สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
งานไหนบ้างครับที่สวัสดิการดีกว่า ข้าราชการ
................
https://www.opendurian.com/news/korporgraduate1/
" 1. ความมั่นคง เราสามารถทำงานได้ถึงอายุ 60ปี โดยจะไม่มีการจ้างพนักงานให้ลาออกเมื่ออายุเรามากขึ้น ซึ่งเอกชนส่วนใหญ่จะเจอกรณีนี้
2. ทำงานวัน จันทร์ - ศุกร์ เข้าออกตรงเวลางาน ไม่มีหามรุ่งหามค่ำ มีเวลาให้ตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
3. สิทธิการกู้ยืมเงินของข้าราชการ ข้าราชการสามารถกู้ได้ แถมอยู่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ทั่วไป ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานราชการแม้มีหนี้ก็เป็นหนี้ที่ไม่ต้องเสียดอกมาก และสามารถผ่อนชำระได้เป็นเวลานานไม่มีการบีบบังคับตนเองมากเกินไป
4. สิทธิการลา โดยมีสิทธ์การลาทั้งหมด 11 ประเภท ได้แก่ ลาป่วย , ลาคลอดบุตร , ลากิจส่วนตัว ,ลาพักผ่อน, ลาไปช่วยภริยาที่คลอดบุตร ,ลาติดตามผู้สมรส ,ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ,ลาอุปสมบท , ลาเข้ารับการตรวจเลือก/เตรียมพล ,ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ปฏิบัติการวิจัย , ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
5. สิทธิค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเอง บิดาและมารดา คู่สมรส และบุตร กรณีบุตรนั้นให้ไม่เกิน 3 คน เรียงลำดับก่อนหลัง โดยต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยสามารถเบิกได้ตามข้อต่อไปนี้
•ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือด ค่าออกซิเจน ฯลฯ
• ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์บำบัดรักษาโรค ค่าซ่อมแซม
• ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจวินิจฉัยโรค (ไม่รวมค่าธรรมเนียมพิเศษ)
• ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอด
• ค่าห้อง ค่าอาหาร
• ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค
• ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
• ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
6. สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร โดยคุณสามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงจบปริญญาตรีเลยทีเดียว โดยให้ข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนบุตรสำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคนที่ 1 ถึงคนที่ 3 ตามลำดับก่อนหลัง และอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
7. บำเหน็จบำนาญ ในกรณีที่คุณเกษียณอายุราชการแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ก็สุดแล้วแต่คุณจะเลือกว่าสะดวกแบบไหน
1.) เงินบำเหน็จ = จ่ายครั้งเดียว โดยคิดจาก เงินเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) เช่น ทำงานมา20ปี เงินเดือนก้อนสุดท้ายคือ 50,000บาท เงินบำเหน็จที่จะได้รับคือ 1,000,000 บาท
2.) เงินบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) จากนั้นนำมาหารด้วย 50 ก็จะเป็นเงินที่ได้รับเป็นรายเดือนต่อไปจนเสียชีวิต
8. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา การไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน เป็นต้น
9. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
1) การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา การไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2. ค่าเช่าที่พัก
3. ค่าพาหนะ
1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
10. ค่าเช่าบ้าน ผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ได้แก่ ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางต่างท้องที่ไปประจำ
11. โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของทางราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำให้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำมีสิทธิกู้เงินจากโครงการดังกล่าวไปเฉพาะเพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง
12. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายแห่งเกียรติยศซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอของรัฐบาล ถือเป็นบำเหน็จความชอบ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงแก่ผู้ได้รับ
และ อื่นๆอีกมากมาย.. เอาหละค่ะ มีใครให้มากกว่านี้มั้ยคะ?? ถ้าคิดว่าไม่มีแล้วก็อย่ารอช้า ไปสมัครสอบ ก.พ. เพื่อตัวเอง และ ครอบครัวของคุณในอนาคตกันโน๊ะ "
................
https://www.opendurian.com/news/korporgraduate1/
" 1. ความมั่นคง เราสามารถทำงานได้ถึงอายุ 60ปี โดยจะไม่มีการจ้างพนักงานให้ลาออกเมื่ออายุเรามากขึ้น ซึ่งเอกชนส่วนใหญ่จะเจอกรณีนี้
2. ทำงานวัน จันทร์ - ศุกร์ เข้าออกตรงเวลางาน ไม่มีหามรุ่งหามค่ำ มีเวลาให้ตัวเองและครอบครัวมากขึ้น
3. สิทธิการกู้ยืมเงินของข้าราชการ ข้าราชการสามารถกู้ได้ แถมอยู่ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ทั่วไป ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานราชการแม้มีหนี้ก็เป็นหนี้ที่ไม่ต้องเสียดอกมาก และสามารถผ่อนชำระได้เป็นเวลานานไม่มีการบีบบังคับตนเองมากเกินไป
4. สิทธิการลา โดยมีสิทธ์การลาทั้งหมด 11 ประเภท ได้แก่ ลาป่วย , ลาคลอดบุตร , ลากิจส่วนตัว ,ลาพักผ่อน, ลาไปช่วยภริยาที่คลอดบุตร ,ลาติดตามผู้สมรส ,ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ,ลาอุปสมบท , ลาเข้ารับการตรวจเลือก/เตรียมพล ,ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน ปฏิบัติการวิจัย , ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
5. สิทธิค่ารักษาพยาบาล ข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเอง บิดาและมารดา คู่สมรส และบุตร กรณีบุตรนั้นให้ไม่เกิน 3 คน เรียงลำดับก่อนหลัง โดยต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยสามารถเบิกได้ตามข้อต่อไปนี้
•ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือด ค่าออกซิเจน ฯลฯ
• ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์บำบัดรักษาโรค ค่าซ่อมแซม
• ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจวินิจฉัยโรค (ไม่รวมค่าธรรมเนียมพิเศษ)
• ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอด
• ค่าห้อง ค่าอาหาร
• ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค
• ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ
• ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
6. สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร โดยคุณสามารถเบิกค่าเล่าเรียนของบุตรได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงจบปริญญาตรีเลยทีเดียว โดยให้ข้าราชการเบิกค่าเล่าเรียนบุตรสำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายคนที่ 1 ถึงคนที่ 3 ตามลำดับก่อนหลัง และอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์
7. บำเหน็จบำนาญ ในกรณีที่คุณเกษียณอายุราชการแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ก็สุดแล้วแต่คุณจะเลือกว่าสะดวกแบบไหน
1.) เงินบำเหน็จ = จ่ายครั้งเดียว โดยคิดจาก เงินเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) เช่น ทำงานมา20ปี เงินเดือนก้อนสุดท้ายคือ 50,000บาท เงินบำเหน็จที่จะได้รับคือ 1,000,000 บาท
2.) เงินบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) จากนั้นนำมาหารด้วย 50 ก็จะเป็นเงินที่ได้รับเป็นรายเดือนต่อไปจนเสียชีวิต
8. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา การไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน เป็นต้น
9. ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร
1) การเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่ การไปปฏิบัติราชการชั่วคราวนอกที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา การไปสอบคัดเลือกหรือรับการคัดเลือกตามที่ได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา การไปช่วยราชการ ไปรักษาการในตำแหน่ง หรือไปรักษาราชการแทน เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราว ได้แก่
1. เบี้ยเลี้ยงเดินทาง
2. ค่าเช่าที่พัก
3. ค่าพาหนะ
1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง
10. ค่าเช่าบ้าน ผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน ได้แก่ ข้าราชการที่ได้รับคำสั่งให้เดินทางต่างท้องที่ไปประจำ
11. โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของทางราชการ มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้างประจำให้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำมีสิทธิกู้เงินจากโครงการดังกล่าวไปเฉพาะเพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเอง
12. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องหมายแห่งเกียรติยศซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอของรัฐบาล ถือเป็นบำเหน็จความชอบ และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติอย่างสูงแก่ผู้ได้รับ
และ อื่นๆอีกมากมาย.. เอาหละค่ะ มีใครให้มากกว่านี้มั้ยคะ?? ถ้าคิดว่าไม่มีแล้วก็อย่ารอช้า ไปสมัครสอบ ก.พ. เพื่อตัวเอง และ ครอบครัวของคุณในอนาคตกันโน๊ะ "
แสดงความคิดเห็น
ทุกคนสงสัยไหมว่าทำไมพ่อแม่พี่น้องถึงอยากให้ลูกหลานทำงานรับราชการทั้งๆที่งานที่เงินเดือนเยอะกว่าสวัสดิการดีกว่าก็มี