https://happybabys.co/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b8%93%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87/
ความเสี่ยงขณะท้อง ดูแลทุกความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ การคัดกรองความเสี่ยงในขณะตั้งท้อง เป็นเรื่องที่คนเป็นแม่ต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้าหากไม่ใส่ใจในเรื่องนี้ ก็จะทำให้ตลอดระยะเวลาของการตั้งท้องไม่ได้รับรู้ความผิดปกติใด ๆ เลย เพราะฉะนั้นเมื่อรู้ตัวว่ามีการตั้งท้องแล้ว แนะนำให้แม่ทั้งหลายฝากท้องกับโรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยต่อตัวแม่และเด็ก หากเกิดความผิดปกติก็จะได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งการ ดูแลทุกความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์ เกี่ยวกับเรื่องของโรคต่าง ๆ เช่น โรคธาลัสซีเมีย, โรคเบาหวาน, หรือครรภ์เป็นพิษ ที่นับว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ความเสี่ยงขณะท้อง ดูแลทุกความเสี่ยงขณะตั้งครรภ์
ขั้นตอนการตรวจคัดกรองผู้หญิงตั้งท้อง ความเสี่ยงขณะท้อง
การตรวจคัดกรองทุกราย คือ การตรวจคัดกรองแบบไม่ต้องเลือกว่ามีความเสี่ยงสูงหรือไม่ โดยมีการตรวจเม็ดเลือดแดง, การตรวจหมู่เลือด, การตรวจการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ซิฟิลิส, เชื้อไวรัสตับอักเสบบี, เชื้อไวรัสเอดส์, การตรวจปัสสาวะ และการตรวจกรองโรคธาลัสซีเมีย
การตรวจคัดกรองเฉพาะผู้มีความเสี่ยงสูง คือ การตรวจคัดกรองเฉพาะราย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค โดยการตรวจคัดกรองจะไม่ต่างจากการตรวจทั่วไป
การฝากท้อง
อย่างที่บอกไปว่า การฝากท้อง เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อไหร่ที่ตรวจเจอความผิดปกติแล้ว แพทย์ก็จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที หรือถ้าในช่วงแรกไม่มีปัญหาอะไร และมาเจอโรคต่าง ๆ ในภายหลัง แพทย์ก็จะสามารถเรียกดูประวัติตั้งแต่แรกได้โดยง่าย ผิดกับคนที่ไม่เคยฝากท้องก็จะทำให้เรื่องยุ่งยากกว่า นอกจากนี้แพทย์ก็จะยังสามารถประเมินถึงสุขภาพของเด็กในท้องได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ที่สำคัญแพทย์ก็จะสามารถประเมินได้ถึงช่วงเวลาในการคลอดเพื่อให้แม่เตรียมตัวได้ด้วย
ความเสี่ยงที่พบได้บ่อย
โรคธาลัสซีเมีย เกิดจากพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมา โดยลักษณะของผู้ป่วยจะมีอาการซีด หรือเหลือง, มีตับกับม้ามที่โตผิดปกติ, เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้หลายโรค เช่น หัวใจวาย, ตับแข็ง หรือเบาหวาน ซึ่งแนวทางการรักษาจะเป็นการให้เลือดทดแทนไปตามอาการ แต่ถ้าจะรักษาให้หายขาดก็จะต้องทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ดังนั้น วิธีการป้องกันโรคนี้ก็คือ การตรวจคัดกรองในเวลาที่มาฝากท้อง เพื่อจะได้รู้ว่ามีพาหะตัวนี้หรือไม่
โรคเบาหวาน ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การเกิดครรภ์เป็นพิษ หรือการคลอดก่อนกำหนด ในบางรายที่มีอาการรุนแรงเด็กอาจจะเสียชีวิตในช่วง 4 – 8 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด บางรายที่ไม่รุนแรงก็อาจไม่เสียชีวิต แต่อาจส่งผลให้การเจริญเติบโตเป็นไปได้ช้า ส่วนการคลอดก็จะยากกว่าปกติ หรืออาจมีการตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหลังคลอด และส่งต่อได้ทางกรรมพันธุ์ ทำให้ลูกหลานเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การคลอดก่อนกำหนด นับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายไม่แพ้โรคอื่น เพราะว่ามีความเสี่ยงที่จะทำให้เด็กเกิดมาไม่สมบูรณ์ และอาจทำให้เสียชีวิตได้ด้วย ส่วนสาเหตุของอาการนี้อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ปากมดลูก, ปากมดลูกจากการแท้ง / การคลอด / การผ่าตัด หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียดจากแม่ หรือการกินอาหารที่ไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ รวมไปถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอก็มีส่วนที่ทำให้คลอดก่อนกำหนด เพราะฉะนั้นแม่จึงควรทำใจให้สบาย ถ้าหากทำตามขั้นตอนแล้วก็ไม่ต้องกังวล
การเกิดครรภ์เป็นพิษ หมายถึง เลือดไปหล่อเลี้ยงเด็กในท้องไม่พอ และถ้ามีอาการขาบวม, ปวดหัว, ตาพร่ามัว หรือจุกแน่น อาจทำให้เกิดอาการชักได้ ทั้ง 3 ระยะ คือ ก่อนคลอด, เจ็บท้องคลอด และหลังคลอด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อตัวแม่ก็คือ อาจมีเลือดออกในสมอง, รกลอกตัวก่อนกำหนด, ระบบประสาทผิดปกติ, ปอดอักเสบ และปอดบวมน้ำ ส่วนผลกระทบกับลูกก็คือ เกิดการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง โดยอาการนี้มักพบได้ในผู้หญิงตั้งท้องที่มีอายุ 35 ขึ้นไป
การดูแลความเสี่ยง ขณะคุณแม่ตั้งครรภ์
ขั้นตอนการตรวจคัดกรองผู้หญิงตั้งท้อง ความเสี่ยงขณะท้อง
การตรวจคัดกรองทุกราย คือ การตรวจคัดกรองแบบไม่ต้องเลือกว่ามีความเสี่ยงสูงหรือไม่ โดยมีการตรวจเม็ดเลือดแดง, การตรวจหมู่เลือด, การตรวจการติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ซิฟิลิส, เชื้อไวรัสตับอักเสบบี, เชื้อไวรัสเอดส์, การตรวจปัสสาวะ และการตรวจกรองโรคธาลัสซีเมีย
การตรวจคัดกรองเฉพาะผู้มีความเสี่ยงสูง คือ การตรวจคัดกรองเฉพาะราย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรค โดยการตรวจคัดกรองจะไม่ต่างจากการตรวจทั่วไป
การฝากท้อง
อย่างที่บอกไปว่า การฝากท้อง เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเมื่อไหร่ที่ตรวจเจอความผิดปกติแล้ว แพทย์ก็จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที หรือถ้าในช่วงแรกไม่มีปัญหาอะไร และมาเจอโรคต่าง ๆ ในภายหลัง แพทย์ก็จะสามารถเรียกดูประวัติตั้งแต่แรกได้โดยง่าย ผิดกับคนที่ไม่เคยฝากท้องก็จะทำให้เรื่องยุ่งยากกว่า นอกจากนี้แพทย์ก็จะยังสามารถประเมินถึงสุขภาพของเด็กในท้องได้ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ที่สำคัญแพทย์ก็จะสามารถประเมินได้ถึงช่วงเวลาในการคลอดเพื่อให้แม่เตรียมตัวได้ด้วย
ความเสี่ยงที่พบได้บ่อย
โรคธาลัสซีเมีย เกิดจากพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมา โดยลักษณะของผู้ป่วยจะมีอาการซีด หรือเหลือง, มีตับกับม้ามที่โตผิดปกติ, เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้หลายโรค เช่น หัวใจวาย, ตับแข็ง หรือเบาหวาน ซึ่งแนวทางการรักษาจะเป็นการให้เลือดทดแทนไปตามอาการ แต่ถ้าจะรักษาให้หายขาดก็จะต้องทำการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ดังนั้น วิธีการป้องกันโรคนี้ก็คือ การตรวจคัดกรองในเวลาที่มาฝากท้อง เพื่อจะได้รู้ว่ามีพาหะตัวนี้หรือไม่
โรคเบาหวาน ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น การเกิดครรภ์เป็นพิษ หรือการคลอดก่อนกำหนด ในบางรายที่มีอาการรุนแรงเด็กอาจจะเสียชีวิตในช่วง 4 – 8 สัปดาห์สุดท้ายก่อนคลอด บางรายที่ไม่รุนแรงก็อาจไม่เสียชีวิต แต่อาจส่งผลให้การเจริญเติบโตเป็นไปได้ช้า ส่วนการคลอดก็จะยากกว่าปกติ หรืออาจมีการตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหลังคลอด และส่งต่อได้ทางกรรมพันธุ์ ทำให้ลูกหลานเสี่ยงต่อการเกิดโรค
การเกิดครรภ์เป็นพิษ หมายถึง เลือดไปหล่อเลี้ยงเด็กในท้องไม่พอ และถ้ามีอาการขาบวม, ปวดหัว, ตาพร่ามัว หรือจุกแน่น อาจทำให้เกิดอาการชักได้ ทั้ง 3 ระยะ คือ ก่อนคลอด, เจ็บท้องคลอด และหลังคลอด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อตัวแม่ก็คือ อาจมีเลือดออกในสมอง, รกลอกตัวก่อนกำหนด, ระบบประสาทผิดปกติ, ปอดอักเสบ และปอดบวมน้ำ ส่วนผลกระทบกับลูกก็คือ เกิดการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง โดยอาการนี้มักพบได้ในผู้หญิงตั้งท้องที่มีอายุ 35 ขึ้นไป