พิธา ร่วมงานวันเด็กมิวเซียมสยาม ชี้งบหนุนความฝัน สำคัญกว่าคำขวัญ นักการเมืองต้องมีจิตสาธารณะ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4373618
‘พิธา’ ร่วมกิจกรรมวันเด็กมิวเซียมสยาม ชี้งบสนับสนุนความฝัน สำคัญกว่าการให้คำขวัญ แนะ หากอยากเป็นนักการเมืองต้องมีจิตสาธารณะ
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่มิวเซียมสยาม นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นาย
ปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล และนาย
ฆนัท นาคถนอมทรัพย์ ผู้อำนวยการปีกวัฒนธรรม พรรคก้าวไกล เข้าร่วมกิจกรรมวันเด็ก ณ มิวเซียมสยาม
ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม พิธาได้เข้าชมนิทรรศการที่ทางมิวเซียมสยามจัดขึ้น อย่าง Play Give ที่เน้นด้านการแบ่งปันให้ของเล่นกับเด็กทุกคน และกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อให้เด็กๆ ติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่ตนปลูก พร้อมทั้งร่วมรับฟังการละเล่นดนตรีของนักเรียนที่แสดงในงานอีกด้วย
โดยนาย
พิธา กล่าวว่า ตนไม่มีคำอวยพรวันเด็กแห่งชาติ หรือขวัญใดๆ นอกจากคำมั่นสัญญาว่า อยากจะให้ทุกวันเป็นวันเด็ก ไม่ใช่แค่วันใดวันหนึ่งที่เรามาพบปะกันที่เราเล่นกันเล็กน้อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้คือการมีพื้นที่แบบภายในงานนี้ แบบที่ทุกหน่วยงานจัดขึ้นในวันเด็ก เพื่อให้เด็กๆ ให้เด็กๆ มีพื้นที่ในแสดงออกการเป็นตัวของตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องประนีประนอม
นาย
พิธา กล่าวว่า งบประมาณเพื่อสนับสนุนความฝัน ความคิด และความเชื่อของเด็กๆ นั้นสำคัญกว่าการให้คำขวัญ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
จะได้มีส่วนร่วมพัฒนารากฐานของเด็กๆ ทุกคนให้มีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากร ไม่ใช่เพียงแค่ระบบการศึกษา แต่ยังหมายรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมด้วย
นาย
พิธา กล่าวว่า ในฐานะคุณพ่อและนักการเมือง ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงและการให้ความสำคัญกับอนาคตของชาติ ว่าการเรียนในโรงเรียนควรปรับรูปแบบให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ควรเน้นกิจกรรมนอกโรงเรียน มากกว่าการนั่งเรียนในชั้นเรียน และเน้นการเรียนรู้ ให้มากกว่าระบบการศึกษา และอยากเห็นการส่งเสริมให้เด็กๆ หาประสบการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย มากกว่าการเรียนแบบดั้งเดิมที่เน้นการท่องจำซ้ำๆ การเข้าเดินในพิพิธภัณฑ์มากกว่าเดินห้างสรรพสินค้า การเพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิการเพื่อให้ผู้ปกครองมีเวลากับบุตรหลานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการพูดคุยเข้าใจกันร่วมกันตั้งคำถาม แทนที่จะเป็นการออกคำสั่ง แม้แต่มุมมองในบริบทของผู้ใหญ่หรือนักการเมืองที่ควรให้สำคัญกับการแนะนำ มากกว่าการออกคำสั่ง
เมื่อถามว่าหากมีเด็กอยากโตเป็นนักการเมือง จะมีคำแนะนำอย่างไร นายพิธากล่าวว่า อันดับหนึ่งต้องเข้าใจตนเองว่าทำไมอยากเป็นนักการเมือง จะเป็นนักการเมืองไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่ต้องมีจิตสาธารณะที่สนใจสิ่งรอบข้าง ตนขอเป็นกำลังใจ อยากให้มีคนรุ่นใหม่ คนที่มีกำลัง เข้าสู่การเมืองเยอะๆ
“
ทุกวันเป็นวันเด็ก คำอวยพรคงไม่มี แต่คงเป็นคำมั่นสัญญาว่าอยากให้ทุกวันเป็นวันเด็ก สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ควรจะเกิดขึ้นในทุกวัน นั่นคือควรมีสวัสดิการ ควรมีพื้นที่แบบนี้ให้เด็ก ให้ทุกวันเป็นวันของเด็กได้จริงๆ” นาย
พิธากล่าว
ไม่เคยเที่ยววันเด็ก หนุ่มกตัญญู รับจ้างแบกข้าวสารวันละ 200 หาเลี้ยง 4 ชีวิต
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8049726
ไม่เคยเที่ยววันเด็ก หนุ่มกตัญญู รับจ้างแบกข้าวสารวันละ 200 หาเลี้ยง 4 ชีวิต เผยทั้งย่า-ลุง ป่วยพิการ เป็นอัมพาตครึ่งซีก วันไหนไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน
เมื่อวันที่ 13 ม.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567 พ่อแม่ผู้ปกครองจะนำลูกหลานไปเที่ยวและหรือทำกิจกรรมวันเด็ก ตามสถานที่ต่างๆ แตกต่างจากหนุ่มน้อยรายหนึ่ง ที่ไม่เคยได้เที่ยววันเด็ก และไม่มีเวลาไปเที่ยวเล่นเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ
เด็กหนุ่มรายนี้ชื่อ นาย
ปกป้อง วงรักษา วัย 15 ปี ชาวบ้านห้วยเตยพัฒนา ต.สระตะเคียน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา แต่ละวันต้องไปทำงานรับจ้างยกกระสอบข้าวที่โรงสีของหมู่บ้านในช่วงเช้าทุกวัน เพราะเป็นอาชีพเดียวที่จะหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวที่มีอยู่รวม 6 ชีวิต ซึ่งคนในครอบครัวมีแค่ 2 คน ที่ร่างกายแข็งแรงปกติ ก็คือน้องชาย และพี่ชายที่ต้องออกไปตระเวนหารับจ้างทำงานนอกพื้นที่
ส่วนที่เหลืออีก 4 คน คือ ย่า วัย 80 กว่าปี ป่วยเป็นอัมพาตติดเตียงมานานนับ 10 ปีแล้ว นอกจากนี้ ยังมีลุงที่ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่ดูแลยาย แต่มาป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีก เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ต้องให้ลุงอีกคนที่เคยออกรับจ้างทำงานต่างพื้นที่ ต้องกลับมาคอยดูแลป้อนข้าวป้อนน้ำคนป่วยทั้ง 2 คน และตอนนี้ก็เริ่มมีปัญหาแขนขวาอ่อนแรง
ส่วนที่เหลืออีกคนคือพ่อของน้องปกป้องที่ก็มีอาการป่วยทางสมองและผิดปกติทางสายตา แม้จะพอช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็ไม่สามารถทำงานหนักหาเงินมาช่วยครอบครัวได้ ทำให้ทั้งหมด 4 ชีวิต ต้องพึ่งเสาหลักอย่างน้องปกป้องเพียงคนเดียว
นาย
ปกป้อง กล่าวว่า ทุกวันนี้ตัวเองต้องออกไปทำงานรับจ้างแบกข้าวสาร ตระเวนส่งให้กับลูกค้าตั้งแต่เช้ามืดจนถึงช่วงสาย ได้ค่าแรงวันละ 200 บาท และเป็นงานเพียงอย่างเดียวที่มีให้ทำ เพราะเถ้าแก่เมตตา อีกทั้งตัวเองเรียนไม่จบป.6 เพราะไม่มีใครหาเลี้ยงย่ากับพ่อที่พิการ
เดิมทีก่อนหน้านี้ เถ้าแก่โรงสีฝากให้ไปซ้อมมวยและขึ้นชก เพื่อหารายได้เพิ่ม แต่ก็ต้องเลิกไป เพราะลุงที่คอยช่วยดูแลย่าและพ่อต้องมาป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกไปอีกคน ทำให้ตัวเองต้องมาคอยดูแลทั้ง 2 คนแทน จนไม่มีเวลาฝึกซ้อม
แม้ว่าตอนนี้ลุงอีกคนจะกลับมาดูแลย่าและลุงแทนแล้ว แต่ด้วยการที่หยุดซ้อมมวยมานาน ทำให้สภาพร่างกายไม่ได้เหมือนเดิม ตอนนี้เหลือเพียงแค่งานรับจ้างแบกข้าวสารแต่ก็ไม่ได้มีทุกวัน วันไหนไม่มีงาน ก็ไม่มีเงินมาให้ครอบครัว ทำให้ตัวเองไม่มีเวลาเที่ยวเล่นเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ
“
หากถามว่าอยากเที่ยววันเด็กและอยากได้ของขวัญอะไร ก็ต้องบอกว่า อยากเที่ยว แต่ไม่มีโอกาส และไม่มีเวลาได้ไปเที่ยวเล่นสนุกสนานแบบนั้น เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ แต่ของขวัญที่อยากได้ ก็คืออยากให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ เพราะทุกวันนี้ลำบากมาก ตัวเองพอมีความรู้เรื่องการซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่บ้าง หากมีโอกาสก็อยากจะเปิดร้านซ่อมรถ เพื่อที่จะได้มีเงินเลี้ยงครอบครัวและจะได้ดูแลครอบครัวไปด้วย” นาย
ปกป้อง กล่าว
ด้านนาย
จิระศักดิ์ จุลกระโทก อายุ 47 ปี เถ้าแก่โรงสีที่รับน้องปกป้องเข้าทำงาน บอกว่า รับน้องปกป้องเข้ามาทำงานตั้งแต่อยู่ชั้น ป.5 เนื่องจากเห็นว่า เป็นคนที่แข็งแรงและต้องการเงินไปดูแลครอบครัว โดยให้ช่วยแบกข้าวส่งให้กับลูกค้า
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา น้องเป็นคนขยันขันแข็ง กตัญญูหาเงินเลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก ก็อยากให้น้องให้เรียนต่อ หรือมีอาชีพที่มั่นคง ดูแลครอบครัวได้ดีกว่านี้ หากเป็นไปได้อยากให้ความฝันน้อง ที่อยากจะเปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์เป็นจริงเสียที
EIC เปิดผลสำรวจครัวเรือน คนรายได้ต่ำกว่า1.5หมื่น เกินครึ่ง ‘ค้างชำระหนี้’
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1108080
EIC เปิดผลสำรวจครัวเรือน พบ กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายสูงสุดถึง 73% และเกินครึ่งหนึ่งประสบปัญหาค้างชำระหนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากทั้งรายได้ลดลงมากและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ขอนำส่งบทวิเคราะห์ เรื่อง เมื่อคนไทย (ส่วนใหญ่) ยังไม่พร้อม…การเตรียมความพร้อมจึงจำเป็น โดยผู้เขียนบทวิเคราะห์ นาย
ณฐพงศ์ ตันติจิรานนท์ นักเศรษฐศาสตร์ ,ดร.
ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ,ดร.
ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน
โดยบทความฉบับนี้ ระบุว่า ....กิจกรรมเศรษฐกิจไทยเพิ่งกลับไปแตะระดับก่อนโควิดเมื่อสิ้นปี 2566 นับว่าไทยเป็นประเทศที่ฟื้นจากวิกฤตโควิดช้าติดกลุ่มรั้งท้ายในโลก มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตช้าตามระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทยที่ลดต่ำลงหลังโควิด สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมา
โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเร่งสูงขึ้นมากตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด ติดอันดับ 1 ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และติดอันดับ 7 ของโลก (ข้อมูลธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ณ ไตรมาส 2 ปี 2566) สาเหตุหลักเกิดจากความไม่พร้อมด้านรายได้ของคนไทยที่ฟื้นช้าและไม่ทั่วถึง (K-Shape recovery) คนกลุ่มบนจำนวนน้อยรายได้ฟื้นเร็วและโตดี
ในขณะที่คนกลุ่มล่างจำนวนมากยังฟื้นช้า โตต่ำ และกำลังเผชิญปัญหาทางการเงินในทุกมิติ ทั้งด้านรายได้ รายจ่าย ภาระหนี้ และเงินออม โดยกลุ่มครัวเรือนที่รายได้ฟื้นช้าไม่พอรายจ่าย ส่วนใหญ่ทำงานในภาคการผลิตมูลค่าไม่สูง คือ ภาคเกษตร (50%) และภาคบริการ (30%) มีหัวหน้าครัวเรือนอายุมากคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% และเรียนจบต่ำกว่าชั้นมัธยมคิดเป็นสัดส่วนถึง 75%
ความไม่พร้อมด้านรายได้ของคนไทยเกิดขึ้นในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย
ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ สาเหตุหลักของความไม่พร้อมด้านรายได้ของคนไทยมาจากผลิตภาพแรงงานที่ปรับลดลงเกือบทุกสาขาการผลิตและยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด โดยแรงงานภาคเกษตรมีผลิตภาพต่ำสุด
นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานนอกระบบของไทยยังสูงมากถึง 51% (ปี 2565) ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตร ภาคบริการและการค้า ซึ่งมีผลิตภาพไม่สูง
SCB EIC ประเมินกลุ่มคนรายได้น้อยจะเผชิญปัญหาด้านการเงินอีกนาน โดยจากผลสำรวจ SCB EIC Consumer survey 2566 (สำรวจ ณ 20 ต.ค. - 3 พ.ย 2566 จำนวนตัวอย่าง 2,189 คน)พบว่า
1. กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยยังมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่มาก และมีแนวโน้มเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายสูงสุดถึง 73% และส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้ราว 70% มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต อีกทั้ง แนวโน้มข้างหน้ามีความจำเป็นต้องกู้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะพึ่งพาเงินกู้นอกระบบมากขึ้น และการกู้ไปชำระหนี้กลายเป็นวัตถุประสงค์หลักของการกู้เงิน
2. กลุ่มคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนกว่าครึ่งหนึ่งประสบปัญหาค้างชำระหนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากทั้งรายได้ลดลงมากและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าคนกลุ่มอื่น ส่งผลให้กันชนทางการเงินของกลุ่มคนรายได้น้อยลดลงมากตามการออมที่ลดลงตั้งแต่เกิดโควิด โดยราว 70% ของคนกลุ่มนี้ไม่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หรือสามารถอยู่ได้ไม่เกิน 1-3 เดือนหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นทำให้ขาดรายได้ (เช่น เจ็บป่วย ออกจากงาน) สะท้อนความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนในการรองรับปัจจัยไม่คาดคิดในอนาคต
3. พฤติกรรมการชำระหนี้ของกลุ่มคนรายได้น้อยไม่ค่อยดีนัก โดยกว่าครึ่งมีพฤติกรรมการจ่ายชำระหนี้แค่ขั้นต่ำ หรือจ่ายหนี้ไม่เต็มจำนวน หรือผิดนัดชำระหนี้เป็นบางครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มคนรายได้น้อยยังมองว่าสถานการณ์หนี้สินของตนมีแนวโน้มปรับแย่ลงมากกว่าปรับดีขึ้นในช่วง 1 ปีข้างหน้า
SCB EIC ประเมินว่ากลุ่มครัวเรือนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนจะยังมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายนานกว่า 3 ปี โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ไม่ถึง 7,000 บาทต่อเดือนที่จะเผชิญปัญหานี้ต่อเนื่องนานยิ่งกว่านั้น เป็นสัญญาณว่ากลุ่มครัวเรือนระดับล่างยังเปราะบางและมีแนวโน้มจะเป็นหนี้อีกนาน ส่งสัญญาณว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนยังน่ากังวลในอนาคต
นโยบายเตรียมความพร้อมจึงจำเป็นต่อการฟื้นตัวด้านรายได้ของคนไทยและเศรษฐกิจไทยได้อย่างทั่วถึง SCB EIC มองหากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตสูงขึ้นได้อย่างยั่งยืน และมีระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่กลับมาสูงขึ้นได้อีกครั้ง จำเป็นต้องอาศัยชุดนโยบายระยะสั้นเพื่อช่วยกลุ่มคนเปราะบางที่ยังไม่ฟื้นตัว ควบคู่กับชุดนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้คนไทยและป้องก
JJNY : พิธาชี้งบหนุนความฝัน│หนุ่มกตัญญูหาเลี้ยง 4 ชีวิต│คนรายได้ต่ำเกินครึ่ง ‘ค้างชำระหนี้’│ไต้หวันจับคนพัวพันแทรกแซงลต.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4373618
‘พิธา’ ร่วมกิจกรรมวันเด็กมิวเซียมสยาม ชี้งบสนับสนุนความฝัน สำคัญกว่าการให้คำขวัญ แนะ หากอยากเป็นนักการเมืองต้องมีจิตสาธารณะ
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่มิวเซียมสยาม นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย นายปารเมศ วิทยารักษ์สรรค์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล และนายฆนัท นาคถนอมทรัพย์ ผู้อำนวยการปีกวัฒนธรรม พรรคก้าวไกล เข้าร่วมกิจกรรมวันเด็ก ณ มิวเซียมสยาม
ระหว่างเข้าร่วมกิจกรรม พิธาได้เข้าชมนิทรรศการที่ทางมิวเซียมสยามจัดขึ้น อย่าง Play Give ที่เน้นด้านการแบ่งปันให้ของเล่นกับเด็กทุกคน และกิจกรรมปลูกต้นไม้เพื่อให้เด็กๆ ติดตามการเติบโตของต้นไม้ที่ตนปลูก พร้อมทั้งร่วมรับฟังการละเล่นดนตรีของนักเรียนที่แสดงในงานอีกด้วย
โดยนายพิธา กล่าวว่า ตนไม่มีคำอวยพรวันเด็กแห่งชาติ หรือขวัญใดๆ นอกจากคำมั่นสัญญาว่า อยากจะให้ทุกวันเป็นวันเด็ก ไม่ใช่แค่วันใดวันหนึ่งที่เรามาพบปะกันที่เราเล่นกันเล็กน้อย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันนี้คือการมีพื้นที่แบบภายในงานนี้ แบบที่ทุกหน่วยงานจัดขึ้นในวันเด็ก เพื่อให้เด็กๆ ให้เด็กๆ มีพื้นที่ในแสดงออกการเป็นตัวของตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องประนีประนอม
นายพิธา กล่าวว่า งบประมาณเพื่อสนับสนุนความฝัน ความคิด และความเชื่อของเด็กๆ นั้นสำคัญกว่าการให้คำขวัญ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
จะได้มีส่วนร่วมพัฒนารากฐานของเด็กๆ ทุกคนให้มีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงทรัพยากร ไม่ใช่เพียงแค่ระบบการศึกษา แต่ยังหมายรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมด้วย
นายพิธา กล่าวว่า ในฐานะคุณพ่อและนักการเมือง ที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงและการให้ความสำคัญกับอนาคตของชาติ ว่าการเรียนในโรงเรียนควรปรับรูปแบบให้เข้ากับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ควรเน้นกิจกรรมนอกโรงเรียน มากกว่าการนั่งเรียนในชั้นเรียน และเน้นการเรียนรู้ ให้มากกว่าระบบการศึกษา และอยากเห็นการส่งเสริมให้เด็กๆ หาประสบการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย มากกว่าการเรียนแบบดั้งเดิมที่เน้นการท่องจำซ้ำๆ การเข้าเดินในพิพิธภัณฑ์มากกว่าเดินห้างสรรพสินค้า การเพิ่มงบประมาณด้านสวัสดิการเพื่อให้ผู้ปกครองมีเวลากับบุตรหลานมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการพูดคุยเข้าใจกันร่วมกันตั้งคำถาม แทนที่จะเป็นการออกคำสั่ง แม้แต่มุมมองในบริบทของผู้ใหญ่หรือนักการเมืองที่ควรให้สำคัญกับการแนะนำ มากกว่าการออกคำสั่ง
เมื่อถามว่าหากมีเด็กอยากโตเป็นนักการเมือง จะมีคำแนะนำอย่างไร นายพิธากล่าวว่า อันดับหนึ่งต้องเข้าใจตนเองว่าทำไมอยากเป็นนักการเมือง จะเป็นนักการเมืองไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่ต้องมีจิตสาธารณะที่สนใจสิ่งรอบข้าง ตนขอเป็นกำลังใจ อยากให้มีคนรุ่นใหม่ คนที่มีกำลัง เข้าสู่การเมืองเยอะๆ
“ทุกวันเป็นวันเด็ก คำอวยพรคงไม่มี แต่คงเป็นคำมั่นสัญญาว่าอยากให้ทุกวันเป็นวันเด็ก สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ควรจะเกิดขึ้นในทุกวัน นั่นคือควรมีสวัสดิการ ควรมีพื้นที่แบบนี้ให้เด็ก ให้ทุกวันเป็นวันของเด็กได้จริงๆ” นายพิธากล่าว
ไม่เคยเที่ยววันเด็ก หนุ่มกตัญญู รับจ้างแบกข้าวสารวันละ 200 หาเลี้ยง 4 ชีวิต
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8049726
ไม่เคยเที่ยววันเด็ก หนุ่มกตัญญู รับจ้างแบกข้าวสารวันละ 200 หาเลี้ยง 4 ชีวิต เผยทั้งย่า-ลุง ป่วยพิการ เป็นอัมพาตครึ่งซีก วันไหนไม่มีงาน ก็ไม่มีเงิน
เมื่อวันที่ 13 ม.ค.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567 พ่อแม่ผู้ปกครองจะนำลูกหลานไปเที่ยวและหรือทำกิจกรรมวันเด็ก ตามสถานที่ต่างๆ แตกต่างจากหนุ่มน้อยรายหนึ่ง ที่ไม่เคยได้เที่ยววันเด็ก และไม่มีเวลาไปเที่ยวเล่นเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ
เด็กหนุ่มรายนี้ชื่อ นายปกป้อง วงรักษา วัย 15 ปี ชาวบ้านห้วยเตยพัฒนา ต.สระตะเคียน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา แต่ละวันต้องไปทำงานรับจ้างยกกระสอบข้าวที่โรงสีของหมู่บ้านในช่วงเช้าทุกวัน เพราะเป็นอาชีพเดียวที่จะหารายได้มาเลี้ยงครอบครัวที่มีอยู่รวม 6 ชีวิต ซึ่งคนในครอบครัวมีแค่ 2 คน ที่ร่างกายแข็งแรงปกติ ก็คือน้องชาย และพี่ชายที่ต้องออกไปตระเวนหารับจ้างทำงานนอกพื้นที่
ส่วนที่เหลืออีก 4 คน คือ ย่า วัย 80 กว่าปี ป่วยเป็นอัมพาตติดเตียงมานานนับ 10 ปีแล้ว นอกจากนี้ ยังมีลุงที่ก่อนหน้านี้ทำหน้าที่ดูแลยาย แต่มาป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีก เมื่อไม่กี่เดือนมานี้ ต้องให้ลุงอีกคนที่เคยออกรับจ้างทำงานต่างพื้นที่ ต้องกลับมาคอยดูแลป้อนข้าวป้อนน้ำคนป่วยทั้ง 2 คน และตอนนี้ก็เริ่มมีปัญหาแขนขวาอ่อนแรง
ส่วนที่เหลืออีกคนคือพ่อของน้องปกป้องที่ก็มีอาการป่วยทางสมองและผิดปกติทางสายตา แม้จะพอช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ก็ไม่สามารถทำงานหนักหาเงินมาช่วยครอบครัวได้ ทำให้ทั้งหมด 4 ชีวิต ต้องพึ่งเสาหลักอย่างน้องปกป้องเพียงคนเดียว
นายปกป้อง กล่าวว่า ทุกวันนี้ตัวเองต้องออกไปทำงานรับจ้างแบกข้าวสาร ตระเวนส่งให้กับลูกค้าตั้งแต่เช้ามืดจนถึงช่วงสาย ได้ค่าแรงวันละ 200 บาท และเป็นงานเพียงอย่างเดียวที่มีให้ทำ เพราะเถ้าแก่เมตตา อีกทั้งตัวเองเรียนไม่จบป.6 เพราะไม่มีใครหาเลี้ยงย่ากับพ่อที่พิการ
เดิมทีก่อนหน้านี้ เถ้าแก่โรงสีฝากให้ไปซ้อมมวยและขึ้นชก เพื่อหารายได้เพิ่ม แต่ก็ต้องเลิกไป เพราะลุงที่คอยช่วยดูแลย่าและพ่อต้องมาป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกไปอีกคน ทำให้ตัวเองต้องมาคอยดูแลทั้ง 2 คนแทน จนไม่มีเวลาฝึกซ้อม
แม้ว่าตอนนี้ลุงอีกคนจะกลับมาดูแลย่าและลุงแทนแล้ว แต่ด้วยการที่หยุดซ้อมมวยมานาน ทำให้สภาพร่างกายไม่ได้เหมือนเดิม ตอนนี้เหลือเพียงแค่งานรับจ้างแบกข้าวสารแต่ก็ไม่ได้มีทุกวัน วันไหนไม่มีงาน ก็ไม่มีเงินมาให้ครอบครัว ทำให้ตัวเองไม่มีเวลาเที่ยวเล่นเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ
“หากถามว่าอยากเที่ยววันเด็กและอยากได้ของขวัญอะไร ก็ต้องบอกว่า อยากเที่ยว แต่ไม่มีโอกาส และไม่มีเวลาได้ไปเที่ยวเล่นสนุกสนานแบบนั้น เหมือนกับเด็กคนอื่นๆ แต่ของขวัญที่อยากได้ ก็คืออยากให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่านี้ เพราะทุกวันนี้ลำบากมาก ตัวเองพอมีความรู้เรื่องการซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่บ้าง หากมีโอกาสก็อยากจะเปิดร้านซ่อมรถ เพื่อที่จะได้มีเงินเลี้ยงครอบครัวและจะได้ดูแลครอบครัวไปด้วย” นายปกป้อง กล่าว
ด้านนายจิระศักดิ์ จุลกระโทก อายุ 47 ปี เถ้าแก่โรงสีที่รับน้องปกป้องเข้าทำงาน บอกว่า รับน้องปกป้องเข้ามาทำงานตั้งแต่อยู่ชั้น ป.5 เนื่องจากเห็นว่า เป็นคนที่แข็งแรงและต้องการเงินไปดูแลครอบครัว โดยให้ช่วยแบกข้าวส่งให้กับลูกค้า
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา น้องเป็นคนขยันขันแข็ง กตัญญูหาเงินเลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่เด็ก ก็อยากให้น้องให้เรียนต่อ หรือมีอาชีพที่มั่นคง ดูแลครอบครัวได้ดีกว่านี้ หากเป็นไปได้อยากให้ความฝันน้อง ที่อยากจะเปิดร้านซ่อมรถจักรยานยนต์เป็นจริงเสียที
EIC เปิดผลสำรวจครัวเรือน คนรายได้ต่ำกว่า1.5หมื่น เกินครึ่ง ‘ค้างชำระหนี้’
https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1108080
EIC เปิดผลสำรวจครัวเรือน พบ กลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายสูงสุดถึง 73% และเกินครึ่งหนึ่งประสบปัญหาค้างชำระหนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากทั้งรายได้ลดลงมากและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น
ล่าสุด ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ขอนำส่งบทวิเคราะห์ เรื่อง เมื่อคนไทย (ส่วนใหญ่) ยังไม่พร้อม…การเตรียมความพร้อมจึงจำเป็น โดยผู้เขียนบทวิเคราะห์ นายณฐพงศ์ ตันติจิรานนท์ นักเศรษฐศาสตร์ ,ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ,ดร.ฐิติมา ชูเชิด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดการเงิน
โดยบทความฉบับนี้ ระบุว่า ....กิจกรรมเศรษฐกิจไทยเพิ่งกลับไปแตะระดับก่อนโควิดเมื่อสิ้นปี 2566 นับว่าไทยเป็นประเทศที่ฟื้นจากวิกฤตโควิดช้าติดกลุ่มรั้งท้ายในโลก มองไปข้างหน้าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตช้าตามระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทยที่ลดต่ำลงหลังโควิด สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมา
โดยเฉพาะปัญหาหนี้ครัวเรือน สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเร่งสูงขึ้นมากตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด ติดอันดับ 1 ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และติดอันดับ 7 ของโลก (ข้อมูลธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ ณ ไตรมาส 2 ปี 2566) สาเหตุหลักเกิดจากความไม่พร้อมด้านรายได้ของคนไทยที่ฟื้นช้าและไม่ทั่วถึง (K-Shape recovery) คนกลุ่มบนจำนวนน้อยรายได้ฟื้นเร็วและโตดี
ในขณะที่คนกลุ่มล่างจำนวนมากยังฟื้นช้า โตต่ำ และกำลังเผชิญปัญหาทางการเงินในทุกมิติ ทั้งด้านรายได้ รายจ่าย ภาระหนี้ และเงินออม โดยกลุ่มครัวเรือนที่รายได้ฟื้นช้าไม่พอรายจ่าย ส่วนใหญ่ทำงานในภาคการผลิตมูลค่าไม่สูง คือ ภาคเกษตร (50%) และภาคบริการ (30%) มีหัวหน้าครัวเรือนอายุมากคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% และเรียนจบต่ำกว่าชั้นมัธยมคิดเป็นสัดส่วนถึง 75%
ความไม่พร้อมด้านรายได้ของคนไทยเกิดขึ้นในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อย
ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ สาเหตุหลักของความไม่พร้อมด้านรายได้ของคนไทยมาจากผลิตภาพแรงงานที่ปรับลดลงเกือบทุกสาขาการผลิตและยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิด โดยแรงงานภาคเกษตรมีผลิตภาพต่ำสุด
นอกจากนี้ สัดส่วนแรงงานนอกระบบของไทยยังสูงมากถึง 51% (ปี 2565) ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตร ภาคบริการและการค้า ซึ่งมีผลิตภาพไม่สูง
SCB EIC ประเมินกลุ่มคนรายได้น้อยจะเผชิญปัญหาด้านการเงินอีกนาน โดยจากผลสำรวจ SCB EIC Consumer survey 2566 (สำรวจ ณ 20 ต.ค. - 3 พ.ย 2566 จำนวนตัวอย่าง 2,189 คน)พบว่า
1. กลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยยังมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายอยู่มาก และมีแนวโน้มเผชิญปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น โดยกลุ่มรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายสูงสุดถึง 73% และส่วนใหญ่ของคนกลุ่มนี้ราว 70% มีภาระหนี้เพิ่มขึ้นเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤต อีกทั้ง แนวโน้มข้างหน้ามีความจำเป็นต้องกู้มากขึ้น ส่วนใหญ่จะพึ่งพาเงินกู้นอกระบบมากขึ้น และการกู้ไปชำระหนี้กลายเป็นวัตถุประสงค์หลักของการกู้เงิน
2. กลุ่มคนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนกว่าครึ่งหนึ่งประสบปัญหาค้างชำระหนี้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากทั้งรายได้ลดลงมากและค่าใช้จ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าคนกลุ่มอื่น ส่งผลให้กันชนทางการเงินของกลุ่มคนรายได้น้อยลดลงมากตามการออมที่ลดลงตั้งแต่เกิดโควิด โดยราว 70% ของคนกลุ่มนี้ไม่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน หรือสามารถอยู่ได้ไม่เกิน 1-3 เดือนหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นทำให้ขาดรายได้ (เช่น เจ็บป่วย ออกจากงาน) สะท้อนความเปราะบางทางการเงินของครัวเรือนในการรองรับปัจจัยไม่คาดคิดในอนาคต
3. พฤติกรรมการชำระหนี้ของกลุ่มคนรายได้น้อยไม่ค่อยดีนัก โดยกว่าครึ่งมีพฤติกรรมการจ่ายชำระหนี้แค่ขั้นต่ำ หรือจ่ายหนี้ไม่เต็มจำนวน หรือผิดนัดชำระหนี้เป็นบางครั้ง นอกจากนี้ กลุ่มคนรายได้น้อยยังมองว่าสถานการณ์หนี้สินของตนมีแนวโน้มปรับแย่ลงมากกว่าปรับดีขึ้นในช่วง 1 ปีข้างหน้า
SCB EIC ประเมินว่ากลุ่มครัวเรือนรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือนจะยังมีปัญหารายได้ไม่พอรายจ่ายนานกว่า 3 ปี โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ไม่ถึง 7,000 บาทต่อเดือนที่จะเผชิญปัญหานี้ต่อเนื่องนานยิ่งกว่านั้น เป็นสัญญาณว่ากลุ่มครัวเรือนระดับล่างยังเปราะบางและมีแนวโน้มจะเป็นหนี้อีกนาน ส่งสัญญาณว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนยังน่ากังวลในอนาคต
นโยบายเตรียมความพร้อมจึงจำเป็นต่อการฟื้นตัวด้านรายได้ของคนไทยและเศรษฐกิจไทยได้อย่างทั่วถึง SCB EIC มองหากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตสูงขึ้นได้อย่างยั่งยืน และมีระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่กลับมาสูงขึ้นได้อีกครั้ง จำเป็นต้องอาศัยชุดนโยบายระยะสั้นเพื่อช่วยกลุ่มคนเปราะบางที่ยังไม่ฟื้นตัว ควบคู่กับชุดนโยบายระยะยาวเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้คนไทยและป้องก