำตอบ หรืออาจใช้วิธีทดลองทำจริงในสิ่งที่น่าสนใจและตัดชอยส์ก็ได้ว่าตอนนี้ฉันน่าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร