กระทู้นี้เราจะมาพูดถึงการสอบเข้า TCAS 65 สอบเข้ามหา’ลัย ครั้งแรก (และครั้งสุดท้าย!!) ของเราค่ะ เราสอบทั้งหมด 5 วิชา GAT PAT 1 (คณิตศาสตร์) วิชาสามัญ ไทย อังกฤษ สังคม ถ้าเขียนได้ไม่เข้าใจตรงไหนก็ขออภัยด้วยนะคะ
ปีที่เราสอบ TCAS 65 มีความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งผู้ออกข้อสอบ ทั้งแนวข้อสอบ TCAS 66 ก็เปลี่ยนไปจากเดิมอีก แต่เราก็หวังว่าคำแนะนำของเราจะช่วยคนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ
*ผิดพลาดประการใดทางผู้เขียนต้องขอโทษด้วยนะคะ
เริ่มกันที่วิชาแรกเลยค่ะ
GAT วิชาความถนัดทั่วไป
เป็นวิชาที่มีด้วยกันสองส่วนนะคะ
ส่วนแรกจะเป็น ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา หรือที่เรียกกันว่า GAT เชื่อมโยงค่ะ
ส่วนนี้เราเตรียมตัวจากการหาความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ การเชื่อมโยงโดยคร่าวๆ หลังจากนั้นก็ทำข้อสอบเก่าๆ เช็คทำความเข้าใจว่าตัวเองทำผิดพลาดตรงไหน สำหรับพาร์ทนี้ทำข้อสอบแล้วทำความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ ทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
แต่ต้องบอกไว้ก่อนเลยนะคะ ว่าปีเรามีการเปลี่ยนผู้ออกข้อสอบอย่างที่บอกไป ทำให้การตอบมีการเปลี่ยนแปลง จากสิ่งที่ตอบไม่ได้ในปีก่อนๆ ก็มีโอกาสกลายเป็นคำตอบที่ถูกต้องของปีนี้นะคะ เพราะงั้นถ้าผู้ออกข้อสอบเปลี่ยนไป ก็ลองอ่านคำอธิบายในข้อสอบให้ดี พิจารณาคำตอบตามสมควรนะคะ (ตอนที่สอบเราก็ทำแบบที่บอกมาค่ะ แอบกระซิบว่าเราได้คะแนน 140+/150 เลยค่ะพาร์ทนี้)
ส่วนที่สอง ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า GAT ENG
GAT ENG มีหลายพาร์ทด้วยกัน ประกอบด้วย expression 15 ข้อ vocabulary 15 ข้อ reading 15 ข้อ structure and writing 15 ข้อ
เราแนะนำหนังสือของรศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญค่ะ เราอ่านเกือบทุกเล่มเลยช่วยได้มากๆ เพจที่แนะนำให้ติดตามได้แก่ Gat Community และ GAT Eng Thailand ค่ะ
ส่วนของ expression ไม่ยากเท่าไหร่ค่ะ ถ้าหากเรารู้สำนวน เข้าใจบริบทที่ของบทสนทนาก็สามารถทำได้แล้ว เอาข้อสอบเก่าๆ ข้อสอบจำลองมาทำเยอะๆก็จะช่วยได้ค่ะ
vocabulary จะออกแนว meaning in context และ meaning recognition เน้นท่องและทำเลยค่ะ ท่องเท่าที่จะท่องได้ เพราะมีโอกาสออกได้ทั้งนั้น เราท่องตามเล่มสรุปเข้ม vocabulary เล่มสีชมพูน้ำตาลค่ะ ท่องบ่อยๆ ทวนบ่อยๆ แล้วฝึกทำตามแนวเล่ม ตะลุยโจทย์ vocabulary สีชมพูขาวค่ะ
reading ก็มีหนังสืออีกเช่นกันค่ะ เป็นสีส้มขาว สิ่งที่ควรทำคือฝึกทำเยอะๆค่ะ ทำตามในเล่มหนังสือจนจบ ทำจากข้อสอบเก่าและข้อสอบจำลอง และหมั่นหาบทความข่าวอ่านค่ะ ตามเพจที่แจ้งไปด้านต้นจะมีแนะนำบทความที่ควรอ่านอยู่ค่ะ ถ้าอ่านได้เยอะๆก็จะดีมาก เพราะปีที่เราสอบก็มีบทความจากนั้นมากออกหลายบทความ แต่เปลี่ยนเนื้อหานิดหน่อยค่ะ
ส่วนสุดท้าย structure and writing เน้นไปที่ตัว grammar เลยค่ะ ส่วนตัวเราอ่านเล่มของ รศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญอีกเช่นเคย เน้นปูพื้นไปที่ส่วนของ grammar, basic grammar ให้เรามีพื้นให้แน่นก่อน แล้วค่อยไปต่อที่เล่ม error สีน้ำตาลเขียว ถ้ามีเวลาก็ไปต่อที่เล่มขาวเขียวค่ะ เน้นฝึกทำเยอะๆ จับจุดให้ได้ ทำความเข้าใจก็จะทำได้ดีขึ้นค่ะ ส่วนตัวเราว่าวิชานี้ต้องเน้นการฝึกฝนค่อนข้างเยอะเลยค่ะ
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
เป็นวิชาเดียวที่เราเรียนพิเศษค่ะ วิชานี้ถ้าสสวทยังเป็นผู้ออกข้อสอบอยู่ ข้อสอบก็น่าจะเป็นแนวโจทย์ปัญหาค่ะ ด้วยความที่เราถนัดวิชานี้อยู่แล้ว ก็เลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ทวนนิดหน่อยก็พอจำได้แล้ว (แอบดูน่าหมั่นไส้ 555555) แต่เรานำเสนอที่เรียนพิเศษนี้มากกก เราเรียนกับพี่ปั้น smartmathpro ค่ะ ด้วยความที่เราไปเตรียมตัวช่วงจะสอบอยู่แล้ว ประมาณสองเดือนสุดท้าย เราก็เลยเรียนคอร์ส PAT 1 แหกโค้ง สิ่งที่เราทำสำหรับเตรียมสอบวิชานี้ก็คือ เรียนและฝึกทำโจทย์ค่ะ พี่ปั้นสอนดีมาก สอนเพิ่ม ติวเพิ่มช่วงสอบ หาโจทย์มาให้ แต่งโจทย์แนวสสวทให้เพิ่มเยอะมาก ความดีความชอบส่วนนึงยกให้พี่ปั้นเลยค่ะ โจทย์ข้อสอบที่สสวทออกมีตั้งแต่ปี 64 ค่ะ กับตามหนังสือแบบเรียนเราเลย แต่ทำแนวเก่าไว้บ้างก็ได้นะคะ เผื่อเอาไว้ก็ดีค่ะ ส่วนหนังสือที่อยากแนะนำมีชื่อว่า จำสูตรได้ ใช้สูตรเป็น คณิต ม.ปลาย ของสนพ.กัมบัตเตะค่ะ เขาเขียนสรุปเนื้อหากับยกตัวอย่างไว้ดีมากๆเลยค่ะ วิชานี้เราเตรียมตัวไม่นานเลยแต่ได้คะแนนไป 150 อัพเต็ม 300 เลย เราไม่ได้เก็บทุกพาร์ทด้วยค่ะเพราะเวลาน้อยแล้ว ถ้าใครมีพื้นเลขแน่นอยู่แล้ว มีเวลาเยอะ เราว่าฝึกทำโจทย์ ทำความเข้าใจเยอะๆ ทำได้แน่นอนค่ะ
วิชาสามัญภาษาไทย
วิชานี้เน้นทำข้อสอบเลยค่ะ แต่ก็มีบางส่วนที่ถ้าเราหาอ่าน ท่องจำเยอะๆ ก็จะได้เปรียบมากค่ะ ข้อสอบมี 50 ข้อ บางเรื่องก็ออกแค่ข้อเดียวเองค่ะ อาจจะลองเตรียมตัวตามที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสม ถนัด ได้คะแนนตามหวังดูนะคะ วิชานี้เราอ่านหนังสือชื่อ ตีป้อม ไทย 9 วิชาสามัญ ม.ปลาย ของ สนพ.กัมบัตเตะ และเน้นทำข้อสอบเก่าค่ะ เรามองว่าอ่านเนื้อหาให้เข้าใจแล้วฝึกทำข้อสอบเยอะๆเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทำวนไป แล้วก็ทวนเนื้อหาบางส่วนบ่อยๆ เราคิดว่าทำได้แน่นอนค่ะ (ยกเว้นข้อสอบออกแบบเหนือความคาดหมายนะคะ..)
วิชาสามัญภาษาอังกฤษ
จริงๆตัววิชานี้ก็มีการฝึกฝนค่อนข้างคล้ายกับ GAT ENG เลยนะคะ ตอนเราเตรียมเราก็เตรียมควบคู่กันไปเลย แต่ว่าทั้งสองวิชาก็มีส่วนที่ต้องเน้นต่างกัน เราจะเน้นฝึกในส่วนไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเน้นคะแนนของวิชาไหนมากกว่ากันค่ะ
วิชานี้มีหลายส่วนด้วยกัน แต่พาร์ทหลักจะเป็น reading ค่ะ คำแนะนำคือทำเยอะๆเลยค่ะ ทำบ่อยๆ หาเทคนิคที่ถนัดก็จะทำได้ดีขึ้นเยอะเลยค่ะ เราทำตัวเล่ม reading ของรศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญ แล้วก็ข้อสอบเก่าเป็นหลักเลยค่ะ ยืนยันว่าให้ฝึกทำเยอะๆเลยค่ะพาร์ทนี้ ส่วนพาร์ทอื่นๆ อย่างพาร์ท writing ส่วนนี้เราจะเน้น grammar กับคำศัพท์เป็นหลัก เล่มของรศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญ เหมือนเดิมเลยค่ะ เราอ่านเป็น grammar, basic grammar และ error เล่มสรุปสีน้ำตาลเขียว ถ้ามีเวลามากกว่านั้น ทำเล่มเขียวขาวด้วยก็ดีนะคะ ส่วนคำศัพท์ก็จะเป็นตัวเล่มของ vocab สีน้ำตาลชมพู กับตัวเล่มสีชมพูขาวเลยค่ะ ในพาร์ทนี้จะมีส่วนที่ให้เรียงลำดับประโยคด้วย ส่วนนี้เราเน้นฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะๆเอาค่ะ พาร์ทสุดท้าย listening and speaking เน้นทำจากข้อสอบเก่าเป็นหลักเลยค่ะ ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุดของวิชานี้ก็คือมั่นฝึกทำเยอะๆ อะไรผิดพลาดก็ลองปรับแก้ไข และอีกอย่างที่เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันเลยคือ ให้ฝึกทำโดยจับเวลาไปด้วยค่ะ เพราะตัวข้อสอบค่อนข้างเยอะ มีด้วยกัน 80 ข้อ กับเวลา 90 นาที เนื้อหาเป็น reading ไปแล้ว 40 ข้อ ต้องฝึกทำสปีดเทส บริหารเวลาในการทำให้ดีเลยค่ะ
วิชาสามัญสังคม
วิชานี้บอกเลยค่ะ อ่านอย่างเดียวเท่านั้น อ่านเข้าไป เล่มที่เราแนะนำเลยคือ หัวใจสังคม มัธยมปลาย ของ อ.ชัยค่ะ เนื้อหาแน่นละเอียด เรารู้สึกว่าทำให้เข้าใจแล้วก็จำได้ง่ายขึ้นค่ะ เพราะบางเล่มเขียนแต่สรุปเลย บางทีก็งงๆว่าตรงนี้คือเหตุการณ์ไหนมาจากอะไร อีกช่องทางที่เราแนะนำคือการไปฟัง ครูป๊อป AT HOME ใน youtube ค่ะ เราฟังคลิปติวสังคมของครูป๊อปแล้วคิดว่าช่วยจำได้เยอะเลยค่ะ ตรงกับที่ออกสอบด้วย นอกจากนี้ก็ควรศึกษาข่าวสารทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้บ้างนะคะ อาจจะออกได้ค่ะ
จบกันไปแล้วนะคะ ถ้าใครมีคำถามอะไรก็สามารถสอบถามได้เลยค่ะ ถึงแม้ข้อสอบในปีต่อๆไปจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่ก็หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคนน้า
แนะนำการเตรียมสอบเข้า TCAS ฉบับเด็ก TCAS 65
ปีที่เราสอบ TCAS 65 มีความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งผู้ออกข้อสอบ ทั้งแนวข้อสอบ TCAS 66 ก็เปลี่ยนไปจากเดิมอีก แต่เราก็หวังว่าคำแนะนำของเราจะช่วยคนที่ผ่านเข้ามาอ่านได้ไม่มากก็น้อยนะคะ
*ผิดพลาดประการใดทางผู้เขียนต้องขอโทษด้วยนะคะ
เริ่มกันที่วิชาแรกเลยค่ะ
GAT วิชาความถนัดทั่วไป
เป็นวิชาที่มีด้วยกันสองส่วนนะคะ
ส่วนแรกจะเป็น ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา หรือที่เรียกกันว่า GAT เชื่อมโยงค่ะ
ส่วนนี้เราเตรียมตัวจากการหาความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ การเชื่อมโยงโดยคร่าวๆ หลังจากนั้นก็ทำข้อสอบเก่าๆ เช็คทำความเข้าใจว่าตัวเองทำผิดพลาดตรงไหน สำหรับพาร์ทนี้ทำข้อสอบแล้วทำความเข้าใจอย่างสม่ำเสมอ ทำข้อสอบได้แน่นอนค่ะ
แต่ต้องบอกไว้ก่อนเลยนะคะ ว่าปีเรามีการเปลี่ยนผู้ออกข้อสอบอย่างที่บอกไป ทำให้การตอบมีการเปลี่ยนแปลง จากสิ่งที่ตอบไม่ได้ในปีก่อนๆ ก็มีโอกาสกลายเป็นคำตอบที่ถูกต้องของปีนี้นะคะ เพราะงั้นถ้าผู้ออกข้อสอบเปลี่ยนไป ก็ลองอ่านคำอธิบายในข้อสอบให้ดี พิจารณาคำตอบตามสมควรนะคะ (ตอนที่สอบเราก็ทำแบบที่บอกมาค่ะ แอบกระซิบว่าเราได้คะแนน 140+/150 เลยค่ะพาร์ทนี้)
ส่วนที่สอง ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า GAT ENG
GAT ENG มีหลายพาร์ทด้วยกัน ประกอบด้วย expression 15 ข้อ vocabulary 15 ข้อ reading 15 ข้อ structure and writing 15 ข้อ
เราแนะนำหนังสือของรศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญค่ะ เราอ่านเกือบทุกเล่มเลยช่วยได้มากๆ เพจที่แนะนำให้ติดตามได้แก่ Gat Community และ GAT Eng Thailand ค่ะ
ส่วนของ expression ไม่ยากเท่าไหร่ค่ะ ถ้าหากเรารู้สำนวน เข้าใจบริบทที่ของบทสนทนาก็สามารถทำได้แล้ว เอาข้อสอบเก่าๆ ข้อสอบจำลองมาทำเยอะๆก็จะช่วยได้ค่ะ
vocabulary จะออกแนว meaning in context และ meaning recognition เน้นท่องและทำเลยค่ะ ท่องเท่าที่จะท่องได้ เพราะมีโอกาสออกได้ทั้งนั้น เราท่องตามเล่มสรุปเข้ม vocabulary เล่มสีชมพูน้ำตาลค่ะ ท่องบ่อยๆ ทวนบ่อยๆ แล้วฝึกทำตามแนวเล่ม ตะลุยโจทย์ vocabulary สีชมพูขาวค่ะ
reading ก็มีหนังสืออีกเช่นกันค่ะ เป็นสีส้มขาว สิ่งที่ควรทำคือฝึกทำเยอะๆค่ะ ทำตามในเล่มหนังสือจนจบ ทำจากข้อสอบเก่าและข้อสอบจำลอง และหมั่นหาบทความข่าวอ่านค่ะ ตามเพจที่แจ้งไปด้านต้นจะมีแนะนำบทความที่ควรอ่านอยู่ค่ะ ถ้าอ่านได้เยอะๆก็จะดีมาก เพราะปีที่เราสอบก็มีบทความจากนั้นมากออกหลายบทความ แต่เปลี่ยนเนื้อหานิดหน่อยค่ะ
ส่วนสุดท้าย structure and writing เน้นไปที่ตัว grammar เลยค่ะ ส่วนตัวเราอ่านเล่มของ รศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญอีกเช่นเคย เน้นปูพื้นไปที่ส่วนของ grammar, basic grammar ให้เรามีพื้นให้แน่นก่อน แล้วค่อยไปต่อที่เล่ม error สีน้ำตาลเขียว ถ้ามีเวลาก็ไปต่อที่เล่มขาวเขียวค่ะ เน้นฝึกทำเยอะๆ จับจุดให้ได้ ทำความเข้าใจก็จะทำได้ดีขึ้นค่ะ ส่วนตัวเราว่าวิชานี้ต้องเน้นการฝึกฝนค่อนข้างเยอะเลยค่ะ
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
เป็นวิชาเดียวที่เราเรียนพิเศษค่ะ วิชานี้ถ้าสสวทยังเป็นผู้ออกข้อสอบอยู่ ข้อสอบก็น่าจะเป็นแนวโจทย์ปัญหาค่ะ ด้วยความที่เราถนัดวิชานี้อยู่แล้ว ก็เลยไม่ค่อยมีปัญหาอะไร ทวนนิดหน่อยก็พอจำได้แล้ว (แอบดูน่าหมั่นไส้ 555555) แต่เรานำเสนอที่เรียนพิเศษนี้มากกก เราเรียนกับพี่ปั้น smartmathpro ค่ะ ด้วยความที่เราไปเตรียมตัวช่วงจะสอบอยู่แล้ว ประมาณสองเดือนสุดท้าย เราก็เลยเรียนคอร์ส PAT 1 แหกโค้ง สิ่งที่เราทำสำหรับเตรียมสอบวิชานี้ก็คือ เรียนและฝึกทำโจทย์ค่ะ พี่ปั้นสอนดีมาก สอนเพิ่ม ติวเพิ่มช่วงสอบ หาโจทย์มาให้ แต่งโจทย์แนวสสวทให้เพิ่มเยอะมาก ความดีความชอบส่วนนึงยกให้พี่ปั้นเลยค่ะ โจทย์ข้อสอบที่สสวทออกมีตั้งแต่ปี 64 ค่ะ กับตามหนังสือแบบเรียนเราเลย แต่ทำแนวเก่าไว้บ้างก็ได้นะคะ เผื่อเอาไว้ก็ดีค่ะ ส่วนหนังสือที่อยากแนะนำมีชื่อว่า จำสูตรได้ ใช้สูตรเป็น คณิต ม.ปลาย ของสนพ.กัมบัตเตะค่ะ เขาเขียนสรุปเนื้อหากับยกตัวอย่างไว้ดีมากๆเลยค่ะ วิชานี้เราเตรียมตัวไม่นานเลยแต่ได้คะแนนไป 150 อัพเต็ม 300 เลย เราไม่ได้เก็บทุกพาร์ทด้วยค่ะเพราะเวลาน้อยแล้ว ถ้าใครมีพื้นเลขแน่นอยู่แล้ว มีเวลาเยอะ เราว่าฝึกทำโจทย์ ทำความเข้าใจเยอะๆ ทำได้แน่นอนค่ะ
วิชาสามัญภาษาไทย
วิชานี้เน้นทำข้อสอบเลยค่ะ แต่ก็มีบางส่วนที่ถ้าเราหาอ่าน ท่องจำเยอะๆ ก็จะได้เปรียบมากค่ะ ข้อสอบมี 50 ข้อ บางเรื่องก็ออกแค่ข้อเดียวเองค่ะ อาจจะลองเตรียมตัวตามที่ตัวเองคิดว่าเหมาะสม ถนัด ได้คะแนนตามหวังดูนะคะ วิชานี้เราอ่านหนังสือชื่อ ตีป้อม ไทย 9 วิชาสามัญ ม.ปลาย ของ สนพ.กัมบัตเตะ และเน้นทำข้อสอบเก่าค่ะ เรามองว่าอ่านเนื้อหาให้เข้าใจแล้วฝึกทำข้อสอบเยอะๆเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทำวนไป แล้วก็ทวนเนื้อหาบางส่วนบ่อยๆ เราคิดว่าทำได้แน่นอนค่ะ (ยกเว้นข้อสอบออกแบบเหนือความคาดหมายนะคะ..)
วิชาสามัญภาษาอังกฤษ
จริงๆตัววิชานี้ก็มีการฝึกฝนค่อนข้างคล้ายกับ GAT ENG เลยนะคะ ตอนเราเตรียมเราก็เตรียมควบคู่กันไปเลย แต่ว่าทั้งสองวิชาก็มีส่วนที่ต้องเน้นต่างกัน เราจะเน้นฝึกในส่วนไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเน้นคะแนนของวิชาไหนมากกว่ากันค่ะ
วิชานี้มีหลายส่วนด้วยกัน แต่พาร์ทหลักจะเป็น reading ค่ะ คำแนะนำคือทำเยอะๆเลยค่ะ ทำบ่อยๆ หาเทคนิคที่ถนัดก็จะทำได้ดีขึ้นเยอะเลยค่ะ เราทำตัวเล่ม reading ของรศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญ แล้วก็ข้อสอบเก่าเป็นหลักเลยค่ะ ยืนยันว่าให้ฝึกทำเยอะๆเลยค่ะพาร์ทนี้ ส่วนพาร์ทอื่นๆ อย่างพาร์ท writing ส่วนนี้เราจะเน้น grammar กับคำศัพท์เป็นหลัก เล่มของรศ.ดร.ศุภวัฒน์ พุกเจริญ เหมือนเดิมเลยค่ะ เราอ่านเป็น grammar, basic grammar และ error เล่มสรุปสีน้ำตาลเขียว ถ้ามีเวลามากกว่านั้น ทำเล่มเขียวขาวด้วยก็ดีนะคะ ส่วนคำศัพท์ก็จะเป็นตัวเล่มของ vocab สีน้ำตาลชมพู กับตัวเล่มสีชมพูขาวเลยค่ะ ในพาร์ทนี้จะมีส่วนที่ให้เรียงลำดับประโยคด้วย ส่วนนี้เราเน้นฝึกทำข้อสอบเก่าเยอะๆเอาค่ะ พาร์ทสุดท้าย listening and speaking เน้นทำจากข้อสอบเก่าเป็นหลักเลยค่ะ ข้อแนะนำที่สำคัญที่สุดของวิชานี้ก็คือมั่นฝึกทำเยอะๆ อะไรผิดพลาดก็ลองปรับแก้ไข และอีกอย่างที่เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันเลยคือ ให้ฝึกทำโดยจับเวลาไปด้วยค่ะ เพราะตัวข้อสอบค่อนข้างเยอะ มีด้วยกัน 80 ข้อ กับเวลา 90 นาที เนื้อหาเป็น reading ไปแล้ว 40 ข้อ ต้องฝึกทำสปีดเทส บริหารเวลาในการทำให้ดีเลยค่ะ
วิชาสามัญสังคม
วิชานี้บอกเลยค่ะ อ่านอย่างเดียวเท่านั้น อ่านเข้าไป เล่มที่เราแนะนำเลยคือ หัวใจสังคม มัธยมปลาย ของ อ.ชัยค่ะ เนื้อหาแน่นละเอียด เรารู้สึกว่าทำให้เข้าใจแล้วก็จำได้ง่ายขึ้นค่ะ เพราะบางเล่มเขียนแต่สรุปเลย บางทีก็งงๆว่าตรงนี้คือเหตุการณ์ไหนมาจากอะไร อีกช่องทางที่เราแนะนำคือการไปฟัง ครูป๊อป AT HOME ใน youtube ค่ะ เราฟังคลิปติวสังคมของครูป๊อปแล้วคิดว่าช่วยจำได้เยอะเลยค่ะ ตรงกับที่ออกสอบด้วย นอกจากนี้ก็ควรศึกษาข่าวสารทั้งในประเทศและต่างประเทศไว้บ้างนะคะ อาจจะออกได้ค่ะ
จบกันไปแล้วนะคะ ถ้าใครมีคำถามอะไรก็สามารถสอบถามได้เลยค่ะ ถึงแม้ข้อสอบในปีต่อๆไปจะเปลี่ยนไปแล้ว แต่ก็หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อทุกคนน้า