ชีวิตที่ดีงาม
สร้างความดีช่วยเหลือเด็ก
พ่อแม่ทิ้งแต่เล็ก
อาจารย์ช่วยดูแลให้
รักษาโรคทางกาย
แข็งแรงหายจากป่วยไข้
ดูแลรักษาใจ
รักเมตตาจากอาจารย์
หาบ้านอุปถัมภ์
ลูกบุญธรรมช่วยส่งผ่าน
บ้างเติบโตทำงาน
บ้างมาสานต่อช่วยกัน
คือ Pay it forwards
แต่จุดเกิดผู้สร้างสรรค์
(ครู)ส่าหรี จิตตินันทน์
ชีวิตท่านช่างดีงาม
https://alumni.md.chula.ac.th/alumni_people-detail.php?content_id=28
ชีวิตที่ดีงาม
.
ภาพของป้าหมอส่าหรีในความทรงจำของอาตมา คือ ผู้หญิงร่างเล็ก ท่าทางคล่องแคล่วที่กุลีกุจอทำโน่นทำนี่เวลาอยู่ที่วัด ป้าหมอเป็นโยมอุปัฏฐากพระนิสิตในโครงการอุปสมบทภาคฤดูร้อนมายาวนานกว่ายี่สิบปี ความภูมิใจอย่างหนึ่งของโยมป้า คือ การได้บวชพระมากกว่าสามร้อยรูป ทั้งๆ ที่ไม่มีลูกชายเลย
.
ย้อนหลังไปในช่วงที่อาตมาบวชใหม่ๆ ในเดือนเมษายนของทุกปี ป้าหมอส่าหรี ป้าหมอกัลยา และป้ารัชนีจะไปดูแลพระนิสิตที่บวชในโครงการฯ ตลอดทั้งเดือน คอยทำอาหาร ปอกผลไม้ เตรียมน้ำปานะและประสานงานในส่วนที่สามารถทำได้ ถัดมาไม่นาน ป้าหมอกัลยาเสียชีวิตไปก่อน จึงเหลือแต่โยมป้าทั้งสองท่านที่ยังคงแข็งขันกันจนล่วงเข้าวัยแปดสิบ
.
ตอนที่อาตมาตัดสินใจไม่ลาสิกขาและตั้งใจจะอยู่ต่ออีกสักระยะหนึ่ง ป้าหมอดูจะเป็นห่วงอาตมามาก เกรงว่าจะเหงาถ้าเพื่อนๆ ลาสิกขากันหมดแล้ว จึงเสนอให้ไปอยู่วัดป่าสุนันทวนารามที่จ.กาญจนบุรีซึ่งมีพระจำพรรษาหลายรูป และรับอาสาเป็นธุระพาไปส่งที่วัดจนทุกอย่างเรียบร้อย
.
ยังจำได้ว่าระหว่างเดินทาง ได้ยินป้าหมอกับป้ารัชนีสนทนากันเรื่องเมตตาภาวนา โดยเล่าว่าครูบาอาจารย์สอนการเจริญเมตตาอย่างไร อาตมาจึงเก็บเรื่องที่ได้ยินไปทดลองปฏิบัติด้วยตนเองและได้ผลดียิ่ง โยมป้าทั้งสองจึงถือเป็นผู้แนะนำให้อาตมารู้จักเมตตาภาวนาเป็นครั้งแรก ทุกวันนี้ เวลาสอนภาวนา อาตมาก็จะระลึกถึงโยมป้าทั้งสองอยู่เสมอ
.
ในราวปีพ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๙ อาตมาได้มีโอกาสเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการอุปสมบทภาคฤดูร้อนเกือบทุกปี ทำให้ได้เห็นความเมตตาและความเสียสละของป้าหมอส่าหรีต่อพระนิสิตในโครงการฯ มาโดยตลอด ในระยะหนึ่ง ฝ่ายวิชาการของจุฬาฯ ได้อนุญาตให้นิสิตเลือกลงทะเบียนวิชา ’พุทธปฏิบัติ‘ เป็นวิชาเลือกอิสระได้ จึงมีนิสิตที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ หลากหลายกว่าเดิมมาก ป้าหมอส่าหรีและป้ารัชนีเป็นผู้ดูแลนิสิตหญิงที่เข้าร่วมโครงการฯ ตลอดทั้งเดือน ซึ่งถือเป็นภาระที่หนักพอสมควร
.
ครั้งหนึ่ง มีนิสิตชายที่นับถือศาสนาอื่นมาขอลงทะเบียนเรียน เพราะไม่มีวิชาอื่นๆ ในภาคฤดูร้อนที่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และถ้าไม่ลงเรียนวิชานี้ ก็จะไม่จบการศึกษาในปีนั้น ป้าหมอส่าหรีและคุณหมอปรีดา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ได้เมตตาให้นิสิตคนนั้นลงทะเบียนเรียนได้ แต่เมื่อมาถึงวัดก็เจออุปสรรคใหญ่ เพราะทางวัดกำหนดให้ผู้ที่อยู่วัดเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ต้องโกนศีรษะ นิสิตคนนั้นแจ้งว่าทำไม่ได้เพราะมีความเห็นว่าจะขัดแย้งกับหลักศาสนาของเขา
.
ป้าหมอส่าหรีและป้ารัชนีได้พยายามขอให้ทางวัดผ่อนปรนข้อวัตรนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตคนดังกล่าวได้เรียนโดยไม่ต้องโกนศีรษะ แต่ก็ไม่เป็นผล อาตมาจำได้ว่าการต่อรองนี้เป็นไปอย่างยาวนานและถึงขั้นโยมป้ารัชนีต้องหลั่งน้ำตา ในท้ายที่สุด เหตุการณ์ดังกล่าวยุติลงด้วยดี เมื่อนิสิตคนนั้นรู้สึกซาบซึ้งใจในความเมตตาของโยมป้าทั้งสอง จึงยินยอมโกนศีรษะตามกติกา อาตมาคิดว่าความเมตตาการุณย์ของโยมป้าทั้งสองเป็นพลังให้นิสิตคนนั้นยอมละความเห็นได้อย่างละมุนละม่อม
.
สำหรับอาตมา ป้าหมอส่าหรีมีพระคุณอย่างยิ่งต่อการครองผ้าเหลืองมาเกือบสามสิบปี ป้าหมอเป็นโยมอุปัฏฐากที่คอยไถ่ถามดูแลอยู่เป็นระยะ เมื่อทราบว่าอาตมาเป็นโรคเกาต์ก็พาไปปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญที่จุฬาฯ ป้าหมอช่วยให้กำลังใจในการสร้างวัดป่าเย็นบุญและคอยสนับสนุนการทำงานในด้านต่างๆ ของอาตมาอยู่ตลอด แม้กระทั่งช่วงที่อาตมาเขียนบทความลงนิตยสารซีเคร็ต ป้าหมอก็อุตส่าห์เขียนจดหมายมาชมว่าได้อ่านแล้ว “ท่านเขียนได้ดี ตรงใจโยมป้า” ป้าหมอเห็นพ้องว่าการเป็น ‘nobody’ เบาสบายกว่าการเป็น ‘somebody’ มากนัก
.
ในช่วงบั้นปลาย ป้าหมออ่อนแรงไปตามอายุสังขาร เมื่ออาตมาทราบว่าป้าหมอป่วยเป็นมะเร็ง จึงหาโอกาสไปเยี่ยมเป็นระยะๆ อาตมารู้สึกประทับใจในการรับมือกับความเจ็บป่วยของป้าหมอเป็นอย่างยิ่ง เพราะป้าหมอยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะจากไปอย่างสงบ ป้าหมอเป็นคนป่วยที่ดูแลง่าย ไม่สร้างความหนักใจให้กับผู้ดูแล
.
แม้ในระยะท้าย ป้าหมอก็ยังคงใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้ตัวชัดเจนว่าต้องการให้ทำอย่างไรกับความเจ็บป่วยของตน สามารถรับมือกับความเจ็บปวดทางกายได้เป็นอย่างดี และยังคงมีความสุขกับการสวดมนต์ รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับครูบาอาจารย์ที่ป้าหมอนับถือ การวางจิตให้เป็นกุศลส่งผลให้ป้าหมออยู่กับความเจ็บป่วยครั้งสำคัญนี้ได้อย่างสงบ สมกับเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์มายาวนาน
.
ป้าหมอใช้ชีวิตในโลกนี้มาอย่างดี ทำประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นอย่างถึงพร้อมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม การจากไปของป้าหมอจึงเป็นไปอย่างดีงาม เหลือไว้แต่ความทรงจำและผลงานที่จะยังคงอยู่ให้คนรุ่นหลังได้ทราบว่า ครั้งหนึ่งเคยมีบุคคลผู้อุทิศตนให้กับการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและมีชีวิตที่เป็นสุขกับการทำสิ่งดีงาม
.
ชีวิตของป้าหมอส่าหรี จิตตินันท์เป็นไปดังที่พระพุทธองค์เคยตรัสสอนว่า “บุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”
.
ปิยสีโลภิกขุ
ชีวิตที่งดงาม: อาจารย์ส่าหรี “คุณแม่” ของเด็กตัวน้อยๆ หลายพันชีวิต
สร้างความดีช่วยเหลือเด็ก
พ่อแม่ทิ้งแต่เล็ก
อาจารย์ช่วยดูแลให้
รักษาโรคทางกาย
แข็งแรงหายจากป่วยไข้
ดูแลรักษาใจ
รักเมตตาจากอาจารย์
หาบ้านอุปถัมภ์
ลูกบุญธรรมช่วยส่งผ่าน
บ้างเติบโตทำงาน
บ้างมาสานต่อช่วยกัน
คือ Pay it forwards
แต่จุดเกิดผู้สร้างสรรค์
(ครู)ส่าหรี จิตตินันทน์
ชีวิตท่านช่างดีงาม
https://alumni.md.chula.ac.th/alumni_people-detail.php?content_id=28
ชีวิตที่ดีงาม
.
ภาพของป้าหมอส่าหรีในความทรงจำของอาตมา คือ ผู้หญิงร่างเล็ก ท่าทางคล่องแคล่วที่กุลีกุจอทำโน่นทำนี่เวลาอยู่ที่วัด ป้าหมอเป็นโยมอุปัฏฐากพระนิสิตในโครงการอุปสมบทภาคฤดูร้อนมายาวนานกว่ายี่สิบปี ความภูมิใจอย่างหนึ่งของโยมป้า คือ การได้บวชพระมากกว่าสามร้อยรูป ทั้งๆ ที่ไม่มีลูกชายเลย
.
ย้อนหลังไปในช่วงที่อาตมาบวชใหม่ๆ ในเดือนเมษายนของทุกปี ป้าหมอส่าหรี ป้าหมอกัลยา และป้ารัชนีจะไปดูแลพระนิสิตที่บวชในโครงการฯ ตลอดทั้งเดือน คอยทำอาหาร ปอกผลไม้ เตรียมน้ำปานะและประสานงานในส่วนที่สามารถทำได้ ถัดมาไม่นาน ป้าหมอกัลยาเสียชีวิตไปก่อน จึงเหลือแต่โยมป้าทั้งสองท่านที่ยังคงแข็งขันกันจนล่วงเข้าวัยแปดสิบ
.
ตอนที่อาตมาตัดสินใจไม่ลาสิกขาและตั้งใจจะอยู่ต่ออีกสักระยะหนึ่ง ป้าหมอดูจะเป็นห่วงอาตมามาก เกรงว่าจะเหงาถ้าเพื่อนๆ ลาสิกขากันหมดแล้ว จึงเสนอให้ไปอยู่วัดป่าสุนันทวนารามที่จ.กาญจนบุรีซึ่งมีพระจำพรรษาหลายรูป และรับอาสาเป็นธุระพาไปส่งที่วัดจนทุกอย่างเรียบร้อย
.
ยังจำได้ว่าระหว่างเดินทาง ได้ยินป้าหมอกับป้ารัชนีสนทนากันเรื่องเมตตาภาวนา โดยเล่าว่าครูบาอาจารย์สอนการเจริญเมตตาอย่างไร อาตมาจึงเก็บเรื่องที่ได้ยินไปทดลองปฏิบัติด้วยตนเองและได้ผลดียิ่ง โยมป้าทั้งสองจึงถือเป็นผู้แนะนำให้อาตมารู้จักเมตตาภาวนาเป็นครั้งแรก ทุกวันนี้ เวลาสอนภาวนา อาตมาก็จะระลึกถึงโยมป้าทั้งสองอยู่เสมอ
.
ในราวปีพ.ศ. ๒๕๓๙ - ๒๕๔๙ อาตมาได้มีโอกาสเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการอุปสมบทภาคฤดูร้อนเกือบทุกปี ทำให้ได้เห็นความเมตตาและความเสียสละของป้าหมอส่าหรีต่อพระนิสิตในโครงการฯ มาโดยตลอด ในระยะหนึ่ง ฝ่ายวิชาการของจุฬาฯ ได้อนุญาตให้นิสิตเลือกลงทะเบียนวิชา ’พุทธปฏิบัติ‘ เป็นวิชาเลือกอิสระได้ จึงมีนิสิตที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ หลากหลายกว่าเดิมมาก ป้าหมอส่าหรีและป้ารัชนีเป็นผู้ดูแลนิสิตหญิงที่เข้าร่วมโครงการฯ ตลอดทั้งเดือน ซึ่งถือเป็นภาระที่หนักพอสมควร
.
ครั้งหนึ่ง มีนิสิตชายที่นับถือศาสนาอื่นมาขอลงทะเบียนเรียน เพราะไม่มีวิชาอื่นๆ ในภาคฤดูร้อนที่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ และถ้าไม่ลงเรียนวิชานี้ ก็จะไม่จบการศึกษาในปีนั้น ป้าหมอส่าหรีและคุณหมอปรีดา อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ได้เมตตาให้นิสิตคนนั้นลงทะเบียนเรียนได้ แต่เมื่อมาถึงวัดก็เจออุปสรรคใหญ่ เพราะทางวัดกำหนดให้ผู้ที่อยู่วัดเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์ต้องโกนศีรษะ นิสิตคนนั้นแจ้งว่าทำไม่ได้เพราะมีความเห็นว่าจะขัดแย้งกับหลักศาสนาของเขา
.
ป้าหมอส่าหรีและป้ารัชนีได้พยายามขอให้ทางวัดผ่อนปรนข้อวัตรนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตคนดังกล่าวได้เรียนโดยไม่ต้องโกนศีรษะ แต่ก็ไม่เป็นผล อาตมาจำได้ว่าการต่อรองนี้เป็นไปอย่างยาวนานและถึงขั้นโยมป้ารัชนีต้องหลั่งน้ำตา ในท้ายที่สุด เหตุการณ์ดังกล่าวยุติลงด้วยดี เมื่อนิสิตคนนั้นรู้สึกซาบซึ้งใจในความเมตตาของโยมป้าทั้งสอง จึงยินยอมโกนศีรษะตามกติกา อาตมาคิดว่าความเมตตาการุณย์ของโยมป้าทั้งสองเป็นพลังให้นิสิตคนนั้นยอมละความเห็นได้อย่างละมุนละม่อม
.
สำหรับอาตมา ป้าหมอส่าหรีมีพระคุณอย่างยิ่งต่อการครองผ้าเหลืองมาเกือบสามสิบปี ป้าหมอเป็นโยมอุปัฏฐากที่คอยไถ่ถามดูแลอยู่เป็นระยะ เมื่อทราบว่าอาตมาเป็นโรคเกาต์ก็พาไปปรึกษาหมอผู้เชี่ยวชาญที่จุฬาฯ ป้าหมอช่วยให้กำลังใจในการสร้างวัดป่าเย็นบุญและคอยสนับสนุนการทำงานในด้านต่างๆ ของอาตมาอยู่ตลอด แม้กระทั่งช่วงที่อาตมาเขียนบทความลงนิตยสารซีเคร็ต ป้าหมอก็อุตส่าห์เขียนจดหมายมาชมว่าได้อ่านแล้ว “ท่านเขียนได้ดี ตรงใจโยมป้า” ป้าหมอเห็นพ้องว่าการเป็น ‘nobody’ เบาสบายกว่าการเป็น ‘somebody’ มากนัก
.
ในช่วงบั้นปลาย ป้าหมออ่อนแรงไปตามอายุสังขาร เมื่ออาตมาทราบว่าป้าหมอป่วยเป็นมะเร็ง จึงหาโอกาสไปเยี่ยมเป็นระยะๆ อาตมารู้สึกประทับใจในการรับมือกับความเจ็บป่วยของป้าหมอเป็นอย่างยิ่ง เพราะป้าหมอยอมรับความเจ็บป่วยรุนแรงครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี และพร้อมที่จะจากไปอย่างสงบ ป้าหมอเป็นคนป่วยที่ดูแลง่าย ไม่สร้างความหนักใจให้กับผู้ดูแล
.
แม้ในระยะท้าย ป้าหมอก็ยังคงใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้ตัวชัดเจนว่าต้องการให้ทำอย่างไรกับความเจ็บป่วยของตน สามารถรับมือกับความเจ็บปวดทางกายได้เป็นอย่างดี และยังคงมีความสุขกับการสวดมนต์ รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับครูบาอาจารย์ที่ป้าหมอนับถือ การวางจิตให้เป็นกุศลส่งผลให้ป้าหมออยู่กับความเจ็บป่วยครั้งสำคัญนี้ได้อย่างสงบ สมกับเป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์มายาวนาน
.
ป้าหมอใช้ชีวิตในโลกนี้มาอย่างดี ทำประโยชน์แก่ตนและผู้อื่นอย่างถึงพร้อมที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม การจากไปของป้าหมอจึงเป็นไปอย่างดีงาม เหลือไว้แต่ความทรงจำและผลงานที่จะยังคงอยู่ให้คนรุ่นหลังได้ทราบว่า ครั้งหนึ่งเคยมีบุคคลผู้อุทิศตนให้กับการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นและมีชีวิตที่เป็นสุขกับการทำสิ่งดีงาม
.
ชีวิตของป้าหมอส่าหรี จิตตินันท์เป็นไปดังที่พระพุทธองค์เคยตรัสสอนว่า “บุคคลผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”
.
ปิยสีโลภิกขุ