สรรพากรประกาศให้แพลตฟอร์มต้อง ‘นำส่งข้อมูลรายได้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์’ เริ่มรอบบัญชี 1 ม.ค. 2567 นี้
กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ออกประกาศเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 เกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่องการกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจัดทำ ‘บัญชีพิเศษ’ เพื่อนำส่งข้อมูลรายรับของผู้ประกอบการให้กับกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ทางกรมสรรพากรกำหนดเงื่อนไขให้ อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทย และมีหรือเคยมีรายได้ในรอบบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท (ไม่รวมแพลตฟอร์มที่อยู่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย) ต้องทำบัญชีพิเศษ หรือ บัญชีที่แสดงข้อมูลรายรับของอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ ได้รับจากผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เสอขายสินค้าหรือบริการบนแพลตฟอร์ม) โดยต้องนำส่งไปให้กรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
นอกจากนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต้องเชื่อมและนำส่งข้อมูล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสรรพากรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
เบื้องต้นข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า ทางสรรพากรให้แพลตฟอร์ม เตรียมรายการข้อมูลจัดทำบัญชีรายได้จากผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์ม เช่น รายรับค่าธรรมเนียม, รายรับค่านายหน้า, จำนวนเงินฐานในการคำนวณรายรับต่างๆ, เลขประจำตัวประชาชน, ข้อมูลบัญชีธนาคาร ฯลฯ
ปัจจุบันแพลตฟอร์มที่ให้บริการในไทยมีมากมายทั้งในธุรกิจ e-Commerce, บริการส่งอาหารและสินค้า ไปจนถึงการบริการต่างๆ อาทิ Shopee, Lazada, Line Man, Grab ฯลฯ
ที่มา : กรมสรรพากร
สรรพากรประกาศให้แพลตฟอร์มต้อง ‘นำส่งข้อมูลรายได้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์’ เริ่มรอบบัญชี 1 ม.ค. 2567 นี้
กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร ออกประกาศเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 เกี่ยวกับภาษีเงินได้ เรื่องการกำหนดให้อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มจัดทำ ‘บัญชีพิเศษ’ เพื่อนำส่งข้อมูลรายรับของผู้ประกอบการให้กับกรมสรรพากร โดยจะมีผลบังคับใช้กับข้อมูลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ทางกรมสรรพากรกำหนดเงื่อนไขให้ อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทย และมีหรือเคยมีรายได้ในรอบบัญชีเกิน 1,000 ล้านบาท (ไม่รวมแพลตฟอร์มที่อยู่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย) ต้องทำบัญชีพิเศษ หรือ บัญชีที่แสดงข้อมูลรายรับของอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ ได้รับจากผู้ประกอบการ (พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่เสอขายสินค้าหรือบริการบนแพลตฟอร์ม) โดยต้องนำส่งไปให้กรมสรรพากร ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
นอกจากนี้ทางอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต้องเชื่อมและนำส่งข้อมูล ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสรรพากรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
เบื้องต้นข้อมูลจากแหล่งข่าวระบุว่า ทางสรรพากรให้แพลตฟอร์ม เตรียมรายการข้อมูลจัดทำบัญชีรายได้จากผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์ม เช่น รายรับค่าธรรมเนียม, รายรับค่านายหน้า, จำนวนเงินฐานในการคำนวณรายรับต่างๆ, เลขประจำตัวประชาชน, ข้อมูลบัญชีธนาคาร ฯลฯ
ปัจจุบันแพลตฟอร์มที่ให้บริการในไทยมีมากมายทั้งในธุรกิจ e-Commerce, บริการส่งอาหารและสินค้า ไปจนถึงการบริการต่างๆ อาทิ Shopee, Lazada, Line Man, Grab ฯลฯ
ที่มา : กรมสรรพากร