.
ยังมีหอเอนอื่น ๆ รอบโลก
ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นที่
ที่มีความมั่นคงน้อยกว่า
อันเป็นผลมาจากข้อผิดพลาด
ที่คนเราสร้างขึ้นมาเอง
พวกมันยืนเอนมาจนถึงทุกวันนี้
บางหอมีการแทรกแซงโดยคน
เพื่อรักษาเสถียรภาพ/ไม่ให้ล้มลงมา
.
.
.
1- Nevyansk Tower Russia
.
.
via Wikimedia commons
.
.
ไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องราวเกี่ยวกับหอคอยแห่งนี้
คาดว่าได้รับมอบหมายให้สร้างขึ้น
ในศตวรรษที่ 18 โดยตระกูล Demidov
แน่นอนว่ามีการคาดเดากันในหมู่คนท้องถิ่น
เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหอคอยแห่งนี้
บางคนบอกว่า มันเป็นคุก
บางคนว่า มันเป็นหอสังเกตการณ์/หอระฆัง
บางคนว่า มันเป็นห้องทดลองลับ
ของสหภาพโซเวียตยุคคอมมึ่ครองเมือง
หอคอยแห่งนี้เบี่ยงเบนเป็นมุม 3 องศา
ระหว่างฐานกับตรงกลาง
.
.
.
2- Suurhusen Church Tower Germany
.
.
via Wikimedia commons
.
.
หอคอยโบสถ์ใน Suurhusen
เป็นหอคอยเอนโดยไม่ได้ตั้งใจมากที่สุด
หอคอยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์ Gothic
เอนทำมุม 5.19 องศา
ขณะที่หอเอนเมืองปิซา 5.5 องศา
เทียบกันไม่ได้เลยกับโครงสร้างแห่งนี้
ทั้งขนาดและน้ำหนักอาคาร
โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นบนท่อนไม้โอ๊ค
ที่มั่นคงมากในยุคกลาง
แต่ในช่วงศตวรรษที่ 18
พื้นที่หนองน้ำที่โบสถ์ตั้งอยู่
ถูกระบายน้ำออกจำนวนมาก
ทำให้ดินรอบ ๆ เกิดการทรุดตัว
จนทำให้หอคอยเกิดการเอนลง
.
.
.
3- Big Ben – London, England
.
.
via Shutterstock
.
.
ไม่น่าเชื่อว่าจุด Lanmark แห่งนี้
จะเอนเอียงจริง ๆ
แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเช่นนั้น
หอคอยอลิซาเบธ หรือบิ๊กเบน
The Elizabeth Tower or Big Ben
มีความเอียงในอัตรา 0.9 มม. ต่อปี
การเอียงนี้มาจากการขยายตัวของ
รถไฟใต้ดินลอนดอน
ลานจอดรถรอบ ๆ บริเวณนี้
แต่บรรดาวิศวกรไม่ได้กังวลเกี่ยวกับ
อัตราการเอียงของสถานที่แห่งนี้มากนัก
เพราะเชื่อกันว่าจะใช้เวลาประมาณ 4,000 ปี
ก่อนที่มันจะได้ระดับเหมือนหอเอนเมืองปิซา
.
.
.
4- Tiger Hill Pagoda – Souzhou China
.
.
via Wikimedia commons
.
.
เจดีย์แห่งนี้มีชื่อมาจากเนินเขาที่ตั้งอยู่
ตัวเจดีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อน
ในราวปีคริสตศักราช 960
มีความเอนประมาณ 3 องศา
สาเหตุของการเอียงนี้เกิดขึ้นจาก
การแตกร้าวของเสาค้ำสองเสา
เพราะเจดีย์ครึ่งหนึ่งตั้งอยู่บนหิน
และอีกครึ่งหนึ่งตั้งอยู่บนดิน
โชคดีที่มีความพยายามที่จะรักษา
เสถียรภาพของเจดีย์ทึ่ทำได้สำเร็จ
ด้วยการเสริมดินด้วยคอนกรีตอัดแรง
ทำให้เจดีย์ไม่เอนอีกต่อไป
แต่ความแตกต่างระหว่าง
เจดีย์กับฐานรากห่างกันราว 2.3 เมตร
.
.
.
5- Oede Kerk – Delft Netherlands
.
.
via Wikimedia commons
.
.
โบสถ์ที่หอคอยแห่งนี้ตั้งอยู่
เดิมเป็นของคริสต์นิกายคาทอลิก
แต่กลายเป็นคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
ในช่วงการปฏิรูปทางศาสนา
หอเอนแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก
โดยมียอดแหลมตรงกลาง
ขนาบข้างด้วยป้อมปืน 4 ป้อมที่มุมหอคอย
ใช้เวลาสร้างประมาณ 25 ปี
ตั้งแต่ปี 1325 - 1350
จริง ๆ แล้วตัวหอคอยเอน
ในขณะที่ผู้สร้างกำลังก่อสร้าง
แม้ว่าจะพยายามแก้ไขการเอียงหลายครั้ง
แต่หอคอยยังคงเอียงอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุของการเอียงของหอคอยแห่งนี้
น่าจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า
มีการปรับแก้ไขแนวคลอง
เพื่อรองรับการสร้างหอคอย
.
.
.
6- Leaning Tower of Toruń Poland
.
.
via Wikimedia commons
.
หอเอนแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยยุคกลาง
สาเหตุที่เอียงเพราะว่าถูกสร้างขึ้น
บนดินร่วนที่ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้
ดังนั้น ยอดหอคอยอิฐแดง
จึงเคลื่อนตัวจากด้านล่างประมาณ 1.5 เมตร
หอเอนแห่งนี้มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง
ตลอดระยะเวลาที่สร้างขี้นมาใช้งาน เช่น
ทหารรักษาการณ์ เรือนจำหญิง
หรือแม้กระทั่งการเป็นร้านกาแฟ
ตำนานที่เล่าสู่กันฟัง
เรื่องการเอนของหอคอยแห่งนี้
เพราะพระเจ้าลงโทษบาทหลวงทุศีล
ที่ทรยศต่อศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
กับอีกตำนานบอกว่า
คนบาปที่มาเยี่ยมชมหอคอยแห่งนี้
ทำให้หอเอนลงเพราะคนบาปยืนอยู่ที่นั่น
.
.
.
7- Belfry of Bruges Belgium
.
.
via shutterstock
.
.
หอระฆัง Bruges เป็นสถานที่สำคัญของเมือง
ตัวหอระฆังได้รับการบูรณะใหม่มาแล้ว 3 ครั้ง
นับตั้งแต่ที่ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1240
หอเอนไปทางทิศตะวันออกราว 87 เซนติเมตร
สถานที่แห่งนี้เคยเกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย
เคยถูกฟ้าผ่า และเคยเกิดไฟไหมั 1-2 ครั้ง
แต่ยังโชคดีที่ชาวเบลเยียม
ถือว่าที่นี่เป็นสมบัติเหนือกาลเวลา
ที่ควรค่าแก่การบูรณะ/สร้างขึ้นใหม่ทุกครั้ง
.
.
.
8- Temple of Huma – Odisha India
.
.
via holidify.com
.
.
วัดแห่งนี้ซึ่งอุทิศให้กับพระศิวะ
เป็นหนึ่งในวัดชั้นนำ 2 แห่งของโลก
ตัวหอคอยของวัดดูเอนเอียง
แต่จริง ๆ แล้ว ยอดหอคอยตั้งฉากกับพื้น
สาเหตุที่หอคอยเอน
เพราะเคยเกิดน้ำท่วมบริเวณวัด
และพื้นที่วัดแห่งนี้ที่สร้างขึ้นบนริมฝั่งแม่น้ำ
ที่ตั้งของวัดก็เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้ว
ดังนั้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เอียงได้
.
.
.
9- Millennium Tower – San Francisco, U.S.
.
.
Via Daniel Ramirez/Flickr
.
.
ตึกระฟ้าแห่งนี้สร้างเสร็จในปี 2008
ไม่เพียงแต่เอียงเท่านั้น
แต่ยังจมลงสู่พื้นดินอีกด้วย
ที่นี่ยังเป็นคอนโดคอมเพล็กซ์
ที่หลาย ๆ คนเรียกว่าบ้าน
เมื่ออาคารแห่งนี้เอียงขึ้นมา
ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากจึงหนีการขาดทุน
โดยยอมขายคอนโดในราคาขาดทุน
แม้ว่า วิศวกรจะได้เสนอวิธีแก้ปัญหาการเอียง
ด้วยการตอกเสาเข็ม Micro piles เสริม
ให้ลงไปยัน/รองรับกับชั้นบนพื้นหิน
แต่ผู้อยู่อาศัยยังคงระแวงกับการแก้ไขแบบนี้
.
.
.
10- The Two Towers of Bologna Italy
.
.
via Shutterstock
.
.
หอคอยทั้ง 2 แห่งของ Bologna
Le Due Torri เป็นสัญลักษณ์ของเมือง
หอคอยทั้ง 2 แห่งตั้งชื่อตามครอบครัว
ที่ให้เงินทุนสนับสนุนในการก่อสร้าง
หอคอยที่สูงกว่านั้นของตระกูล Aisnelli
ในขณะที่หอคอยที่เตี้ยกว่า
มีมุมที่แหลมกว่านั้นของตระกูล Garisenda
หอคอย Aisnelli เคยเป็นสถานที่ตั้งแสนวุ่นวาย
ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นเรือนจำในศตวรรษที่ 14
เป็นหอสังเกตการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลจากการเอียง/ตำนานอันโด่งดัง
หอคอยทั้งสองแห่งจึงถูกอ้างถึง
ในวรรณคดีหลายต่อหลายครั้ง
ตั้งแต่ Divine Comedy ของ Dante
ไปจนถึง Dickens’ Pictures จาก อิตาลี
.
.
.
11- Bad Frankenhausen Church Tower Germany
.
.
via Fotocommunity/Rainer Beneke
.
.
ธารน้ำพุใต้ดินที่คดเคี้ยวอยู่ใต้เมือง
เป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดแหลม
ของโบสถ์ทำมุม 4.8 องศา
แม้ว่าจะพยายามในการบูรณะหอคอย
และปรับแนวหอคอยใหม่ให้เอียงน้อยลง
แต่ก็มีแนวโน้มว่า หอคอยจะต้องพังทลาย
หรือ ต้องถูกรื้อถอนออกในที่สุด
เพราะวิธีการแก้ปัญหาที่เคยนำมาใช้
กลับยิ่งทำให้โครงสร้างที่มั่นคงยิ่งล้มเหลว
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3RDy4lh
.
.
.
หอเอนเมืองปิซา
.
.
.
.
หอเอนเมืองปิซา
หอระฆังของมหาวิหารในเมืองปิซา อิตาลี
ในมุมมองเชิงโครงสร้าง/วิศวกรรม
ในปีคริสตศักราช 1173
การก่อสร้างเริ่มขึ้นที่ฐานรากและกำแพง
หลังจากที่อาคารสร้างขึ้นไปถึงชั้น 3
คนงานก็เริ่มสังเกตเห็นการเอน
หอคอยที่มีน้ำหนัก 14,500 ตัน
ถูกสร้างขึ้นบนฐานรากลึก 3 เมตร
ตั้งอยู่บนทรายและดินตะกอน
หลังจากค้นพบว่า อาคารนึ้เริ่มเอนแล้ว
วิศวกรจึงเริ่มลงมือสร้างพื้นส่วนที่เหลือ
(ผนังภายนอก) เพื่อเพิ่มความสูงของพื้น
การเพิ่มความสูง/น้ำหนักในทิศทางตรงข้าม
กะว่าจะกดทับให้อาคารเอียงเข้ามาให้ตรง
แต่กลับเพิ่มการเอนของหอคอย
เพราะฐานรากจมลงลึกกว่าเดิม
เป็นสัดส่วนที่มากขึ้นในพื้นดิน
เพราะน้ำหนักกดทับพื้นดินที่เพิ่มขึ้น
สาเหตุที่หอคอยไม่ถล่ม
แม้ว่าการก่อสร้างดำเนินมาแล้ว 199 ปี
(มีการหยุดบ้าง สร้างต่อเติมบ้าง)
และแล้วต้องหยุดก่อสร้างเป็นเวลานาน
นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นดินค่อย ๆ
มีการอัดแน่น/บีบอัดตามธรรมชาติ
ทำให้อัตราการเอนลดลง
ส่งผลให้หอคอยไม่พังทลายลงมา
ดินเหนียวใต้พื้นดิน
แข็งกระด้างตอนแห้งผาก
อ่อนนุ่ม/ยืดหยุ่นตอนอุ้มน้ำ
มีส่วนช่วยทำให้หอคอยไม่พังลงมา
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว 4 ครั้ง
วิศวกรคำนวณจุดศูนย์ถ่วงของหอคอย
จะถล่มลงมา ถ้าเอนถึงจุดวิกฤติ 5.44 องศา
.
.
ในปี 1990
หอคอยแห่งนี้ถูกปิดชั่วคราว
เพราะมีอาการเอน 5.5 องศา
แต่หอคอยก็ยังไม่พังทลายลงมา
มีความพยายามที่จะหยุดยั้ง
เพื่อไม่ให้หอคอยพังลงมา
ด้วยการขุดหลุมลึกในดิน 40 เมตร
แล้วโยงยึดหอคอยด้วยสายเคเบิล
ผ่านการเจาะรูในอาคาร ณ จุดที่คำนวณ
มีการเติมไนโตรเจนเหลวลงในหลุมที่ขุด
นำไปสู่การแข็งตัวของน้ำใต้ดิน
(ไนโตรเจนเหลวหมดสภาพ น้ำก็คืนสภาพ)
พื้นดินจึงเกิดการขยายตัว/หดตัวอีกครั้ง
ทำให้เกิดการทรุดตัวของดิน
และการทรุดตัวของฐานราก
ผลที่ตามมา คือ หอคอยเกิดการเอน
มากกว่าอัตราการเอนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ดังนั้น วิศวกรให้ขุดหลุม 361 หลุม
แล้วอัดหลุมด้วยปูนซีเมนต์หนัก 90 ตัน
อัดลงในหลุมที่ขุด ยิ่งทำให้หอคอยเอนยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ.1990
คนงานเริ่มลงมือขุดดินด้านที่ไม่เอน
กองดินถูกรื้อออกมาไปไว้ที่อื่น
จากนั้นใช้สายเคเบิลเหล็กดึงรั้ง
โดยยึดสายเคเบิลเหล็กกับพื้นดิน
แล้วดึงให้หอคอยเอนกลับมาอีกด้าน
อาการเอนเริ่มลดลงเหลือ 4 องศา
และนี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
แม้ว่า วิศวกรจะยกหอเอนปิซา
ให้ขึ้นมาตรงในแนวดิ่งได้
แต่คณะกรรมการไม่เห็นชอบด้วย
เพราะจะทำลายตำนาน/มนตร์เสน่ห์
จะทำให้สูญเสียชื่อเสียงหอเอนปิซา
และรายได้จากนักท่องเที่ยวได้
เมื่อแก้ไขปัญหาหอคอยที่เกิดขึ้นได้แล้ว
ก็เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมได้อีกครั้ง
และได้รับการยืนยันจากวิศวกร
หอคอยจะเอนอยู่ได้นานถึง 300 ปี
ที่มา Ancient Archeology News
.
.
11 หอเอนรอบโลก
ยังมีหอเอนอื่น ๆ รอบโลก
ที่ตั้งตระหง่านอยู่บนพื้นที่
ที่มีความมั่นคงน้อยกว่า
อันเป็นผลมาจากข้อผิดพลาด
ที่คนเราสร้างขึ้นมาเอง
พวกมันยืนเอนมาจนถึงทุกวันนี้
บางหอมีการแทรกแซงโดยคน
เพื่อรักษาเสถียรภาพ/ไม่ให้ล้มลงมา
.
.
1- Nevyansk Tower Russia
.
.
via Wikimedia commons
.
ไม่ค่อยมีใครรู้เรื่องราวเกี่ยวกับหอคอยแห่งนี้
คาดว่าได้รับมอบหมายให้สร้างขึ้น
ในศตวรรษที่ 18 โดยตระกูล Demidov
แน่นอนว่ามีการคาดเดากันในหมู่คนท้องถิ่น
เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของหอคอยแห่งนี้
บางคนบอกว่า มันเป็นคุก
บางคนว่า มันเป็นหอสังเกตการณ์/หอระฆัง
บางคนว่า มันเป็นห้องทดลองลับ
ของสหภาพโซเวียตยุคคอมมึ่ครองเมือง
หอคอยแห่งนี้เบี่ยงเบนเป็นมุม 3 องศา
ระหว่างฐานกับตรงกลาง
.
.
2- Suurhusen Church Tower Germany
.
.
via Wikimedia commons
.
หอคอยโบสถ์ใน Suurhusen
เป็นหอคอยเอนโดยไม่ได้ตั้งใจมากที่สุด
หอคอยแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์ Gothic
เอนทำมุม 5.19 องศา
ขณะที่หอเอนเมืองปิซา 5.5 องศา
เทียบกันไม่ได้เลยกับโครงสร้างแห่งนี้
ทั้งขนาดและน้ำหนักอาคาร
โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นบนท่อนไม้โอ๊ค
ที่มั่นคงมากในยุคกลาง
แต่ในช่วงศตวรรษที่ 18
พื้นที่หนองน้ำที่โบสถ์ตั้งอยู่
ถูกระบายน้ำออกจำนวนมาก
ทำให้ดินรอบ ๆ เกิดการทรุดตัว
จนทำให้หอคอยเกิดการเอนลง
.
.
3- Big Ben – London, England
.
.
via Shutterstock
.
ไม่น่าเชื่อว่าจุด Lanmark แห่งนี้
จะเอนเอียงจริง ๆ
แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นเช่นนั้น
หอคอยอลิซาเบธ หรือบิ๊กเบน
The Elizabeth Tower or Big Ben
มีความเอียงในอัตรา 0.9 มม. ต่อปี
การเอียงนี้มาจากการขยายตัวของ
รถไฟใต้ดินลอนดอน
ลานจอดรถรอบ ๆ บริเวณนี้
แต่บรรดาวิศวกรไม่ได้กังวลเกี่ยวกับ
อัตราการเอียงของสถานที่แห่งนี้มากนัก
เพราะเชื่อกันว่าจะใช้เวลาประมาณ 4,000 ปี
ก่อนที่มันจะได้ระดับเหมือนหอเอนเมืองปิซา
.
.
4- Tiger Hill Pagoda – Souzhou China
.
.
via Wikimedia commons
.
เจดีย์แห่งนี้มีชื่อมาจากเนินเขาที่ตั้งอยู่
ตัวเจดีย์นี้สร้างขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อน
ในราวปีคริสตศักราช 960
มีความเอนประมาณ 3 องศา
สาเหตุของการเอียงนี้เกิดขึ้นจาก
การแตกร้าวของเสาค้ำสองเสา
เพราะเจดีย์ครึ่งหนึ่งตั้งอยู่บนหิน
และอีกครึ่งหนึ่งตั้งอยู่บนดิน
โชคดีที่มีความพยายามที่จะรักษา
เสถียรภาพของเจดีย์ทึ่ทำได้สำเร็จ
ด้วยการเสริมดินด้วยคอนกรีตอัดแรง
ทำให้เจดีย์ไม่เอนอีกต่อไป
แต่ความแตกต่างระหว่าง
เจดีย์กับฐานรากห่างกันราว 2.3 เมตร
.
.
5- Oede Kerk – Delft Netherlands
.
.
via Wikimedia commons
.
โบสถ์ที่หอคอยแห่งนี้ตั้งอยู่
เดิมเป็นของคริสต์นิกายคาทอลิก
แต่กลายเป็นคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์
ในช่วงการปฏิรูปทางศาสนา
หอเอนแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก
โดยมียอดแหลมตรงกลาง
ขนาบข้างด้วยป้อมปืน 4 ป้อมที่มุมหอคอย
ใช้เวลาสร้างประมาณ 25 ปี
ตั้งแต่ปี 1325 - 1350
จริง ๆ แล้วตัวหอคอยเอน
ในขณะที่ผู้สร้างกำลังก่อสร้าง
แม้ว่าจะพยายามแก้ไขการเอียงหลายครั้ง
แต่หอคอยยังคงเอียงอย่างเห็นได้ชัด
สาเหตุของการเอียงของหอคอยแห่งนี้
น่าจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า
มีการปรับแก้ไขแนวคลอง
เพื่อรองรับการสร้างหอคอย
.
.
6- Leaning Tower of Toruń Poland
.
.
via Wikimedia commons
หอเอนแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยยุคกลาง
สาเหตุที่เอียงเพราะว่าถูกสร้างขึ้น
บนดินร่วนที่ไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้
ดังนั้น ยอดหอคอยอิฐแดง
จึงเคลื่อนตัวจากด้านล่างประมาณ 1.5 เมตร
หอเอนแห่งนี้มีวัตถุประสงค์หลายอย่าง
ตลอดระยะเวลาที่สร้างขี้นมาใช้งาน เช่น
ทหารรักษาการณ์ เรือนจำหญิง
หรือแม้กระทั่งการเป็นร้านกาแฟ
ตำนานที่เล่าสู่กันฟัง
เรื่องการเอนของหอคอยแห่งนี้
เพราะพระเจ้าลงโทษบาทหลวงทุศีล
ที่ทรยศต่อศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า
กับอีกตำนานบอกว่า
คนบาปที่มาเยี่ยมชมหอคอยแห่งนี้
ทำให้หอเอนลงเพราะคนบาปยืนอยู่ที่นั่น
.
.
7- Belfry of Bruges Belgium
.
.
via shutterstock
.
หอระฆัง Bruges เป็นสถานที่สำคัญของเมือง
ตัวหอระฆังได้รับการบูรณะใหม่มาแล้ว 3 ครั้ง
นับตั้งแต่ที่ถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ. 1240
หอเอนไปทางทิศตะวันออกราว 87 เซนติเมตร
สถานที่แห่งนี้เคยเกิดเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย
เคยถูกฟ้าผ่า และเคยเกิดไฟไหมั 1-2 ครั้ง
แต่ยังโชคดีที่ชาวเบลเยียม
ถือว่าที่นี่เป็นสมบัติเหนือกาลเวลา
ที่ควรค่าแก่การบูรณะ/สร้างขึ้นใหม่ทุกครั้ง
.
.
8- Temple of Huma – Odisha India
.
.
via holidify.com
.
วัดแห่งนี้ซึ่งอุทิศให้กับพระศิวะ
เป็นหนึ่งในวัดชั้นนำ 2 แห่งของโลก
ตัวหอคอยของวัดดูเอนเอียง
แต่จริง ๆ แล้ว ยอดหอคอยตั้งฉากกับพื้น
สาเหตุที่หอคอยเอน
เพราะเคยเกิดน้ำท่วมบริเวณวัด
และพื้นที่วัดแห่งนี้ที่สร้างขึ้นบนริมฝั่งแม่น้ำ
ที่ตั้งของวัดก็เคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้ว
ดังนั้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เอียงได้
.
.
9- Millennium Tower – San Francisco, U.S.
.
.
Via Daniel Ramirez/Flickr
.
ตึกระฟ้าแห่งนี้สร้างเสร็จในปี 2008
ไม่เพียงแต่เอียงเท่านั้น
แต่ยังจมลงสู่พื้นดินอีกด้วย
ที่นี่ยังเป็นคอนโดคอมเพล็กซ์
ที่หลาย ๆ คนเรียกว่าบ้าน
เมื่ออาคารแห่งนี้เอียงขึ้นมา
ผู้อยู่อาศัยจำนวนมากจึงหนีการขาดทุน
โดยยอมขายคอนโดในราคาขาดทุน
แม้ว่า วิศวกรจะได้เสนอวิธีแก้ปัญหาการเอียง
ด้วยการตอกเสาเข็ม Micro piles เสริม
ให้ลงไปยัน/รองรับกับชั้นบนพื้นหิน
แต่ผู้อยู่อาศัยยังคงระแวงกับการแก้ไขแบบนี้
.
.
10- The Two Towers of Bologna Italy
.
.
via Shutterstock
.
หอคอยทั้ง 2 แห่งของ Bologna
Le Due Torri เป็นสัญลักษณ์ของเมือง
หอคอยทั้ง 2 แห่งตั้งชื่อตามครอบครัว
ที่ให้เงินทุนสนับสนุนในการก่อสร้าง
หอคอยที่สูงกว่านั้นของตระกูล Aisnelli
ในขณะที่หอคอยที่เตี้ยกว่า
มีมุมที่แหลมกว่านั้นของตระกูล Garisenda
หอคอย Aisnelli เคยเป็นสถานที่ตั้งแสนวุ่นวาย
ตั้งแต่ทำหน้าที่เป็นเรือนจำในศตวรรษที่ 14
เป็นหอสังเกตการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลจากการเอียง/ตำนานอันโด่งดัง
หอคอยทั้งสองแห่งจึงถูกอ้างถึง
ในวรรณคดีหลายต่อหลายครั้ง
ตั้งแต่ Divine Comedy ของ Dante
ไปจนถึง Dickens’ Pictures จาก อิตาลี
.
.
11- Bad Frankenhausen Church Tower Germany
.
.
via Fotocommunity/Rainer Beneke
.
ธารน้ำพุใต้ดินที่คดเคี้ยวอยู่ใต้เมือง
เป็นสาเหตุที่ทำให้ยอดแหลม
ของโบสถ์ทำมุม 4.8 องศา
แม้ว่าจะพยายามในการบูรณะหอคอย
และปรับแนวหอคอยใหม่ให้เอียงน้อยลง
แต่ก็มีแนวโน้มว่า หอคอยจะต้องพังทลาย
หรือ ต้องถูกรื้อถอนออกในที่สุด
เพราะวิธีการแก้ปัญหาที่เคยนำมาใช้
กลับยิ่งทำให้โครงสร้างที่มั่นคงยิ่งล้มเหลว
.
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3RDy4lh
.
.
หอเอนเมืองปิซา
.
.
.
หอเอนเมืองปิซา
หอระฆังของมหาวิหารในเมืองปิซา อิตาลี
ในมุมมองเชิงโครงสร้าง/วิศวกรรม
ในปีคริสตศักราช 1173
การก่อสร้างเริ่มขึ้นที่ฐานรากและกำแพง
หลังจากที่อาคารสร้างขึ้นไปถึงชั้น 3
คนงานก็เริ่มสังเกตเห็นการเอน
หอคอยที่มีน้ำหนัก 14,500 ตัน
ถูกสร้างขึ้นบนฐานรากลึก 3 เมตร
ตั้งอยู่บนทรายและดินตะกอน
หลังจากค้นพบว่า อาคารนึ้เริ่มเอนแล้ว
วิศวกรจึงเริ่มลงมือสร้างพื้นส่วนที่เหลือ
(ผนังภายนอก) เพื่อเพิ่มความสูงของพื้น
การเพิ่มความสูง/น้ำหนักในทิศทางตรงข้าม
กะว่าจะกดทับให้อาคารเอียงเข้ามาให้ตรง
แต่กลับเพิ่มการเอนของหอคอย
เพราะฐานรากจมลงลึกกว่าเดิม
เป็นสัดส่วนที่มากขึ้นในพื้นดิน
เพราะน้ำหนักกดทับพื้นดินที่เพิ่มขึ้น
สาเหตุที่หอคอยไม่ถล่ม
แม้ว่าการก่อสร้างดำเนินมาแล้ว 199 ปี
(มีการหยุดบ้าง สร้างต่อเติมบ้าง)
และแล้วต้องหยุดก่อสร้างเป็นเวลานาน
นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พื้นดินค่อย ๆ
มีการอัดแน่น/บีบอัดตามธรรมชาติ
ทำให้อัตราการเอนลดลง
ส่งผลให้หอคอยไม่พังทลายลงมา
ดินเหนียวใต้พื้นดิน
แข็งกระด้างตอนแห้งผาก
อ่อนนุ่ม/ยืดหยุ่นตอนอุ้มน้ำ
มีส่วนช่วยทำให้หอคอยไม่พังลงมา
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว 4 ครั้ง
วิศวกรคำนวณจุดศูนย์ถ่วงของหอคอย
จะถล่มลงมา ถ้าเอนถึงจุดวิกฤติ 5.44 องศา
.
.
ในปี 1990
หอคอยแห่งนี้ถูกปิดชั่วคราว
เพราะมีอาการเอน 5.5 องศา
แต่หอคอยก็ยังไม่พังทลายลงมา
มีความพยายามที่จะหยุดยั้ง
เพื่อไม่ให้หอคอยพังลงมา
ด้วยการขุดหลุมลึกในดิน 40 เมตร
แล้วโยงยึดหอคอยด้วยสายเคเบิล
ผ่านการเจาะรูในอาคาร ณ จุดที่คำนวณ
มีการเติมไนโตรเจนเหลวลงในหลุมที่ขุด
นำไปสู่การแข็งตัวของน้ำใต้ดิน
(ไนโตรเจนเหลวหมดสภาพ น้ำก็คืนสภาพ)
พื้นดินจึงเกิดการขยายตัว/หดตัวอีกครั้ง
ทำให้เกิดการทรุดตัวของดิน
และการทรุดตัวของฐานราก
ผลที่ตามมา คือ หอคอยเกิดการเอน
มากกว่าอัตราการเอนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต
ดังนั้น วิศวกรให้ขุดหลุม 361 หลุม
แล้วอัดหลุมด้วยปูนซีเมนต์หนัก 90 ตัน
อัดลงในหลุมที่ขุด ยิ่งทำให้หอคอยเอนยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ.1990
คนงานเริ่มลงมือขุดดินด้านที่ไม่เอน
กองดินถูกรื้อออกมาไปไว้ที่อื่น
จากนั้นใช้สายเคเบิลเหล็กดึงรั้ง
โดยยึดสายเคเบิลเหล็กกับพื้นดิน
แล้วดึงให้หอคอยเอนกลับมาอีกด้าน
อาการเอนเริ่มลดลงเหลือ 4 องศา
และนี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
แม้ว่า วิศวกรจะยกหอเอนปิซา
ให้ขึ้นมาตรงในแนวดิ่งได้
แต่คณะกรรมการไม่เห็นชอบด้วย
เพราะจะทำลายตำนาน/มนตร์เสน่ห์
จะทำให้สูญเสียชื่อเสียงหอเอนปิซา
และรายได้จากนักท่องเที่ยวได้
เมื่อแก้ไขปัญหาหอคอยที่เกิดขึ้นได้แล้ว
ก็เปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชมได้อีกครั้ง
และได้รับการยืนยันจากวิศวกร
หอคอยจะเอนอยู่ได้นานถึง 300 ปี
ที่มา Ancient Archeology News
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.
.